ข้อดีของแฟลชไดร์ฟ USB-C

ข้อดีของแฟลชไดร์ฟ USB-C

เมื่อพูดถึงพอร์ตการเชื่อมต่อของแก็ดเจ็ต หรืออุปกรณ์ไอทีต่างๆ หลายคนที่เคยผ่านประสบการณ์ใช้งานในชีวิตประจำวันกันมาบ้างก็น่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าพอร์ตการเชื่อมต่อที่เราคุ้นเคยกันมาเป็นเวลานานหลายปีก็คือพอร์ต USB หรือในชื่อเต็ม USB Type A ซึ่งถือเป็นพอร์ตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้เป็นพอร์ตมาตรฐานสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ รวมถึงพัฒนาให้เป็นช่องทางการรับส่งไฟ(ชาร์จพลังงานแบตเตอรี่) ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยที่มีการพัฒนาพอร์ตลูกอย่าง USB Type B ขึ้นมาสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างโทรศัพท์ หรือสมาร์ทโฟนรุ่นแรกๆ เพื่อใช้งานควบคู่กัน ทั้งนี้พอร์ต USB-A นับเป็นพอร์ตมาตรฐานที่ติดมากับอุปกรณ์ไอทีโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแล็ปท็อป คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแก็ดเจ็ตบันทึกและรับส่งข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟมานานกว่ายี่สิบปีแล้ว กระทั่งช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีได้มีการพัฒนาพอร์ตแบบใหม่ขึ้นมาในชื่อ USB Type C เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ขนาดเล็กให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น โดยเข้ามาแทนที่พอร์ต USB-B ก่อนที่จะมีการต่อยอดใช้งานไปถึงการที่นำพอร์ต USB-C มาใส่ไว้กับอุปกรณ์ขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อยอย่างแล็ปท็อป หรือโน๊ตบุ๊ค สำหรับใช้งานเป็นพอร์ตชาร์จไฟ และรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่นเดียวกันกับบรรดาผู้ผลิตแก็ดเจ็ต หรืออุปกรณ์เสริมขนาดเล็กต่างๆ ก็ได้มีการต่อยอดการใช้งานพอร์ต USB-C ไปใช้กับแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟ ลำโพงพกพา ลำโพงบลูทูธ เป็นต้น ในบทความนี้จึงได้เลือกที่จะกล่าวถึงแก็ดเจ็ตที่มีผู้ใหญ่งานเยอะและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของหลายคนอย่างแฟลชไดร์ฟว่ามีข้อดีอย่างไรเมื่อเริ่มมีการนำเอาพอร์ตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่อย่าง USB-C มาใส่ทดแทนพอร์ต USB-A เดิมที่เราคุ้นเคยกันมานานกว่ายี่สิบปี

เป็นทางเลือกการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น ข้อดีอย่างแรกเลยของการที่นำเอาพอร์ตแบบ USB-C มาใช้ในแฟลชไดร์ฟทดแทนพอร์ต USB-A ก็คือการเพิ่มทางเลือกที่สะดวกให้ผู้ใช้งาน เพราะแม้ว่าพอร์ต USB-A สำหรับแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟจะถือว่าสะดวกต่อการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อย่างแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะอยู่แล้ว แต่อุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ก็มักจะมาพร้อมกับพอร์ต USB-C ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อปเองก็ตาม พอร์ต USB-C จึงถือว่าเข้ามาช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และสะดวกสบายในการปรับใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้นโดยเฉพาะกับอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างสมาร์ทโฟน ซึ่งเรามักเข้าใจกันว่าเป็นข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟได้ แต่เมื่อมี USB-C เข้ามาก็ทำให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ไม่ต่างจากอุปกรณ์ขนาดใหญ่อื่นๆ แม้ว่าในช่วงแรกๆ อาจจำเป็นต้องอาศัยตัวช่วยในการใช้งานด้วยการลงแอปพลิเคชั่นเสริมด้วยก็ตาม

เสียบใช้งานได้สะดวกกว่า ความแตกต่างระหว่างพอร์ต USB-C และพอร์ต USB เจนก่อนๆ ที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับประสิทธิภาพ หรือความเร็วในการรับส่งข้อมูล ก็คือการออกแบบของหัวเชื่อมต่อ USB-C ที่สามารถเสียบแบบกลับด้านใดก็ได้ ขณะที่หัวของ USB เจนก่อนจะเสียบเข้าได้ด้านเดียวถึงจะลงล็อคได้ แม้ว่ารายละเอียดดังกล่าวนี้ดูจะเป็นเพียงจุดเล็กๆ แต่สำหรับคนที่เคยผ่านประสบการณ์เสียบชาร์จโทรศัพท์ด้วยสาย USB-B ในที่มืด หรือเวลากลางคืนขณะไม่เปิดไฟจะทราบว่าค่อนข้างเป็นปัญหาที่ทำให้รู้สึกไม่สะดวกสบายในการใช้งานอยู่เหมือนกัน เช่นเดียวกับแฟลชไดร์ฟ USB-A ซึ่งทำให้เราต้องหมุนกลับด้านขณะเสียบใช้งานอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นความสะดวกในการเสียบใช้งานด้านใดก็ได้จึงถือเป็นข้อดีอีกอย่างของแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟ USB-C สายชาร์จ USB-C รวมถึงแก็ดเจ็ตอื่นๆ ที่มาพร้อมกับพอร์ต Type C นี้

และในปัจจุบันแฟลชไดร์ฟก็ยังมีรูปทรงที่หลากหลาย รวมไปถึงวัสดุที่นำมาทำแฟลชไดร์ฟอีกด้วย เช่น แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟยาง วัสดุเหล่านี้ก็จะนำมาออกแบบให้รูปทรงที่น่าใช้งาน และพกพาง่าย เช่น แฟลชไดร์ฟการ์ด แฟลชไดร์ฟปากกา หรือจะเป็นแฟลชไดร์ฟริสแบนด์

Leave Comment