ก่อนดึงแฟลชไดร์ฟไม่ต้องกดคำสั่ง Safety Remove อีกต่อไปแล้ว (update 2022)

เคยไหมเวลาที่เราซื้อแฟลชไดร์ฟมาใช้งานไม่ว่าจะซื้อมาจากร้านไหนหรือซื้อของแบรนด์ไหนก็ตามแต่ เมื่อหลังจากใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ก่อนที่เราจะทำการดึงออกจะต้องกดไปที่ Safety Remove หรือ Eject ที่มุมล่างขวาของจอภาพ เพื่อเป็นการเซฟแฟลชไดร์ฟและไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ให้เสียหาย ทั้งคุณครู หรือตามคำบอกเล่าและวีดีโอต่าง ๆ ก็สอนให้ใช้งานแบบนั้นเป็นประจำ แต่ก็เคยมีบางครั้งที่เราหลงลืมหรือชอบความรวดเร็วจึงถอดแฟลชไดร์ฟออกเสียก่อนที่จะทำการกดปุ่ม Safety Remove หรือ Eject ใช่ไหมล่ะ หลายคนต่างก็บอกว่าถอดแล้วไม่เห็นจำเป็นต้องกดตามขั้นตอนที่คุณครูสอนมาเลย ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลยด้วยซ้ำที่สำคัญยังใช้งานได้เหมือนเดิม ไม่ได้เสียหายอะไรเลยด้วยซ้ำ นั่นอาจจะเป็นความโชคดีของครั้งนั้นก็เป็นได้ เพราะมีบางคนที่พบเจอกับปัญหาไฟล์ข้อมูลในแฟลชไดร์ฟเสียหายใช้งานไม่ได้บ้าง เปิดไม่ติดบ้าง ไฟล์ไม่ครบบ้าง เป็นผลเสียจากการไม่กดชุดคำสั่ง Safety Remove หรือ Eject นั่นเอง ทำให้เกิดการถกเถียงกันเป็นเวลานาน หลายปีจนในปีที่มีการอัพเดทเวอร์ชั่นของ Windows 10 (เวอร์ชั่น 1809) รูปแบบการใช้งานก็เปลี่ยนไป หลายคนยังคงจำจากที่เราเคยเรียน เคยถูกสอนมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วว่าก่อนจะถอดแฟลชไดร์ฟทุกครั้งต้องไปที่ Safety Remove หรือ Eject ก่อนนะ แต่เรื่องนี้นั้นได้ถูกอัพเดทโดยทางบริษัท Microsoft ที่ได้ออกมายืนยันด้วยตนเองเลยว่า ตั้งแต่ระบบปฏบัติการ Windows 10 (เวอร์ชัน 1809) เป็นต้นไปนั้น ได้มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือชุดคำสั่งที่มีชื่อว่า Quick removal เป็นเครื่องมีที่จะช่วยให้ทุก ๆ คนสามารถถอดแฟลชไดร์ฟได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่ต้องทำการกด Safety Remove หรือ Eject อีกต่อไป แต่ข้อแนะนำที่ไม่ควรทำก็คือในขณะที่แฟลชไดร์ฟกำลังทำการเซฟไฟล์อยู่นั้นไม่ควรที่จะถอดออกกะทันหันเพราะนั่นอาจจะทำให้ไฟล์มีปัญหาได้ ต่อให้มีโปรแกรมมาช่วยแล้วแต่ก็ต้องทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องด้วยล่ะ เพื่อให้การทำงานของชุดคำสั่งถูกต้องที่สุดนั่นเอง

Safety Remove คืออะไรกันแน่

ทำไมถึงต้องกด คำสั่ง Safety Remove ในสมัยก่อน จริง ๆ แล้วการกดคำสั่งนี้เพื่อให้ Windows รับรู้ชุดคำสั่งเพื่อสั่งการโปรแกรมที่กำลังอ่านและเขียนและทำการบันทึกบนแฟลชไดร์ฟให้หยุดอย่างเสร็จสมบูรณ์ โดยเราสามารถสังเกตได้จากไฟที่แสดงบนแฟลชไดร์ฟ ถ้าหากเราเผลอดึงแฟลชไดร์ฟออกจากคอมพิวเตอร์ในขณะที่กำลังทำการถ่ายโอนหรือเซฟข้อมูลอยู่นั้น ก็อาจจะทำให้ไฟล์เสียหายได้ ในสมัยก่อนจึงแนะนำให้กดชุดคำสั่ง Safety Remove และต้องสังเกตให้ดีว่าเมื่อกดไปแล้วไฟบนแฟลชไดร์ฟยังติดอยู่หรือไม่ ถ้าหากไฟยังติดอยู่แสดงว่าคำสั่งนั้นยังไม่หยุดทำงานแต่ถ้าหากไฟดับแล้วก็สามารถถอดแฟลชไดร์ฟออกมาได้เลยนั่นเอง

ไม่ว่าจะเป็นแฟลชไดร์ฟรุ่นไหน จะเป็นแฟลชไดร์ฟการ์ด แฟลชไดร์ฟทวิสเตอร์ หรือแฟลชไดร์ฟโลหะ ยี่ห้ออะไรก็ตามในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องกด Safety Remove หรือ Eject ต่อไปแล้ว ทีนี้ก็ไม่ต้องมากังวลแล้วว่าไฟล์จะหายหรือไฟล์จะเสียอีกต่อไปหรือไม่เพราะ Windows 10 ได้ช่วยเราเอาไว้แล้วนั่นเอง ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะพอเป็นประโยชน์ให้กับคนที่เข้ามาอ่านไม่มากก็น้อย และในครั้งหน้านั้นจะมีบทความ สาระความรู้หรือทริคเล็ก ๆ อะไรมานำเสนอกันฝากทุกท่านติดตามกันด้วยนะคะ เราสัญญาว่าจะหาบทความที่เป็นประโยชน์มาให้ทุกท่านได้อ่านกันอย่างต่อเนื่องอย่างแน่นอน

Leave Comment