ข้อดีข้อเสียของการใช้แฟลชไดร์ฟความจุระดับเทราไบต์

ข้อดีข้อเสียของการใช้แฟลชไดร์ฟความจุระดับเทราไบต์

สำหรับการใช้อุปกรณ์ไอทีต่างๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แน่นอนว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์แบบเมกะไบต์(Mb) และกิกะไบต์(Gb) โดยกิกะไบต์นั้นเป็นหน่วยวัดที่ใหญ่กว่าเมกะไบต์แบบ *1000 หรือกล่าวคือ 1000Mb จะเท่ากับ 1Gb นั่นเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความจุระดับกิกะไบต์ก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการจัดเก็บข้อมูล ไฟล์งานต่างๆ แล้ว โดยเฉพาะกับอุปกรณ์พกพาอย่างแฟลชไดร์ฟที่มีตัวเลือกความจุตั้งแต่ 4Gb, 8Gb ไปจนถึงระดับ 100Gb ขึ้นไป นับว่ามีปริมาณความจุ และช่วงความจุมากพอให้ได้หลายคนได้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามด้วยความที่ไฟล์งานดิจิทัลต่างๆ โดยเฉลี่ยมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปีหลัง ทำให้ระดับความจุของอุปกรณ์ไอทีต่างๆ เริ่มพัฒนาไปถึงระดับเทราไบต์(Tb) โดยในช่วงแรกระดับความจุ Tb นั้นใช้กับอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำหลักเช่น ฮาร์ดดิสก์ แต่ในช่วงหลังก็มีการพัฒนาให้ใช้กับหลากหลายอุปกรณ์เพื่อรองรับการใช้งานจัดเก็บ เคลื่อนย้ายไฟล์ขนาดใหญ่ และปริมาณมากขึ้น รวมถึงแฟลชไดร์ฟด้วย ซึ่งแน่นอนว่าด้วยขนาดความจุที่แตกต่างกันระดับ *1000 (เช่นเดียวกับระดับเมกะไบต์มากิกะไบต์ 1000Gb จึงเท่ากับ 1Tb) ทำให้ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลของแฟลชไดร์ฟระดับกิกะไบต์ และเทราไบต์แตกต่างกันชัดเจน ในบทความนี้จึงได้นำเอาข้อดีข้อเสียของการใช้งานแฟลชไดร์ฟระดับความจุเทราไบต์มาบอกกล่าว ไม่ว่าจะเป็น แฟลชไดร์ฟการ์ด แฟลชไดร์ฟไม้ หรือจะเป็น แฟลชไดร์ฟคลาสสิค เพื่อให้หลายคนใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจกันว่าควรเลือกซื้อแก็ดเจ็ตชิ้นนี้มาใช้งานหรือทำเป็น GIFT SET หรือไม่

ราคาสูง สำหรับปัจจัยแรกที่ต้องนึกถึง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นข้อเสียของแฟลชไดร์ฟระดับเทราไบต์ก็แน่นอนว่าเป็นเรื่องของราคาที่ถือว่าสูงกว่าความจุระดับกิกะไบต์ แม้ว่าจะไม่ได้สูงมากเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ไอทีพกพาอื่นๆ แต่ก็ถือว่าต้องยอมจ่ายเพิ่มหน่อยเพื่อแลกกับหน่วยความจุเทราไบต์ ดังนั้นหากมองเรื่องความเหมาะสม คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายก็อาจบอกได้ว่าสำหรับคนที่ใช้แฟลชไดร์ฟเพื่อการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลในการทำงานทั่วๆ ไปก็อาจไม่ได้มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อแลกกับพื้นที่จัดเก็บที่ใหญ่กว่าเดิม เพราะแฟลชไดร์ฟในระดับกิกะไบต์ เช่น 128Gb,  256Gb 500Gb ก็ถือว่าใหญ่เพียงพอครอบคลุมกับการใช้งานพื้นฐานในจัดเก็บไฟล์ดิจิทัลต่างๆ แล้ว

จัดเก็บไฟล์ที่มีความละเอียดสูง เช่น ไฟล์งานตัดต่อ ได้ พูดถึงข้อเสียกันไปแล้ว มาถึงข้อดีที่กันบ้าง นั่นก็คือการจัดเก็บไฟล์ที่มีความละเอียดสูงได้นั่นเอง สำหรับคนที่ทำงานเฉพาะทางด้านกราฟิก ตัดต่อวีดีโอ ซึ่งต้องข้องเกี่ยวกับไฟล์ที่มีความละเอียดสูงอยู่บ่อยๆ ก่อนหน้านี้แฟลชไดร์ฟอาจจะไม่ใช้อุปกรณ์ทางเลือกที่ดีสักเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันแฟลชไดร์ฟในระดับความจุเทราไบต์ถือว่าค่อนข้างครอบคลุมการใช้งานเฉพาะทางที่ต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ความละเอียดสูงมากขึ้น จึงถือเป็นข้อดีอย่างนึงที่ช่วยให้คนทำงานเฉพาะทางในวงการต่างๆ มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้งานอุปกรณ์พกพามากขึ้น

ความเสี่ยงที่ไฟล์งานจะเสียหาย อีกหนึ่งจุดที่หลายคนอาจต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกใช้แฟลชไดร์ระดับความจุเทราไบต์ก็คือเรื่องของความเสี่ยงที่ไฟล์งานจะเสียหายนั่นเอง กล่าวคือแฟลชไดร์ฟความจุระดับเทราไบต์นั้นย่อมมาพร้อมกับข้อดีเรื่องขนาดพื้นที่จัดเก็บ หรือบันทึกไฟล์ที่ใหญ่ ทำให้เราสามารถจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ได้มากกว่าแฟลชไดร์ฟระดับกิกะไบต์ แต่ขณะเดียวกันก็มาพร้อมความเสี่ยงเรื่องไฟล์เสียหายมากตามไปด้วย เพราะพื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่อาจทำให้เรานำไฟล์งาน หรือข้อมูลสำคัญต่างๆ มารวมไว้ในแฟลชไดร์ฟมากเกินไป ซึ่งหากตัวแฟลชไดร์ฟเกิดขัดข้อง หรือติดไวรัสก็เสี่ยงที่เราอาจเข้าถึง หรือเปิดไฟล์ทั้งหมดไม่ได้อีก สำหรับคนที่ไม่ได้มีความจำเป็นในใช้งานสำหรับจัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่(ไฟล์ที่กินขนาดพื้นที่ระดับหลายร้อยกิกะไบต์) การเลือกใช้งานในระดับความจุรองลงมา และเลือกกระจายการจัดเก็บไฟล์ต่างๆ ไว้ในหลายอุปกรณ์จึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

Leave Comment