แฟลชไดร์ฟ VS SD Card มีข้อดี ข้อเสียต่างกันอย่างไร เลือกใช้แบบไหนคุ้มกว่า ?
หากพูดถึงการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้องดิจิทัล หรือกระทั่งย้อนไปในยุคที่โทรศัพท์ยังคงเป็นระบบดิจิทัลยุคเริ่มแรก ซึ่งยังไม่ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของสมาร์ทโฟนนั้น ก็แน่นอนว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะรู้จักคุ้นเคยกันดีกับหน่วยความจำเสริมอย่าง SD Card หรือบางคนก็อาจเรียกติดปากว่า Memory Card โดยเป็นลักษณะของชิปการ์ดขนาดเล็กที่สามารถเสียบใส่ติดไว้กับอุปกรณ์ เพื่อให้อุปกรณ์นั้น ๆ มีพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์รูปภาพ วิดีโอ เอกสารเพิ่มเติมจากพื้นที่หน่วยความจำที่ติดมากับตัวเครื่อง พูดง่าย ๆ ก็คือ SD Card เป็นหน่วยความจำเสริมภายในที่สามารถใส่ติดไว้กับตัวโทรศัพท์ แท็บเล็ต กล้องดิจิทัล ได้ ส่วนแฟลชไดร์ฟนั้นเป็นหน่วยความจำเสริมภายนอกที่ไม่ได้ออกแบบมาให้เสียบติดไว้กับอุปกรณ์ใด ๆ ตลอดเวลา ในมุมของผู้ใช้งานอุปกรณ์พกพาสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ดิจิทัลขนาดเล็กใด ๆ จึงมักคุ้นเคยกับการใช้งาน SD Card เพื่อเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลมากกว่านั่นเอง อย่างไรก็ตาม อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันแฟลชไดร์ฟนั้นถูกพัฒนาให้สามารถเสียบเชื่อมต่อกับอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ผ่านพอร์ต USB-C หรือ Loghting ได้โดยตรงเช่นกัน แม้ว่าจะไม่สามารถเสียบติดไว้กับตัวอุปกรณ์ได้ตลอดเวลาก็ตาม จึงมีผู้ใช้งานบางส่วนหันไปเลือกใช้แฟลชไดร์ฟในการแบ็กอัพข้อมูลจากสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แทนการเสียบ SD Card ติดไว้กับอุปกรณ์ตลอดเวลานอกจากนี้แฟลชไดร์ฟก็ยังมีหลากหลายรูปแบบเช่น Wooden Usb, Metal Usb, Classic Usb เป็นต้น ในบทความนี้จึงจะมาเปรียบเทียบให้ได้เห็นข้อดี ข้อเสียกันว่าระหว่าง SD Card และ แฟลชไดร์ฟ แตกต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาเช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แบบไหนใช้ได้คุ้มค่ามากกว่ากัน
ความสะดวกในการใช้งาน ข้อเปรียบเทียบข้อแรกที่ถือว่าเป็นข้อดีของ SD Card ก็คือ ความสะดวกในการใช้งานนั่นเอง เพราะดังที่กล่าวข้างต้นว่า SD Card เป็นหน่วยความจำเสริมที่สามารถเสียบติดไว้กับอุปกรณ์ได้ตลอดเวลา ดังนั้นหากต้องการให้อุปกรณ์ใด ๆ ที่เราใช้งานมีพื้นที่มากขึ้นเพื่อรองรับการจัดเก็บรูปภาพ หรือไฟล์ใหม่ ๆ ที่เราอาจสร้างขึ้น หรือดาวน์โหลดมาเพิ่มเติมตลอดเวลา การเลือกหา SD Card มาเสียบติดไว้กับอุปกรณ์ก็ย่อมตอบโจทย์การใช้งานได้ดีกว่าแฟลชไดร์ฟที่มักจะนำมาเสียบต่อเป็นครั้งคราวอยู่แล้ว
SD Card มีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่ และสเปคอุปกรณ์ มากันที่ส่วนที่เป็นข้อจำกัด หรือข้อเสียของ SD Card กันบ้าง ซึ่งก็คือเรื่องของขนาดพื้นที่ ทั้งนี้แม้ว่าปัจจุบันเราจะสามารถเลือกซื้อ sd card ที่มีความจุหลายร้อยกิกะไบต์ได้ในราคาที่ไม่สูงเท่าไหร่นัก แต่อุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต จากแบรนด์ต่าง ๆ รุ่น ๆ ต่าง ๆ จะมีการกำหนดสเปคสูงสุดที่รองรับได้ไว้ เช่น บางอุปกรณ์กำหนดไว้ที่ 128 GB บางอุปกรณ์กำหนดไว้ที่ 256 GB เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะการใช้งานพื้นที่ความจำของ SD Card บนอุปกรณ์นั้น ๆ จะกินทรัพยากรเครื่องไปด้วยนั่นเอง ในอุปกรณ์ที่สเปคฮาร์ดแวร์ไม่สูงนัก จึงมักจะรองรับการเพิ่มพื้นที่ความจำเสริมได้ไม่มากนัก ขณะที่การใช้งานแฟลชไดร์ฟเพื่อเสียบเชื่อมต่อ แบ็กอัพ หรือโอนย้ายข้อมูลกับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตใด ๆ นั้น ไม่มีข้อจำกัดเรื่องของขนาดพื้นที่ เราสามารถใช้แฟลชไดร์ฟที่มีขนาดความจุเท่าไหร่ก็ได้มาเสียบเชื่อมต่อเพื่อแบ็กอัพข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการ
SD Card อาจรบกวนประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ที่สเปคไม่สูง อย่างที่ทราบกันว่าความแตกต่างของ SD Card และ แฟลชไดร์ฟก็คือ การเป็นหน่วยความจำเสริมแบบภายใน และแบบภายนอกนั้นเอง ซึ่งข้อดีของการใช้งานหน่วยความจำเสริมภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟก็คือ การใช้งานนั้นแทบจะไม่กินทรัพยากรเครื่อง ขณะที่การใช้งานหน่วยความจำเสริมภายในแบบ sd card นั้นจะใช้งานทรัพยากรเครื่องอยู่ตลอดเวลา เพราะเท่ากับว่าอุปกรณ์จะต้องมีการอ่าน เรียกดู หรือดึงข้อมูลจากทั้งความจำภายในของตัวเครื่องเอง และความจำของ sd card สำหรับรองรับกิจกรรม หรือคำสั่งต่าง ๆ ของผู้ใช้งานตลอดเวลา ดังนั้นหากเป็นอุปกรณ์ที่สเปคฮาร์ดแวร์ต่ำ และไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลอยู่ตลอดเวลา การเลือกใช้แฟลชไดร์ฟ USB-C หรือ Lightning เพื่อแบ็กอัพ โอนถ่ายข้อมูลเป็นครั้งคราวก็น่าจะช่วยให้ถนอมทรัพยากรเครื่องให้สามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหลดีกว่าการเลือกเสียบ sd card ติดไว้ตลอด สุดท้ายนี้แฟลชไดร์ฟและ SD Card เป็นสิ่งที่มีขนาดเล็ก ควรจะเก็บรักษาให้ดีเพื่อป้องกันการตกหล่นคือสูญหายทางที่ดีควรใช้ Package ที่เป็นถุงผ้าหรือกล่อง