เหตุผลที่ไม่ควรเลือกใช้ แฟลชไดร์ฟที่มีขนาดความจุสูง

เหตุผลที่ไม่ควรเลือกใช้ แฟลชไดร์ฟที่มีขนาดความจุสูง

ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟนั้น ปัจจุบันนี้ผลิตออกมาหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแบบ card usb, rubber usb, pen usb, metal usb ความจุที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ใช้งานหลายคนมักเข้าใจว่ายิ่งมีขนาดความจุสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะจะทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เยอะ สามารถใช้งานโอนถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่ ๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันนี้แบรนด์ผู้ผลิตเจ้าต่าง ๆ ก็ดูจะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ด้วยการผลิตแฟลชไดร์ฟที่มีขนาดความจุสูงถึงระดับเทราไบต์ หรือกว่า 1,000 เมกะไบต์ ออกมาวางจำหน่าย ซึ่งนับเป็นขนาดความจุที่ผู้ใช้งานหลายคนไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะได้เห็นในแก็ดเจ็ตขนาดจิ๋ว อย่างไรก็ตามในการใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้จริง ๆ จะเห็นได้ว่าปริมาณความจุที่สูงระดับเทราไบต์ หรือหลายเทราไบต์นั้นไม่ได้ตอบสนองความต้องการใช้งานกิจกรรมการเรียน การทำงานต่าง ๆ ได้ดีกว่าแฟลชไดร์ฟที่มีขนาดความจุระดับกิกะไบต์สักเท่าไหร่ และยังตามมาด้วยข้อเสียอีกหลายประการเช่นกัน ในบทความนี้จึงจะมากล่าวถึงข้อเสียต่าง ๆ ดังกล่าว ซึ่งถือเป็นเหตุผลที่ผู้ใช้งานหลายคนไม่ควรเลือกใช้แฟลชไดร์ฟที่มีขนาดความสูงเกินไปให้ได้ทราบกัน
ขนาดความจุที่มากเกินความต้องการใช้งานจริง เหตุผลแรกที่การเลือกใช้งานแฟลชไดร์ฟที่มีขนาดความจุสูงๆ ดูจะไม่มีความจำเป็นสำหรับผู้ใช้งานหลายคนก็คือ ขนาดความจุที่สูงเกินความต้องการใช้งานจรงนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานจัดเก็บไฟล์รูปภาพ วิดีโอ และไฟล์เอกสารทั่วไปสำหรับกิจกรรมการทำงานต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระดับความจุกิกะไบต์ เช่น 128GB, 256GB, 512GB ก็มักจะเพียงพอที่จะรองรับการใช้งานได้ครอบคลุมแล้ว จึงแทบไม่มีความจำเป็นที่ผู้ใช้งานต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อแลกกับพื้นที่ความจำระดับเทราไบต์ เช่น 1TB, 2TB, 4TB
ความเสี่ยงที่ไฟล์จะสูญหายกะทันหัน และไม่สามารถกู้คืนได้ อย่างที่ทราบกันดีว่าปัญหาคลาสสิคอย่างนึงในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ ก็คือ อาการชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นแบบกะทันหัน ซึ่งมาได้จากหลากหลายสาเหตุ และเปอร์เซ็นต์ที่จะกู้คืนไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ กลับมาที่มีค่อนข้างน้อย เนื่องจากการรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลในแฟลชไดร์ฟนั้นเป็นแบบดิจิทัล(แตกต่างจากระบบจากหมุนแบบฮาร์ดดิสก์ ที่การบันทึกจัดเก็บข้อมูลมีความมั่นคง ปลอดภัยกว่า) ดังนั้นยิ่งมีพื้นที่ความจำสูงเท่าไหร่ ก็มีแนวโน้มที่ผู้ใช้งานอาจจะจัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในแฟลชไดร์ฟมากขึ้นไปอีก และทำให้ความเสี่ยงที่ไฟล์ต่าง ๆ จะสูญหายมีสูงขึ้น และส่งผลกระทบกับกิจกรรมการเรียน การทำงานต่าง ๆ มากขึ้นไปด้วยนั่นเอง
มีตัวเลือกการสำรองข้อมูลอื่นๆให้เลือกใช้ อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้แฟลชไดร์ฟขนาดความจุสูง ๆ ดูจะไม่มีความจำเป็นถึงขนาดที่แบรนด์ผู้ผลิตเจ้าต่าง ๆ พยายามจะโปรโมทก็คือ การที่ปัจจุบันมีช่องทางการสำรองข้อมูลอื่น ๆ ให้ได้เลือกใช้อีกมากมาย เช่นเดียวกับระบบเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งนี้อย่างที่ทราบกันว่า ประโยชน์การใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับผู้ใช้งานหลายคนไม่ได้มีเพียงแค่การใช้เป็นพื้นที่สำรองข้อมูล หรือจัดเก็บไฟล์ข้อมูลใดๆ เท่านั้น แต่ยังใช้เพื่อความปลอดภัยในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ โดยบุคคลอื่นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบกึ่งสาธารณะ เช่น คอมพิวเตอร์ในออฟฟิศ คอมพิวเตอร์ใน Co-Working Space ซึ่งไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เราทำงานบันทึก จัดเก็บไว้อาจถูกเข้าถึง เปิดดู ส่งต่อโดยบุคคลอื่นได้ ดังนั้นผู้ใช้งานหลายคนจึงเลือกที่จะบันทึกไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ไว้บนแฟลชไดร์ฟที่สามารถพกติดตัวได้ง่าย ๆ แทน อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้วปัจจุบันเราสามารถเลือกเพิ่มระบบความปลอดภัยในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องโอนย้ายไฟล์ไปเก็บไว้ที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นการใช้วิธีเข้ารหัสโฟลเดอร์ หรือแฟ้มเอกสารนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้มีเพียงผู้ที่ทราบรหัสเท่านั้นที่สามารถเปิดเข้าไปดูไฟล์ต่าง ๆ ได้ หรือการใช้ระบบซ่อนโฟลเดอร์จากหน้าเดสก์ท็อป หรือหน้าไดร์ฟนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้อื่นไม่สามารถสังเกตเห็นไฟล์ที่เราบันทึกไว้ได้ เช่นเดียวกับระบบสำรองข้อมูลอื่น ๆ เช่น ระบบออนไลน์คลาวด์ต่าง ๆ ก็สามารถใช้เป็นพื้นที่การสำรองไฟล์ข้อมูลแทนการบันทึกลงบนไดร์ฟภายนอกได้นอกจากนี้ยังสามารถใช้ GPS Tracker ติดไว้กับแฟลชไดร์ฟได้ด้วยเผื่อสูญหายหรือหลงลืมไว้ที่ไหนก็จะถามหาได้

Leave Comment