5 เรื่องที่ผู้ใช้งานมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับแฟลชไดร์ฟ
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า “แฟลชไดร์ฟ” ถือเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ผู้ใช้งานอุปกรณ์ไอที โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อปคุ้นเคยกันดี และมีความต้องการใช้งานในชีวิตประจำวันเพื่อเป็นที่จัดเก็บข้อมูล คัดลอก โอนถ่ายไฟล์ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อยู่แล้ว ซึ่งแฟลชไดร์ฟที่ผู้ใช้งานแต่ละคนเลือกใช้ก็อาจมีสเปคที่แตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับรูปแบบการใช้งาน ประเภทไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บลงบนแฟลชไดร์ฟก็อาจแตกต่างกันไปตามความจำเป็นในการใช้งานของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามแม้ว่าแฟลชไดร์ฟดูจะเป็นแก็ดเจ็ตที่ใช้งานง่าย ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไร และมีความยืดหยุ่นในการจัดเก็บ บันทึกไฟล์ข้อมูลได้หลากหลายตามความต้องการ แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้งานในหมู่ผู้ใช้งานอยู่หลายประการด้วยกัน ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเป็น 5 ลิสต์ ความเข้าใจผิดยอดฮิตเกี่ยวกับแฟลชไดร์ฟมาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน
- ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลขึ้นอยู่ที่ตัวแฟลชไดร์ฟ
ความเข้าใจผิดยอดฮิตประการแรกที่ต้องบอกว่ามีส่วนถูกอยู่ แต่ไม่ทั้งหมดก็คือ ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งผู้ใช้งานหลายคนมักเข้าใจว่าการรับ-ส่งข้อมูลใดๆ จะรวดเร็วแค่ไหนก็ขึ้นอยู่ที่ประสิทธิภาพของตัวแฟลชไดร์ฟ ขึ้นอยู่กับเวอร์ชั่นพอร์ตเชื่อมต่อ USB ของตัวแก็ดเจ็ต แต่ทว่าความจริงแล้ว ยังมีอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเช่นกัน ซึ่งก็คือ พอร์ตเชื่อมต่อบนอุปกรณ์ที่เราเสียบเชื่อมต่อนั่นเอง กล่าวคือต่อให้ตัวแก็ดเจ็ตจะใช้พอร์ต USB เวอร์ชั่นล่าสุด และทำความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงมาก แต่หากตัวอุปกรณ์ที่เราเสียบเชื่อมต่อด้วยใช้พอร์ต USB เวอร์ชั่นต่ำกว่า ความเร็วในการรับ-ส่งก็จะถูกจำกัดด้วยพอร์ต USB ของอุปกรณ์นั่นเอง
- สามารถใช้โปรแกรมช่วยกู้คืนข้อมูลได้ หากเผลอลบทิ้งไป
ความเข้าใจผิดต่อมาที่ต้องบอกว่าผู้ใช้งานหลายคนควรระมัดระวัง เนื่องจากส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ และอุปกรณ์ต่างๆพอสมควรก็คือ การกู้คืนไฟล์ข้อมูลที่ลบทิ้งไปแล้วบนแฟลชไดร์ฟนั่นเอง โดยผู้ใช้งานหลายคนมักเข้าใจว่าเราสามารถใช้โปรแกรมช่วยกู้คืนไฟล์ต่างๆ บนไดร์ฟที่เผลอลบไปได้ ทว่าความจริงแล้วการกู้คืนข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด และมีอัตราการกู้คืนสำเร็จน้อยมาก เพราะการบันทึกข้อมูลงบนไดร์ฟจะเป็นลักษณะของการเขียนทับไปเรื่อยๆ เมื่อข้อมูลเดิมถูกลบไป ข้อมูลที่บันทึกลงใหม่ก็จะไปทับตำแหน่งของข้อมูลเดิม หากคุณใช้งาน แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะหรือแฟลชไดร์ฟดีไซน์อื่นๆ ก็มีความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลเช่นเดียวกัน
- แฟลชไดร์ฟที่มีความจุเยอะจะเขียน-อ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่าความจุขนาดเล็ก
ความเข้าใจผิดยอดฮิตต่อมาก็คือ ขนาดพื้นที่ความจุ และความเร็วในการเขียน-อ่านข้อมูล ซึ่งผู้ใช้งานบางคนมักเข้าใจว่ายิ่งตัวแฟลชไดร์ฟมีขนาดความจุมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเขียน-อ่านข้อมูลได้เร็วมากเท่านั้น ทว่าความจริงแล้วขนาดความจุแทบไม่ส่งผลต่อความเร็วในการเขียน-อ่าน ข้อมูลเลย เพราะแฟลชไดร์ฟเป็นเพียงแก็ดเจ็ตที่มีคำสั่งดิจิทัลเล็กๆ รันการทำงานอยู่ ซึ่งแตกต่างจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ที่มีคำสั่งการทำงานของระบบอยู่มากมาย พื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ว่างอยู่จึงส่งผลต่อความเร็วในการรันคำสั่งการทำงานต่างๆอย่างมีนัยสำคัญ
- แฟลชไดร์ฟจะติดไวรัส หากจัดเก็บข้อมูลไว้นานๆ
ความเข้าใจผิดต่อมาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานบางกลุ่มที่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์ไอทีต่างๆ เป็นพิเศษ ก็คือ การหมั่นเคลียร์ข้อมูล หรือลบข้อมูลบนไดร์ฟทิ้งอยู่เสมอ เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว เพราะหากเก็บข้อมูลไว้บนไดร์ฟนานๆ จะทำให้ติดไวรัส ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเก็บข้อมูลทิ้งไว้บนไดร์ฟนานๆ แทบไม่ได้ส่งผลต่อความเสี่ยงในการติดไวรัสเพิ่มแต่อย่างใด หากไฟล์ข้อมูลนั้นๆ ไม่ได้มีโปรแกรมไม่พึงประสงค์ใดๆ แฝงตัวอยู่ตั้งแต่แรก
- ไม่สามารถจัดเก็บไฟล์ติดตั้งได้
อีกหนึ่งความเข้าใจผิดที่ต้องบอกว่าอาจทำให้ผู้ใช้งานหลายคนใช้แฟลชไดร์ฟได้ไม่คุ้มค่าก็คือ ไม่สามารถจัดเก็บไฟล์ติดตั้งต่างๆ เช่น .exe บนแฟลชไดร์ฟได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถจัดเก็บไฟล์ติดตั้งต่างๆ บนแฟลชไดร์ฟได้เช่นเดียวกับไดร์ฟประเภทอื่นๆ แม้ว่าเราจะไม่สามารถติดตั้งไฟล์นั้นๆ ลงบนไดร์ฟได้ก็ตาม ทั้งนี้ควรจัดเก็บแฟลชไดร์ฟใน Package ที่ดีเพื่อป้องกันการตกหล่นหรือศูนย์ห่น