ข้อควรระวังในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C ร่วมกับสมาร์ทโฟน
ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ หลายคนน่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าพอร์ตการเชื่อมต่อมาตรฐานของตัวแก็ดเจ็ตก็คือพอร์ต USB Type A ซึ่งถือเป็นพอร์ตที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อย่างแล็ปท็อป หรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เนื่องจากเป็นพอร์ตเชื่อมต่อพื้นฐานที่แบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีทุกแบรนด์ใส่มากับผลิตภัณฑ์ของตนเองเช่นกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าปัจจุบันพอร์ต USB-A จะยังคงเป็นพอร์ตมาตรฐานที่ติดมากับตัวอุปกรณ์ดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันก็มีพอร์ตอย่าง USB-C ซึ่งเป็นพอร์ตเจเนอเรชั่นใหม่ที่ถูกมาใส่มากับอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อป และกำลังได้รับความนิยมในการประยุกต์ใช้งานรับส่ง แชร์ไฟล์ข้อมูลต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนั่นก็ทำให้แบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตเจ้าต่างๆ มีการพัฒนาแฟลชไดร์ฟ Type-C ตามมาเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่มาพร้อมพอร์ต USB-C โดยเฉพาะอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตนั้นสะดวกมากขึ้น ทั้งนี้แม้ว่าการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตนั้นจะมีหลักการเดียวกันกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อป แต่ในความเป็นจริงก็ถือว่ายังมีข้อควรระวังที่ผู้ใช้งานหลายคนมองข้ามไปอยู่หลายประการเหมือนกัน ในบทความนี้จึงได้นำเอาข้อควรระวังต่างๆ ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C กับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตมาแนะนำให้ได้ทราบกัน
ไม่นำแฟลชไดร์ฟที่มีข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ไม่รู้จักมาเสียบเชื่อมต่อ ปัญหาพื้นฐานอย่างนึงที่พบได้บ่อยในการใช้งานอุปกรณ์ไอทีในช่วงยุคเริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป หรือกระทั่งแฟลชไดร์ฟเองก็ตามก็คือ ไวรัส หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่ติดมาจากการดาวน์โหลดข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นอาจรบกวนประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ หรืออาจถึงขั้นทำให้ตัวแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟเสียหาย ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกเลย ทว่าปัจจุบันที่ระบบความปลอดภัยของอุปกรณ์มีการพัฒนาขึ้นจากเดิม เมื่อเราทำการเสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับอุปกรณ์อย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือโน๊ตบุ๊ค ระบบก็มักจะมีการเด้งแจ้งเตือนให้เราทำการสแกนไวรัสของไดร์ฟที่เชื่อมต่อเข้ามาใหม่ให้เรียบร้อยก่อนการใช้งาน หรือหากพบไฟล์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายก็อาจจะมีแจ้งเตือนคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเรียกดูไฟล์ดังกล่าว ซึ่งถือว่าช่วยให้การใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้มีความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น แต่ทว่าอย่างที่ทราบกันดีว่าระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตนั้นแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้แม้ว่าเมื่อมองที่ความปลอดภัยในการใช้งานทั่วไป สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตดูจะมีความปลอดภัยจากไวรัส และโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ มากกว่า แต่นั่นก็เป็นเพราะอัตราการดาวน์โหลดข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ไม่รู้จัก หรือไม่น่าเชื่อถือนั้นอยู่ในระดับต่ำ(โดยส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นต่างๆ จากพื้นที่ให้บริการหลักของระบบอย่าง Play Store หรือ App Store) ดังนั้นในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ สิ่งสำคัญที่ต้องระวังก็คือการไม่นำแฟลชไดร์ฟที่บรรจุข้อมูลที่เราไม่ทราบแหล่งที่มาเสียบเชื่อมต่อเข้าไป เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับไฟล์ไวรัส หรือแอปพลิเคชั่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่จะเข้ามารบกวนการทำงานของสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตของเรา
หลีกเลี่ยงการใช้งานเก็บไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ โดยไม่มีการสำรองข้อมูลไว้ที่แหล่งอื่น อย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของแฟลชไดร์ฟรุ่นใหม่ๆ มีการพัฒนาขยายใหญ่ขึ้นกว่าช่วงหลายปีก่อนมาก โดยบางรุ่นมีความจุสูงถึงระดับ TB(เทราไบต์) และนั่นก็ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนเข้าใจผิดว่าเราสามารถใช้งานแฟลชไดร์ฟเป็นแหล่งสำรองข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสำคัญๆ หรือข้อมูลขนาดใหญ่ได้ แต่ความจริงก็คือสถาปัตยกรรมของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้นั้นไม่เหมาะสำหรับใช้งานเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหลัก เนื่องจากประสิทธิภาพการใช้งานจะเสื่อมไปตามจำนวนรอบการเขียน อ่านข้อมูล ซึ่งหมายความว่าตัวแก็ดเจ็ตอาจเสียหายจนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในวันใดหนึ่ง ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการดึงข้อมูลใดๆ จากสมาร์ทโฟนมาเก็บไว้บนตัวแฟลชไดร์ฟ โดยไม่ได้มีการสำรองข้อมูลไว้ในแหล่งอื่นเพิ่มเติม ปัจจุบันแฟลชไดร์ฟมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบและวัสดุ เช่น แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ หรือที่ดูทันสมัยและพกพาง่ายคือ แฟลชไดร์ฟปากกา ที่ถูกใช้เป็นจำนวนมาก หรือทำเป็นของทีระลึกในโอกาสต่างๆ