เปรียบเทียบอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลฮาร์ดดิสก์, SSD และแฟลชไดร์ฟ มีประโยชน์การใช้งาน และข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร ?
เทคโนโลยีจัดเก็บไฟล์ข้อมูลถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาควบคู่กับการใช้งานอุปกรณ์ไอทีอย่างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือโน๊ตบุ๊คที่หลายคนคุ้นเคยกันดี เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือความบันเทิงเลยก็ว่าได้ โดยเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลที่ถูกพัฒนา นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นมาตรฐานแรกที่รับรู้โดยทั่วกันก็คือ HardDisk(ฮาร์ดดิสก์) โดยเป็นอุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกไฟล์ข้อมูลต่างๆ โดยอาศัยจานหมุนแม่เหล็กในการขับเคลื่อนการทำงาน ก่อนที่ต่อมาจะได้มีการพัฒนาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบดิจิทัล โดยเป็นลักษณะของการใส่คำสั่งไว้บนแผงวงจรและบันทึกข้อมูลลงบนชิปขนาดเล็ก ซึ่งก็คือแฟลชไดร์ฟ มีหลากหลายแบบมากเช่น WOODEN USB CASSIC USB เพื่อใช้งานเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาที่สะดวกต่อการโอนย้ายไฟล์ข้อมูลต่างๆ ระหว่างเครื่องพิวเตอร์มากกว่า และล่าสุดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มีอุปกรณ์อย่าง SSD โผล่มาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบันทึก จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็ถูกเลือกใช้แทนที่ฮาร์ดดิสก์ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปหลายรุ่นจากหลายแบรนด์ดัง อีกทั้งผู้ใช้งานหลายคนก็ยังเลือกใช้งานเป็นไดร์ฟจัดเก็บข้อมูลภายนอกแทนที่แฟลชไดร์ฟ หรือ External HardDisk อีกด้วย ซึ่งด้วยประโยชน์ใช้งานของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบต่างๆที่ดูจะมีความทับซ้อนกันอยู่พอสมควรนี้เอง จึงทำให้ผู้ใช้งานหลายคนยังคงสับสนว่าที่จริงแล้วประโยชน์ใช้งาน และข้อดีข้อเสียของ HardDisk, SSD และแฟลชไดร์ฟนั้นแตกต่างกันอย่างไร ในบทความจึงจะมาอธิบายเปรียบเทียบให้ได้ทราบกัน
HardDisk ใช้เทคโนโลยีจานหมุนแม่เหล็ก ขณะที่แฟลชไดร์ฟ และ SSD ใช้เทคโนโลยีการทำงานแบบดิจิทัล กล่าวคือมีแผงวงจรและแผ่นชิปสำหรับบันทึกไฟล์ข้อมูล ข้อเปรียบเทียบแรกที่ต้องบอกว่าเป็นความเหมือนกันของ แฟลชไดร์ฟ และ SSD ก็คือตัวเทคโนโลยีที่ใช้นั่นเอง ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าฮาร์ดดิสก์นั้นใช้ระบบขับเคลื่อนการทำงานด้วยสนามแม่เหล็ก ขณะที่แฟลชไดร์ฟ และ SSD มีการบันทึกคำสั่งการทำงานแบบดิจิทัลบนแผงวงจร ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานจึงชัดเจนว่า แฟลชไดร์ฟ และ SSD มีความเร็วในการเรียกอ่านไฟล์ และบันทึกไฟล์มากกว่าฮาร์ดดิสก์นั่นเอง โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์หลายรุ่นจากหลายแบรนด์มีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลระดับ 500 Mbps ขณะที่ฮาร์ดดิสก์นั้นเพดานความเร็วจะถูกจำกัดอยู่ที่ประมาณ 200 Mbps
แฟลชไดร์ฟใช้เป็นไดร์ฟภายนอกได้เท่านั้น มาที่ความเหมือนกันของ HardDisk และ SSD กันบ้าง หลังจากที่ในข้อแรกเราได้เปรียบเทียบความเหมือนกันของแฟลชไดร์ฟ และ SSD ให้ได้ทราบกันไปแล้ว โดยความเหมือนกันของฮาร์ดดิสก์ และ SSD ก็คือประโยชน์การใช้งานที่ยืดหยุ่นกว่านั่นเอง ฮาร์ดดิสก์ และ SSD สามารถใช้เป็นไดร์ฟจัดเก็บข้อมูลได้ทั้งแบบภายใน และภายนอก กล่าวคือฮาร์ดดิสก์ และ SSD สามารถจัดวางบนเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปได้นั่นเอง ขณะที่แฟลชไดร์ฟสามารถใช้งานเป็นไดร์ฟภายนอก หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านพอร์ต USB แบบชั่วคราวได้เท่านั้น
ความปลอดภัยในการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล มาปิดท้ายกันที่อีกหนึ่งข้อเปรียบเทียบสำคัญที่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งานอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลใดๆ ของหลายคนกันพอสมควร ซึ่งก็คือเรื่องของความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลนั่นเอง โดยในส่วนนี้สามารถเปรียบเทียบกันให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่าอุปกรณ์ที่มีการใช้คำสั่งการทำงานแบบดิจิทัล ข้อมูลถูกเขียนลงบนชิปเช่นแฟลชไดร์ฟ, SSD นั้น หากมีการลบ หรือเกิด ERROR ขึ้นกับระบบในระหว่างการใช้งาน การกู้คืนไฟล์ต่างๆ จะทำได้ยากกว่าการกู้คืนข้อมูลที่อยู่บนจานหมุนแม่เหล็กอย่างฮาร์ดดิสก์นั่นเอง เรียกได้ว่าหากต้องการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลสำคัญในปริมาณมากๆ เป็นระยะเวลานานหลายปี ฮาร์ดดิสก์ถือเป็นอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์มากที่สุดหากอยากซื้อเป็นของขวัญให้ใครสักคนเราขอแนะนำแบบ GIFT SET