ข้อจำกัดในการใช้แฟลชไดร์ฟเก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟถือได้ว่ามียืดหยุ่นกว่าในช่วงหลายปีก่อนพอสมควร เนื่องจากบรรดาแบรนด์ผู้ผลิตแต่ละเจ้าต่างก็มีการพัฒนาทั้งในเรื่องของขนาดความจุ ประสิทธิภาพในการใช้งาน และพอร์ตเชื่อมต่อให้สอดรับกับเทคโนโลยี และสเปคอุปกรณ์ไอทีเจเนอเรชั่นใหม่ๆ มากขึ้น มีหลากหลายรูปแบบ เช่น Wooden Usb Leather Usb และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อ ซึ่งแต่เดิมการใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้จะผูกติดอยู่กับพอร์ต USB-A มาตลอด เป็นเวลานานเกินกว่าทศวรรษแล้ว แต่ปัจจุบันหลังจากที่อุปกรณ์ไอที เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตรุ่นใหม่ๆจากแบรนด์ผู้ผลิตเจ้าดังต่างๆ ได้มีการปรับเปลี่ยนไปใช้พอร์ตเชื่อมต่อเจนฯใหม่ ซึ่งก็คือ USB-C ที่ดูเหมือนจะกลายเป็นพอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานใหม่ที่เข้ามาทลายข้อจำกัดในการโอนถ่ายข้อมูลข้ามแพลตฟอร์ม บรรดาผู้ผลิตแก็ดเจ็ตเจ้าต่างๆ ก็ได้มีการพัฒนาแฟลชไดร์ฟพอร์ต USB-C ออกมาวางจำหน่ายตามเช่นกัน ซึ่งก็ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนมองว่าแฟลชไดร์ฟ USB-C นั้นเป็นหนึ่งในตัวเลือกการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้งานบนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ที่มีขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายในที่จำกัด เช่น อุปกรณ์ที่มีพื้นที่ต่ำกว่า 100 Gb ลงไป ซึ่งเป็นขนาดความจุที่น้อยเกินกว่าจะรองรับไลฟ์ไตล์ดิจิทัลของผู้ใช้งานในปัจจุบันได้ อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง การใช้งานแฟลชไดร์ฟเพื่อจัดเก็บข้อมูลต่างๆ บนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตนั้นถือว่ายังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่อาจทำให้ไม่สามารถทดแทนขนาดพื้นที่ความจำภายในของอุปกรณ์นั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ผู้ใช้งานหลายคนคาดหวังไว้ แม้ว่าการมาของพอร์ต USB-C จะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อตัวแก็ดเจ็ตเข้ากับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตได้โดยตรงจริงก็ตาม ซึ่งในบทความนี้เองก็ได้นำเอาข้อจำกัดต่างๆ ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟเพื่อจัดเก็บข้อมูลร่วมกับอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตมาบอกกล่าวให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจกันอย่างถูกต้องว่ามีส่วนไหนบ้างที่เราอาจจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และได้รับความสะดวกตามที่เราคาดหวังไว้

ไม่สามารถจัดเก็บแอปพลิเคชั่น หรือซอฟท์แวร์ที่มีชุดคำสั่งเพื่อรันการทำงานได้ ข้อจำกัดสำคัญประการแรกในการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับจัดเก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตก็คือ การที่ไม่สามารถติดตั้งแอปพลิเคชั่น หรือซอฟท์แวร์ใดๆ ลงบนไดร์ฟได้นั่นเอง โดยมีเพียงไฟล์ดิจิทัลที่ไม่มีชุดคำสั่งสำหรับรันการทำงานใดๆ เช่น ไฟล์รูปภาพ วิตรงนั่นดีโอ คลิปเสียง ไฟล์เอกสารต่างๆ เท่านั้น ที่เราสามารถโอนย้ายจากพื้นที่จัดเก็บบนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตมาไว้บนไดร์ฟของแฟลชไดร์ฟได้ กล่าวสรุปได้ว่าเราไม่สามารถใช้แฟลชไดร์ฟแก้ปัญหาหน่วยความจำภายในอุปกรณ์เต็มจากการติดตั้งแอปพลิเคชั่นจำนวนมากได้นั่นเอง

มีความเสี่ยงที่ข้อมูลอาจสูญหาย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัญหายอดฮิตอย่างหนึ่งในการใช้งานแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟก็คือ ปัญหาข้อมูลสูญหายจากอาการเสีย หรือชำรุดของตัวแก็ดเจ็ตนั่นเอง ซึ่งสาเหตุนั้นก็มีหลากหลาย เช่น ติดไวรัส ฮาร์ดแวร์เสื่อมคุณภาพ การใช้งานที่ผิดวิธี เป็นต้น ดังนั้นการใช้งานแฟลชไดร์ฟเพื่อสำรองข้อมูลจากสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการสำรองข้อมูลเพื่อเคลียร์พื้นที่ความจำภายในอุปกรณ์(เมื่อคัดลอกข้อมูลมายังแฟลชไดร์ฟแล้วทำการลบข้อมูลบนอุปกรณ์ออกไปนั้น) จึงค่อนข้างเสี่ยงที่ข้อมูลจะสูญหายไปแบบถาวร

สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตส่วนใหญ่ยังไม่รองรับคำสั่งอ่าน เขียนข้อมูลจากแฟลชไดร์ฟ อีกหนึ่งข้อจำกัดที่อาจทำให้ผู้ใช้งานหลายคนรู้สึกว่าการใช้งานแฟลชไดร์ฟเพื่อจัดเก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟน แฟลชไดร์ฟนั้นไม่สะดวกเท่าที่ควรก็คือ การที่สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตหลายรุ่นจากแบรนด์ผู้ผลิตเจ้าดังต่างๆ ยังไม่รองรับคำสั่งอ่าน เขียนข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟได้โดยตรงนั้นเอง แม้ว่าเราจะสามารถเสียบเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้าที่ตัวสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตได้โดยตรงด้วยพอร์ต USB-C ก็ตาม โดยยังจำเป็นต้องมีการลงซอฟท์แวร์เสริมเพื่อช่วยในการอ่าน เขียนข้อมูลบนไดร์ฟนั้นๆ  หากกำลังหาแฟลชไดร์ฟซักอันเป็นของขวัญให้ใครซักอันเราอยากจะแนะนำเป็น Gift Set รับรองว่าผู้รับจะต้องประทับใจแน่นอน

Leave Comment