เช็คลิสต์สิ่งที่ควรทำ/ไม่ควรทำ เมื่อเปิดไฟล์ในแฟลชไดร์ฟไม่ได้
แฟลชไดร์ฟมีหลายรูปแบบมากมาย ทั้งแบบ card usb, wooden usb, metal usb เป็นต้น ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับบันทึกข้อมูล โอนถ่ายไฟล์ดิจิทัลต่างๆ นั้น ผู้ใช้งานหลายคนคงทราบกันดีว่ามีหนึ่งในปัญหากวนใจที่มักจะเกิดขึ้นแบบที่เราไม่ทันตั้งตัว ซึ่งก็คือปัญหาการเปิดไฟล์ใด ๆ ที่เราบันทึกไว้ในแฟลชไดร์ฟเพื่ออ่าน หรือคัดลอก ส่งต่อไม่ได้นั่นเอง และแม้ว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะทราบดีว่าควรต้องสำรองไฟล์ข้อมูลนั้น ๆ ไว้บนอุปกรณ์อื่นก่อนทำการบันทึกลงแฟลชไดร์ฟ แต่ในการใช้งานจริงนั้นก็มีบ่อยครั้งที่เราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สะดวกในการสำรองข้อมูลไปยังอุปกรณ์อื่น ไม่ว่าจะด้วยข้อจำกัดเรื่องของเวลา อุปกรณ์ที่มีให้ใช้งาน หรือด้านความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลสำคัญโดยบุคคลอื่น ดังนั้นปัญหาการเปิดไฟล์จากแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ไม่ได้ จึงยังคงนับเป็นปัญหายอดฮิตนึงของผู้ใช้งานอุปกรณ์ไอทีในปัจจุบัน ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำลิสต์สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ เมื่อไม่สามารถเปิดไฟล์ใด ๆ จากแฟลชไดร์ฟได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟล์เสียหายจนถึงขั้นไม่สามารถเปิดและใช้งานไฟล์นั้น ๆ ได้เป็นการถาวร
ควรสแกนไวรัสโดยโปรแกรมของระบบ ลิสต์สิ่งที่ควรทำอันดับแรกเมื่อไม่สามารถเปิดไฟล์ในแฟลชไดร์ฟได้ก็คือ การสแกนไวรัสโดยโปรแกรมของระบบบนอุปกรณ์นั้น ๆ เอง ทั้งนี้อุปกรณ์บางตัวในปัจจุบันจะมีระบบป้องกันภัยคุกคามจากไดร์ฟภายนอก ทำให้ไม่สามารถเปิด เรียกดูไฟล์ใดๆ ได้ หากไม่ผ่านการสแกนโดยระบบซะก่อน ดังนั้นในหลายๆกรณีที่ผู้ใช้งานไม่สามารถเปิดไฟล์จากแฟลชไดร์ฟได้ จึงสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยการกดสแกนไวรัสโดยโปรแกรมของระบบ ก่อนเข้าไปเปิดไฟล์อีกครั้งหลายจากที่เสร็จสิ้นขั้นตอนการสแกนไวรัส
ไม่ควรสแกนไวรัสโดยโปรแกรมที่ติดตั้งเอง มากันที่ลิสต์ที่ไม่ควรทำเมื่อไม่สามารถเปิดไฟล์จากแฟลชไดร์ฟได้กันบ้าง ซึ่งก็คือ การกดสแกนไวรัสโดยโปรแกรมแอนตี้ไวรัสต่างๆ ที่ทำการดาวน์โหลดมาติดตั้งเองนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะโปรแกรมสแกนไวรัสต่าง ๆ ที่มีให้เลือกดาวน์โหลดมาใช้งานกันฟรี ๆ ตามแหล่งดาวน์โหลดออนไลน์ต่าง ๆ นั้น อาจแฝงมาด้วยไวรัส หรือซอฟท์แวร์ไม่พึ่งประสงค์ต่าง ๆ ซะเอง และบ่อยครั้งการใช้งานโปรแกรมสแกนไวรัสที่เชื่อถือไม่ได้เหล่านี้ก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้ไฟล์ต่าง ๆ บนแฟลชไดร์ฟเสียหายจนไม่สามารถเข้าถึงได้เป็นการถาวร
ไม่ควรดาวน์โหลดโปรแกรม/แอปพลิเคชั่น กู้คืนข้อมูลมาใช้งาน อีกหนึ่งวิธีที่ผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อยมักนึกถึง แต่ต้องจัดให้เป็นลิสต์ที่ไม่ควรทำก็คือ การดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชั่นกู้คืนข้อมูลใด ๆ มาใช้งานนั่นเอง เพราะซอฟท์ลักษณะดังกล่าวที่เปิดให้ดาวน์โหลดมาใช้งานกันฟรี ๆ จัดเป็นซอฟท์แวร์ที่ค่อนข้างอันตราย เนื่องจากต้องมีการอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลบนอุปกรณ์ของเราหลายส่วน อีกทั้งเปอร์เซ็นต์ที่ซอฟท์แวร์จะสามารถกู้คืนไฟล์ต่าง ๆ ได้จริงก็มีเพียงน้อยนิดด้วย เพราะพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของแฟลชไดร์ฟนั้นเป็นลักษณะของดิจิทัลไดร์ฟ ซึ่งจะเป็นการเขียนข้อมูลทับไปเรื่อย ๆ หากมีข้อมูลใด ๆ ถูกลบ หรือสูญหายไปแล้วจริง ๆ ก็เท่ากับว่าพื้นที่นั้น ๆ อาจถูกใช้งานในการเขียนข้อมูลใหม่ ๆ ทับลงไปแล้ว ซึ่งแตกต่างจากกรณีปัญหาเปิดไฟล์ไม่ได้ ที่ไฟล์ข้อมูลยังคงมีอยู่
เปิด/แกะบอดี้เพื่อตรวจเช็คชิ้นส่วนภายใน อีกหนึ่งลิสต์ข้อห้ามที่ต้องบอกว่าควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาดเลยก็คือ การเปิด หรือแกะบอดี้ของตัวแฟลชไดร์ฟ เพื่อตรวจเช็คความผิดปกติของชิ้นส่วนภายในใด ๆ นั่นเอง เนื่องจากชิ้นส่วนภายในแฟลชไดร์ฟนั้นเป็นเพียงชิปวงจรขนาดจิ๋ว ซึ่งง่ายต่อการถูกรบกวน หรือทำให้เสียหายได้เพียงแค่การสัมผัสไม่กี่ครั้ง และแน่นอนว่าเป็นเรื่องยากยิ่งที่ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ จะสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติของชิ้นส่วนภายในใด ๆ และทำการซ่อมแซมได้ การแกะบอดี้ออกมาตรวจเช็คเองจึงยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ไฟล์ข้อมูลเสียหาย และเข้าถึงไม่ได้เป็นการถาวรขึ้นไปอีก ทั้งที้ควรเลือกใช้แฟลชไดร์ฟที่ดี มีคุณภาพ มีรีวิวและควรเลือกใช้แฟลชไดร์ฟที่มีความแข็งแรงทนทานเมื่อตกหล่นอย่างเช่น Metal usb หรือหากว่ามีแฟลชไดร์ฟในรูปแบบอื่น ๆ ก็ควรใช้ Package แบบกล่องหรือถุงผ้าเพื่อป้องกันการตกหล่น ที่อาจจะก่อให้ข้างในของแฟลชไดร์ฟเสียหาย