เปรียบเทียบ SD Card และแฟลชไดร์ฟ ในปี 2023 เลือกใช้อันไหนดีกว่ากัน ?
เมื่อพูดถึงอุปกรณ์เสริมสำหรับจัดเก็บข้อมูล ไฟล์ดิจิทัลต่างๆ โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์แรกๆที่เรานึกถึงกันก็มักจะเป็นแฟลชไดร์ฟ มีหลากหลายแบบเช่น WOODEN USB METAL USB แก็ดเจ็ตที่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปจากแบรนด์ต่างๆ ผ่านพอร์ต USB ได้อย่างสะดวก ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาพอร์ตเชื่อมต่อ เพิ่มความยืดหยุ่นในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์มให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกในการโอนถ่ายข้อมูลมากขึ้นผ่านพอร์ต Type อื่นๆ เช่น USB Type C, Lightning แล้วด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามนอกจากแฟลชไดร์ฟแล้ว แก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลชิ้นนึงที่ถือว่าถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งผู้ใช้งานหลายคนก็รู้จักคุ้นเคยดี และได้รับความนิยมใช้งานในช่วงเริ่มแรกสูงเช่นกันก็คือ SD Card ที่ปัจจุบันดูเหมือนจะได้รับความนิยมลดน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังคงเป็นหนึ่งในแก็ดเจ็ตที่มีประโยชน์ในการจัดเก็บข้อมูลร่วมกับอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ในบทความนี้จึงจะมาอัปเดทการเปรียบเทียบระหว่างแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลขนาดเล็กอย่าง SD Card และแฟลชไดร์ฟให้ได้ทราบกันว่าในปี 2023 ประสิทธิภาพการใช้งาน ประโยชน์ ความคุ้มค่า อันไหนมีมากกว่ากัน และเราควรเลือกใช้แบบไหนจึงจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของเราได้มากที่สุด
– แฟลชไดร์ฟเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีการพัฒนาได้แมตช์กับอุปกรณ์ไอทีเจเนอเรชั่นใหม่ๆ มากกว่าและมีหลากหลายแบบเช่น CARD USB PEN USB มีความยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่า ข้อเปรียบเทียบแรกที่ต้องบอกเป็นข้อดีที่ชัดเจนของแฟลชไดร์ฟก็คือ ความสะดวกในการใช้งานนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือหากต้องการแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลสำรองสักอัน ไว้ใช้โอนถ่ายไฟล์งาน หรือสื่อต่างๆ ระหว่างอุปกรณ์ การเลือกใช้แฟลชไดร์ฟดูจะตอบโจทย์กว่านั่นเอง เพราะทั้งการพัฒนาเวอร์ชั่น USB ที่มีความชัดเจนต่อเนื่องกว่า(ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้นเรื่อยๆ) ขนาด หรือพื้นที่ความจุข้อมูลที่ถูกพัฒนาขยายขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วเช่นกัน และ Type ของพอร์ตเชื่อมต่อที่พัฒนาให้หลากหลายขึ้นจนสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตได้แล้ว ขณะที่ SD Card นั้นแม้ว่าจะมีการพัฒนาเวอร์ชั่นพอร์ตเชื่อมต่อตามกาลเวลาเช่นกัน แต่ก็เห็นได้ชัดว่าความต่อเนื่องนั้นมีไม่มากเท่าแฟลชไดร์ฟ อีกทั้ง Type ของพอร์ตเชื่อมต่อ หรือ Card Reader ก็เป็นอีกหนึ่งข้อจำกัดที่ทำให้ความยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อ SD Card เข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ มีไม่มากเท่ากับแฟลชไดร์ฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแบรนด์ผู้ผลิตแล็ปท็อปบางแบรนด์เริ่มมีการตัดฟังก์ชั่นช่องเสียบ SD Card ออกไปจากแล็ปท็อปรุ่นใหม่ๆ ก็ยิ่งทำให้ความสะดวกในการใช้งานการ์ดเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ลดน้อยถอยลงไปอีก
– SD Card มีประโยชน์ในการใช้งานเป็นพื้นที่ความจำสำหรับอุปกรณ์ใช้งานเฉพาะทาง แม้ว่าแฟลชไดร์ฟจะเป็นแก็ดเจ็ตที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่าดังกล่าวในข้อที่ผ่านมา แต่ก็อย่างที่หลายคนพอจะทราบกันว่าสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของแฟลชไดร์ฟเหมาะสำหรับใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวเพื่อโอนย้าย หรือถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เหมาะสำหรับการเสียบเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใดๆทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานๆ แต่สำหรับ SD Card นั้น ถูกออกแบบมาให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใดๆ เพื่อเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลประจำของอุปกรณ์นั้นๆได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ที่มีประโยชน์การใช้งานเฉพาะทาง เช่น กล้องดิจิทัล กล้อง DSLR หรือกล้อง Mirrorless จากแบรนด์ต่างๆ ซึ่งถือว่ายังมีความจำเป็นต้องใช้งาน SD Card ในการเป็นพื้นที่จัดเก็บไฟล์ภาพ ไฟล์วิดีโอต่างๆ เช่นเดียวกับสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์จากหลายๆแบรนด์ ที่ก็ยังสามารถใช้ Micro SD Card ในการเสียบเชื่อมต่อเข้าไปเพื่อเพิ่มพื้นที่จัดเก็บไฟล์รูปภาพ วิดีโอ หรือเอกสารต่างๆ ได้ ซึ่งจะช่วยให้เหลือพื้นที่ภายในของอุปกรณ์ไว้สำหรับติดตั้งแอปพลิเคชั่นได้มากขึ้น