เทคนิคการเลือกซื้อ และใช้งานแฟลชไดร์ฟ-SSD ให้คุ้มค่ามากที่สุด

เป็นที่ทราบกันดีว่าแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD ถือเป็นไอเทมชิ้นสำคัญสำหรับใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ เพื่อจัดการกับไฟล์งาน หรือกระทั่งไฟล์สื่อบันเทิงต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน...

เป็นที่ทราบกันดีว่าแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD ถือเป็นไอเทมชิ้นสำคัญสำหรับใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ มีหลากหลายแบบทั้ง wooden usb, metal usb, classic usb เป็นต้น เพื่อจัดการกับไฟล์งาน หรือกระทั่งไฟล์สื่อบันเทิงต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับยุคปัจจุบันที่ไลฟ์สไตล์ของคนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น มีอุปกรณ์ไอทีแบบพกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตให้ได้ใช้งานอย่างสะดวกมากขึ้นตลอดทั้งวันก็ยิ่งทำให้ไอเทมตัวช่วยในการจัดการไฟล์ โอนย้ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ หรือกระทั่งเพื่อสำรองข้อมูลเป็นการชั่วคราวอย่างแฟลชไดร์ฟ, SSD มีความต้องการใช้งานมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตามมาพร้อม ๆ กันในการใช้งานแก็ดเจ็ตดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการจัดการกับไฟล์ดิจิทัลใด ๆ ก็คือ ปัญหาจุกจิกต่าง ๆ ระหว่างการใช้งานนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสเปคพื้นฐานต่าง ๆ ของตัวแฟลชไดร์ฟ SSD ที่อาจจะไม่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งาน พอร์ตการเชื่อมต่อที่ใช้ไม่ได้กับบางอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังตัวอย่างนี้อาจทำให้ผู้ใช้งานบางคนรู้สึกว่าการใช้งานแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟ SSD มีต้นทุนที่มากเกินความจำเป็น ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำเทคนิคในการเลือกซื้อและใช้งานแฟลชไดร์ฟ และ External SSD ให้คุ้มค่ามากที่สุด และช่วยจัดการกับปัญหากวนใจต่าง ๆ ในการใช้งานได้มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน
ใช้สายแปลงพอร์ตช่วย ปัญหายอดฮิตแรก ๆ ที่ทำให้ผู้ใช้งานบางคนต้องควักเงินมากกว่าที่ควรในการซื้อแฟลชไดร์ฟ หรือ External SSD มาใช้งานก็คือ พอร์ตเชื่อมต่อ หรือพอร์ต USB ที่ใช้งานได้เฉพาะบางอุปกรณ์นั่นเอง เนื่องจากอุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในชีวิตประจำวันอาจมีพอร์ตเชื่อมต่อที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น แล็ปท็อปที่ใช้งานอยู่อาจมีเพียงแค่พอร์ต USB-A ขณะที่สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตที่ใช้งานอยู่อาจมีเฉพาะพอร์ต USB-C เป็นต้น ผู้ใช้งานหลายคนจึงเลือกใช้วิธีซื้อแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD สองตัวที่ให้พอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-A และ USB-C มาใช้งาน ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะทำให้ต้องควักจ่ายเงินเพิ่มเป็นเท่าตัวแล้ว ก็ยังทำให้ไม่สามารถโอนย้ายไฟล์ข้อมูลใด ๆ ระหว่างแล็ปท็อป กับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตผ่านแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD ตัวนั้น ๆ ได้ด้วย เรียกได้ว่าสามารถใช้เป็นเพียงแค่แก็ดเจ็ตสำรองข้อมูลเฉพาะอุปกรณ์เท่านั้น ขณะที่วิธีที่คุ้มค่ากว่าและช่วยให้เซฟเงินในการจ่ายซื้อแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD เพิ่มอีกตัวก็คือ การหาซื้อสายแปลงพอร์ต(USB-C to USB-A, USB-A to USB-C) มาใช้งานนั่นเอง ซึ่งสายแปลงพอร์ตดังกล่าวนี้จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อแก็ดเจ็ตที่เป็นพอร์ต USB-C เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็นพอร์ต USB-A หรือแก็ดเจ็ตที่เป็นพอร์ต USB-A เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็นพอร์ต USB-C ได้ ทำให้สามารถโอนถ่ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ได้อย่างอิสระ
เลือกซื้อ Extenal SSD แบบประกอบเอง แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วแฟลชไดร์ฟจากแบรนด์ต่าง ๆ ที่เราสามารถหาซื้อได้ในตลาดจะเป็นลักษณะของแฟลชไดร์ฟสำเร็จรูป ซึ่งมีการประกอบตัวพอร์ตเชื่อมต่อ ชิปการ์ดเข้ากับบอดี้มาอย่างแน่นหนา พร้อมสำหรับนำไปเสียบใช้งานได้ทันที ทำให้ไม่สามารถเซฟงบด้วยการใช้วิธีซื้อชิ้นส่วนแยกมาประกอบเองได้ แต่สำหรับ External SSD นั้นแตกต่างออกไป เราสามารถหาซื้อได้ทั้งแบบสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งานทันที กับซื้อแบบแยกประกอบ หรือ DIY ซึ่งก็คือการหาซื้อตัวชิป SSD ตามความจุที่ต้องการ และหาซื้อเคส External SSD ที่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบที่ต้องการ รวมถึงดีไซน์ที่ชื่นชอบมาประกอบเข้าด้วยกัน วิธีนี้จะช่วยให้เซฟงบลงไปได้ราว 10-20% เลยทีเดียว ทั้งยังช่วยให้ได้ External SSD ที่มีหน้าตาสวยถูกใจ ไม่ซ้ำแบบใครด้วย อีกแบบที่มีการพกพาได้สะดวกคือ card usb สามารถใส่กระเป๋าตังได้

เมื่อใดบ้างที่ควรใช้แฟลชไดร์ฟสำรองข้อมูล บนอุปกรณ์ต่าง ๆ

ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้งานมักคุ้นเคยกับประโยชน์การใช้งานสำหรับเป็นตัวช่วยในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ หรือระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โอนย้ายไฟล์งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน เพื่อนำกลับไปทำต่อบนคอมฯ...

แฟลชไดร์ฟในปัจจุบันถูกผลิตขึ้นมาหลากหลายแบบมากไม่ว่าจะเป็น recycle usb , rubber usb , twister usb ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้งานมักคุ้นเคยกับประโยชน์การใช้งานสำหรับเป็นตัวช่วยในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ หรือระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โอนย้ายไฟล์งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน เพื่อนำกลับไปทำต่อบนคอมฯ หรือแล็ปท็อปที่บ้าน ใช้คัดลอกไฟล์งานจากคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ เพื่อนำไฟล์นั้น ๆ ไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใด ๆ สำหรับใช้ประกอบการนำเสนอภายในที่ประชุม เป็นต้น แต่ทว่านอกเหนือจากประโยชน์ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แฟลชไดร์ฟก็ยังมีประโยชน์การใช้งานที่สำคัญอีกอย่าง ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการจัดการไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ผู้ใช้งานหลายคนมักหลงลืมไป ซึ่งก็คือประโยชน์ในการสำรองข้อมูล หรือแบ็คอัพไฟล์ดิจิทัลต่างๆ(แบบชั่วคราว) นั่นเอง ทั้งนี้อย่างที่ทราบกันดีว่าการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ล้วนมีความเสี่ยงที่ไฟล์อาจสูญหาย หรือเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์นั้น ๆ และใช้งานต่อได้ การสำรองข้อมูลไว้บนอุปกรณ์ที่ 2, 3 จึงเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันความเสียหายในกิจกรรมการทำงานต่าง ๆ และแฟลชไดร์ฟก็คือหนึ่งในอุปกรณ์ตัวช่วยที่จะทำให้เราสามารถสำรองไฟล์ข้อมูลไว้ชั่วคราวได้ง่าย ๆ ในบางสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงที่ไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ อาจสูญหาย หรือเข้าถึงไม่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตเครื่องที่ 2, 3 ในบทความนี้จึงจะมากล่าวแนะนำให้ได้ทราบกันว่าเมื่อใดบ้างที่เราควรนำเอาแฟลชไดร์ฟมาสำรองข้อมูลบนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อกิจกรรมการทำงาน หรือความกิจกรรมความบันเทิงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ไฟล์ข้อมูลบนอุปกรณ์นั้น ๆ เกิดสูญหาย หรือมีข้อผิดพลาดใด ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์ได้กะทันหัน
ก่อนการอัปเดตระบบปฏิบัติการ เฟิร์มแวร์ และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึง เรียกดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนอุปกรณ์ สถานการณ์แรกที่ต้องบอกว่าค่อนข้างมีความจำเป็นในการนำแฟลชไดร์ฟมาสำรองไฟล์ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ไว้ก็คือ ก่อนที่จะทำการอัปเดตระบบปฏิบัติการ เฟิร์มแวร์ หรือซอฟต์แวร์ใด ๆ บนอุปกรณ์ที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึง เรียกดูไฟล์ข้อมูลนั้น ๆ เนื่องจากระหว่างการอัปเดตไฟล์ข้อมูลระบบต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นอาจเกิดข้อผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไฟล์ข้อมูลระบบเวอร์ชั่นใหม่ที่ทำการอัพเข้ามาแมตช์กันไม่ได้กับสเปคของอุปกรณ์ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบไปถึงการเข้าถึง เรียกดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ การแบ็คอัพไฟล์สำคัญ ๆ ไว้บนแฟลชไดร์ฟก่อนจึงเป็นวิธีช่วยป้องกันความเสี่ยงที่เราจะไม่สามารถเข้าถึงไฟล์นั้น ๆ ได้แบบ 100% แม้ว่าเปอร์เซ็นต์ที่ไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ จะสูญหายไปภายหลังการอัปเดตระบบปฏิบัติการ, เฟิร์มแวร์, ซอฟต์แวร์ ที่ทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้องจะมีไม่มากนักก็ตาม
ก่อนการถอนการอัปเดตซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นใด ๆ บนอุปกรณ์ สถานกาณ์ที่ต้องบอกว่าน่าจะมีความจำเป็นที่สุดในการนำเอาแฟลชไดร์ฟมาแบ็คอัพข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนอุปกรณ์พกพา เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟนก็คือ ก่อนการถอนอัปเดตซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นใด ๆ ที่ใช้ในการเปิด เรียกดูไฟล์ข้อมูลนั้น ๆ ทั้งนี้อย่างที่ทราบกันดีว่าซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ บนอุปกรณ์นั้นมักจะมีการปล่อยไฟล์อัปเดตผ่านระบบออนไลน์มาให้ผู้ใช้งานได้กดดาวน์โหลดเพื่ออัปเดตอยู่เรื่อย ๆ แต่ทว่าบางครั้งการอัปเดตเวอร์ชั่นต่าง ๆ ก็อาจจะทำให้ผู้ใช้งานได้หน้าตาแอปฯ หรือ UI ที่ไม่ถูกใจเหมือนเดิม ซึ่งผู้ใช้งานสามารถแก้ไขได้ด้วยการถอนการอัปเดตออกไป เพื่อให้ซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นนั้น ๆ กลับไปเป็นเวอร์ชั่นดั้งเดิมที่ติดมากับตัวอุปกรณ์ อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีความเสี่ยงที่จะทำให้ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับแอปฯนั้นๆสูญหายไปได้ เช่น แอปฯสำหรับเรียกดูรูปภาพ วิดีโอต่าง ๆ หากทำการถอนอัปเดตไปแล้วก็อาจทำให้ไฟล์ภาพ ไฟล์วิดีโอบางส่วนสูญหายไป เป็นต้น ดังนั้นก่อนการถอนการอัปเดตซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชั่นใด ๆ ดังตัวอย่างจึงควรนำเอาแฟลชไดร์ฟมาทำการแบ็คอัพข้อมูลไว้ก่อน ในกรณีที่แฟลชไดร์ฟมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดก็อาจเลือกสำรองเฉพาะไฟล์ข้อมูลประเภทที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ หรือแอปฯนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น หากเป็นแอปฯสำหรับเปิดเรียกดู แก้ไขไฟล์เอกสาร ก็อาจเลือกสำรองเฉพาะไฟล์ข้อมูลเอกสาร เป็นต้น สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาแฟลชไดร์ฟ เราแนะนำเป็น metal usb เนื่องจากเป็นโลหะจะมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ

การโจมตีผ่านแฟลชไดร์ฟแบบ USB Drop Attack คืออะไร ป้องกันได้อย่างไร

แฟลชไดร์ฟเป็นสิ่งที่ยังมีการใช้งานอยู่ตลอด และยังมีความสำคัญมาก ๆ อีกด้วยในปัจจุบันนั้นแฟลชไดร์ฟถูกผลิตขึ้นมาเรื่อย ๆ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ที่ถูกปรับมาให้เข้ากับยุคปัจจุบัน อย่างเช่น wooden usb , twister usb , pen usb และอื่น ๆ อีกมากมาย หากบังเอิญวันใดวันหนึ่ง...

แฟลชไดร์ฟเป็นสิ่งที่ยังมีการใช้งานอยู่ตลอด และยังมีความสำคัญมาก ๆ อีกด้วยในปัจจุบันนั้นแฟลชไดร์ฟถูกผลิตขึ้นมาเรื่อย ๆ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ที่ถูกปรับมาให้เข้ากับยุคปัจจุบัน อย่างเช่น wooden usb , twister usb , pen usb และอื่น ๆ อีกมากมาย

หากบังเอิญวันใดวันหนึ่ง คุณมีโอกาสได้เดินเจอแฟลชไดร์ฟตกอยู่ที่พื้นแล้วล่ะก็ คุณอาจมีตัวเลือกที่จะจัดการกับมันอยู่ 3 อย่าง อย่างแรกคือการเก็บไว้กับตัวเองและนำไปใช้ใหม่ โดยคิดว่าไม่ว่ายังไงก็อาจเป็นของที่สามารถใช้งานได้ แบบที่ 2 คือการพยายามหาเจ้าของแฟลชไดร์ฟอันนั้นให้ได้ ส่วนแบบสุดท้ายคือการทิ้งไว้ตรงนั้น การที่เราเจอแฟลชไดร์ฟในที่สาธารณะนั้น ทางที่ดีเราควรจะวางไว้หรือไม่ก็หาเจ้าของ ไม่เช่นนั้นคุณอาจตกเป็นเหยื่อของการโจมตีรูปแบบ USB Drop Attack

ในวันนี้เราจะชวนคุณมาคุยกันในเรื่องของการโจมตีดิจิตอลรูปแบบหนึ่ง ที่มีการใช้ตัวแฟลชไดร์ฟเป็นตัวกลาง วิธีดังกล่าวนี้เรียกว่า USB Drop Attack สิ่งนี้ค่อนข้างจะมีอันตราย แต่มันจะมีอันตรายอย่างไร จุดประสงค์ของการใช้งานเพื่ออะไร และท้ายที่สุดเราจะป้องกันมันได้อย่างไร ในกรณีที่เราเจอแฟลชไดร์ฟตกอยู่เราจะได้ไม่นำไปใช้งาน

USB Drop Attack คืออะไร

USB Drop attack นั้น มีเทคนิคการโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบหนึ่ง โดยการใช้สิ่งที่เรียกว่าวิศวกรรมทางสังคม หรือการพยายามล่อลวงเหยื่อด้วยหลักการทางจิตวิทยา โดยผู้ที่ใช้วิธีการนี้ จะทำการใส่ไวรัสลงไปในตัวแฟกซ์ไว้ หรือหากไม่เป็นไวรัสก็จะเป็นภัยคุกคามบางอย่าง จากนั้นก็จะทำการนำเอาแฟลชไดร์ฟอันนี้ไปวางไว้ในสถานที่สาธารณะ ในจุดที่มองหาได้ง่ายเพื่อให้เหยื่อเก็บไปนั่นเอง และพ่อเหยื่อทำการเสียบแฟลชไดร์ฟที่ไม่มีที่มาที่ไปลงไปในคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่าก็จะมีปัญหาตามมาทีหลัง

จุดประสงค์ของการโจมตีรูปแบบ USB Drop Attack

คนที่โจมตีทางไซเบอร์รูปแบบนี้ จะมีจุดประสงค์หลากหลายด้วยกัน แต่ส่วนมากแล้วการโจมตีนี้จะมีจุดประสงค์อยู่ด้วยกันประมาณ 4 จุดประสงค์ จุดประสงค์แรกคือการหลอกให้เข้าถึงลิงค์ที่มีความอันตราย เมื่อเราเปิดเข้าไปในแฟลชไดร์ฟเราอาจเจอลิงก์ที่มีการตั้งชื่อไฟล์ที่ดูน่าสนใจ ซึ่งหากเรากดเข้าไป อาจเจอเว็บไซต์ปลอมแปลงที่พยายามหลอกเอาข้อมูลทางการเงิน หรือข้อมูลส่วนตัวบางอย่างไป

จุดประสงค์ที่ 2 คืออาจแฝงโค้ดอันตรายลงไป เพียงแค่เราพลิกลงไปหรือเปิดมันขึ้นมา โค้ชนั้นก็อาจทำงานโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งสิ่งนี้อาจใช้สำหรับการติดตั้งมัลแวร์ต่างๆ หรือทำการเข้ารหัสไฟล์บนเครื่องของเรา กรณีที่เป็นมัลแวร์สำหรับการเรียกค่าไถ่

จุดประสงค์ที่ 3 คือ อาจจะทำวิธีการที่เรียกว่า Human Interface Device (HID) สิ่งนี้คือการดัดแปลงตัวแฟลชไดร์ฟให้มีความสามารถปลอมตัวเป็นอุปกรณ์อย่างพวกเมาส์แป้นพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่นที่เสียบผ่านพอร์ต USB เมื่อเราทำการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์จะเข้าใจผิดว่าอุปกรณ์ที่ถูกแปลงนี้เป็นตัวแป้นพิมพ์หรือตัวเมาส์ ทำให้ตัวแฮกเกอร์สามารถควบคุมแป้นพิมพ์หรือเมาส์ของเราจากระยะไกลได้

จุดประสงค์สุดท้ายคือ อาจจะเป็นการเข้ามาทำลายระบบของเรา เพียงแค่เราทำการเสียบช่อง USB ก็อาจทำลายระบบหรือคอมพิวเตอร์ของเราแล้ว แบบนี้เป็นต้น

การป้องกันการโจมตีด้วย USB Drop Attack

การป้องกันที่ง่ายและดูจะเป็นไปได้ที่สุด คือการไม่หยิบอันที่เราไม่รู้แหล่งที่มาที่ไป หรือแบบที่มีความน่าสงสัยมาใช้งานแต่แรกอยู่แล้ว เราควรที่จะวางไว้แบบนั้น หรือตามหาเจ้าของ เพราะหากเราหยิบมันมาใช้งานแล้วเกิดข้อมูลของเราเสียหายหรือมีปัญหา เรียกว่ามันไม่คุ้มที่จะเสี่ยงเท่าไหร่นัก

ยังมีวิธีในการโจรกรรมข้อมูล วิธีการที่ทำให้ข้อมูลของเราหรือคอมพิวเตอร์ของเราเกิดความเสียหายอีกมากมาย ด้วยการใช้อุปกรณ์ที่ว่าดังกล่าวนี้ ในปัจจุบันต้องขอบอกว่าเรื่องของการโจมตีทางไซเบอร์เป็นอะไรที่เราจำเป็นจะต้องระวังมากๆ นอกเหนือจากการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตแล้ว การโจมตีรูปแบบออฟไลน์ก็น่าระวังไม่แพ้กัน
และหากต้องการแฟลชไดร์ฟใช้งานก็ควรจะเลือกร้านค้าที่มีความน่าเชื่อถือ และหากใช้ทำงานควรใช้แฟลชไดร์ฟแบบ metal usb มีความคงทนเพราะทำจากโลหะจะทำให้แฟลชไดร์ฟนั้นเกิดความเสียหายได้ยาก

Dov Moran ผู้ให้กำเนิดแฟลชไดร์ฟ

เราทุกคนรู้จักอุปกรณ์สารพัดประโยชน์อย่างแฟลชไดร์ฟขึ้นอยู่แล้ว อุปกรณ์ชนิดนี้ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล จุดเด่นคือมีขนาดเล็กและพกพาไปไหนมาไหนได้ง่ายดาย แต่ถึงอย่างนั้นก็สามารถที่จะบรรจุข้อมูลได้ในปริมาณมากๆ แม้กระทั่งในปัจจุบันเอง...

เราทุกคนรู้จักอุปกรณ์สารพัดประโยชน์อย่างแฟลชไดร์ฟขึ้นอยู่แล้ว อุปกรณ์ชนิดนี้ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล จุดเด่นคือมีขนาดเล็กและพกพาไปไหนมาไหนได้ง่ายดายอย่าง TWISTER USB ที่เป็นที่นิยมและพกพาง่ายมาก ๆ  แต่ถึงอย่างนั้นก็สามารถที่จะบรรจุข้อมูลได้ในปริมาณมากๆ แม้กระทั่งในปัจจุบันเอง แฟลชไดร์ฟยังถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่หลายคนเลือกที่จะพกพาไปไหนมาไหนอยู่

เรารู้กันอยู่แล้วว่าแฟลชไดร์ฟถูกพัฒนามาจากอุปกรณ์มากมายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Floppy Disk , CD-RW, Card Usb, Wooden Usb หรืออุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลอื่น แต่จะมีสักกี่คนรู้จักผู้ชายที่ชื่อว่า Dov Moran ชายผู้นี้ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ให้กำเนิดอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟเลยก็ว่าได้ เขาเป็นทั้งที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นนักลงทุน และเป็นเสมือนผู้ที่คิดค้นอุปกรณ์สำคัญชนิดนี้

วันนี้เราจะพาคุณมารู้จัก Dov Moran ผู้ที่ถือได้ว่าเป็นผู้ให้กำเนิดอุปกรณ์อย่างแฟลชไดร์ฟ อุปกรณ์ชนิดนี้ถือกำเนิดมาได้อย่างไร และถูกพัฒนามาจากอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย

จุดเริ่มต้นของไอเดีย และการให้กำเนิดแฟลชไดร์ฟ

ย้อนกลับไปเกือบ 30 ปีที่แล้ว อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลนั้นเรียกได้ว่ามีอยู่อย่างจำกัดมาก การใช้งานยังคงจำกัดอยู่ นอกจากนี้เรื่องความจุและขนาดของการจัดเก็บข้อมูลก็ยังมีจำกัดด้วยมากเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นในสมัยก่อน Floppy Disk 3.5 เก็บข้อมูลได้เพียงแค่ 1.44 เมกะไบต์ หากเป็นแผ่นซีดีในรูปแบบ CD-RW จะเก็บข้อมูลได้เพียง 700 เมกะไบต์เท่านั้น นอกจากนี้ยังจำเป็นจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์ และใช้ซอฟต์แวร์ที่มีความเฉพาะในการเขียนและจัดเก็บข้อมูลด้วย

ด้วยเหตุนี้ ทำให้เมื่อใดก็ตามที่คอมพิวเตอร์เกิดปัญหา การจะนำข้อมูลเหล่านั้นออกมาใช้งาน หรือการที่เราจะทำการแบ็คอัพนั้นจะกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากๆ ขึ้นมาในทันที Moran เจอปัญหานี้กับตัวเอง ในระหว่างที่เขากำลังเดินทางไปนำเสนองานในงานสัมมนาครั้งหนึ่งในนิวยอร์ก เรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 1998

ระหว่างที่เขากำลังเตรียมงานโดยที่ใช้โปรแกรม PowerPoint สำหรับในการนำเสนองานต่อหน้าคนนับร้อยในห้องประชุมนั้นเอง โน้ตบุ๊คที่เขาใช้งานอยู่ก็เกิดมีปัญหา แต่ในครั้งนั้น ในที่สุดเขาก็ผ่านการนำเสนองานไปได้ด้วยดี และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไปได้

ต่อยอดไอเดียจากสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว

สิ่งนี้ถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดปัญหาที่แก้ไขไม่ได้แล้ว ดังนั้นเองเขาจึงพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป แน่นอนว่าเขาเริ่มทำการคิดค้นอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟขึ้นมา สิ่งนี้ไม่ใช่อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใหม่จากศูนย์ แต่เปรียบเสมือนการนำของที่มีอยู่แล้วมาทำการประยุกต์และต่อยอดใช้งาน โดยมีการนำของสองอย่างมารวมกัน อย่างแรกคือ Flash Memory ซึ่งเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ในขณะทำงานจะไม่มีเคลื่อนไหว (ต่างกับฮาร์ดดิสก์ที่มีจานหมุนอยู่ตลอดเวลา) สิ่งนี้ถูกคิดค้นในปี 1980 อีกอย่างคือพอร์ต USB ที่บรรดาบริษัทไอทีชั้นนำร่วมกันออกแบบขึ้นมา ถูกคิดค้นในปี 1990

สิ่งที่เขาทำนั้น คือการเขียนซอฟต์แวร์ขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์มองเห็นว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ทำหน้าที่เป็นไดรฟ์เสริม และในที่สุด ก็ถือกำเนิด DiskOnKey มา อุปกรณ์ แฟลชไดร์ฟอันแรกที่มีความจุ 8 เมกะไบต์ ถือเป็นอุปกรณ์แฟลชไดรฟ์ตัวแรกของโลก ถือกำเนิดขึ้นในปี 2000 พอดีเป๊ะ และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับเลือกให้อยู่ในรายชื่อ All-Time 100 Gadgets ของนิตยสาร TIME

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ผู้ที่คิดค้นอย่าง Moran นั้น จะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจ หรือบริษัทที่ให้กำเนิดอย่าง M-Systems นี้แล้ว โดยบริษัทนี้ถูกขายไปให้กับ SanDisk ในราคา 1.6 พันล้านดอลลาร์ เขาได้ผันตัวมาเป็นนักลงทุนให้กับสตาร์ตอัพหน้าใหม่แทนแล้ว ถึงอย่างนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไอเดียที่เขาเป็นผู้ริเริ่มนี้ ได้พลิกโฉมโลกของเราไปในหลากหลายแง่เลยทีเดียว

ไขข้อข้องใจ แฟลชไดร์ฟ-SSD ทำความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลได้จริงตามคำโฆษณาหรือไม่ ?

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวแบบพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD หลายคนน่าจะพอทราบกันดีว่าหนึ่งในข้อดีที่ทำให้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ดูโดดเด่นกว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายในอย่างฮาร์ดดิสก์ก็คือ ความเร็วในการเขียน-อ่านข้อมูล เนื่องจากเป็นการใช้ชุดคำสั่งแบบดิจิทัล...

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวแบบพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD หลายคนน่าจะพอทราบกันดีว่าหนึ่งในข้อดีที่ทำให้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ดูโดดเด่นกว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายในอย่างฮาร์ดดิสก์ก็คือ ความเร็วในการเขียน-อ่านข้อมูล เนื่องจากเป็นการใช้ชุดคำสั่งแบบดิจิทัล ซึ่งไม่มีขีดจำกัดในการทำความเร็วที่ตายตัวเหมือนเทคโนโลยีจานหมุนแม่เหล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแฟลชไดร์ฟ SSD รุ่นใหม่ ๆ ที่เราจะได้เห็นคำโฆษณาของแบรนด์ผู้ผลิตว่ามีความเร็วสูงถึงระดับ 1,000+ Mbps หรือหลักหลายพันเลยทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วของฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในระดับหลักสิบ หรือหลักร้อยเมกะบิตต้น ๆ ต่อวินาทีแล้ว ก็จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันค่อนข้างมากทีเดียว ซึ่งนอกจากการเขียน-อ่านได้เร็วแล้วนั้นในปัจจุบันนั้นแฟลชไดร์ฟก็ยังมีหลายรูปแบบอีกด้วย อย่างเช่น WOODEN USB METAL USB RUBBER USB และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ใช้งานบางส่วนที่ช่างสังเกตุในการใช้งานแก็ดเจ็ตเหล่านี้อาจจะรู้สึกสงสัยว่าความเร็วที่ทำได้จริงในการเขียน อ่าน หรือรับส่งข้อมูลแต่ละครั้งตรงตามคำโฆษณาจากแบรนด์ผู้ผลิตเจ้านั้นๆ หรือไม่ เพราะบ่อยครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าความเร็วในการรอรับส่งข้อมูลของแฟลชไดร์ฟ External SSD ตัวใด ๆ ไม่เห็นจะแตกต่างไปจากตัวเดิมที่เคยใช้งานสักเท่าไหร่ แม้ว่าคุณสมบัติความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลที่ระบุตามคำโฆษณาจะแตกต่างกันในระดับหลายพันเมกะบิตก็ตาม ในบทความนี้จึงจะมาไขข้อข้องใจให้ได้ทราบกันว่าแท้จริงแล้วในการใช้งานจริง ความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลของแฟลชไดร์ฟ SSD ยี่ห้อใด ๆ ตรงกับตัวเลขที่ระบุในคำโฆษณาหรือไม่
แบรนด์ผู้ผลิตบางแบรนด์อาจระบุความเร็วในคำโฆษณาไม่ตรงกับความเร็วที่แท้จริง อย่างที่ทราบกันดีว่าแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD นั้น ความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลถือว่าเป็นสเปคส่วนสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งานที่จะเลือกซื้อเลือกหามาใช้งาน ยิ่งตัวเลขส่วนนี้สูงเท่าไหร่ ผู้ใช้งานก็ยิ่งมองว่าแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD ตัวนั้นมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลดีมากเท่านั้น ซึ่งด้วยเหตุนี้ทำให้แบรนดผู้ผลิตบางแบรนด์ที่มีมาตรฐานการผลิตและตรวจทานคุณภาพที่ไม่ดีนัก เลือกใส่ตัวเลขความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลสูงเกินกว่าความเร็วที่แท้จริง ดังนั้นหากใช้งานแฟลชไดร์ฟ SSD แล้วรู้สึกว่าความเร็วในการรอรับส่งข้อมูลช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น ก็มีความเป็นไปได้ว่าความเร็วในคำโฆษณา หรือฉลากนั้นถูกระบุไว้สูงเกินกว่าความเป็นจริง
ความเร็วที่ทำได้จริงขึ้นอยู่กับความเร็วของพอร์ต USB ด้วย อีกหนึ่งสาเหตุยอดฮิตที่ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนรู้สึกว่าความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลที่ทำได้จริงของแฟลชไดร์ฟ, External SSD ตัวใด ๆ ไม่ถูกต้องตามคำโฆษณาก็คือ ความเร็วของพอร์ต USB บนอุปกรณ์ที่เราใช้งานนั่นเอง กล่าวคือแม้ว่าตัวแฟลชไดร์ฟจะสามารถทำความเร็วได้สููงแค่ไหนก็ตาม แต่ในการใช้งานจริงก็จะทำความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลใด ๆ ได้ไม่เกินตัวเลขที่พอร์ต USB ซัพพอร์ต ตัวอย่างเช่น แฟลชไดร์ฟ หรือ External SSD มีความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลอยู่ที่ 5,000 Mbps แต่ความเร็วสูงสุดของพอร์ต USB อยู่ที่ 800 Mbps ในการใช้งานจริงจึงแน่นอนว่าผู้ใช้งานหลายคนย่อมรู้สึกว่าความเร็วจริงไม่ถึง 5,000 Mbps ซึ่งความเร็วของพอร์ต USB นั้นก็แตกต่างกันไปตามเวอร์ชั่น โดยพอร์ตเวอร์ชั่นล่าสุดอย่าง USB 3.2 ก็ย่อมทำความเร็วได้สูงกว่าพอร์ตเวอร์ชั่นก่อน ๆ อย่าง 3.0 หรือเวอร์ชั่นต่ำกว่านั้น ส่วนสาเหตุอื่น ๆ นอกจากนี้ก็ยังมีในส่วนของขนาดไฟล์ กล่าวคือการทดสอบการรับส่งไฟล์ขนาดเล็กด้วยแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD ที่มีความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลต่างกันมาก ๆ นั้นอาจจะแทบไม่เห็นความแตกต่างกัน เนื่องจากหน่วยวัดความเร็วเป็นระดับเมกะบิตต่อวินาที ดังนั้นหากเป็นไฟล์หลักสิบเมกะบิตที่ถูกรับส่งบนฐานความเร็วในการเขียน อ่านตั้งแต่ 100 Mbps ก็ย่อมสังเกตุเห็นความแตกต่างกันยาก โดยหากต้องการทดสอบ เปรียบเทียบความเร็วของแฟลชไดร์ฟ SSD ตัวใด ๆ เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนนั้น ควรทดสอบด้วยไฟล์ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 Gb ขึ้นไป หากตอนนี้ท่านใดกำลังเลือกหาแฟลชไดร์ฟเป็นของแจกในงานอื่น ๆ เราของแนะนำให้ซื้อเป็นแบบ GIFT SET

การเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟสำหรับโทรศัพท์มือถือ

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนั้น การสำรองข้อมูลรวมไปถึงการถ่ายโอนข้อมูล จากโทรศัพท์เครื่องหนึ่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆ เราสามารถที่จะทำได้ผ่านระบบคลาวด์แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นระบบดังกล่าวก็มีข้อจำกัดบางประการอยู่ อย่างหากเป็นไฟล์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่...

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนั้น การสำรองข้อมูลรวมไปถึงการถ่ายโอนข้อมูล จากโทรศัพท์เครื่องหนึ่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆ เราสามารถที่จะทำได้ผ่านระบบคลาวด์แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นระบบดังกล่าวก็มีข้อจำกัดบางประการอยู่ อย่างหากเป็นไฟล์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ อาจจะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการอัปโหลดหรือดาวน์โหลดค่อนข้างมาก ทำให้การดาวน์โหลดไฟล์หรืออัปโหลดไฟล์เหล่านี้ช้าไปด้วย หลายคนจึงยังคงนิยมวิธีการแบบออฟไลน์ นั่นก็คือการถ่ายโอนข้อมูล เก็บข้อมูล และย้ายข้อมูลผ่านทางแฟลชไดร์ฟแต่ในปัจจุปันนี้แฟลชไดร์ฟก็พัฒนารูปแบบขึ้นมามากมาย เช่น PEN USB , RECYCLE USB , GARD USB และอื่น ๆ อีกมากมาย

 

ในปัจจุบันเรามีแฟลชไดร์ฟที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันในท้องตลาดก็มีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายยี่ห้อ และหลากหลายแบรนด์ให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้งานกัน วันนี้เราจะพาคุณมาเลือกแฟลชไดร์ฟสำหรับมือถือ คุณจะสามารถเลือกซื้อมันได้อย่างไร เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตรงกับเป้าหมายการใช้งานมากที่สุด ก่อนอื่นจะต้องบอกก่อนว่า แฟลชไดร์ฟในรูปแบบมือถือนั้น เราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แฟลชไดร์ฟแบบ OTG ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้มีพอร์ตรองรับการใช้งานร่วมกับโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตด้วย

 

พอร์ตที่รองรับ

 

ขั้นแรกให้เราดูพอร์ตที่รองรับก่อน เนื่องจากโทรศัพท์มือถือแต่ละรุ่นนั้นอาจจะรองรับพอร์ตที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องเลือกซื้อให้ตรงกันด้วย ยกตัวอย่างเช่นมือถือ Android รุ่นปัจจุบันทั่วไป พอร์ตที่รองรับจะเป็นพอร์ต USB-C ส่วนหากเป็น iPhone หากใครต้องการใช้แฟลชไดร์ฟประเภทนี้อาจต้องเลือกเป็นพอร์ต Lightning หรือถ้าหากใครต้องการนำไปเสียบกับคอมพิวเตอร์ด้วย ก็อาจเลือกแบบที่มีทั้งสองพอร์ต จะสะดวกในการใช้งานมากกว่า

 

ขนาดขนาดความจุของไฟล์

 

แน่นอนว่า แฟลชไดร์ฟแบบ OTG นี้ วิธีการในการเลือกใช้ก็ดูเหมือนจะมีความคล้ายกับแฟลชไดร์ฟทั่วไป คือเลือกตามขนาดความจุที่เราต้องการจะนำไปใช้งาน โดยมีขั้นต่ำอยู่ที่ตั้งแต่ 32 GB ไปจนถึงขั้นที่มีความจุค่อนข้างมากคือ 512 GB หรืออาจมีมากกว่านั้นให้เราได้เลือกกันในท้องตลาด การพิจารณาว่าจะเลือกขนาดความจุขนาดขนาดไหน ก็อยู่ที่ว่าเราใช้ในการเก็บไฟล์มากน้อยขนาดไหน ไฟล์ที่เราเก็บนั้นเป็นรูปแบบอะไร อย่างหากเราต้องการเก็บไฟล์ที่เป็นวิดีโอความละเอียดสูง เราอาจจะต้องใช้พื้นที่และความจุมากกว่าปกติเป็นต้น

 

ความเร็วสำหรับการถ่ายโอนข้อมูล

 

หลายหลายรุ่นที่วางขายในท้องตลาดนั้น มักจะมีการระบุไว้ว่ามีความเร็วในการอ่านข้อมูลและการเขียนข้อมูลอยู่ที่เท่าไหร่ แน่นอนว่ายิ่งหากเวลาในการถ่ายโอนข้อมูลเร็ว ใครหลายคนก็น่าจะชื่นชอบและเลือกซื้อมากกว่า แต่ในบางรุ่น ก็ไม่ได้มีการบอกในเรื่องของความเร็วในการถ่ายโอนและการเขียนข้อมูลไว้ หากเป็นแบบนั้นให้เราดูเมื่อจะมาตรฐานเวอร์ชั่นของ USB ได้ โดยปกติทั่วไปทุกวันนี้ ที่เราพบเห็นขั้นต่ำอาจจะเป็นแบบ USB3.0 ขึ้นไปแล้ว ยิ่งเป็นเวอร์ชั่นที่มีความใหม่มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

 

ราคา
เรื่องของราคายังคงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นหนึ่งในตัวเลือกและปัจจัยที่จะทำให้เราซื้อหรือซื้อ ที่จะบอกก็คือ ไม่ใช่ว่าราคาถูกหรือราคาแพงจะดี เพียงแต่ให้เราเลือกที่มีความสมเหตุสมผล เลือกพอเหมาะและพอดีกับลักษณะงานที่เราจะนำไปใช้ ยกตัวอย่างเช่นหากเราใช้เพียงแค่นำมาเก็บไฟล์เอกสาร เราอาจซื้อที่มีความจุน้อยๆ และนั่นจะทำให้ราคาถูกลงมา อาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อราคาแพงที่มีความจุมาก แบบนี้จะทำให้เราใช้งานได้คุ้มค่ามากกว่า หากเราซื้อมาเกินเท่าที่เราจะใช้งาน เราอาจจะต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ก็ได้ หากคุณกำลังตามหาของขวัญให้ใใครซักคนอยู่แนะนำว่าควรซื้อแบบเป็น GIFT SET บอกเลยว่าคุ้มค่าสุด ๆ ผู้รับจะต้องประทับใจแน่นอน

 

ผลงาน ผลิตแฟลชไดร์ฟสกรีนโลโก้ สันติบาล

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC

แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และซอฟท์แวร์การประมวลผลต่าง ๆ จะพัฒนาขึ้นจากเดิมมาก มีอุปกรณ์ไอทีให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการมาของอุปกรณ์แบบพกพาต่าง ๆ เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือกระทั่งการปรับเปลี่ยนดีไซน์ ขนาดของแล็ปท็อปให้บางเบาลง...

แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และซอฟท์แวร์การประมวลผลต่าง ๆ จะพัฒนาขึ้นจากเดิมมาก มีอุปกรณ์ไอทีให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการมาของอุปกรณ์แบบพกพาต่าง ๆ เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือกระทั่งการปรับเปลี่ยนดีไซน์ ขนาดของแล็ปท็อปให้บางเบาลง เอื้อต่อการพกพามากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานโอนถ่าย เคลื่อนย้าย ส่งต่อข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ความสำคัญและความนิยมในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟก็ไม่ได้จางหายไปไหนมีและยังมีหลากหลายแบบให้ใช้งาน อย่างเช่น CARD USB METAL USB โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานบน PC หรือคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะสำหรับโอนถ่าย คัดลอกไฟล์งานต่าง ๆ ที่ถือว่ายังคงมีความสำคัญต่อกิจกรรมการทำงานของผู้ใช้งานหลายคนเช่นเดียวกับตลอดหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามอย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ มักจะมีปัญหาจุกจิกที่ผู้ใช้งานต้องเผชิญกันอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งทำให้กิจกรรมการทำงานต่าง ๆ ไม่สะดวก ลื่นไหลเท่าที่ควร เช่น ปัญหาไฟล์ข้อมูลสูญหาย คัดลอกไฟล์ไม่ได้ เปิดอ่าน หรือส่งต่อไฟล์ไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งเราเรียกปัญหาเหล่านี้รวม ๆ ได้ว่าเป็นอาการชำรุด เสียหายของแฟลชไดร์ฟนั่นเอง โดยที่ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานเอง ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอาพฤติกรรมต้องห้ามในการใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC ซึ่งเสี่ยงทำให้ตัวแฟลชไดร์ฟชำรุดเสียหายมาบอกกล่าวให้ได้ทราบ
ดาวน์โหลดไฟล์หนัง ซีรีย์บนอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้บนไดร์ฟ แม้ว่าปัจจุบันขนาดความจุโดยเฉลี่ยของแฟลชไดร์ฟจากหลายแบรนด์ หลายยี่ห้อจะมีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าในช่วงหลายปีก่อนมาก(มากกว่า 64 Gb ขึ้นไป) ซึ่งอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการจัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่อย่างไฟล์ภาพยนตร์ ซีรีย์ แต่หนึ่งในพฤติกรรมต้องห้ามที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือ การดาวน์โหลดไฟล์หนัง ซีรีย์ใด ๆ ที่เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ต่าง ๆ มีเปิดให้ดาวน์โหลดกันฟรี ๆ บน PC มาเก็บไว้ เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วยังเสี่ยงที่จะได้โปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่แฝงมากับไฟล์หนังเรื่องนั้น ๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียถึงขั้นทำให้แฟลชไดร์ฟเสียหาย รวมถึงตัวคอมพิวเตอร์ที่อาจมีอาการผิดปกติในการรันการทำงานของซอฟท์แวร์ต่าง ๆ จากการถูกชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รบกวน
ติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ลงบนไดร์ฟ อย่างที่ทราบกันว่าโดยทั่วไปแล้ว สถาปัตยกรรมของแฟลชไดร์ฟนั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานเป็นไดร์ฟภายนอก สำหรับเป็นพื้นที่จัดเก็บไฟล์ชั่วคราว เพื่อให้สะดวกในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ แต่ก็มีบางซอฟท์แวร์ เช่น ซอฟท์แวร์ที่มีชุดคำสั่งขนาดเล็ก อย่างซอฟท์แวร์ปรับแต่ง Interface หรือมินิเกมต่าง ๆ ที่สามารถติดตั้งลงไปบนไดร์ฟ และสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อทำการเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับ PC อย่างไรก็ตามแม้ว่าซอฟท์แวร์ลักษณะดังกล่าวจะสามารถติดตั้งและรันการทำงานได้ แต่ก็ถือเป็นหนึ่งในพฤติกรรมการใช้งานที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะซอฟท์แวร์ที่มีชุดคำสั่งต่าง ๆ อาจรบกวนการทำงานของแฟลชไดร์ฟจนทำให้เกิดอาการรวน และชำรุดเสียหายเร็วกว่าอายุการใช้งานที่ควรจะเป็น
บันทึกไฟล์จากอินเตอร์โดยไม่ทำการสแกนไวรัส แม้ว่าปัจจุบันการดาวน์โหลด หรือเซฟไฟล์จากอินเทอร์เน็ตจะถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการใช้งานอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกิจกรรมการทำงาน ซึ่งมักมีการแชร์ไฟล์ภายในองค์กรผ่านระบบคลาวด์ของผู้ให้บริการรายต่าง ๆ แต่อีกหนึ่งพฤติกรรมที่ผู้ใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC ควรระมัดระวังก็คือการดาวน์โหลด บันทึกไฟล์ลงไดร์ฟโดยไม่ได้สแกนไวรัส เพราะนั่นอาจทำให้ได้ไวรัส โทรจัน โปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ติดมาด้วย แม้ว่าจะเป็นไฟล์จากบุคคลรู้จักก็ตาม ทั้งนี้หากต้องการแฟลชไดร์ฟซักอันไว้ใช้งานเราขอแนะนำเป็น RECYCLE USB เป็นแฟลชไดร์ฟรีไซเคิล ที่มีความทันสมัยไม่ทำร้ายโลก และยังมีความสวยงามอีกด้วย

ข้อควรระวังในการใช้งานแฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน Android และ IOS

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตไอทีเจ้าต่างๆ ได้มีการพัฒนาแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพา "แฟลชไดร์ฟ" ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างอิสระ และสะดวกมากขึ้น โดยได้มีการเพิ่มพอร์ตการเชื่อมต่อแบบอื่นๆ เข้ามานอกเหนือจากพอร์ต USB-A ที่เราคุ้นเคย...

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตไอทีเจ้าต่างๆ ได้มีการพัฒนาแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพา “แฟลชไดร์ฟ” ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างอิสระ และสะดวกมากขึ้นมีหลากหลายแบบอย่างเช่น CARD USB METAL USB อีกมากมาย โดยได้มีการเพิ่มพอร์ตการเชื่อมต่อแบบอื่นๆ เข้ามานอกเหนือจากพอร์ต USB-A ที่เราคุ้นเคย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพอร์ต USB-C แบบที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับที่ตัวสมาร์ทโฟนทั้ง Android และ IOS เจเนอเรชั่นใหม่ได้ทันที ทำให้สามารถโอนถ่าย คัดลอกข้อมูลร่วมกับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้อย่างสะดวก อย่างไรก็ตามในการใช้งานจริง การเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับตัวสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ หรือ ios โดยตรงก็ยังคงมีความไม่สะดวก และข้อควรระวังต่างๆ อยู่พอสมควร ซึ่งในบทความนี้ก็ได้รวบรวมมาแนะนำบอกกล่าวให้ผู้ใช้งานหลายคนที่สนใจมองหาแฟลชไดร์ฟ USB-C มาใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตได้ทราบกัน

พอร์ตเชื่อมต่อของสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตอาจชำรุด เสียหายได้ ข้อควรระวังประการแรกที่ผู้ใช้งานแฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตพึงระวังก็คือ พอร์ตเชื่อมต่อ ซึ่งเป็นพอร์ตเดียวกับพอร์ตชาร์จแบตเตอรี่อาจชำรุดเสียหายได้ หากเป็นการเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับตูดอุปกรณ์โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสมาร์ทโฟน เพราะโดยทั่วไปแล้วการจับใช้งานสมาร์ทโฟนที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่คุ้นเคยจะเป็นลักษณะของการจับถือใช้งานในแนวตั้ง และเมื่อทำการเสียบแฟลชไดร์ฟเข้าไปที่พอร์ต USB-C(Input) ของตัวสมาร์ทโฟนก็ย่อมทำให้ตัวแฟลชไดร์ฟยื่นออกมาเป็นส่วนเกินจากตัวสมาร์ทโฟน ซึ่งหากไม่ระมัดระวังให้ดีก็อาจทำให้มือพลาดปัดไปโดนตัวแฟลชไดร์ฟ หรือสัมผัสวัตถุใดๆ โดยไปตั้งใจและทำให้พอร์ตชาร์จของตัวสมาร์ทโฟนเสียหายได้ ดังนั้นแม้ว่าแฟลชไดร์ฟที่เราเลือกซื้อเลือกหามาใช้งานจะสามารถเสียบเชื่อมต่อเข้ากับตูดสมาร์ทโฟนได้ทันที แต่การเลือกหาสาย USB-C to USB-C มาต่อพ่วงเพิ่มก็จะช่วงให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและเป็นการถนอมพอร์ตเชื่อมต่อของสมาร์ทโฟนได้ดีกว่า

มีซอฟต์แวร์จัดการไฟล์อย่างไม่เป็นทางการเปิดให้ดาวน์โหลดอยู่เยอะ อีกหนึ่งข้อควรระวังที่สำคัญ ซึ่งเสี่ยงทำให้การใช้งานแฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตของผู้ใช้งานหลายคนไม่ปลอดภัย โดยอาจถูกเข้าถึงและเก็บไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนเครื่องโดยบุคคลภายนอก และอาจได้รับซอฟต์แวร์ที่รบกวนประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ติดมาโดยไม่รู้ตัวก็คือ ซอฟต์แวร์จัดการไฟล์อย่างไม่เป็นทางการที่มีเปิดให้ดาวน์โหลดอยู่มากมายทั้งบนระบบแอนดรอยด์ และ IOS ทั้งนี้อย่างที่ทราบกันว่าการใช้งานแฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตยังมีข้อจำกัดเรื่องของประสิทธิภาพการเข้าถึง จัดระเบียบไฟล์ต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยซอฟต์แวร์จัดการไฟล์เข้ามาช่วยให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก มี UI ที่สวยงาม ดูสบายตามากขึ้น ซึ่งนั่นก็ทำให้แบรนด์ผู้ผลิตแฟลชไดร์ฟหลาย ๆ แบรนด์ได้ทำการออกซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการของตัวเองมาให้ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดไว้ใช้งานคู่กับแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลของตัวเอง แต่ขณะเดียวกันก็มีการปล่อยซอฟต์แวร์จัดการไฟล์อย่างไม่เป็นทางการออกมาจากผู้พัฒนาทั่วไปให้ผู้ใช้งานได้เลือกดาวน์โหลดมาใช้งานเช่นกัน ซึ่งการเลือกใช้งานซอฟต์แวร์จัดการไฟล์อย่างไม่เป็นทางการเหล่านี้เป็นเรื่องยากที่จะคัดกรองซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัย และไม่ปลอดภัย แม้ว่าบางซอฟต์แวร์จะได้รับคะแนนรีวิวสูงก็ตาม ในการเลือกดาวน์โหลดมาใช้งานจึงควรระมัดระวังเลือกใช้เฉพาะซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการของแบรนด์นั้นๆ เท่านั้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะตามมา ทั้งการถูกเข้าถึงข้อมูลสำคัญต่างๆ โดยบุคคลภายนอก และการได้รับชุดคำสั่งแฝงต่างๆ ที่ไม่ได้มีประโยชน์ต่อการจัดการไฟล์ใดๆ ตามคำอธิบายที่ผู้พัฒนากล่าวอ้าง ซึ่งเป็นการรบกวนประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ และสุดท้ายนี้หากกำลังต้องการแฟลชไดร์ฟสักอันไว้ใช้ เราจึงแนะนำเป็นแบบ Gift Set  Usbเพื่อความคุ้มค่า