เทคนิคการเลือกซื้อ และใช้งานแฟลชไดร์ฟ-SSD ให้คุ้มค่ามากที่สุด

เทคนิคการเลือกซื้อ และใช้งานแฟลชไดร์ฟ-SSD ให้คุ้มค่ามากที่สุด

เป็นที่ทราบกันดีว่าแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD ถือเป็นไอเทมชิ้นสำคัญสำหรับใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ มีหลากหลายแบบทั้ง wooden usb, metal usb, classic usb เป็นต้น เพื่อจัดการกับไฟล์งาน หรือกระทั่งไฟล์สื่อบันเทิงต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับยุคปัจจุบันที่ไลฟ์สไตล์ของคนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น มีอุปกรณ์ไอทีแบบพกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตให้ได้ใช้งานอย่างสะดวกมากขึ้นตลอดทั้งวันก็ยิ่งทำให้ไอเทมตัวช่วยในการจัดการไฟล์ โอนย้ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ หรือกระทั่งเพื่อสำรองข้อมูลเป็นการชั่วคราวอย่างแฟลชไดร์ฟ, SSD มีความต้องการใช้งานมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตามมาพร้อม ๆ กันในการใช้งานแก็ดเจ็ตดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการจัดการกับไฟล์ดิจิทัลใด ๆ ก็คือ ปัญหาจุกจิกต่าง ๆ ระหว่างการใช้งานนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสเปคพื้นฐานต่าง ๆ ของตัวแฟลชไดร์ฟ SSD ที่อาจจะไม่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งาน พอร์ตการเชื่อมต่อที่ใช้ไม่ได้กับบางอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังตัวอย่างนี้อาจทำให้ผู้ใช้งานบางคนรู้สึกว่าการใช้งานแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟ SSD มีต้นทุนที่มากเกินความจำเป็น ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำเทคนิคในการเลือกซื้อและใช้งานแฟลชไดร์ฟ และ External SSD ให้คุ้มค่ามากที่สุด และช่วยจัดการกับปัญหากวนใจต่าง ๆ ในการใช้งานได้มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน
ใช้สายแปลงพอร์ตช่วย ปัญหายอดฮิตแรก ๆ ที่ทำให้ผู้ใช้งานบางคนต้องควักเงินมากกว่าที่ควรในการซื้อแฟลชไดร์ฟ หรือ External SSD มาใช้งานก็คือ พอร์ตเชื่อมต่อ หรือพอร์ต USB ที่ใช้งานได้เฉพาะบางอุปกรณ์นั่นเอง เนื่องจากอุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในชีวิตประจำวันอาจมีพอร์ตเชื่อมต่อที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น แล็ปท็อปที่ใช้งานอยู่อาจมีเพียงแค่พอร์ต USB-A ขณะที่สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตที่ใช้งานอยู่อาจมีเฉพาะพอร์ต USB-C เป็นต้น ผู้ใช้งานหลายคนจึงเลือกใช้วิธีซื้อแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD สองตัวที่ให้พอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-A และ USB-C มาใช้งาน ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะทำให้ต้องควักจ่ายเงินเพิ่มเป็นเท่าตัวแล้ว ก็ยังทำให้ไม่สามารถโอนย้ายไฟล์ข้อมูลใด ๆ ระหว่างแล็ปท็อป กับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตผ่านแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD ตัวนั้น ๆ ได้ด้วย เรียกได้ว่าสามารถใช้เป็นเพียงแค่แก็ดเจ็ตสำรองข้อมูลเฉพาะอุปกรณ์เท่านั้น ขณะที่วิธีที่คุ้มค่ากว่าและช่วยให้เซฟเงินในการจ่ายซื้อแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD เพิ่มอีกตัวก็คือ การหาซื้อสายแปลงพอร์ต(USB-C to USB-A, USB-A to USB-C) มาใช้งานนั่นเอง ซึ่งสายแปลงพอร์ตดังกล่าวนี้จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อแก็ดเจ็ตที่เป็นพอร์ต USB-C เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็นพอร์ต USB-A หรือแก็ดเจ็ตที่เป็นพอร์ต USB-A เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็นพอร์ต USB-C ได้ ทำให้สามารถโอนถ่ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ได้อย่างอิสระ
เลือกซื้อ Extenal SSD แบบประกอบเอง แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วแฟลชไดร์ฟจากแบรนด์ต่าง ๆ ที่เราสามารถหาซื้อได้ในตลาดจะเป็นลักษณะของแฟลชไดร์ฟสำเร็จรูป ซึ่งมีการประกอบตัวพอร์ตเชื่อมต่อ ชิปการ์ดเข้ากับบอดี้มาอย่างแน่นหนา พร้อมสำหรับนำไปเสียบใช้งานได้ทันที ทำให้ไม่สามารถเซฟงบด้วยการใช้วิธีซื้อชิ้นส่วนแยกมาประกอบเองได้ แต่สำหรับ External SSD นั้นแตกต่างออกไป เราสามารถหาซื้อได้ทั้งแบบสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งานทันที กับซื้อแบบแยกประกอบ หรือ DIY ซึ่งก็คือการหาซื้อตัวชิป SSD ตามความจุที่ต้องการ และหาซื้อเคส External SSD ที่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบที่ต้องการ รวมถึงดีไซน์ที่ชื่นชอบมาประกอบเข้าด้วยกัน วิธีนี้จะช่วยให้เซฟงบลงไปได้ราว 10-20% เลยทีเดียว ทั้งยังช่วยให้ได้ External SSD ที่มีหน้าตาสวยถูกใจ ไม่ซ้ำแบบใครด้วย อีกแบบที่มีการพกพาได้สะดวกคือ card usb สามารถใส่กระเป๋าตังได้

Leave Comment