เช็คลิสต์ สิ่งที่ไม่ควรทำ ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type C

เช็คลิสต์ สิ่งที่ไม่ควรทำ ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type C

เมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ตเสริมสำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ไอที เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แล็ปท็อป ในปัจจุบัน ก็แน่นอนมีแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ได้รับความนิยมใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นก็คือแฟลชไดร์ฟซึ่งมีหลากหลายแบบมากมายเช่น wooden usb, metal usb, leather usb หรือแฟลชไดร์ฟ Type C แฟลชไดร์ฟที่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-C นั่นเอง ทั้งนี้เดิมทีแล้วแก็ดเจ็ตชิ้นดังกล่าวถือว่าเป็นไอเทมที่ผู้ใช้งานอุปกรณ์ไอทีรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่พอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานที่ติดมากับตัวแก็ดเจ็ตเป็นเวลานานนับสิบปีนั้นจะเป็นพอร์ต USB Type A ขณะที่อุปกรณ์พกพาเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ นั้นไม่ได้มาพร้อมกับพอร์ต USB-A ทำให้ช่วงไม่กี่ปีหลังที่ผ่านมานี้ ความนิยมในการใช้งานแฟลชไดร์ฟลดน้อยถอยลงไปพอสมควร ก่อนที่แฟลชไดร์ฟ USB-C จะถูกเปิดตัวออกสู่ตลาด และทำให้ผู้ใช้งานบางส่วนกลับมาพกพาแฟลชไดร์ฟ Type-C ไว้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อป อย่างไรก็ตามในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ พอร์ต USB-C ก็มีข้อควรระวังที่แตกต่างไปจากพอร์ต USB-A ที่ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ควรระมัดระวังอยู่หลายประการด้วยกัน ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอาสิ่งที่ควรระวัง และหลีกเลี่ยงในการใช้งานไอเทมชิ้นนี้มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

ไม่ใช่สาย/แก็ดเจ็ตแปลงพอร์ต เกินความจำเป็น อย่างที่ทราบกันว่าแฟลชไดร์ฟในยุคเริ่มต้นที่เราคุ้นเคยกันมีพอร์ตมาตรฐานแบบเดียว ซึ่งก็คือ USB-A และในการใช้งานจริง ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ก็แทบไม่มีความจำเป็นต้องใช้เชื่อมต่อเข้ากับพอร์ตลักษณะอื่น ๆ เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันอย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป ก็มีพอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานเป็น USB-A เช่นกัน ทว่าในปัจจุบันนี้แตกต่างออกไป พอร์ต USB-C ไม่ใช่เพียงพอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานเดียวเท่านั้น แต่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปหลาย ๆ รุ่นก็ยังคงมาพร้อมกับพอร์ตแบบ USB-A นอกจากนี้ก็ยังมีพอร์ตรูปแบบอื่น ๆ ที่อยู่ในอุปกรณ์พกพา เช่น USB-B, Lightning อีก ผู้ใช้งานบางส่วนจึงอาจมีความต้องการใช้งานพอร์ตการเชื่อมต่อมากกว่า 1 พอร์ตขึ้นไป และทำให้ตัดสินใจเลือกหาขั้วแปลงพอร์ต หรือสายแปลงพอร์ตมาต่อพ่วงกับพอร์ต USB-C ของตัวแฟลชไดร์ฟอีกทีนึง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะแม้ว่าจะไม่มีแบรนด์ผู้ผลิตรายใดออกมาแนะนำโดยตรงว่าไม่ควรใช้งานลักษณะดังกล่าว แต่ด้วยสถาปัตยกรรมของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ที่เป็นการใช้คำสั่งการทำงานแบบดิจิทัล และมีการส่งกระแสไฟและแปลงสัญญาณไปยังพอร์ตเชื่อมต่อเมื่อใช้งานนั้น การต่อพ่วงขั้วแปลงสัญญาณเพิ่มเติม จึงมีแนวโน้มที่จะรบกวนคำสั่งการทำงาน และอาจก่อให้เกิดเอฟเฟ็กต์ในทางลบได้

เสียบใช้งานโดยไม่สแกนไวรัส ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ ผู้ใช้งานหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการกดสแกนไวรัสเมื่อเสียบใช้งานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป ก่อนที่จะเปิดดูข้อมูลบนไดร์ฟ เพื่อใช้งานไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ หรือคัดลอก ส่งต่อ แต่สำหรับการใช้งานแฟลชไดร์ฟ USB-C กับอุปกรณ์พกพา สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หลายคนอาจจะหลงลืมถึงขั้นตอนดังกล่าวไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าระบบของอุปกรณ์พกพา เช่น Android, IOS, Ipad OS จะมีฟังก์ชั่นป้องกันความปลอดภัยในตัว สกรีนแอปพลิเคชั่นอันตรายบนสโตร์อัตโนมัติ แต่การสแกนไวรัสจากไดร์ฟที่เชื่อมต่อเข้าไปใหม่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพราะไวรัสที่อาจแฝงอยู่กับไฟล์ต่าง ๆ ในแฟลชไดร์ฟถือเป็นคนละส่วนกับที่อยู่บนอุปกรณ์ จึงอาจอยู่นอกเหนือการมองเห็นและเรียกใช้ฟังก์ชั่นความปลอดภัยอัตโนมัติของอุปกรณ์นั่นเอง

ติดตั้งแอปพลิเคชั่นช่วยจัดการไดร์ฟต่าง ๆ อีกหนึ่งข้อควรระวังที่ต้องบอกว่าค่อนข้างอันตรายในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type C บนอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตก็คือ การติดตั้งแอปพลิเคชั่นเสริมช่วยจัดการข้อมูลบนไดร์ฟไว้ใช้งานควบคู่กันนั่นเอง เพราะแอปพลิเคชั่นลักษณะนี้มีให้ดาวน์โหลดอยู่บนสโตร์จำนวนมาก และการใช้งานก็เท่ากับการยินยอมให้ตัวแอปพลิเคชั่นสามารถเข้าถึงไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนไดร์ฟของเรา ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งแอปพลิเคชั่นลักษณะดังกล่าวนี้ และใช้เพียงแอปพลิเคชั่นจัดการไดร์ฟที่ติดมากับอุปกรณ์ หรือเป็นแอปพลิเคชั่นทางการจากแบรนด์ผู้ผลิตแฟลชไดร์ฟที่เราใช้งานเท่านั้นและเพื่อป้องกันการสูญหายของแฟลชไดร์ฟควรเอาไว้กับ gps tracker ทำให้เห็นพิกัดของแฟลชไดร์ฟง่ายต่อการหา

 

Leave Comment