เหตุผลที่ไม่ควรใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกับผู้อื่น
อย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานอุปกรณ์ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป แท็บเล็ต สำหรับกิจกรรมการทำงาน การเรียนต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน มีแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ค่อนข้างมีความสำคัญในการใช้งานควบคู่กันเพื่อให้กิจกรรมการทำงานต่าง ๆ ของผู้ใช้งานลื่นไหลมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือ “แฟลชไดร์ฟ” สำหรับจัดเก็บ ส่งต่อ โอนถ่ายไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ นั่นเองซึ่งมีมากมายหลายแบบอย่างเช่น Wooden Usb, Leather Usb, Card Usb เป็นต้น และบ่อยครั้งการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับกิจกรรมการทำงาน การเรียนต่าง ๆ ของผู้ใช้งานหลายคนก็อาจเป็นไปในลักษณะของการใช้งานร่วมกันกับบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นการหยิบยืมชั่วคราว หรือการแบ่งปันแก็ดเจ็ตกันใช้งานในระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าการใช้งานในลักษณะย่อมมีข้อดีตรงที่สามารถช่วยให้ผู้ใช้งานบางส่วนประหยัดต้นทุนในการควักเงินซื้อตัวแก็ดเจ็ตมาใช้งานนั่นเอง ทั้งยังสามารถแชร์ข้อมูลให้กันได้อย่างสะดวกอีกด้วย แต่ทว่าขณะเดียวกันก็ตามมาด้วยข้อเสีย และความเสี่ยงในการใช้งานข้อมูล รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ หลายประการเช่นกัน เรียกได้ว่าเมื่อช่างน้ำหนักดูแล้ว ข้อดีที่ได้จากการใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันในหมู่ผู้ใช้งานหลายคนอาจจะไม่คุ้มค่าสำหรับข้อเสีย และความเสี่ยงที่จะตามมาสักเท่าไหร่ ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอาข้อเสียและความเสี่ยงต่าง ๆ จากการใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันมาแบ่งปันให้ผู้ใช้งานได้ทราบกัน
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ข้อเสียใหญ่อย่างแรกที่เห็นได้ชัดในการใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันในหมู่ผู้ใช้งานหลายคนก็คือ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่จะลดทอนลงไปมากเลยนั่นเอง เพราะแน่นอนว่าเมื่อเป็นการใช้งานร่วมกันหลายคน ผู้ใช้งานแต่ละคนย่อมไม่สามารถที่จะจัดเก็บไฟล์ส่วนตัว หรือไฟล์ที่ไม่ต้องการแชร์กับผู้อื่นลงไปได้ และในการจัดเก็บไฟล์งานที่จำเป็นต่าง ๆ ลงไป ก็ย่อมเท่ากับว่าผู้อื่นสามารถเข้าถึง เปิดอ่าน หรือแก้ไขไฟล์ของเราได้ด้วย
ความปลอดภัยจากโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ลดน้อยลง เมื่อเป็นการใช้งานร่วมกัน หรือแชร์กันใช้งานกับผู้ใช้งานหลายคนก็แน่นอนว่าสิ่งที่จะตามมาก็คือ การนำแฟลชไดร์ฟไปเสียบเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์หลายตัว รวมถึงเสียบใช้งานกับอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์มด้วย และนั่นก็ย่อมทำให้ความเสี่ยงเรื่องการรักษาความปลอดภัย หรือการถูกเข้าถึง โจมตีโดยไวรัส โปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ มีมากขึ้นไปโดยอัตโนมัติ เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าบนอุปกรณ์ของผู้ใช้งานคนอื่น ๆ มีโปรแกรมไม่พึงประสงค์ใด ๆ แอบแฝงอยู่หรือไม่
ความเสี่ยงที่แก็ดเจ็ตจะชำรุดเสียหายจากการเสียบใช้งานกับอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์ม อย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานร่วมกันกับผู้ใช้งานหลายคน ย่อมทำให้ตัวแฟลชไดร์ฟถูกนำไปเสียบใช้งานเข้ากับอุปกรณ์หลายตัว และบางตัวก็อาจเป็นอุปกรณ์คนละแพลตฟอร์ม หรือมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ซึ่งความต่างของแพลตฟอร์มนี้เองย่อมนำมาซึ่งความต่างของคำสั่งดิจิทัลในการเรียกดู เข้าถึง ไฟล์ข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟด้วยเช่นกัน การที่ตัวแก็ดเจ็ตต้องรับคำสั่งการทำงานที่แตกต่างกัน สลับไปมาตลอดก็จะนำมาซึ่งความเสี่ยงที่แผงวงจรจะเสื่อมสภาพ หรือเสียหายได้เร็วขึ้นกว่าปกตินั่นเอง
จัดกลุ่มไฟล์ ค้นหาเรียกใช้ไฟล์ต่าง ๆ ได้ยาก อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้การใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันในหมู่ผู้ใช้งานหลายคนดูจะมีข้อเสียมากกว่าก็คือ การจัดการไฟล์ จัดกลุ่มไฟล์ ค้นหาและเรียกใช้ไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะยากกว่าการใช้งานเป็นแก็ดเจ็ตส่วนตัวนั่นเอง เพราะเมื่อมีผู้ใช้งานหลายคน ก็ย่อมมีการบันทึกไฟล์ หรือสร้างไฟล์จากผู้ใช้หลายคนตามไปด้วย จำนวนไฟล์ที่ถูกบันทึกก็ย่อมมีมากด้วยเช่นกัน วิธีการจัดกลุ่มไฟล์ การตั้งชื่อโฟลเดอร์ของผู้ใช้แต่ละคน ก็อาจแตกต่างกันออกไปตามความคุ้นเคยด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญหายของแฟลชไดร์ฟควรเลือกใช้ Package แฟลชไดร์ฟ มีขนาดใหญ่กว่าแฟลชไดร์ฟจะได้ไม่สูญหายง่าย