ส่วนประกอบของแฟลชไดรฟ์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

แฟลชไดรฟ์นั้น เป็นอุปกรณ์ที่หลายคนเลือกที่จะหยิบมาใช้งานอยู่เสมอ เนื่องด้วยคุณประโยชน์ที่มากมายของอุปกรณ์ชนิดนี้ นอกจากจะสามารถเก็บข้อมูล บันทึกข้อมูล และทำการถ่ายโอนข้อมูลได้แล้ว อุปกรณ์อย่างแฟลชไดรฟ์ ยังเป็นอุปกรณ์ที่สามารถที่จะพกพาได้ง่าย เช่น แฟลชไดรฟ์ปากกา แฟลชไดรฟ์รีไซเคิล เล็กกะทัดรัด สามารถที่จะนำมาห้อยกับพวงกุญแจได้ หรืออาจนำมาใส่กระเป๋าเล็กๆ ไว้ก็ได้เหมือนกัน อีกทั้งยังสามารถที่จะจุข้อมูลได้มาก ยิ่งในปัจจุบันมีออกมาหลายรูปแบบ สามารถที่จะนำมาใช้กับสมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ตได้ด้วยเช่นกัน

 

ถึงหลายคนจะใช้แฟลชไดรฟ์กันอยู่ตลอด แต่ก็ไม่รู้ว่า อุปกรณ์สำคัญที่เราหยิบมาใช้งานกันอยู่บ่อยๆ ชิ้นนี้ มีส่วนประกอบหลักคืออะไรบ้าง ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูกันด้วยเรื่องของ ส่วนประกอบหลักของแฟลชไดรฟ์ ว่าอุปกรณ์สำคัญชนิดนี้ ที่เราใช้ในการเก็บข้อมูลกันอยู่ตลอดนั้น มีส่วนประกอบใดบ้าง ทั้งส่วนประกอบที่เป็นส่วนประกอบหลัก และส่วนประกอบเสริมที่เพิ่มเติมขึ้นมา

 

ส่วนประกอบหลัก

 

โดยทั่วไปนั้น แฟลชไดรฟ์เป็นอุปกรณ์ที่จะมีส่วนประกอบหลักๆอยู่ด้วยกัน 5 ส่วน ส่วนแรกที่เป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก คือส่วนปลั๊กเชื่อมต่อ ซึ่งปลั๊กเชื่อมต่อนี้ จะเป็นปลั๊กเชื่อมต่อแบบ USB เพื่อสามารถที่จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊คที่เราใช้งานได้ หากไม่มีปลั๊กเชื่อมต่อนี้ เราจะไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์แฟลชไดรฟ์ของเรา เข้ากับอุปกรณ์ใดๆ ได้เลย

 

ส่วนประกอบต่อไป คือส่วนของแผงควบคุม USB ส่วนประกอบส่วนนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับบอร์ด แต่มีลักษณะเป็นบอร์ดที่มีขนาดเล็ก และจะมีชิป ฝังอยู่ที่บอร์ดอยู่จำนวนมาก เป็นชิปที่มีทั้งแบบ ROM และ RAM

 

ส่วนประกอบที่สาม คือส่วนประกอบที่เป็นชิปหน่วยความจำ โดยทั่วไปแล้ว จะใช้ชิปหน่วยความจำที่เป็นในรูปแบบ NAND ชิปที่เป็นหน่วยความจำรูปแบบนี้ จะเป็นรูปแบบหน่วยความจำที่มักจะใช้ในกล้องดิจิตอลด้วย ส่วนประกอบต่อไปเป็นส่วนประกอบที่มาด้วยกัน ซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณ และควบคุมการส่งออกข้อมูลของอุปกรณ์ เรียกว่า คริสตัล oscillator

 

ส่วนประกอบสุดท้าย เป็นส่วนประกอบที่เราสามารถเห็นได้จากภายนอก นั่นก็คือฝาครอบ หรือกรอบที่อยู่รอบนอก ในปัจจุบันได้มีการดัดแปลงทำจากวัสดุหลายอย่าง ทั้งแบบพลาสติกซึ่งเราเห็นได้ทั่วไป อีกทั้งยังมีแบบโลหะ แบบหนัง หรือแบบที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลก็ยังมีให้เราเห็น ส่วนประกอบนี้สามารถที่จะใช้ในการป้องกันแฟลชไดรฟ์ของเรา ไม่ให้เกิดข้างในเสียหาย และที่สำคัญ สามารถที่จะป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟช็อตตัวผู้ใช้ได้ด้วย

 

ส่วนประกอบเพิ่มเติม

 

ในอุปกรณ์แฟลชไดรฟ์นั้น ยังมีส่วนประกอบเพิ่มเติมอื่นๆ ที่จะเพิ่มเข้ามา ส่วนประกอบแรกคือตัวจัมเปอร์ และตัวหมุดสำหรับทดสอบ ใช้สำหรับการทดสอบ อุปกรณ์ของเราในช่วงการผลิต หรือการเข้ารหัสของอุปกรณ์แฟลชไดรฟ์ของเรา

 

ส่วนต่อไปจะเป็นส่วนของไฟ LED ซึ่งไฟตรงนี้ ทำหน้าที่แสดงข้อมูลการทำงาน เราจะสามารถดูในจุดนี้ได้ว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลของเรานี้ ทำงานอยู่หรือไม่อย่างไร ทำการถ่ายโอน หรือทำการคัดลอกข้อมูลอยู่หรือไม่ ทุกอย่างจะแสดงออกที่ตรงไฟนี่เอง อย่างเช่น ไฟกระพริบตรงตัวแฟลชไดรฟ์คลาสสิค

 

ต่อไปจะเป็นส่วนของส่วนประกอบที่เราอาจจะเห็นได้บ้าง เป็นทางเลือกสำหรับผู้ผลิตบางเจ้า อันแรกคือ สวิตช์ป้องกันการเขียน เราสามารถที่จะเปิดปิดสวิตช์นี้ เพื่อป้องกันการเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำของเราได้ หรืออาจจะเป็นฝาครอบ USB ใช้ในการป้องกันหัวอ่าน ซึ่งอาจเกิดความเสียหายได้จากการกระแทก หรือไม่ก็อาจเกิดสิ่งปนเปื้อนเข้าไปอุดตันข้างใน แต่สิ่งที่ควรระวังคือ เรามักจะทำฝ้าตรงนี้หายกันอยู่บ่อยๆ ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลหลายรุ่น จึงมักทำออกมาในรูปแบบอื่นมากกว่า อย่างการพับเก็บลงไป หรือการใช้เกลียวเพื่อให้ บริเวณหัว USB นั้นออกมา ทั้งเพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกไปอุดตัน ป้องกันการเสียหาย และป้องกันฝาครอบหายด้วย

Leave Comment