ข้อควรระวัง และปัญหาที่พบบ่อยในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ

แฟลชไดร์ฟถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งไอเทมที่หลายคนขาดไม่ได้ โดยเฉพาะกับไลฟ์สไตล์ของหนุ่มสาววัยทำงาน มีให้เลือกหลายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแฟลชไดร์ฟการ์ด แฟลชไดร์ฟปากกา ซึ่งระหว่างขั้นตอนการทำงานต่างๆ มักต้องมีการเคลื่อนย้ายไฟล์จากอุปกรณ์นึงไปยังอุปกรณ์นึง หรือส่งต่อไฟล์งานให้กับเพื่อนร่วมงาน แม้ว่าปัจจุบันจะมีอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ที่ช่วยให้ส่งไฟล์ เคลื่อนย้ายไฟล์ได้ไม่ต่างจากแฟลชไดร์ฟ หรือทรัมไดร์ฟก็ตาม เพราะถ้ามองในแง่ความสะดวกและความคุ้มค่า อุปกรณ์อย่างแฟลชไดร์ฟ ซึ่งมีราคาแค่หลักร้อยบาท และขนาดที่เล็กกะทัดรัด อย่างเช่น แฟลชไดร์ฟทวิสเตอร์ประกอบกับประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลระดับหลายร้อยกิกะไบต์ก็นับเป็นอุปกรณ์ที่คุ้มค่ากับการใช้งานมากที่สุดอยู่ดี อย่างไรก็ตามแม้ว่าวิธีใช้งานโดยพื้นฐานของไอเทมชิ้นนี้จะไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนอะไร โดยเป็นลักษณะของการเสียบต่ออุปกรณ์ผ่านช่องเสียบ USB หรือพอร์ต USB ของอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปที่เราต้องการใช้งาน จากนั้นก็ทำการค้นหาไดร์ฟของอุปกรณ์ที่ขึ้นแสดงมาเพิ่มเติม เท่านี้เราก็สามารถทำการเคลื่อนย้าย คัดลอกไฟล์ที่ต้องการได้แล้ว แต่ทว่าในการใช้งานแฟลชไดร์ฟที่ถูกต้องจริงๆ นั้นก็มีข้อควรระวังต่างๆ อยู่พอสมควรเหมือนกัน และบ่อยครั้งที่การละเลยที่จะใช้งานตามวิธีที่ถูกต้องก็ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ในบทความนี้จึงได้นำเอาข้อควรระวังและปัญหาที่พบได้บ่อยในการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนย้ายไฟล์ประเภทนี้มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

ทำการสแกนไวรัสทุกครั้งก่อนเปิดไดร์ฟ เนื่องจากการใช้งานแฟลชไดร์ฟเป็นลักษณะของการเสียบเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งโดยทั่วไปมักมีการใช้งานกับอุปกรณ์มากกว่าหนึ่งอุปกรณ์ขึ้นไป ปัญหายอดฮิตที่มักเกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องของไวรัสที่อาจติดมากับอุปกรณ์ใดก็ได้ ซึ่งไวรัสที่ติดมานั้นสามารถสร้างความเสียหายให้กับทั้งตัวแฟลชไดร์ฟ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปที่เราทำการเสียบเชื่อมต่อ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำทุกครั้งเมื่อเสียบใช้งานกับอุปกรณ์ใดๆ ก็คือการสแกนไวรัสก่อนเปิดไดร์ฟ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วโปรแกรมสแกนไวรัสบนอุปกรณ์ต่างๆ หากมีการตรวจพบไวรัสที่อาจสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ได้จะสามารถลบไวรัสที่ตรวจพบทิ้งได้ทันที เราจึงสามารถเปิดใช้งานไดร์ฟของแฟลชไดร์ฟนั้นๆ ได้อย่างสบายใจหลังจากการสแกนเสร็จสิ้นแล้ว

ไม่ควรดึงแฟลชไดร์ฟออกทันทีที่ใช้งานเสร็จ ความเข้าใจผิดอย่างนึงเกี่ยวกับการใช้งานไอเทมชิ้นนี้ก็คือ เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายไฟล์ หรือคัดลอกข้อมูลใดๆ สามารถถอดแฟลชไดร์ฟออกได้ทันที ซึ่งในความเป็นจริงเมื่อเราทำการเสียบเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับอุปกรณ์ใดๆ ตัวแฟลชไดร์ฟจะรันตัวเองให้พร้อมสำหรับการทำงานบนอุปกรณ์นั้น หรือกล่าวได้ว่าเป็นโหมดสแตนบายด์เพื่อพร้อมให้เราทำการเปิดไฟล์ เคลื่อนย้าย คัดลอก หรือลบไฟล์ต่างๆที่จัดเก็บไว้ ดังนั้นหากเราดึงออกทันทีที่ใช้งานเสร็จ ย่อมเท่ากับว่าโหมดสแตนบายด์ถูกบังคับปิดไปดื้อๆ จึงอาจเกิดความเสียหายต่อแฟลชไดร์ฟ ถึงขั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้งานต่อได้เลยทีเดียว โดยวิธีที่ถูกต้องคือ เมื่อใช้งานเสร็จแล้วต้องทำการกดตัดการเชื่อมต่อ โดยลากเม้าส์ไปที่ task bar ซึ่งแสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์ USB และทำการกดเมนู Safety Remove USB โดยเลือก Remove ไดร์ฟของอุปกรณ์ที่เราเสียบเชื่อมต่อ จากนั้นจึงค่อยดึงตัวแฟลชไดร์ฟออก

ปัญหาเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟ แต่ไดร์ฟไม่ขึ้นแสดงบนอุปกรณ์ ปัญหายอดฮิตที่สืบเนื่องจากข้อควรระวังในข้อที่ผ่านมาก็คือเมื่อทำการเสียบเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ใดๆ แล้ว กลับไม่มีไดร์ฟ ซึ่งจัดเก็บข้อมูลไว้ขึ้นแสดง ทำให้ไม่สามารถจัดการกับข้อมูลนั้นๆ ได้ ปัญหาดังกล่าวนี้อาจมาจากความเสียหายของตัวแฟลชไดร์ฟเอง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้งานผิดวิธีตามที่ได้กล่าวให้ได้ทราบกันไปในข้อที่แล้ว(เช่น ดึงอุปกรณ์ออกทันทีเมื่อใช้งานเสร็จ) หรือในกรณีอื่น อาจมาจากการที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปนั้นๆ ไม่รู้จักกับรูปแบบการทำงานของไดร์ฟที่เราเชื่อมต่อเข้าไป เนื่องมาจากความแตกต่างกันของระบบปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น อาจมีการต่อใช้งานไดร์ฟกับอุปกรณ์แมคมาก่อน จากนั้นได้นำไดร์ฟมาต่อกับอุปกรณ์วินโดวส์ และไม่พบว่ามีไดร์ฟขึ้นแสดงบนวินโดวส์ ในกรณีแบบนี้ วิธีแก้ปัญหาคือให้ทำการฟอร์แมตแฟลชไดร์ฟก่อนการใช้งาน

Leave Comment