รวมเทคนิคใช้งานแฟลชไดร์ฟให้คุ้มค่า เพิ่มความลื่นไหลในการจัดการไฟล์ดิจิทัล
ถ้าพูดถึงการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ ก็แน่นอนว่าโดยประโยชน์พื้นฐานนั้นหลายคนย่อมคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งก็คือการใช้งานโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่างๆ เช่น การเซฟงานจากคอมพิวเตอร์ที่ออฟฟิศเพื่อนำกลับไปทำต่อที่บ้าน หรือการเคลื่อนย้ายไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของเราเพื่อส่งต่อให้เพื่อนร่วมงานไปใช้งานต่อ เป็นต้น เรียกได้ว่าแฟลชไดร์ฟนั้นเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมในการส่งต่อ คัดลอก โอนย้ายไฟล์ดิจิทัลจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์ หรือจากบุคคลสู่บุคคล แต่ทว่าในความเป็นจริงประโยชน์ที่ติดมากับตัวแฟลชไดร์ฟนั้นยังมีอะไรมากมายกว่าการเป็นแค่แก็ดเจ็ตสำหรับช่วยในการโอนย้ายข้อมูล ซึ่งบางประโยชน์การใช้งานหลายคนก็อาจจะนึกไม่ถึงด้วยซ้ำ ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำเทคนิคการใช้งานต่างๆ ที่จะช่วยให้เราใช้งานแฟลชไดร์ฟคู่ใจได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น และช่วยให้เราสามารถจัดการกับไฟล์ดิจิทัลต่างๆ ได้ลื่นไหลขึ้นด้วย และปัจจุบันแฟลชไดร์ฟยังมีหลายแบบหลายทรงให้เราได้เลือกใช้งาน เช่น แฟลชไดร์ฟปากกา พกพาง่าย รูปทรงสวยงาม แฟลชไดร์ฟการ์ด สามาราพกพาใส่กระเป๋าสตางค์ไปได้ทุกที่ แฟลชไดร์ฟไม้ เป็นวัสดุรีไซเคิล รักษ์โลก
ใช้งานเป็นเครื่องเล่นเพลงพกพา ประโยชน์การใช้งานอย่างนึงของแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟที่หลายคนคุ้นเคยกันดี แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่ทราบมาก่อนว่าสามารถใช้แก็ดเจ็ตชิ้นนี้ทดแทนได้ก็คือ การใช้งานเป็นเครื่องเล่นเพลงพกพานั่นเอง โดยทั่วไปแล้วแฟลชไดร์ฟจะสามารถจัดเก็บและอ่านไฟล์ดิจิทัลได้หลากหลายนามสกุล ซึ่งครอบคลุมถึงไฟล์ดิจิทัลประเภทเพลง หรือวีดีโอด้วย เราจึงสามารถใช้แฟลชไดร์ฟเป็นเครื่องเล่นเพลงพกพาได้เช่นกัน วิธีใช้งานก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแค่เรามีการบันทึกไฟล์เพลงไว้ก่อน และเชื่อมต่อแฟลชไดรฟ์เข้ากับลำโพงบลูทูธ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วลำโพงบลูทูธจากแบรนด์ต่างๆ จะมีพอร์ตเชื่อมต่อ USB-A มาให้เป็นฟังก์ชั่นมาตรฐานอยู่แล้ว เท่านี้เราก็สามารถกดเล่นไฟล์เพลงที่ถูกบันทึกไว้ได้แล้ว โดยไม่ต้องพึ่งพาสัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือบลูทูธเลย เสมือนมีเครื่องเล่นเพลงแบบอนาล็อกติดตัว
ใช้สำหรับลงระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์/แล็ปท็อป ถ้าพูดถึงการลงระบบปฏิบัติการ เช่น windows ให้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับวิธีซื้อแผ่นในลักษณะของแผ่นซีดีมาใส่ในช่องซีดีไดร์ฟของอุปกรณ์นั้นๆ และให้ตัวระบบปฏิบัติบูตเข้าขั้นตอนการติดตั้งต่อไป แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์บุคคลจากแบรนด์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแล็ปท็อปรุ่นใหม่ๆ มักมีการดีไซน์สเปคมาให้มีความบางเบา พกพาสะดวก ประกอบกับความนิยิมในการใช้พอร์ตซีดีไดร์ฟของผู้ใช้งานลดลงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการตัดฟังก์ชั่นส่วนนี้ออก ขณะที่การอัพเดทเวอร์ชั่นระบบปฏิบัติการต่างๆ จากบริษัทผู้ผลิตก็กลายเป็นรูปแบบออนไลน์หมดแล้ว ผู้ใช้งานจึงต้องหาวิธีในการติดตั้งและอัพเดทระบบปฏิบัติการให้อุปกรณ์ต่างๆ และหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดก็คือการดาวน์โหลดระบบปฏิบัติมาเซฟลงแฟลชไดร์ฟไว้ และใช้ตัวแฟลชไดร์ฟเป็นตัวบูตเข้าสู่ขั้นตอนการอัพเดท หรือติดตั้งนั่นเอง
ใช้สำหรับจัดเก็บไฟล์รูปภาพ/วิดีโอ จากสมาร์ทโฟนเพื่อเพิ่มพื้นที่ความจำให้สมาร์ทโฟน หนึ่งในพฤติกรรมที่มาควบคู่กับไลฟ์สไตล์แบบดิจิทัลเจนฯ ที่เราคุ้นเคยกันดี ก็คือการใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพ หรือถ่ายวิดีโอบันทึกความทรงจำรอบตัวในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นชีวิตการทำงาน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หรือการท่องเที่ยว ซึ่งปริมาณรูปถ่ายและวิดีโอที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่เอง มักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สมาร์ทโฟนของเราเจอปัญหาหน่วยความจำเต็ม และทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างติดขัด ไม่ลื่นไหล ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดทแอปพลิเคชั่นต่างๆ หรือการติดตั้งแอปฯใหม่ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เราสามารถใช้แฟลชไดร์ฟเข้ามาช่วยจัดการได้ โดยอาจจะทำการคัดลอกไฟล์รูปถ่าย และวิดีโอเก่าๆ ที่ไม่ได้มีแพลนส่งต่อให้ใครแล้วไปเก็บไว้ในแฟลชไดร์ฟ แล้วทำการลบไฟล์เหล่านั้นที่อยู่บนสมาร์ทโฟน ก็จะช่วยให้ได้พื้นที่หน่วยความจำกลับมาพอสมควร โดยอาจทำแบบนี้เป็นระยะๆ เช่น เดือนละครั้ง หรือสามเดือนครั้ง ก็จะช่วยให้เราจัดการกับพื้นที่ใช้งานของสมาร์ทโฟนได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น