แฟลชไดร์ฟ Dual Drive ทางเลือกแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่สะดวกมากขึ้น
เมื่อพูดถึงการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลแบบพกพาสำหรับจัดเก็บไฟล์งาน หรือไฟล์รูปภาพ วิดีโอ รวมถึงไฟล์สื่อบันเทิงอย่างเพลง หนัง แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้วหลายคนคุ้นเคยกับการใช้งานแฟลชไดร์ฟ USB Type A ซึ่งเป็นพอร์ตมาตรฐานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปจากแบรนด์ต่างๆ มีให้เลือกหลายแบบ เช่น แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ และแฟลชไดร์ฟรูปทรงต่างๆ เช่น แฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟการ์ด เป็นต้น ก่อนที่ช่วงไม่กี่ปีหลังแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตเริ่มจะมีการพัฒนาแฟลชไดร์ฟ USB-C และ Lightning เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถปรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟนได้สะดวก อย่างไรก็ตามแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมกับพอร์ตเจนเนอเรชั่นใหม่ดังกล่าวก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการฟอร์แมตตัวไดร์ฟก่อนการใช้งาน กล่าวคือแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมพอร์ต USB-C หรือ Lightning บางตัวอาจไม่พร้อมสำหรับเสียบใช้งานกับสมาร์ทโฟนได้ทันที โดยต้องทำการต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อป และทำการฟอร์แมตเพื่อให้ตัวไดร์ฟรองรับการอ่านสกุลไฟล์ที่อยู่บนสมาร์ทโฟนซะก่อน, ข้อจำกัดด้านการเสียบใช้งานข้ามอุปกรณ์ โอนถ่ายข้อมูลข้ามอุปกรณ์ อย่างที่ทราบกันว่าสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปแต่ละแบรนด์ แต่ละรุ่นอาจมาพร้อมกับพอร์ตการเชื่อมต่อที่ต่างกันออกไป การได้ไดร์ฟที่มากับพอร์ตแบบ USB-C หรือ Lightning จึงไม่ได้ช่วยให้การใช้งานข้ามอุปกรณ์สะดวกขึ้นแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้เองทำให้แบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ดบางแบรนด์เริ่มมีการพัฒนาแฟลชไดร์ฟ แบบ Dual Drive หรือก็คือไดร์ฟที่มาพร้อมกับพอร์ตสำหรับเสียบเชื่อมต่อสองแบบในตัวเดียวขึ้นมาวางจำหน่าย ซึ่งในบทความนี้ก็ได้นำเอาข้อดี และข้อควรรู้ต่างๆ ของแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาแบบ Dual Drive นี้มาแนะนำให้ได้ทราบกัน
การใช้งานข้ามอุปกรณ์ที่สะดวก ข้อดีอย่างแรกที่เห็นได้ชัดเจนของแฟลชไดร์ฟ Dual Drive ก็คือการใช้งานข้ามอุปกรณ์ได้อย่างสะดวกลื่นไหลนั่นเอง โดยตัวแก็ดเจ็ตจะมาพร้อมกับ พอร์ต USB-C และ USB-A หรือ พอร์ต Lightning และ USB-A ในบางรุ่น ทำให้เราสามารถสลับเสียบใช้งานกับอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อป โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ต่อพ่วงเสริมใดๆ
มีราคาสูง และบางยี่ห้อ บางรุ่นอาจยังต้องทำการการฟอร์แมตไดร์ฟให้รองรับการอ่านสกุลไฟล์บนสมาร์ทก่อนการใช้งาน พูดถึงข้อดีกันไปแล้ว มาที่ข้อจำกัดของแฟลชไดร์ฟ Dual Drive กันบ้าง ซึ่งข้อจำกัดที่ชัดเจนอย่างแรกก็คือราคาจำหน่ายที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับแฟลชไดร์ฟแบบพอร์ตเดี่ยว โดยราคาเริ่มต้นในรุ่นความจุ 32GB อยู่ที่หลักพันบาทเลยทีเดียว(แฟลชไดร์ฟพอร์ตเดี่ยวในระดับความจุที่เท่ากันอาจซื้อได้ในราคาร้อยกว่าบาทเท่านั้น) ขณะที่รุ่นความจุสูง เช่น 1 TB มีราคาสูงถึงราว 3,000 – 4,000 บาท แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ในอนาคตหากแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตต่างๆ มีการแข่งขันกันพัฒนา Flash Drive แบบ Dual Drive มาวางจำหน่ายกันมากขึ้นก็มีแนวโน้มที่ราคาจะลดลงจากนี้พอสมควร และอีกข้อจำกัดก็คือการฟอร์แมตให้ตัวไดร์ฟรองรับการอ่านสกุลไฟล์บนสมาร์ทโฟน ซึ่งบางแบรนด์ บางรุ่นอาจจำเป็นต้องทำการฟอร์แมตให้ได้ System Type ที่ตรงกันก่อน แต่บางแบรนด์ บางรุ่นก็อาจมาพร้อมแอปพลิเคชั่นหลักของแบรนด์ที่พัฒนาขึ้นรองรับการใช้งานร่วมกับแก็ดเจ็ตของแบรนด์ตนเอง เพียงแค่ดาวน์โหลดมาติดตั้งบนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ก็สามารถเสียบใช้งานแฟลชไดร์ฟเข้ากับอุปกรณ์นั้นๆ ได้ทันที ตัวอย่างเช่นแบรนด์ SanDisk ที่มีการพัฒนาแอปฯ Sandisk Memory Zone ขึ้นรองรับการใช้งานคู่กับแฟลชไดร์ฟของ SanDisk ซึ่งช่วยในการค้นหา อ่านไฟล์ได้บนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และจัดแบ่งหมวดหมู่ไฟล์รูปภาพ เพลง วิดีโอ หรือเอกสารอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งหากเราเลือกใช้แฟลชไดร์ฟของแบรนด์ที่มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นหลักมาให้ใช้ควบคู่กันนี้ก็จะช่วยป้องกันปัญหาจุกจิกที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ปัญหาโอนถ่ายไฟล์ไม่ได้ ปัญหาอ่านไฟล์ไม่ได้ ได้ในระดับนึง