เปรียบเทียบข้อจำกัด แฟลชไดร์ฟ และ SSD ใช้ทำอะไรได้-ไม่ได้บ้าง ทำไม SSD จึงมีราคาสูงกว่า ?
หากจะพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ สำหรับใช้งานบนแพลตฟอร์มไอที เช่น คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปในปัจจุบันก็แน่นอนว่าหลายคนย่อมนึกถึง SSD หรือ Solid State Drive ซึ่งสามารถใช้งานเป็นได้ทั้งตัวจัดเก็บข้อมูลภายใน และตัวจัดเก็บข้อมูลภายนอก หรือ External Hard Drive โดย SSD นั้นถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานแทนที่ หรือใช้ร่วมกับ HardDisk เพื่อประสิทธิภาพในการรันการทำงานของอุปกรณ์ได้รวดเร็วขึ้น ทั้งการเปิดโปรแกรม การอ่าน เขียนไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ อย่างไรก็ตามนอกจาก SSD แล้ว ก็แน่นอนเช่นกันว่ายังมีอีกหนึ่งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ผู้ใช้งานหลายคนคุ้นเคยกันดี และถูกใช้งานเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ประจำวันของหลายคนมานานหลายปีแล้ว ซึ่งก็คือแฟลชไดร์ฟ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพาที่ใช้เทคโนโลยีชุดคำสั่งแบบดิจิทัลเช่นกันกับ SSD นั่นเอง ซึ่งแฟลชไดร์ฟนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น WOODEN USB METAL USB แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ก็ตามที่ทุกคนทราบกันดีว่าแฟลชไดร์ฟมักจะถูกมองว่าเป็นแก็ดเจ็ตขนาดเล็ก และมีราคาจำหน่ายที่ถูกกว่า External SSD อยู่พอสมควร แม้ว่าการใช้งานจริงในหลาย ๆ บริบทจะสามารถทดแทนกันก็ได้ และมีความเร็วในการอ่าน เขียนข้อมูลใกล้เคียงกันก็ตาม ในบทความนี้จึงจะมาเปรียบเทียบข้อจำกัดให้ได้เห็นกันชัด ๆ ว่า แฟลชไดร์ฟ และ External SSD ทำอะไรได้-ไม่ได้บ้าง ทำไม SSD จึงมีราคาสูงกว่า
ใช้ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดว์ได้เหมือนกัน เริ่มกันที่ความสามารถที่ทำได้เหมือนกัน สามารถใช้งานทดแทนกันได้ทั้ง แฟลชไดร์ฟ และ External SSD ก็คือการใช้เป็นตัวบู๊ตเพื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดว์เวอร์ชั่นต่าง ๆ ให้กับอุปกรณ์ หรือ คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปเครื่องใด ๆ ได้นั่นเอง โดยเราสามารถดาวน์โหลดวินโดว์มาบันทึกไว้ในแฟลชไดร์ฟ หรือ External SSD ที่มีพื้นที่จัดเก็บเพียงพอ(มากกว่า 4 Gb ขึ้นไป) เพื่อนำไปใช้ติดตั้งให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ โดยการเลือกวิธีบู๊ตจาก USB ดังนั้นสรุปข้อเปรียบเทียบแรก ซึ่งก็คือการใช้เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับ SetUp ระบบปฏิบัติการวินโดว์ได้ว่าไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งแฟลชไดร์ฟราคาหลักร้อย หรือ External SSD ราคาหลักพันก็สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน
แฟลชไดร์ฟไม่สามารถติดตั้งโปรแกรม แอปพลิเคชั่นได้ มาที่ข้อจำกัดที่อาจจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ราคาของ External SSD นั้นสูงกว่าแฟลชไดร์ฟ ซึ่งก็คือข้อจำกัดเรื่องของการติดตั้งโปรแกรม แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟนั้นไม่สามารถทำได้ ขณะที่ External SSD สามารถทำการติดตั้งโปรแกรม แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อความบันเทิง เช่น เกม Streaming ต่างๆ หรือการทำงาน โปรแกรมเอกสาร กราฟฟิกใด ๆ ลงไปและนำไปเปิดใช้งานบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ
External SSD ไม่รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ข้อเปรียบเทียบที่ดูจะเป็นข้อได้เปรียบของแฟลชไดร์ฟก็คือ ในส่วนของการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตหลาย ๆ แบรนด์มีการพัฒนาพอร์ตการเชื่อมแก็ดเจ็ตของตัวเองให้รองรับการใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้พอร์ตแบบ USB-C ที่ทำให้สามารถเสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับตัวสมาร์ทโฟนได้ทันที โดยไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการโอนถ่ายข้อมูล ขณะที่ External SSD ปัจจุบันยังไม่รองรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ขนาดเล็กในตัวเอง โดยอาจต้องอาศัยสายต่อพ่วงต่าง ๆ ในการช่วยแปลงพอร์ต หากต้องการเชื่อมต่อเพื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ขนาดเล็ก ดังนั้นสรุปข้อจำกัดระหว่างแฟลชไดร์ฟ และ External SSD ได้ว่า External SSD สามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป โน๊ตบุ๊คได้อย่างยืดหยุ่นกว่า ทั้งการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล การติดตั้งโปรแกรม แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ขณะที่แฟลชไดร์ฟสามารถใช้งานในรูปแบบอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกได้หลากหลาย และพกพาไว้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ขนาดเล็กได้สะดวกกว่าอย่างเช่น GARD USB