5 วิธีดูแลรักษาแฟลชไดร์ฟ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ได้นานที่สุด
เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้งานหลายคนต้องเจอในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟก็คือ อายุการใช้งาน หรือพูดง่ายๆก็คือเมื่อใช้งานไปสักพักหนึ่ง แฟลชไดร์ฟคู่ใจของเราก็มักจะเสียไม่ว่าจะเป็นแบบ CARD USB ไม่สามารถใช้งานต่อได้นั่นเอง ซึ่งบางเคสก็อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใช้งานไปได้ 1-2 ปี บางเคสก็อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใช้งานไปได้ 5-6 เดือน เป็นต้น เรียกได้ว่าแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ไม่มีอายุการใช้งานที่แน่นอนตายตัวนั่นเอง ทั้งนี้หากอ้างอิงข้อมูลเป็นมาตรฐานหน่อยก็ต้องบอกว่าอายุการใช้งานของแฟลชไดร์ฟแต่ละตัวนั้นนับเป็นจำนวนรอบในการเขียนและลบข้อมูลจากไดร์ฟ เช่น 5,000 รอบ, 10,000 รอบ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพชิปฯที่ใช้ในการผลิต อย่างไรก็ตามในการทดสอบจริงนั้นพบว่าแฟลชไดร์ฟหลายๆตัวไม่ได้มีอายุการใช้งานที่สอดคล้องกับตัวเลขข้อมูลอ้างอิงดังกล่าว หรือสรุปได้ว่าอายุการใช้งานแก็ดเจ็ตตัวนี้มีความสัมพันธ์กับลักษณะการใช้งาน และการดูแลรักษาระหว่างการใช้งานด้วยนั่นเอง แฟลชไดร์ฟนั้นมีหลากหลายแบบมากในปัจจุบัน เช่น WOODEN USB RECYCLE USB เป็นต้น ในบทความนี้จึงได้นำเอา 5 วิธีดูแลรักษาแฟลชไดร์ฟเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้ได้นานที่สุดมาแนะนำบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน
– ทำความสะอาดส่วนของพอร์ตสำหรับเสียบเชื่อมต่อเป็นระยะๆ สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานแฟลชไดร์ฟหลายคนมองข้ามไป และโดยส่วนใหญ่มองว่าไม่น่าจะมีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานก็คือ การทำความสะอาดบริเวรณพอร์ตสำหรับเสียบต่อ หรือหัว USB ที่ใช้เสียบเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คราบสิ่งสกปรกที่เกาะแน่นในส่วนนี้สามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้งาน และอายุการใช้งานในอนาคตได้ โดยวิธีทำความสะอาดก็คือการใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ชุบน้ำเปล่า หรือน้ำสบู่เช็ดเอาคราบสกปรกออกเป็นระยะๆ
– อัปเดต Firmware อย่างสม่ำเสมอ อีกจุดหนึ่งที่ผู้ใช้งานแฟลชไดร์ฟส่วนใหญ่มองข้ามไป และแทบจะไม่ได้ทำเลยตลอดการใช้งานแฟลชไดร์ฟสักตัวก็คือ การอัปเดตเฟิร์มแวร์ หรือชุดคำสั่งที่ผู้ผลิตใส่มาเพื่อรันการทำงานของแก็ดเจ็ต ซึ่งในความเป็นจริงผู้ผลิตแบรนด์ต่างๆ จะมีการปล่อยอัปเดตเฟิร์มแวร์มาให้ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของตนเองเข้าไปดาวน์โหลดในเว็บไซต์ของตัวเองอยู่เรื่อยๆ โดยการอัปเดตเฟิร์มแวร์อย่างสม่ำเสมอนี้จะช่วยให้สามารถใช้งานแฟลชไดร์ฟยี่ห้อนั้นๆ ได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยลดความผิดพลาดในการใช้งานคำสั่งเขียน อ่าน หรือเรียกดูข้อมูลต่างๆได้
– หลีกเลี่ยงการใช้งานในบางพื้นที่ ปัจจัยหนึ่งที่ดูจะละเอียดอ่อนจนหลายคนมองข้ามไปก็คือ พื้นที่ หรือสภาพแวดล้อมในการใช้งาน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีชิปฯโลหะต่างๆ เป็นฮาร์ดแวร์หลักในการทำงานนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานในพื้นที่ที่มีแรงดันไฟฟ้าสูง เช่น บริเวณโรงงานอุตสาหกรรม สถานที่ที่เกิดไฟฟ้าสถิตบ่อย หรือในสภาพแวดล้อมที่ฝนตกและมีฟ้าผ่า เป็นต้น
– หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สาธารณะ อีกวิธีที่จะช่วยให้แฟลชไดร์ฟคู่ใจของเราปลอดภัยจากโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่จะเข้ามารบกวนการทำงานเขียน อ่านข้อมูลต่างๆ ในไดร์ฟ ก็คือการหลีกเลี่ยงเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับอุปกรณ์สาธารณะ เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีให้บริการในห้องสมุด เป็นต้น เนื่องจากอุปกรณ์สาธารณะเหล่านี้มักผ่านการใช้งานจากผู้ใช้งานหลายคน และมีการโอนถ่ายข้อมูลต่างๆ จากหลายแหล่ง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะมีโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่างๆแฝงตัวมาอยู่บนอุปกรณ์
– ไม่ดึงแฟลชไดร์ฟออกก่อนกดคำสั่งหยุดทำงานโดยเด็ดขาด อีกจุดหนึ่งที่ผู้ใช้งานหลายคนพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เร่งรีบก็คือ การดึงแฟลชไดร์ฟออกจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทันทีที่ใช้งานคัดลอก โอนย้ายข้อมูลเสร็จ ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่ส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของตัวแก็ดเจ็ตอย่างมาก เพราะการดึงแก็ดเจ็ตออกโดยไม่ได้กดคำสั่งหยุดการทำงานนั้น เท่ากับตัวเฟิร์มแวร์ยังไม่ได้รับคำสั่งให้หยุดการทำงานเรียกดูข้อมูลบนไดร์ฟ เมื่อการเชื่อมต่อถูกตัดขาดไปดื้อๆ ย่อมส่งผลให้ระบบคำสั่งต่างๆรวนได้