เลือกแฟลชไดร์ฟอย่างไร _ ให้ใช้งานได้กับทุกแพลตฟอร์ม

เลือกแฟลชไดร์ฟอย่างไร? ให้ใช้งานได้กับทุกแพลตฟอร์ม

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์ไอทีของผู้ใช้งานส่วนใหญ่นั้นแตกต่างไปจากยุคก่อน ๆ พอสมควร โดยปัจจุบันมีตัวแพลตฟอร์ม หรืออุปกรณ์ให้ผู้ใช้งานเลือกใช้หลากหลายขึ้น ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปเท่านั้น โดยยังมีอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างแท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนแบบต่าง ๆ อีก ซึ่งก็ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้การเลือกหาแก็ดเจ็ตเสริมมาไว้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงการใช้งานร่วมกันได้กับหลายแพลตฟอร์ม เช่นเดียวกับแฟลชไดร์ฟ Metal Usb, Card Usb, และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ซึ่งเดิมทีแล้วผู้ใช้งานในยุคก่อน ๆ มักจะคุ้นเคยกับการใช้งานเฉพาะบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปเท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องใส่ใจเรื่องของการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มแต่อย่างใด ทว่าในปัจจุบันที่ความต้องการโอนถ่ายไฟล์ข้ามแพลตฟอร์มเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้การเลือกใช้งานแฟลชไดร์ฟสักตัว จำเป็นต้องคำนึงถึงการเสียบใช้งานได้กับอุปกรณ์หลากหลายแพลตฟอร์มด้วยนั่นเอง ในบทความนี้จึงได้นำเอาวิธีเลือกแฟลชไดร์ฟที่สามารถใช้งานร่วมกับทุกแพลตฟอร์มได้ มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

เลือกแฟลชไดร์ฟแบบ Dual Port

หากนึกถึงหน้าตาแฟลชไดร์ฟที่เราคุ้นเคยกันในช่วงหลายปีก่อน ก็แน่นอนว่ามักจะเป็นแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานแบบพอร์ตเดี่ยว ซึ่งก็คือพอร์ต USB-A ทว่าปัจจุบันดังที่กล่าวข้างต้นว่าพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์ไอทีของผู้ใช้งานเปลี่ยนไป มีแพลตฟอร์มให้เลือกใช้หลากหลายขึ้น ทำให้พอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานแบบ USB-A ไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานแล้ว โดยผู้ใช้งานควรเลือกใช้สินค้าที่มาพร้อม Dual Port ซึ่งก็คือมาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อสองพอร์ต โดยมีพอร์ตด้านนึงเป็นพอร์ตมาตรฐาน USB-A ส่วนอีกด้านนึงควรเลือกที่เป็นพอร์ต USB-C ที่ถูกกำหนดให้เป็นพอร์ตมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต) เจเนอเรชั่นใหม่ ๆ เพื่อให้การใช้งานแฟลชไดร์ฟนี้สะดวกกับทุกอุปกรณ์ นอกจากนี้บางแบรนด์ยังมีการออกแบบแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมแพ็กเกจสวยงามเหมาะสำหรับเป็น gift set ให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย

เลือกใช้แบรนด์ที่มีซอฟต์แวร์จัดการไฟล์ของตนเอง

แม้ว่าพอร์ตเชื่อมต่อจะถือเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยแรกที่กำหนดว่าเราจะสามารถเสียบเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟตัวนั้น ๆ เข้ากับอุปกรณ์ใด ๆ ได้หรือไม่ แต่อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้ใช้งานต้องไม่หลงลืมไปก็คือ ระบบการเมเนจไฟล์ข้อมูล การอ่านไฟล์ การเรียกเปิดไฟล์ของแต่ละแพลตฟอร์มมีความแตกต่างกัน โดยการเสียบเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับบางแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะแพลตฟอร์มพกพาอาจจะเกิดปัญหาติดขัดในการจัดการไฟล์ได้ ผู้ใช้งานจึงควรต้องเลือกใช้งานสินค้าจากแบรนด์ที่มีซอฟต์แวร์เสริมช่วยจัดการไฟล์เป็นของตนเอง เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และลดความยุ่งยาก หรือความเสี่ยงที่จะเจอปัญหาในการสลับใช้งานบนหลากหลายแพลตฟอร์มในอนาคต

USB-A & Lightning

เป็นที่ทราบกันดีว่าสำหรับสมาร์ทโฟนบางแบรนด์ บางรุ่นนั้น พอร์ตการเชื่อมต่อจะไม่ได้เป็นแบบ USB-C แต่จะเป็นแบบ Lightning ซึ่งก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งพอร์ตเชื่อมต่อที่ผู้ใช้งานจำนวนมากคุ้นเคย และยังคงใช้งานอยู่ และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนเลือกหาแฟลชไดร์ฟ Dual Port ที่เป็น USB-C และ Lightning แทนที่จะเป็น USB-A และ USB-C อย่างไรก็ตามผู้ใช้งานต้องไม่ลืมว่านอกเหนือจากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปแล้ว ยังมีอุปกรณ์เสริมอีกหลายตัวที่ยังคงใช้พอร์ตเชื่อมมาตรฐานแบบ USB-A เช่น ลำโพงพกพา เครื่องเสียง/เครื่องเสียงรถยนต์ ดังนั้นการมีพอร์ตแบบ USB-A ไว้ จะช่วยให้เราใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมกว่า หากต้องการใช้งานพอร์ต Lightning ด้วย ผู้ใช้งานจึงควรเลือกหา Dual Port ที่เป็น USB-A & Lightning แทนที่จะเป็น USB-C & Lightning หรือในกรณีที่แฟลชไดร์ฟแบรนด์ที่เราต้องการไม่มี Dual Port ดังกล่าว ก็อาจเลือกใช้วิธีหาขั้วแปลงพอร์ตแบบ USB OTG (USB On-The-Go) จาก USB-C เป็น Lightning หรือจาก USB-A เป็น Lightning มาต่อใช้งานเพิ่ม ก็จะช่วยให้เราใช้งานแฟลชไดร์ฟได้ครอบคลุมกับทุกแพลตฟอร์มเช่นกัน

 

Leave Comment