วิธีใช้แฟลชไดร์ฟลงระบบปฏิบัติการวินโดวส์

วิธีใช้แฟลชไดร์ฟลงระบบปฏิบัติการวินโดวส์

เมื่อพูดถึงการใช้งานแฟลชไดร์ฟ แน่นอนว่าโดยทั่วไปแล้วเราย่อมนึกถึงการใช้งานสำหรับเป็นอุปกรณ์ในการจัดเก็บ บันทึกไฟลดิจิทัลต่างๆ รวมถึงการโอนย้าย คัดลอกไฟล์จากอุปกรณ์นึงไม่ยังอุปกรณ์นึง ซึ่งถือเป็นประโยชน์ใช้สอยหลักที่ทำให้เกิดการพัฒนาแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ขึ้นมาอยู่แล้ว แต่ทว่าด้วยความที่พอร์ตการเชื่อมต่ออย่าง USB-A ซึ่งเป็นพอร์ตพื้นฐานที่ติดมากับแฟลชไดร์ฟแทบทุกรุ่นนั้นเป็นพอร์ตมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์บุคคล และแล็ปท็อปตลอดหลายปีที่ผ่านมา จึงทำให้ USB FlashDrive มีประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ ตามมาด้วย อาทิเช่น ใช้เป็นอุปกรณ์ในการดาวน์โหลด ติดตั้งเกม หรือโปรแกรมต่างๆ ลงบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์บุคคล หรือแล็ปท็อปเครื่องต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าในปัจจุบันมีแฟลชไดร์ฟหลายรูปทรง เช่นแฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟการ์ด หรือแฟลชไดร์ฟทวิสเตอร์ ประโยชน์เหล่านี้ถือว่าช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้มากทีเดียว เพราะสามารถพกพาแฟลชไดร์ฟ แก็ดเจ็ตขนาดกะทัดรัดสำหรับนำไปลงเกม หรือโปรแกรมต่างๆ ได้โดยไม่ต้องพกพาแผ่น CD หรือ DVD ต้นฉบับของตัวโปรแกรมนั้นๆ รวมถึงไม่ต้องลงทุนจ่ายเงินซื้อซอฟท์แวร์นั้นๆ เพิ่มสำหรับโปรแกรมที่สามารถแชร์การใช้งานร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามนอกจากการดาวน์โหลดเกม โปรแกรมต่างๆ มาเซฟไว้และติดตั้งลงอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว แฟลชไดร์ฟก็ยังมีอีกหนึ่งประโยชน์สำคัญที่หลายคนอาจจะเคยใช้งาน และอีกหลายคนก็อาจจะยังไม่เคยใช้งาน และอาจไม่ทราบวิธีใช้มาก่อนด้วย ซึ่งก็คือการใช้เป็นตัวบูท หรือติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ลงบนอุปกรณ์ต่างๆ นั่นเอง ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำวิธีใช้งานพื้นฐานสำหรับใช้แฟลชไดร์ฟบูทวินโดวส์ให้กับคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปของเรากัน
ทำการดาวน์โหลดไฟล์วินโดวส์มาเก็บไว้ในแฟลชไดร์ฟ หากย้อนกลับไปช่วง 5-6 ปีก่อน วิธีการติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่เราคุ้นเคยกันจะเป็นลักษณะของการซื้อแผ่น DVD ของทางไมโครซอฟท์มาทำการติดตั้ง โดยใส่แผ่นลงไปใน DVD Drive ของอุปกรณ์นั้นๆ แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแล็ปท็อปเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ที่มักจะดีไซน์ออกมาให้บางเบา มักตัดฟังก์ชั่น DVD Drive ออกไป ทำให้การบูท หรือติดตั้งโปรแกรมใดๆ ต้องอาศัยการบูทผ่าน USB Drive แทน เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ทางไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนมาให้บริการในระบบการดาวน์โหลดไฟล์ผ่านเว็บไซต์ รวมถึงการจำหน่ายโปรแกรมติดตั้งที่มาพร้อม USB FlashDrive แทนแผ่น DVD ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องมีสำหรับการลงระบบปฏิบัติการวินโดวส์ใหม่ก็คือแฟลชไดร์ฟ ที่มีไฟล์วินโดวส์เวอร์ชั่นที่เราต้องการลงให้อุปกรณ์ของเรานั่นเอง ซึ่งหากเป็นแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมไฟล์วินโดวส์จากทางไมโครซอฟท์เองก็แทบจะไม่ต้องเตรียมอะไรเพิ่มเติมเลย เพราะไฟล์ในตัวแฟลชไดร์ฟนั้นมาพร้อมสำหรับการบูทติดตั้งอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่เราต้องการใช้แฟลชไดร์ฟเก็บข้อมูลทั่วไปที่เรามีอยู่ เราก็ต้องไปทำการดาวน์โหลดไฟล์วินโดวส์จากเว็บไซต์มาไว้ให้ครบถ้วนซะก่อน
สร้างไฟล์ติดตั้ง หลังจากที่ได้ไฟล์วินโดวส์มาครบไว้ในแฟลชไดร์ฟครบถ้วนแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนสำคัญ ซึ่งก็คือทำให้ตัว USB FlashDrive สามารถบูทเข้าระบบปฏิบัติการเพื่อทำการติดตั้งได้ เพราะแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟทั่วไปที่เราใช้งานกันไม่สามารถบูทเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งด้วยตัวเองได้ ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้ว หากผู้ใช้งานพอจะมีพื้นฐานในการใช้งานเครื่องมือสำหรับสร้างไฟล์ติดตั้งก็อาจจะเลือกใช้เครื่องมืออย่า Rufus Portable โดยเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ของ Rufus เพื่อสร้างตัวบูทขึ้นมาเองได้ แต่สำหรับคนที่ไม่สันทัดในการใช้เครื่องมือติดตั้งเหล่านี้อาจเลือกใช้บริการร้านซ่อมอุปกรณ์ไอที หรือช่างไอทีทั่วไปให้ทำการสร้างตัวบูทวินโดวส์ใน FlashDrive ที่เราทำการเซฟไฟล์วินโดวส์นั้นไว้แทน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเสียค่าบริการเพียงเล็กน้อย เมื่อได้แฟลชไดร์ฟที่มีตัวบูทพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เพียงแค่ทำการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปที่เราต้องการติดตั้งวินโดวส์ เปิดเครื่องและกดปุ่มใดๆ บนคีย์บอร์ด(ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของอุปกรณ์) เพื่อบูทเข้าสู่ BIOS เมื่อปรากฎหน้าแสดงเมนูใน Bios แล้วก็ทำการเลือกเลือกเมนูให้อุปกรณ์บูทจาก USB Drive เท่านี้ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งวินโดวส์ปกติเช่นเดียวกับการติดตั้งโดยแผ่น DVD แล้ว

Leave Comment