ไขข้อข้องใจ แฟลชไดร์ฟ-SSD ทำความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลได้จริงตามคำโฆษณาหรือไม่ ?
เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวแบบพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD หลายคนน่าจะพอทราบกันดีว่าหนึ่งในข้อดีที่ทำให้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ดูโดดเด่นกว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายในอย่างฮาร์ดดิสก์ก็คือ ความเร็วในการเขียน-อ่านข้อมูล เนื่องจากเป็นการใช้ชุดคำสั่งแบบดิจิทัล ซึ่งไม่มีขีดจำกัดในการทำความเร็วที่ตายตัวเหมือนเทคโนโลยีจานหมุนแม่เหล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแฟลชไดร์ฟ SSD รุ่นใหม่ ๆ ที่เราจะได้เห็นคำโฆษณาของแบรนด์ผู้ผลิตว่ามีความเร็วสูงถึงระดับ 1,000+ Mbps หรือหลักหลายพันเลยทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วของฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในระดับหลักสิบ หรือหลักร้อยเมกะบิตต้น ๆ ต่อวินาทีแล้ว ก็จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันค่อนข้างมากทีเดียว ซึ่งนอกจากการเขียน-อ่านได้เร็วแล้วนั้นในปัจจุบันนั้นแฟลชไดร์ฟก็ยังมีหลายรูปแบบอีกด้วย อย่างเช่น WOODEN USB METAL USB RUBBER USB และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ใช้งานบางส่วนที่ช่างสังเกตุในการใช้งานแก็ดเจ็ตเหล่านี้อาจจะรู้สึกสงสัยว่าความเร็วที่ทำได้จริงในการเขียน อ่าน หรือรับส่งข้อมูลแต่ละครั้งตรงตามคำโฆษณาจากแบรนด์ผู้ผลิตเจ้านั้นๆ หรือไม่ เพราะบ่อยครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าความเร็วในการรอรับส่งข้อมูลของแฟลชไดร์ฟ External SSD ตัวใด ๆ ไม่เห็นจะแตกต่างไปจากตัวเดิมที่เคยใช้งานสักเท่าไหร่ แม้ว่าคุณสมบัติความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลที่ระบุตามคำโฆษณาจะแตกต่างกันในระดับหลายพันเมกะบิตก็ตาม ในบทความนี้จึงจะมาไขข้อข้องใจให้ได้ทราบกันว่าแท้จริงแล้วในการใช้งานจริง ความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลของแฟลชไดร์ฟ SSD ยี่ห้อใด ๆ ตรงกับตัวเลขที่ระบุในคำโฆษณาหรือไม่
แบรนด์ผู้ผลิตบางแบรนด์อาจระบุความเร็วในคำโฆษณาไม่ตรงกับความเร็วที่แท้จริง อย่างที่ทราบกันดีว่าแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD นั้น ความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลถือว่าเป็นสเปคส่วนสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งานที่จะเลือกซื้อเลือกหามาใช้งาน ยิ่งตัวเลขส่วนนี้สูงเท่าไหร่ ผู้ใช้งานก็ยิ่งมองว่าแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD ตัวนั้นมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลดีมากเท่านั้น ซึ่งด้วยเหตุนี้ทำให้แบรนดผู้ผลิตบางแบรนด์ที่มีมาตรฐานการผลิตและตรวจทานคุณภาพที่ไม่ดีนัก เลือกใส่ตัวเลขความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลสูงเกินกว่าความเร็วที่แท้จริง ดังนั้นหากใช้งานแฟลชไดร์ฟ SSD แล้วรู้สึกว่าความเร็วในการรอรับส่งข้อมูลช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น ก็มีความเป็นไปได้ว่าความเร็วในคำโฆษณา หรือฉลากนั้นถูกระบุไว้สูงเกินกว่าความเป็นจริง
ความเร็วที่ทำได้จริงขึ้นอยู่กับความเร็วของพอร์ต USB ด้วย อีกหนึ่งสาเหตุยอดฮิตที่ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนรู้สึกว่าความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลที่ทำได้จริงของแฟลชไดร์ฟ, External SSD ตัวใด ๆ ไม่ถูกต้องตามคำโฆษณาก็คือ ความเร็วของพอร์ต USB บนอุปกรณ์ที่เราใช้งานนั่นเอง กล่าวคือแม้ว่าตัวแฟลชไดร์ฟจะสามารถทำความเร็วได้สููงแค่ไหนก็ตาม แต่ในการใช้งานจริงก็จะทำความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลใด ๆ ได้ไม่เกินตัวเลขที่พอร์ต USB ซัพพอร์ต ตัวอย่างเช่น แฟลชไดร์ฟ หรือ External SSD มีความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลอยู่ที่ 5,000 Mbps แต่ความเร็วสูงสุดของพอร์ต USB อยู่ที่ 800 Mbps ในการใช้งานจริงจึงแน่นอนว่าผู้ใช้งานหลายคนย่อมรู้สึกว่าความเร็วจริงไม่ถึง 5,000 Mbps ซึ่งความเร็วของพอร์ต USB นั้นก็แตกต่างกันไปตามเวอร์ชั่น โดยพอร์ตเวอร์ชั่นล่าสุดอย่าง USB 3.2 ก็ย่อมทำความเร็วได้สูงกว่าพอร์ตเวอร์ชั่นก่อน ๆ อย่าง 3.0 หรือเวอร์ชั่นต่ำกว่านั้น ส่วนสาเหตุอื่น ๆ นอกจากนี้ก็ยังมีในส่วนของขนาดไฟล์ กล่าวคือการทดสอบการรับส่งไฟล์ขนาดเล็กด้วยแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD ที่มีความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลต่างกันมาก ๆ นั้นอาจจะแทบไม่เห็นความแตกต่างกัน เนื่องจากหน่วยวัดความเร็วเป็นระดับเมกะบิตต่อวินาที ดังนั้นหากเป็นไฟล์หลักสิบเมกะบิตที่ถูกรับส่งบนฐานความเร็วในการเขียน อ่านตั้งแต่ 100 Mbps ก็ย่อมสังเกตุเห็นความแตกต่างกันยาก โดยหากต้องการทดสอบ เปรียบเทียบความเร็วของแฟลชไดร์ฟ SSD ตัวใด ๆ เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนนั้น ควรทดสอบด้วยไฟล์ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 Gb ขึ้นไป หากตอนนี้ท่านใดกำลังเลือกหาแฟลชไดร์ฟเป็นของแจกในงานอื่น ๆ เราของแนะนำให้ซื้อเป็นแบบ GIFT SET