เรื่องของ การฟอร์แมตแฟลชไดร์ฟ

การฟอร์แมตแฟลชไดร์ฟ หรือการฟอร์แมต USB นั้น เป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์มักจะละเลยกัน โดยมากมักจะใช้วิธีลบข้อมูลกันไปเฉยๆ และจะทำกันที ก็เมื่อต้องการลบข้อมูลทั้งหมดในแฟลชไดร์ฟนั้นทิ้ง หรือจำเป็นต้องปรับแฟลชไดร์ฟ ให้สามารถที่จะทำงานกับคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ฟอร์แมตที่แตกต่างกันออกไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแฟลชไดร์ฟโลหะบน PC หรือการใช้งานแฟลชไดร์ฟบน Macbook ก็ตาม แล้วเราจะฟอร์แมตกันไปทำไม วันนี้จะมาทำความรู้จักสิ่งนี้กันให้มากขึ้น ว่าเราทำการฟอร์แมตแฟลชไดร์ฟกันไปทำไม

 

การฟอร์แมตคืออะไร

 

การฟอร์แมตนั้น คือการที่เราเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูล เช่น พวก Hard Drive หรืออาจจะเป็นแฟลชไดร์ฟไม้เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล โดยจะเป็นการจัดทำระบบไฟล์ข้อมูล เพื่อทำการกำหนดโครงสร้างของข้อมูลของเรา เพื่อที่จะให้เราสามารถใช้พื้นที่จัดเก็บสำหรับไฟล์ต่างๆ บนอุปกรณ์ที่เราต้องการ หรือบนพื้นที่เก็บข้อมูลที่เราต้องการใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยปกติเรามักจะฟอร์แมตแฟลชไดร์ฟของเรา หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลของเรา เมื่อมีการใช้ระบบปฏิบัติการใหม่ หรือเมื่อต้องการพื้นที่เพิ่มเติม หรือเมื่อต้องการลบทุกอย่างออกจากพื้นที่เก็บข้อมูลนั้นทิ้ง

 

การฟอร์แมต 2 ประเภท

 

วิธีการฟอร์แมตนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ประเภทแรกเราเรียกว่า Quick Format นั่นคือการลบตารางระบบไฟล์ และโฟลเดอร์ที่เป็นราก ซึ่งเรามักจะใช้วิธีการนี้กับแฟลชไดร์ฟปากกา เพื่อใช้ในการเพิ่มพื้นที่การใช้งานสำหรับโอน หรือเพื่อทำการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเต็มที่ แต่มีข้อจำกัดบางประการที่ควรรู้อยู่ คือการฟอร์แมตด้วยวิธีการนี้ จะไม่ได้ปลอดภัยสำหรับการลบข้อมูลของเราเสียทีเดียว เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านการฟอร์แมตด้วยวิธีนี้ ยังสามารถที่จะกู้คืนได้ผ่านเครื่องมือกู้คืนข้อมูลอยู่

 

การฟอร์แมตประเภทที่ 2 เรียกว่า แบบ Full Format นั่นคือการสแกน Sector ที่เสียหาย และจะทำการเขียนข้อมูลเปล่าลงใน Sector ทั้งหมด เพื่อทำการลบล้างข้อมูลที่มีอยู่เดิมอย่างถาวร วิธีการนี้เพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลที่ผ่านการฟอร์แมตเรียบร้อยแล้วจะไม่สามารถที่จะกู้คืนมาได้ วิธีการนี้อาจใช้เวลานานสักนิด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจุของไดรฟ์ที่เราสแกน และจะทำการฟอร์แมต

 

ตัวเลือกของระบบไฟล์ข้อมูล

 

สิ่งที่สำคัญที่เราต้องรู้ขณะที่เราฟอร์แมต คือต้องเข้าใจตัวเลือกในการฟอร์แมตต่างๆ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งระบบไฟล์ที่ใช้งานกันมากที่สุดสำหรับ USB มีดังนี้

 

FAT32 นี่เป็นตัวเลือกที่ยอดนิยมที่สุดที่เรามักจะเห็นกันอยู่เสมอ สามารถที่จะใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Mac และระบบปฏิบัติการ Windows แต่วิธีการนี้จะไม่มีระบบรักษาความปลอดภัย และมีการจำกัดขนาดไฟล์ไว้เพียงแค่ 4 GB เท่านั้น ส่วนใหญ่แล้ว USB จะใช้ฟอร์แมตนี้เป็นค่าเริ่มต้น เป็นระบบไฟล์ที่รองรับการใช้งานหลากหลายมากที่สุด ทั้งคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าและรุ่นใหม่ รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ที่รองรับพอร์ต USB ด้วย

 

exFAT เป็นระบบไฟล์ที่เหมาะสมกับ USB มาก โดยไม่ได้มีข้อจำกัดขนาดไฟล์เหมือนแบบแรก สามารถใช้งานได้ทั้งในระบบปฏิบัติการ Windows และระบบปฏิบัติการ Mac หากเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า อาจจะต้องมีการอัพเดทเพิ่มเพื่อให้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้

 

NTFS เป็นระบบไฟล์ที่ใช้กับ Windows เป็นระบบที่ Windows กำหนดการใช้งานเป็นอันดับแรก สำหรับไดรฟ์ที่อยู่ภายในระบบปฏิบัติการ หรืออาจใช้สำหรับสำรองจัดการข้อมูล สามารถรองรับขนาดไฟล์สูงสุดที่ใหญ่กว่ามาก แต่สำหรับ Mac OS นั้น จะสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว

 

Mac OS Extended นี่เป็นระบบการทำงานพื้นฐานสำหรับผู้ที่ใช้ Mac จุดเด่นคือไม่มีข้อจำกัดด้านขนาดไฟล์ ตัวเลือกนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อใช้ไดรฟ์กับ Mac OS เท่านั้น แน่นอนว่าบน windows จะไม่สามารถตรวจพบระบบไฟล์นี้เลย

Leave Comment