เมื่อใดบ้างที่ควรใช้แฟลชไดร์ฟสำรองข้อมูล บนอุปกรณ์ต่าง ๆ
แฟลชไดร์ฟในปัจจุบันถูกผลิตขึ้นมาหลากหลายแบบมากไม่ว่าจะเป็น recycle usb , rubber usb , twister usb ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้งานมักคุ้นเคยกับประโยชน์การใช้งานสำหรับเป็นตัวช่วยในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ หรือระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โอนย้ายไฟล์งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน เพื่อนำกลับไปทำต่อบนคอมฯ หรือแล็ปท็อปที่บ้าน ใช้คัดลอกไฟล์งานจากคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ เพื่อนำไฟล์นั้น ๆ ไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใด ๆ สำหรับใช้ประกอบการนำเสนอภายในที่ประชุม เป็นต้น แต่ทว่านอกเหนือจากประโยชน์ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แฟลชไดร์ฟก็ยังมีประโยชน์การใช้งานที่สำคัญอีกอย่าง ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการจัดการไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ผู้ใช้งานหลายคนมักหลงลืมไป ซึ่งก็คือประโยชน์ในการสำรองข้อมูล หรือแบ็คอัพไฟล์ดิจิทัลต่างๆ(แบบชั่วคราว) นั่นเอง ทั้งนี้อย่างที่ทราบกันดีว่าการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ล้วนมีความเสี่ยงที่ไฟล์อาจสูญหาย หรือเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์นั้น ๆ และใช้งานต่อได้ การสำรองข้อมูลไว้บนอุปกรณ์ที่ 2, 3 จึงเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันความเสียหายในกิจกรรมการทำงานต่าง ๆ และแฟลชไดร์ฟก็คือหนึ่งในอุปกรณ์ตัวช่วยที่จะทำให้เราสามารถสำรองไฟล์ข้อมูลไว้ชั่วคราวได้ง่าย ๆ ในบางสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงที่ไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ อาจสูญหาย หรือเข้าถึงไม่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตเครื่องที่ 2, 3 ในบทความนี้จึงจะมากล่าวแนะนำให้ได้ทราบกันว่าเมื่อใดบ้างที่เราควรนำเอาแฟลชไดร์ฟมาสำรองข้อมูลบนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อกิจกรรมการทำงาน หรือความกิจกรรมความบันเทิงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ไฟล์ข้อมูลบนอุปกรณ์นั้น ๆ เกิดสูญหาย หรือมีข้อผิดพลาดใด ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์ได้กะทันหัน
ก่อนการอัปเดตระบบปฏิบัติการ เฟิร์มแวร์ และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึง เรียกดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนอุปกรณ์ สถานการณ์แรกที่ต้องบอกว่าค่อนข้างมีความจำเป็นในการนำแฟลชไดร์ฟมาสำรองไฟล์ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ไว้ก็คือ ก่อนที่จะทำการอัปเดตระบบปฏิบัติการ เฟิร์มแวร์ หรือซอฟต์แวร์ใด ๆ บนอุปกรณ์ที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึง เรียกดูไฟล์ข้อมูลนั้น ๆ เนื่องจากระหว่างการอัปเดตไฟล์ข้อมูลระบบต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นอาจเกิดข้อผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไฟล์ข้อมูลระบบเวอร์ชั่นใหม่ที่ทำการอัพเข้ามาแมตช์กันไม่ได้กับสเปคของอุปกรณ์ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบไปถึงการเข้าถึง เรียกดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ การแบ็คอัพไฟล์สำคัญ ๆ ไว้บนแฟลชไดร์ฟก่อนจึงเป็นวิธีช่วยป้องกันความเสี่ยงที่เราจะไม่สามารถเข้าถึงไฟล์นั้น ๆ ได้แบบ 100% แม้ว่าเปอร์เซ็นต์ที่ไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ จะสูญหายไปภายหลังการอัปเดตระบบปฏิบัติการ, เฟิร์มแวร์, ซอฟต์แวร์ ที่ทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้องจะมีไม่มากนักก็ตาม
ก่อนการถอนการอัปเดตซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นใด ๆ บนอุปกรณ์ สถานกาณ์ที่ต้องบอกว่าน่าจะมีความจำเป็นที่สุดในการนำเอาแฟลชไดร์ฟมาแบ็คอัพข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนอุปกรณ์พกพา เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟนก็คือ ก่อนการถอนอัปเดตซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นใด ๆ ที่ใช้ในการเปิด เรียกดูไฟล์ข้อมูลนั้น ๆ ทั้งนี้อย่างที่ทราบกันดีว่าซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ บนอุปกรณ์นั้นมักจะมีการปล่อยไฟล์อัปเดตผ่านระบบออนไลน์มาให้ผู้ใช้งานได้กดดาวน์โหลดเพื่ออัปเดตอยู่เรื่อย ๆ แต่ทว่าบางครั้งการอัปเดตเวอร์ชั่นต่าง ๆ ก็อาจจะทำให้ผู้ใช้งานได้หน้าตาแอปฯ หรือ UI ที่ไม่ถูกใจเหมือนเดิม ซึ่งผู้ใช้งานสามารถแก้ไขได้ด้วยการถอนการอัปเดตออกไป เพื่อให้ซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นนั้น ๆ กลับไปเป็นเวอร์ชั่นดั้งเดิมที่ติดมากับตัวอุปกรณ์ อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีความเสี่ยงที่จะทำให้ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับแอปฯนั้นๆสูญหายไปได้ เช่น แอปฯสำหรับเรียกดูรูปภาพ วิดีโอต่าง ๆ หากทำการถอนอัปเดตไปแล้วก็อาจทำให้ไฟล์ภาพ ไฟล์วิดีโอบางส่วนสูญหายไป เป็นต้น ดังนั้นก่อนการถอนการอัปเดตซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชั่นใด ๆ ดังตัวอย่างจึงควรนำเอาแฟลชไดร์ฟมาทำการแบ็คอัพข้อมูลไว้ก่อน ในกรณีที่แฟลชไดร์ฟมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดก็อาจเลือกสำรองเฉพาะไฟล์ข้อมูลประเภทที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ หรือแอปฯนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น หากเป็นแอปฯสำหรับเปิดเรียกดู แก้ไขไฟล์เอกสาร ก็อาจเลือกสำรองเฉพาะไฟล์ข้อมูลเอกสาร เป็นต้น สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาแฟลชไดร์ฟ เราแนะนำเป็น metal usb เนื่องจากเป็นโลหะจะมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ