เทียบความต่าง พื้นที่จัดเก็บข้อมูล Cloud, ฮาร์ดดิสก์พกพา และแฟลชไดร์ฟ

เทียบความต่าง พื้นที่จัดเก็บข้อมูล Cloud, ฮาร์ดดิสก์พกพา และแฟลชไดร์ฟ แตกต่างกันอย่างไร ในยุคปัจจุบันควรเลือกใช้แบบไหน ?

หากพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ในยุคเริ่มแรกที่มีการใช้งานอุปกรณ์ไอที หรือคอมพิวเตอร์นั้นก็ต้องบอกว่ามีเพียงแค่อุปกรณ์ไม่กี่ชิ้นเท่านั้นที่ผู้ใช้งานรู้จักคุ้นเคยกัน โดยหลัก ๆ นั้นประกอบด้วยฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายในที่ใส่ติดอยู่กับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เสริมสำหรับเชื่อมต่อเพื่อจัดเก็บข้อมูลภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ และแผ่น Floppy Disk ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เพียงหลักเมกะไบต์ แต่ในปัจจุบันตัวเลือกการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ถือว่ามีเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก และประสิทธิภาพการใช้งานก็สูงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลภายนอก หรือ External Drive ที่ไว้ใช้สำรองข้อมูล โอนถ่าย หรือคัดลอกข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ ซึ่งนอกจากแฟลชไดร์ฟแล้วก็ยังมีอุปกรณ์อย่างฮาร์ดดิสก์พกพา และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud ซึ่งไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการเชื่อมต่อแก็ดเจ็ตใด ๆ เข้ากับตัวอุปกรณ์ให้ได้เลือกใช้งานอีกด้วย และก็ด้วยตัวเลือกที่หลากหลายนี้เอง จึงอาจทำให้ผู้ใช้งานหลายคนรู้สึกสงสัยว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแต่ละแบบนั้นแตกต่างกันอย่างไร และในยุคสมัยปัจจุบันที่ไลฟ์สไตล์การทำงาน การเรียน และความบันเทิงของคนส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการใช้งานไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ แทบตลอดทั้งวันนั้นควรที่จะเลือกใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud, ฮาร์ดดิสก์พกพา หรือแฟลชไดร์ฟ ซึ่งแฟลชไดร์ฟในปัจจุบันที่มีหลากรูปแบบมากมากเช่น wooden usb , twister usb , card usb และอื่น ๆ อีกมากมาย
ฮาร์ดดิสก์พกพา อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลรูปแบบนึงที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมใช้งานในหมู่ผู้ทำงานสายไอที หรือสายงานที่จำเป็นต้องใช้งานไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่อยู่ตลอดในยุคปัจจุบันก็คือ ฮาร์ดดิสก์พกพา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากฮาร์ดดิส์ที่ใส่ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วฮาร์ดดิสก์พกพาถือว่ามีรูปแบบการใช้งานที่คล้ายกับแฟลชไดร์ฟ กล่าวคือใช้สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปเครื่องใด ๆ เพื่อบันทึก เปิดดู ใช้งาน แก้ไขไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนอุปกรณ์นั้น ๆ แต่จุดที่แตกต่างกันก็คือสเกลของอุปกรณ์ ซึ่งฮาร์ดดิสก์พกพาถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีสเกลพื้นที่ และประสิทธิภาพการใช้งานขนาดใหญ่กว่านั่นเอง โดยฮาร์ดดิสก์พกพาที่มีวางจำหน่ายปัจจุบันมีระดับความจุเริ่มต้นในระดับเทราไบต์ และราคาจำหน่ายหลายพันบาท อีกทั้งฮาร์ดดิสก์พกพายังสามารถติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ลงไปได้ด้วย ขณะที่แฟลชไดร์ฟไม่สามารถติดตั้งโปรแกรม หรือแอปพลิเคชั่นใด ๆ ลงไปได้ ฮาร์ดดิสก์พกพาจึงถือเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่มีความต้องการใช้งานพื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่ และมีความต้องการใช้งานจัดการ แก้ไขไฟล์ต่าง ๆ ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงกว่าการเปิดดู คัดลอก ส่งต่อไฟล์ทั่ว ๆ ไป
Cloud พื้นที่จัดเก็บข้อมูลรูปแบบนึงที่ดูจะตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของผู้ใช้งานเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ ได้ค่อนข้างดีก็คือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลรูปแบบคลาวด์ หรือ Drive ออนไลน์ที่เข้าถึงได้ด้วยอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องพึ่งพาการเชื่อมต่อแก็ดเจ็ตภายนอกเข้ากับอุปกรณ์เหมือนแฟลชไดร์ฟ หรือฮาร์ดดิสก์พกพา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างกันแล้วก็ต้องบอกว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud นั้น สะดวกกว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของอุปกรณ์ภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ หรือกระทั่ง External SSD ในแง่ของการพกพาอุปกรณ์ กล่าวคือไม่ต้องพกพาอุปกรณ์เหล่านี้ติดตัวนั่นเอง แต่ขณะเดียวกันพื้นที่จัดเก็บข้อมูลรูปแบบ Cloud ก็มีข้อจำกัดหลายอย่างที่แตกต่างจากไดร์ฟภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ ข้อจำกัดแรกก็คือเรื่องความเป็นส่วนตัว เพราะระบบ Cloud นั้นเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ให้บริการโดยบริษัทผู้พัฒนาต่าง ๆ เช่น Google, Apple การจะใช้งานพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลจึงต้องมีการสมัครสมาชิกกับผู้ให้บริการเจ้านั้น ๆ ก่อน แตกต่างจากการซื้อ Drive ภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ หรือฮาร์ดดิสก์พกพามาใช้งานเอง ซึ่งนับได้ว่าเราเป็นเจ้าของพื้นที่ตัวจริง ประการที่สองก็คือข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่ และค่าบริการ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว ผู้ใช้งานหลายคนจะเข้าใจว่าระบบคลาวด์เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เราสามารถสมัครใช้งานได้ฟรี ๆ ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าบริการ หรือควักเงินซื้อแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟ, ฮาร์ดดิกส์พกพา หรือ External SSD แต่ทว่าความเป็นจริงแล้วไดร์ฟภายนอกเหล่านี้ที่เราซื้อมาใช้งานสามารถใช้งานได้แบบออฟไลน์ โดยไม่ต้องพึ่งพาอินเตอร์เน็ต ขณะที่การใช้งานพื้นที่ Cloud จำเป็นต้องพึ่งพาการเข้าถึงโดยอินเทอร์เน็ต อีกทั้งพื้นที่จัดเก็บข้อมูลฟรีที่ผู้ให้บริการเจ้าต่าง ๆ เปิดให้ใช้งานก็มักจะมีการจำกัดขนาดพื้นที่ไว้ในระดับนึงเท่านั้น ซึ่งหากต้องการใช้งานพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มากขึ้นก็ต้องจ่ายค่าบริการเพื่ออัพเกรดแพ็คเกจ ซึ่งอาจเป็นรูปแบบค่าบริการรายเดือน หรือรายปี แต่หากต้องการแฟลชไดร์ฟพกพาติดตัวควรเลือกใช้เป็น metal usb เพราะทำมาจากโลหะ จะมีความแข็งแรงเป็นพิเศษไม่ต้องต้องกังวลว่าจะโดนทับหรือตกหล่นแล้วจะเกิดความเสียหาย

Leave Comment