พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC

พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC

แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และซอฟท์แวร์การประมวลผลต่าง ๆ จะพัฒนาขึ้นจากเดิมมาก มีอุปกรณ์ไอทีให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการมาของอุปกรณ์แบบพกพาต่าง ๆ เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือกระทั่งการปรับเปลี่ยนดีไซน์ ขนาดของแล็ปท็อปให้บางเบาลง เอื้อต่อการพกพามากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานโอนถ่าย เคลื่อนย้าย ส่งต่อข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ความสำคัญและความนิยมในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟก็ไม่ได้จางหายไปไหนมีและยังมีหลากหลายแบบให้ใช้งาน อย่างเช่น CARD USB METAL USB โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานบน PC หรือคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะสำหรับโอนถ่าย คัดลอกไฟล์งานต่าง ๆ ที่ถือว่ายังคงมีความสำคัญต่อกิจกรรมการทำงานของผู้ใช้งานหลายคนเช่นเดียวกับตลอดหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามอย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ มักจะมีปัญหาจุกจิกที่ผู้ใช้งานต้องเผชิญกันอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งทำให้กิจกรรมการทำงานต่าง ๆ ไม่สะดวก ลื่นไหลเท่าที่ควร เช่น ปัญหาไฟล์ข้อมูลสูญหาย คัดลอกไฟล์ไม่ได้ เปิดอ่าน หรือส่งต่อไฟล์ไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งเราเรียกปัญหาเหล่านี้รวม ๆ ได้ว่าเป็นอาการชำรุด เสียหายของแฟลชไดร์ฟนั่นเอง โดยที่ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานเอง ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอาพฤติกรรมต้องห้ามในการใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC ซึ่งเสี่ยงทำให้ตัวแฟลชไดร์ฟชำรุดเสียหายมาบอกกล่าวให้ได้ทราบ
ดาวน์โหลดไฟล์หนัง ซีรีย์บนอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้บนไดร์ฟ แม้ว่าปัจจุบันขนาดความจุโดยเฉลี่ยของแฟลชไดร์ฟจากหลายแบรนด์ หลายยี่ห้อจะมีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าในช่วงหลายปีก่อนมาก(มากกว่า 64 Gb ขึ้นไป) ซึ่งอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการจัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่อย่างไฟล์ภาพยนตร์ ซีรีย์ แต่หนึ่งในพฤติกรรมต้องห้ามที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือ การดาวน์โหลดไฟล์หนัง ซีรีย์ใด ๆ ที่เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ต่าง ๆ มีเปิดให้ดาวน์โหลดกันฟรี ๆ บน PC มาเก็บไว้ เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วยังเสี่ยงที่จะได้โปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่แฝงมากับไฟล์หนังเรื่องนั้น ๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียถึงขั้นทำให้แฟลชไดร์ฟเสียหาย รวมถึงตัวคอมพิวเตอร์ที่อาจมีอาการผิดปกติในการรันการทำงานของซอฟท์แวร์ต่าง ๆ จากการถูกชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รบกวน
ติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ลงบนไดร์ฟ อย่างที่ทราบกันว่าโดยทั่วไปแล้ว สถาปัตยกรรมของแฟลชไดร์ฟนั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานเป็นไดร์ฟภายนอก สำหรับเป็นพื้นที่จัดเก็บไฟล์ชั่วคราว เพื่อให้สะดวกในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ แต่ก็มีบางซอฟท์แวร์ เช่น ซอฟท์แวร์ที่มีชุดคำสั่งขนาดเล็ก อย่างซอฟท์แวร์ปรับแต่ง Interface หรือมินิเกมต่าง ๆ ที่สามารถติดตั้งลงไปบนไดร์ฟ และสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อทำการเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับ PC อย่างไรก็ตามแม้ว่าซอฟท์แวร์ลักษณะดังกล่าวจะสามารถติดตั้งและรันการทำงานได้ แต่ก็ถือเป็นหนึ่งในพฤติกรรมการใช้งานที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะซอฟท์แวร์ที่มีชุดคำสั่งต่าง ๆ อาจรบกวนการทำงานของแฟลชไดร์ฟจนทำให้เกิดอาการรวน และชำรุดเสียหายเร็วกว่าอายุการใช้งานที่ควรจะเป็น
บันทึกไฟล์จากอินเตอร์โดยไม่ทำการสแกนไวรัส แม้ว่าปัจจุบันการดาวน์โหลด หรือเซฟไฟล์จากอินเทอร์เน็ตจะถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการใช้งานอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกิจกรรมการทำงาน ซึ่งมักมีการแชร์ไฟล์ภายในองค์กรผ่านระบบคลาวด์ของผู้ให้บริการรายต่าง ๆ แต่อีกหนึ่งพฤติกรรมที่ผู้ใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC ควรระมัดระวังก็คือการดาวน์โหลด บันทึกไฟล์ลงไดร์ฟโดยไม่ได้สแกนไวรัส เพราะนั่นอาจทำให้ได้ไวรัส โทรจัน โปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ติดมาด้วย แม้ว่าจะเป็นไฟล์จากบุคคลรู้จักก็ตาม ทั้งนี้หากต้องการแฟลชไดร์ฟซักอันไว้ใช้งานเราขอแนะนำเป็น RECYCLE USB เป็นแฟลชไดร์ฟรีไซเคิล ที่มีความทันสมัยไม่ทำร้ายโลก และยังมีความสวยงามอีกด้วย

Leave Comment