เทียบความต่าง พื้นที่จัดเก็บข้อมูล Cloud, ฮาร์ดดิสก์พกพา และแฟลชไดร์ฟ แตกต่างกันอย่างไร ในยุคปัจจุบันควรเลือกใช้แบบไหน ?

หากพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ในยุคเริ่มแรกที่มีการใช้งานอุปกรณ์ไอที หรือคอมพิวเตอร์นั้นก็ต้องบอกว่ามีเพียงแค่อุปกรณ์ไม่กี่ชิ้นเท่านั้นที่ผู้ใช้งานรู้จักคุ้นเคยกัน โดยหลัก ๆ นั้นประกอบด้วยฮาร์ดดิสก์...

หากพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ในยุคเริ่มแรกที่มีการใช้งานอุปกรณ์ไอที หรือคอมพิวเตอร์นั้นก็ต้องบอกว่ามีเพียงแค่อุปกรณ์ไม่กี่ชิ้นเท่านั้นที่ผู้ใช้งานรู้จักคุ้นเคยกัน โดยหลัก ๆ นั้นประกอบด้วยฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายในที่ใส่ติดอยู่กับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เสริมสำหรับเชื่อมต่อเพื่อจัดเก็บข้อมูลภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ และแผ่น Floppy Disk ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เพียงหลักเมกะไบต์ แต่ในปัจจุบันตัวเลือกการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ถือว่ามีเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก และประสิทธิภาพการใช้งานก็สูงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลภายนอก หรือ External Drive ที่ไว้ใช้สำรองข้อมูล โอนถ่าย หรือคัดลอกข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ ซึ่งนอกจากแฟลชไดร์ฟแล้วก็ยังมีอุปกรณ์อย่างฮาร์ดดิสก์พกพา และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud ซึ่งไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการเชื่อมต่อแก็ดเจ็ตใด ๆ เข้ากับตัวอุปกรณ์ให้ได้เลือกใช้งานอีกด้วย และก็ด้วยตัวเลือกที่หลากหลายนี้เอง จึงอาจทำให้ผู้ใช้งานหลายคนรู้สึกสงสัยว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแต่ละแบบนั้นแตกต่างกันอย่างไร และในยุคสมัยปัจจุบันที่ไลฟ์สไตล์การทำงาน การเรียน และความบันเทิงของคนส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการใช้งานไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ แทบตลอดทั้งวันนั้นควรที่จะเลือกใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud, ฮาร์ดดิสก์พกพา หรือแฟลชไดร์ฟ ซึ่งแฟลชไดร์ฟในปัจจุบันที่มีหลากรูปแบบมากมากเช่น wooden usb , twister usb , card usb และอื่น ๆ อีกมากมาย
ฮาร์ดดิสก์พกพา อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลรูปแบบนึงที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมใช้งานในหมู่ผู้ทำงานสายไอที หรือสายงานที่จำเป็นต้องใช้งานไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่อยู่ตลอดในยุคปัจจุบันก็คือ ฮาร์ดดิสก์พกพา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากฮาร์ดดิส์ที่ใส่ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วฮาร์ดดิสก์พกพาถือว่ามีรูปแบบการใช้งานที่คล้ายกับแฟลชไดร์ฟ กล่าวคือใช้สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปเครื่องใด ๆ เพื่อบันทึก เปิดดู ใช้งาน แก้ไขไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนอุปกรณ์นั้น ๆ แต่จุดที่แตกต่างกันก็คือสเกลของอุปกรณ์ ซึ่งฮาร์ดดิสก์พกพาถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีสเกลพื้นที่ และประสิทธิภาพการใช้งานขนาดใหญ่กว่านั่นเอง โดยฮาร์ดดิสก์พกพาที่มีวางจำหน่ายปัจจุบันมีระดับความจุเริ่มต้นในระดับเทราไบต์ และราคาจำหน่ายหลายพันบาท อีกทั้งฮาร์ดดิสก์พกพายังสามารถติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ลงไปได้ด้วย ขณะที่แฟลชไดร์ฟไม่สามารถติดตั้งโปรแกรม หรือแอปพลิเคชั่นใด ๆ ลงไปได้ ฮาร์ดดิสก์พกพาจึงถือเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่มีความต้องการใช้งานพื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่ และมีความต้องการใช้งานจัดการ แก้ไขไฟล์ต่าง ๆ ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงกว่าการเปิดดู คัดลอก ส่งต่อไฟล์ทั่ว ๆ ไป
Cloud พื้นที่จัดเก็บข้อมูลรูปแบบนึงที่ดูจะตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของผู้ใช้งานเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ ได้ค่อนข้างดีก็คือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลรูปแบบคลาวด์ หรือ Drive ออนไลน์ที่เข้าถึงได้ด้วยอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องพึ่งพาการเชื่อมต่อแก็ดเจ็ตภายนอกเข้ากับอุปกรณ์เหมือนแฟลชไดร์ฟ หรือฮาร์ดดิสก์พกพา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างกันแล้วก็ต้องบอกว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud นั้น สะดวกกว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของอุปกรณ์ภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ หรือกระทั่ง External SSD ในแง่ของการพกพาอุปกรณ์ กล่าวคือไม่ต้องพกพาอุปกรณ์เหล่านี้ติดตัวนั่นเอง แต่ขณะเดียวกันพื้นที่จัดเก็บข้อมูลรูปแบบ Cloud ก็มีข้อจำกัดหลายอย่างที่แตกต่างจากไดร์ฟภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ ข้อจำกัดแรกก็คือเรื่องความเป็นส่วนตัว เพราะระบบ Cloud นั้นเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ให้บริการโดยบริษัทผู้พัฒนาต่าง ๆ เช่น Google, Apple การจะใช้งานพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลจึงต้องมีการสมัครสมาชิกกับผู้ให้บริการเจ้านั้น ๆ ก่อน แตกต่างจากการซื้อ Drive ภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ หรือฮาร์ดดิสก์พกพามาใช้งานเอง ซึ่งนับได้ว่าเราเป็นเจ้าของพื้นที่ตัวจริง ประการที่สองก็คือข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่ และค่าบริการ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว ผู้ใช้งานหลายคนจะเข้าใจว่าระบบคลาวด์เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เราสามารถสมัครใช้งานได้ฟรี ๆ ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าบริการ หรือควักเงินซื้อแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟ, ฮาร์ดดิกส์พกพา หรือ External SSD แต่ทว่าความเป็นจริงแล้วไดร์ฟภายนอกเหล่านี้ที่เราซื้อมาใช้งานสามารถใช้งานได้แบบออฟไลน์ โดยไม่ต้องพึ่งพาอินเตอร์เน็ต ขณะที่การใช้งานพื้นที่ Cloud จำเป็นต้องพึ่งพาการเข้าถึงโดยอินเทอร์เน็ต อีกทั้งพื้นที่จัดเก็บข้อมูลฟรีที่ผู้ให้บริการเจ้าต่าง ๆ เปิดให้ใช้งานก็มักจะมีการจำกัดขนาดพื้นที่ไว้ในระดับนึงเท่านั้น ซึ่งหากต้องการใช้งานพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มากขึ้นก็ต้องจ่ายค่าบริการเพื่ออัพเกรดแพ็คเกจ ซึ่งอาจเป็นรูปแบบค่าบริการรายเดือน หรือรายปี แต่หากต้องการแฟลชไดร์ฟพกพาติดตัวควรเลือกใช้เป็น metal usb เพราะทำมาจากโลหะ จะมีความแข็งแรงเป็นพิเศษไม่ต้องต้องกังวลว่าจะโดนทับหรือตกหล่นแล้วจะเกิดความเสียหาย

ส่องลิสต์แฟลชไดร์ฟไอโฟน & แอนดรอยด์ สเปคคุ้มค่า น่าใช้ จากค่ายแซนดิสก์

อย่างที่ทราบกันดีว่าการใช้งานอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ หรือไดร์ฟสำหรับเชื่อมต่อภายนอกในปัจจุบันนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือโน๊ตบุ๊คเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้งานบนแพลตฟอร์มพกพาต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ได้ด้วย...

อย่างที่ทราบกันดีว่าการใช้งานอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ หรือไดร์ฟสำหรับเชื่อมต่อภายนอกในปัจจุบันนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือโน๊ตบุ๊คเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้งานบนแพลตฟอร์มพกพาต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ได้ด้วย และก็ดูเหมือนว่าจะตอบโจทย์ผู้ใช้งานจำนวนมากได้อย่างดีเลยทีเดียว เนื่องจากไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ จำนวนมหาศาลในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นจากอุปกรณ์พกพาไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย วิดีโอที่ถูกถ่ายจากสมาร์ทโฟน ไฟล์เอกสารต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นบนแท็บเล็ต ความต้องการโอนถ่าย หรือแบ็กอัพไฟล์จากอุปกรณ์พกพาจึงมีมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง อย่างไรก็ตามแม้ว่าการพัฒนาในส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อของแฟลชไดร์ฟมาเป็นแบบ USB-C หรือ Lightning จะช่วยให้การใช้งานโอนถ่าย แบ็กอัพไฟล์บนอุปกรณ์แอนดรอยด์ หรือไอโฟน ไอแพดด้วยแฟลชไดร์ฟง่ายขึ้น แต่เมื่อมองที่ประสิทธิภาพการใช้งานจริงก็ต้องบอกว่ายังคงมีแฟลชไดร์ฟเพียงไม่กี่แบรนด์ ไม่กี่รุ่นเท่านั้นที่มีการพัฒนาทั้งตัวแก็ดเจ็ตและซอฟท์แวร์เสริมให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงอาจมีเพียงบางแบรนด์ บางรุ่นที่ผู้ใช้งานคุ้นชื่อและสนใจเลือกใช้งาน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ iXpand ซีรีส์แฟลชไดร์ฟสำหรับอุปกรณ์พกพา Android และ IOS จากค่ายแซนดิสก์ ผู้นำตลาดแก็ดเจ็ตในบ้านเรานั่นเอง นอกจากนี้แฟลชไดร์ฟก็มีหลากหลายรูปแบบเช่น wooden usb , card usb , twister usb เป็นต้นในบทความนี้จึงได้เลือกเอาลิสต์ของ SanDisk iXpand มาแนะนำให้ได้ทราบกันว่ามีรุ่นไหนบ้างที่สเปคคุ้มค่า น่าเลือกซื้อเลือกหามาใช้งาน รวมถึงวิธีใช้งานบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตให้ได้เต็มประสิทธิภาพ
SanDisk iXpand 90N 64GB ตัวแรกที่เลือกมาแนะนำถือว่าเป็นน้องเล็กสุดในซีรีส์รุ่น iXpand เป็นแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมพอร์ต Lightning สำหรับใช้งานกับอุปกรณ์ IOS หรือ iPhone ในชื่อรุ่น iXpanf 90N 64Gb โดยในการใช้งานก็สามารถค้นหาแอปพลิเคชั่นจัดการไฟล์ชื่อ SanDisk iXpand Drive บน App Store มาติดตั้งไว้ก่อน จากนั้นก็สามารถเสียบเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้าที่อุปกรณ์เพื่อเริ่มใช้งานได้ทันที ขณะที่พอร์ตอีกด้านที่ให้มาคู่กันเป็นพอร์ต USB-A เวอร์ชั่น 3.1 ขนาดความจุ 64 GB เหมาะสำหรับคนที่มีความต้องการใช้งานโอนถ่าย หรือแบ็กอัพไฟล์ข้อมูลในปริมาณไม่มากนัก มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 850-900 บาทเท่านั้น(ขึ้นอยู่กับร้านตัวแทนผู้จำหน่าย)
SanDisk iXpand 70N 128GB รุ่นแนะนำตัวต่อมาถือว่าเป็นแฟลชไดร์ฟตัวจบในราคาคุ้มค่าสำหรับคนที่ต้องการใช้งานทั้งบนอุปกรณ์ Android และ IOS โดยเป็นในชื่อรุ่น iXpand 70N 128Gb ที่มาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อแบบ Lightning และ USB-C ความจุตาม 128Gb ตามชื่อรุ่น ซึ่งถือเป็นขนาดที่ใหญ่พอสำหรับจุไฟล์งานเอกสาร และไฟล์สื่อบันเทิงต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ปริมาณมาก ๆ สำหรับการใช้งานบนระบบ IOS ก็เช่นเดียวกับในรุ่น 90N คือใช้งานร่วมกับแอปฯ Sandisk iXpand Drive ขณะที่การใช้งานบนระบบแอนดรอยด์นั้นให้ทำการดาวน์โหลดแอปฯ Memory Zone บน Play Store มาติดตั้งก่อนเสียบเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับอุปกรณ์ ราคาจำหน่ายของรุ่น iXpand 70N 128Gb นี้ อยู่ที่ประมาณ 1,500 บาท
SanDisk iXpand 60N 256GB อีกหนึ่งรุ่นแนะนำในซีรีส์ iXpand ถือเป็นรุ่นตัวจบสำหรับคนไฟล์เยอะ ต้องการใช้พื้นที่ในการโอนย้าย หรือแบ็กอัพไฟล์ขนาดใหญ่ โดยเป็นในชื่อรุ่น iXpand 60N 256Gb แฟลชไดร์ฟพอร์ต Lightning และ USB-A ขนาดความจุ 256 กิกะไบต์ดีไซน์วัสดุโลหะ แข็งแรง ทนทานต่อการตกหล่น สำหรับการใช้งานบนไอโฟน ไอแพด ก็สามารถใช้งานร่วมกับ Sandisk iXpand Drive ได้เช่นเดียวกับ iXpand ตัวอื่น ๆ แต่สำหรับการใช้งานโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลจำนวนมาก ๆ ก่อนการโอนถ่ายนั้นควรจะต้องมีการเคลียร์พื้นที่ความจำบนอุปกรณ์ให้เหลือพื้นที่ว่างอย่างน้อยสัก 2-3 Gb เพื่อให้แอปฯมีพื้นที่สำหรับรองรับการทำงานระหว่างโอนถ่ายไฟล์ ป้องกันความผิดพลาด หรือ Error ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่พื้นที่ในการทำงานบนอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ราคาจำหน่ายแฟลชไดร์ฟ iXpand รุ่นนี้อยู่ที่ประมาณ 2,200 บาท หากต้องการเลือกใช้แฟลชไดร์ฟที่มีความแข็งแรงทนทานควรเลือกใช้แบบ metal usb

เทคนิคการเลือกซื้อ และใช้งานแฟลชไดร์ฟ-SSD ให้คุ้มค่ามากที่สุด

เป็นที่ทราบกันดีว่าแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD ถือเป็นไอเทมชิ้นสำคัญสำหรับใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ เพื่อจัดการกับไฟล์งาน หรือกระทั่งไฟล์สื่อบันเทิงต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน...

เป็นที่ทราบกันดีว่าแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD ถือเป็นไอเทมชิ้นสำคัญสำหรับใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ มีหลากหลายแบบทั้ง wooden usb, metal usb, classic usb เป็นต้น เพื่อจัดการกับไฟล์งาน หรือกระทั่งไฟล์สื่อบันเทิงต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับยุคปัจจุบันที่ไลฟ์สไตล์ของคนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น มีอุปกรณ์ไอทีแบบพกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตให้ได้ใช้งานอย่างสะดวกมากขึ้นตลอดทั้งวันก็ยิ่งทำให้ไอเทมตัวช่วยในการจัดการไฟล์ โอนย้ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ หรือกระทั่งเพื่อสำรองข้อมูลเป็นการชั่วคราวอย่างแฟลชไดร์ฟ, SSD มีความต้องการใช้งานมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตามมาพร้อม ๆ กันในการใช้งานแก็ดเจ็ตดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการจัดการกับไฟล์ดิจิทัลใด ๆ ก็คือ ปัญหาจุกจิกต่าง ๆ ระหว่างการใช้งานนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสเปคพื้นฐานต่าง ๆ ของตัวแฟลชไดร์ฟ SSD ที่อาจจะไม่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งาน พอร์ตการเชื่อมต่อที่ใช้ไม่ได้กับบางอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังตัวอย่างนี้อาจทำให้ผู้ใช้งานบางคนรู้สึกว่าการใช้งานแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟ SSD มีต้นทุนที่มากเกินความจำเป็น ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำเทคนิคในการเลือกซื้อและใช้งานแฟลชไดร์ฟ และ External SSD ให้คุ้มค่ามากที่สุด และช่วยจัดการกับปัญหากวนใจต่าง ๆ ในการใช้งานได้มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน
ใช้สายแปลงพอร์ตช่วย ปัญหายอดฮิตแรก ๆ ที่ทำให้ผู้ใช้งานบางคนต้องควักเงินมากกว่าที่ควรในการซื้อแฟลชไดร์ฟ หรือ External SSD มาใช้งานก็คือ พอร์ตเชื่อมต่อ หรือพอร์ต USB ที่ใช้งานได้เฉพาะบางอุปกรณ์นั่นเอง เนื่องจากอุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในชีวิตประจำวันอาจมีพอร์ตเชื่อมต่อที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น แล็ปท็อปที่ใช้งานอยู่อาจมีเพียงแค่พอร์ต USB-A ขณะที่สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตที่ใช้งานอยู่อาจมีเฉพาะพอร์ต USB-C เป็นต้น ผู้ใช้งานหลายคนจึงเลือกใช้วิธีซื้อแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD สองตัวที่ให้พอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-A และ USB-C มาใช้งาน ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะทำให้ต้องควักจ่ายเงินเพิ่มเป็นเท่าตัวแล้ว ก็ยังทำให้ไม่สามารถโอนย้ายไฟล์ข้อมูลใด ๆ ระหว่างแล็ปท็อป กับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตผ่านแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD ตัวนั้น ๆ ได้ด้วย เรียกได้ว่าสามารถใช้เป็นเพียงแค่แก็ดเจ็ตสำรองข้อมูลเฉพาะอุปกรณ์เท่านั้น ขณะที่วิธีที่คุ้มค่ากว่าและช่วยให้เซฟเงินในการจ่ายซื้อแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD เพิ่มอีกตัวก็คือ การหาซื้อสายแปลงพอร์ต(USB-C to USB-A, USB-A to USB-C) มาใช้งานนั่นเอง ซึ่งสายแปลงพอร์ตดังกล่าวนี้จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อแก็ดเจ็ตที่เป็นพอร์ต USB-C เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็นพอร์ต USB-A หรือแก็ดเจ็ตที่เป็นพอร์ต USB-A เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็นพอร์ต USB-C ได้ ทำให้สามารถโอนถ่ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ได้อย่างอิสระ
เลือกซื้อ Extenal SSD แบบประกอบเอง แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วแฟลชไดร์ฟจากแบรนด์ต่าง ๆ ที่เราสามารถหาซื้อได้ในตลาดจะเป็นลักษณะของแฟลชไดร์ฟสำเร็จรูป ซึ่งมีการประกอบตัวพอร์ตเชื่อมต่อ ชิปการ์ดเข้ากับบอดี้มาอย่างแน่นหนา พร้อมสำหรับนำไปเสียบใช้งานได้ทันที ทำให้ไม่สามารถเซฟงบด้วยการใช้วิธีซื้อชิ้นส่วนแยกมาประกอบเองได้ แต่สำหรับ External SSD นั้นแตกต่างออกไป เราสามารถหาซื้อได้ทั้งแบบสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งานทันที กับซื้อแบบแยกประกอบ หรือ DIY ซึ่งก็คือการหาซื้อตัวชิป SSD ตามความจุที่ต้องการ และหาซื้อเคส External SSD ที่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบที่ต้องการ รวมถึงดีไซน์ที่ชื่นชอบมาประกอบเข้าด้วยกัน วิธีนี้จะช่วยให้เซฟงบลงไปได้ราว 10-20% เลยทีเดียว ทั้งยังช่วยให้ได้ External SSD ที่มีหน้าตาสวยถูกใจ ไม่ซ้ำแบบใครด้วย อีกแบบที่มีการพกพาได้สะดวกคือ card usb สามารถใส่กระเป๋าตังได้

เมื่อใดบ้างที่ควรใช้แฟลชไดร์ฟสำรองข้อมูล บนอุปกรณ์ต่าง ๆ

ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้งานมักคุ้นเคยกับประโยชน์การใช้งานสำหรับเป็นตัวช่วยในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ หรือระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โอนย้ายไฟล์งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน เพื่อนำกลับไปทำต่อบนคอมฯ...

แฟลชไดร์ฟในปัจจุบันถูกผลิตขึ้นมาหลากหลายแบบมากไม่ว่าจะเป็น recycle usb , rubber usb , twister usb ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้งานมักคุ้นเคยกับประโยชน์การใช้งานสำหรับเป็นตัวช่วยในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ หรือระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โอนย้ายไฟล์งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน เพื่อนำกลับไปทำต่อบนคอมฯ หรือแล็ปท็อปที่บ้าน ใช้คัดลอกไฟล์งานจากคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ เพื่อนำไฟล์นั้น ๆ ไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใด ๆ สำหรับใช้ประกอบการนำเสนอภายในที่ประชุม เป็นต้น แต่ทว่านอกเหนือจากประโยชน์ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว แฟลชไดร์ฟก็ยังมีประโยชน์การใช้งานที่สำคัญอีกอย่าง ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการจัดการไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ผู้ใช้งานหลายคนมักหลงลืมไป ซึ่งก็คือประโยชน์ในการสำรองข้อมูล หรือแบ็คอัพไฟล์ดิจิทัลต่างๆ(แบบชั่วคราว) นั่นเอง ทั้งนี้อย่างที่ทราบกันดีว่าการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ล้วนมีความเสี่ยงที่ไฟล์อาจสูญหาย หรือเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์นั้น ๆ และใช้งานต่อได้ การสำรองข้อมูลไว้บนอุปกรณ์ที่ 2, 3 จึงเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันความเสียหายในกิจกรรมการทำงานต่าง ๆ และแฟลชไดร์ฟก็คือหนึ่งในอุปกรณ์ตัวช่วยที่จะทำให้เราสามารถสำรองไฟล์ข้อมูลไว้ชั่วคราวได้ง่าย ๆ ในบางสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงที่ไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ อาจสูญหาย หรือเข้าถึงไม่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตเครื่องที่ 2, 3 ในบทความนี้จึงจะมากล่าวแนะนำให้ได้ทราบกันว่าเมื่อใดบ้างที่เราควรนำเอาแฟลชไดร์ฟมาสำรองข้อมูลบนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อกิจกรรมการทำงาน หรือความกิจกรรมความบันเทิงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ไฟล์ข้อมูลบนอุปกรณ์นั้น ๆ เกิดสูญหาย หรือมีข้อผิดพลาดใด ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์ได้กะทันหัน
ก่อนการอัปเดตระบบปฏิบัติการ เฟิร์มแวร์ และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึง เรียกดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนอุปกรณ์ สถานการณ์แรกที่ต้องบอกว่าค่อนข้างมีความจำเป็นในการนำแฟลชไดร์ฟมาสำรองไฟล์ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ไว้ก็คือ ก่อนที่จะทำการอัปเดตระบบปฏิบัติการ เฟิร์มแวร์ หรือซอฟต์แวร์ใด ๆ บนอุปกรณ์ที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึง เรียกดูไฟล์ข้อมูลนั้น ๆ เนื่องจากระหว่างการอัปเดตไฟล์ข้อมูลระบบต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นอาจเกิดข้อผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไฟล์ข้อมูลระบบเวอร์ชั่นใหม่ที่ทำการอัพเข้ามาแมตช์กันไม่ได้กับสเปคของอุปกรณ์ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบไปถึงการเข้าถึง เรียกดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ การแบ็คอัพไฟล์สำคัญ ๆ ไว้บนแฟลชไดร์ฟก่อนจึงเป็นวิธีช่วยป้องกันความเสี่ยงที่เราจะไม่สามารถเข้าถึงไฟล์นั้น ๆ ได้แบบ 100% แม้ว่าเปอร์เซ็นต์ที่ไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ จะสูญหายไปภายหลังการอัปเดตระบบปฏิบัติการ, เฟิร์มแวร์, ซอฟต์แวร์ ที่ทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้องจะมีไม่มากนักก็ตาม
ก่อนการถอนการอัปเดตซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นใด ๆ บนอุปกรณ์ สถานกาณ์ที่ต้องบอกว่าน่าจะมีความจำเป็นที่สุดในการนำเอาแฟลชไดร์ฟมาแบ็คอัพข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนอุปกรณ์พกพา เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟนก็คือ ก่อนการถอนอัปเดตซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นใด ๆ ที่ใช้ในการเปิด เรียกดูไฟล์ข้อมูลนั้น ๆ ทั้งนี้อย่างที่ทราบกันดีว่าซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ บนอุปกรณ์นั้นมักจะมีการปล่อยไฟล์อัปเดตผ่านระบบออนไลน์มาให้ผู้ใช้งานได้กดดาวน์โหลดเพื่ออัปเดตอยู่เรื่อย ๆ แต่ทว่าบางครั้งการอัปเดตเวอร์ชั่นต่าง ๆ ก็อาจจะทำให้ผู้ใช้งานได้หน้าตาแอปฯ หรือ UI ที่ไม่ถูกใจเหมือนเดิม ซึ่งผู้ใช้งานสามารถแก้ไขได้ด้วยการถอนการอัปเดตออกไป เพื่อให้ซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชั่นนั้น ๆ กลับไปเป็นเวอร์ชั่นดั้งเดิมที่ติดมากับตัวอุปกรณ์ อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีความเสี่ยงที่จะทำให้ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับแอปฯนั้นๆสูญหายไปได้ เช่น แอปฯสำหรับเรียกดูรูปภาพ วิดีโอต่าง ๆ หากทำการถอนอัปเดตไปแล้วก็อาจทำให้ไฟล์ภาพ ไฟล์วิดีโอบางส่วนสูญหายไป เป็นต้น ดังนั้นก่อนการถอนการอัปเดตซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชั่นใด ๆ ดังตัวอย่างจึงควรนำเอาแฟลชไดร์ฟมาทำการแบ็คอัพข้อมูลไว้ก่อน ในกรณีที่แฟลชไดร์ฟมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดก็อาจเลือกสำรองเฉพาะไฟล์ข้อมูลประเภทที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ หรือแอปฯนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น หากเป็นแอปฯสำหรับเปิดเรียกดู แก้ไขไฟล์เอกสาร ก็อาจเลือกสำรองเฉพาะไฟล์ข้อมูลเอกสาร เป็นต้น สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาแฟลชไดร์ฟ เราแนะนำเป็น metal usb เนื่องจากเป็นโลหะจะมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ

การโจมตีผ่านแฟลชไดร์ฟแบบ USB Drop Attack คืออะไร ป้องกันได้อย่างไร

แฟลชไดร์ฟเป็นสิ่งที่ยังมีการใช้งานอยู่ตลอด และยังมีความสำคัญมาก ๆ อีกด้วยในปัจจุบันนั้นแฟลชไดร์ฟถูกผลิตขึ้นมาเรื่อย ๆ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ที่ถูกปรับมาให้เข้ากับยุคปัจจุบัน อย่างเช่น wooden usb , twister usb , pen usb และอื่น ๆ อีกมากมาย หากบังเอิญวันใดวันหนึ่ง...

แฟลชไดร์ฟเป็นสิ่งที่ยังมีการใช้งานอยู่ตลอด และยังมีความสำคัญมาก ๆ อีกด้วยในปัจจุบันนั้นแฟลชไดร์ฟถูกผลิตขึ้นมาเรื่อย ๆ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ที่ถูกปรับมาให้เข้ากับยุคปัจจุบัน อย่างเช่น wooden usb , twister usb , pen usb และอื่น ๆ อีกมากมาย

หากบังเอิญวันใดวันหนึ่ง คุณมีโอกาสได้เดินเจอแฟลชไดร์ฟตกอยู่ที่พื้นแล้วล่ะก็ คุณอาจมีตัวเลือกที่จะจัดการกับมันอยู่ 3 อย่าง อย่างแรกคือการเก็บไว้กับตัวเองและนำไปใช้ใหม่ โดยคิดว่าไม่ว่ายังไงก็อาจเป็นของที่สามารถใช้งานได้ แบบที่ 2 คือการพยายามหาเจ้าของแฟลชไดร์ฟอันนั้นให้ได้ ส่วนแบบสุดท้ายคือการทิ้งไว้ตรงนั้น การที่เราเจอแฟลชไดร์ฟในที่สาธารณะนั้น ทางที่ดีเราควรจะวางไว้หรือไม่ก็หาเจ้าของ ไม่เช่นนั้นคุณอาจตกเป็นเหยื่อของการโจมตีรูปแบบ USB Drop Attack

ในวันนี้เราจะชวนคุณมาคุยกันในเรื่องของการโจมตีดิจิตอลรูปแบบหนึ่ง ที่มีการใช้ตัวแฟลชไดร์ฟเป็นตัวกลาง วิธีดังกล่าวนี้เรียกว่า USB Drop Attack สิ่งนี้ค่อนข้างจะมีอันตราย แต่มันจะมีอันตรายอย่างไร จุดประสงค์ของการใช้งานเพื่ออะไร และท้ายที่สุดเราจะป้องกันมันได้อย่างไร ในกรณีที่เราเจอแฟลชไดร์ฟตกอยู่เราจะได้ไม่นำไปใช้งาน

USB Drop Attack คืออะไร

USB Drop attack นั้น มีเทคนิคการโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบหนึ่ง โดยการใช้สิ่งที่เรียกว่าวิศวกรรมทางสังคม หรือการพยายามล่อลวงเหยื่อด้วยหลักการทางจิตวิทยา โดยผู้ที่ใช้วิธีการนี้ จะทำการใส่ไวรัสลงไปในตัวแฟกซ์ไว้ หรือหากไม่เป็นไวรัสก็จะเป็นภัยคุกคามบางอย่าง จากนั้นก็จะทำการนำเอาแฟลชไดร์ฟอันนี้ไปวางไว้ในสถานที่สาธารณะ ในจุดที่มองหาได้ง่ายเพื่อให้เหยื่อเก็บไปนั่นเอง และพ่อเหยื่อทำการเสียบแฟลชไดร์ฟที่ไม่มีที่มาที่ไปลงไปในคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่าก็จะมีปัญหาตามมาทีหลัง

จุดประสงค์ของการโจมตีรูปแบบ USB Drop Attack

คนที่โจมตีทางไซเบอร์รูปแบบนี้ จะมีจุดประสงค์หลากหลายด้วยกัน แต่ส่วนมากแล้วการโจมตีนี้จะมีจุดประสงค์อยู่ด้วยกันประมาณ 4 จุดประสงค์ จุดประสงค์แรกคือการหลอกให้เข้าถึงลิงค์ที่มีความอันตราย เมื่อเราเปิดเข้าไปในแฟลชไดร์ฟเราอาจเจอลิงก์ที่มีการตั้งชื่อไฟล์ที่ดูน่าสนใจ ซึ่งหากเรากดเข้าไป อาจเจอเว็บไซต์ปลอมแปลงที่พยายามหลอกเอาข้อมูลทางการเงิน หรือข้อมูลส่วนตัวบางอย่างไป

จุดประสงค์ที่ 2 คืออาจแฝงโค้ดอันตรายลงไป เพียงแค่เราพลิกลงไปหรือเปิดมันขึ้นมา โค้ชนั้นก็อาจทำงานโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งสิ่งนี้อาจใช้สำหรับการติดตั้งมัลแวร์ต่างๆ หรือทำการเข้ารหัสไฟล์บนเครื่องของเรา กรณีที่เป็นมัลแวร์สำหรับการเรียกค่าไถ่

จุดประสงค์ที่ 3 คือ อาจจะทำวิธีการที่เรียกว่า Human Interface Device (HID) สิ่งนี้คือการดัดแปลงตัวแฟลชไดร์ฟให้มีความสามารถปลอมตัวเป็นอุปกรณ์อย่างพวกเมาส์แป้นพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่นที่เสียบผ่านพอร์ต USB เมื่อเราทำการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์จะเข้าใจผิดว่าอุปกรณ์ที่ถูกแปลงนี้เป็นตัวแป้นพิมพ์หรือตัวเมาส์ ทำให้ตัวแฮกเกอร์สามารถควบคุมแป้นพิมพ์หรือเมาส์ของเราจากระยะไกลได้

จุดประสงค์สุดท้ายคือ อาจจะเป็นการเข้ามาทำลายระบบของเรา เพียงแค่เราทำการเสียบช่อง USB ก็อาจทำลายระบบหรือคอมพิวเตอร์ของเราแล้ว แบบนี้เป็นต้น

การป้องกันการโจมตีด้วย USB Drop Attack

การป้องกันที่ง่ายและดูจะเป็นไปได้ที่สุด คือการไม่หยิบอันที่เราไม่รู้แหล่งที่มาที่ไป หรือแบบที่มีความน่าสงสัยมาใช้งานแต่แรกอยู่แล้ว เราควรที่จะวางไว้แบบนั้น หรือตามหาเจ้าของ เพราะหากเราหยิบมันมาใช้งานแล้วเกิดข้อมูลของเราเสียหายหรือมีปัญหา เรียกว่ามันไม่คุ้มที่จะเสี่ยงเท่าไหร่นัก

ยังมีวิธีในการโจรกรรมข้อมูล วิธีการที่ทำให้ข้อมูลของเราหรือคอมพิวเตอร์ของเราเกิดความเสียหายอีกมากมาย ด้วยการใช้อุปกรณ์ที่ว่าดังกล่าวนี้ ในปัจจุบันต้องขอบอกว่าเรื่องของการโจมตีทางไซเบอร์เป็นอะไรที่เราจำเป็นจะต้องระวังมากๆ นอกเหนือจากการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตแล้ว การโจมตีรูปแบบออฟไลน์ก็น่าระวังไม่แพ้กัน
และหากต้องการแฟลชไดร์ฟใช้งานก็ควรจะเลือกร้านค้าที่มีความน่าเชื่อถือ และหากใช้ทำงานควรใช้แฟลชไดร์ฟแบบ metal usb มีความคงทนเพราะทำจากโลหะจะทำให้แฟลชไดร์ฟนั้นเกิดความเสียหายได้ยาก

Dov Moran ผู้ให้กำเนิดแฟลชไดร์ฟ

เราทุกคนรู้จักอุปกรณ์สารพัดประโยชน์อย่างแฟลชไดร์ฟขึ้นอยู่แล้ว อุปกรณ์ชนิดนี้ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล จุดเด่นคือมีขนาดเล็กและพกพาไปไหนมาไหนได้ง่ายดาย แต่ถึงอย่างนั้นก็สามารถที่จะบรรจุข้อมูลได้ในปริมาณมากๆ แม้กระทั่งในปัจจุบันเอง...

เราทุกคนรู้จักอุปกรณ์สารพัดประโยชน์อย่างแฟลชไดร์ฟขึ้นอยู่แล้ว อุปกรณ์ชนิดนี้ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล จุดเด่นคือมีขนาดเล็กและพกพาไปไหนมาไหนได้ง่ายดายอย่าง TWISTER USB ที่เป็นที่นิยมและพกพาง่ายมาก ๆ  แต่ถึงอย่างนั้นก็สามารถที่จะบรรจุข้อมูลได้ในปริมาณมากๆ แม้กระทั่งในปัจจุบันเอง แฟลชไดร์ฟยังถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่หลายคนเลือกที่จะพกพาไปไหนมาไหนอยู่

เรารู้กันอยู่แล้วว่าแฟลชไดร์ฟถูกพัฒนามาจากอุปกรณ์มากมายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Floppy Disk , CD-RW, Card Usb, Wooden Usb หรืออุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลอื่น แต่จะมีสักกี่คนรู้จักผู้ชายที่ชื่อว่า Dov Moran ชายผู้นี้ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ให้กำเนิดอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟเลยก็ว่าได้ เขาเป็นทั้งที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นนักลงทุน และเป็นเสมือนผู้ที่คิดค้นอุปกรณ์สำคัญชนิดนี้

วันนี้เราจะพาคุณมารู้จัก Dov Moran ผู้ที่ถือได้ว่าเป็นผู้ให้กำเนิดอุปกรณ์อย่างแฟลชไดร์ฟ อุปกรณ์ชนิดนี้ถือกำเนิดมาได้อย่างไร และถูกพัฒนามาจากอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย

จุดเริ่มต้นของไอเดีย และการให้กำเนิดแฟลชไดร์ฟ

ย้อนกลับไปเกือบ 30 ปีที่แล้ว อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลนั้นเรียกได้ว่ามีอยู่อย่างจำกัดมาก การใช้งานยังคงจำกัดอยู่ นอกจากนี้เรื่องความจุและขนาดของการจัดเก็บข้อมูลก็ยังมีจำกัดด้วยมากเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นในสมัยก่อน Floppy Disk 3.5 เก็บข้อมูลได้เพียงแค่ 1.44 เมกะไบต์ หากเป็นแผ่นซีดีในรูปแบบ CD-RW จะเก็บข้อมูลได้เพียง 700 เมกะไบต์เท่านั้น นอกจากนี้ยังจำเป็นจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์ และใช้ซอฟต์แวร์ที่มีความเฉพาะในการเขียนและจัดเก็บข้อมูลด้วย

ด้วยเหตุนี้ ทำให้เมื่อใดก็ตามที่คอมพิวเตอร์เกิดปัญหา การจะนำข้อมูลเหล่านั้นออกมาใช้งาน หรือการที่เราจะทำการแบ็คอัพนั้นจะกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากๆ ขึ้นมาในทันที Moran เจอปัญหานี้กับตัวเอง ในระหว่างที่เขากำลังเดินทางไปนำเสนองานในงานสัมมนาครั้งหนึ่งในนิวยอร์ก เรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 1998

ระหว่างที่เขากำลังเตรียมงานโดยที่ใช้โปรแกรม PowerPoint สำหรับในการนำเสนองานต่อหน้าคนนับร้อยในห้องประชุมนั้นเอง โน้ตบุ๊คที่เขาใช้งานอยู่ก็เกิดมีปัญหา แต่ในครั้งนั้น ในที่สุดเขาก็ผ่านการนำเสนองานไปได้ด้วยดี และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไปได้

ต่อยอดไอเดียจากสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว

สิ่งนี้ถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดปัญหาที่แก้ไขไม่ได้แล้ว ดังนั้นเองเขาจึงพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป แน่นอนว่าเขาเริ่มทำการคิดค้นอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟขึ้นมา สิ่งนี้ไม่ใช่อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใหม่จากศูนย์ แต่เปรียบเสมือนการนำของที่มีอยู่แล้วมาทำการประยุกต์และต่อยอดใช้งาน โดยมีการนำของสองอย่างมารวมกัน อย่างแรกคือ Flash Memory ซึ่งเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ในขณะทำงานจะไม่มีเคลื่อนไหว (ต่างกับฮาร์ดดิสก์ที่มีจานหมุนอยู่ตลอดเวลา) สิ่งนี้ถูกคิดค้นในปี 1980 อีกอย่างคือพอร์ต USB ที่บรรดาบริษัทไอทีชั้นนำร่วมกันออกแบบขึ้นมา ถูกคิดค้นในปี 1990

สิ่งที่เขาทำนั้น คือการเขียนซอฟต์แวร์ขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์มองเห็นว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ทำหน้าที่เป็นไดรฟ์เสริม และในที่สุด ก็ถือกำเนิด DiskOnKey มา อุปกรณ์ แฟลชไดร์ฟอันแรกที่มีความจุ 8 เมกะไบต์ ถือเป็นอุปกรณ์แฟลชไดรฟ์ตัวแรกของโลก ถือกำเนิดขึ้นในปี 2000 พอดีเป๊ะ และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับเลือกให้อยู่ในรายชื่อ All-Time 100 Gadgets ของนิตยสาร TIME

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ผู้ที่คิดค้นอย่าง Moran นั้น จะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจ หรือบริษัทที่ให้กำเนิดอย่าง M-Systems นี้แล้ว โดยบริษัทนี้ถูกขายไปให้กับ SanDisk ในราคา 1.6 พันล้านดอลลาร์ เขาได้ผันตัวมาเป็นนักลงทุนให้กับสตาร์ตอัพหน้าใหม่แทนแล้ว ถึงอย่างนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไอเดียที่เขาเป็นผู้ริเริ่มนี้ ได้พลิกโฉมโลกของเราไปในหลากหลายแง่เลยทีเดียว

ไขข้อข้องใจ แฟลชไดร์ฟ-SSD ทำความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลได้จริงตามคำโฆษณาหรือไม่ ?

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวแบบพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD หลายคนน่าจะพอทราบกันดีว่าหนึ่งในข้อดีที่ทำให้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ดูโดดเด่นกว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายในอย่างฮาร์ดดิสก์ก็คือ ความเร็วในการเขียน-อ่านข้อมูล เนื่องจากเป็นการใช้ชุดคำสั่งแบบดิจิทัล...

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวแบบพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD หลายคนน่าจะพอทราบกันดีว่าหนึ่งในข้อดีที่ทำให้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ดูโดดเด่นกว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายในอย่างฮาร์ดดิสก์ก็คือ ความเร็วในการเขียน-อ่านข้อมูล เนื่องจากเป็นการใช้ชุดคำสั่งแบบดิจิทัล ซึ่งไม่มีขีดจำกัดในการทำความเร็วที่ตายตัวเหมือนเทคโนโลยีจานหมุนแม่เหล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแฟลชไดร์ฟ SSD รุ่นใหม่ ๆ ที่เราจะได้เห็นคำโฆษณาของแบรนด์ผู้ผลิตว่ามีความเร็วสูงถึงระดับ 1,000+ Mbps หรือหลักหลายพันเลยทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วของฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในระดับหลักสิบ หรือหลักร้อยเมกะบิตต้น ๆ ต่อวินาทีแล้ว ก็จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันค่อนข้างมากทีเดียว ซึ่งนอกจากการเขียน-อ่านได้เร็วแล้วนั้นในปัจจุบันนั้นแฟลชไดร์ฟก็ยังมีหลายรูปแบบอีกด้วย อย่างเช่น WOODEN USB METAL USB RUBBER USB และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ใช้งานบางส่วนที่ช่างสังเกตุในการใช้งานแก็ดเจ็ตเหล่านี้อาจจะรู้สึกสงสัยว่าความเร็วที่ทำได้จริงในการเขียน อ่าน หรือรับส่งข้อมูลแต่ละครั้งตรงตามคำโฆษณาจากแบรนด์ผู้ผลิตเจ้านั้นๆ หรือไม่ เพราะบ่อยครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าความเร็วในการรอรับส่งข้อมูลของแฟลชไดร์ฟ External SSD ตัวใด ๆ ไม่เห็นจะแตกต่างไปจากตัวเดิมที่เคยใช้งานสักเท่าไหร่ แม้ว่าคุณสมบัติความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลที่ระบุตามคำโฆษณาจะแตกต่างกันในระดับหลายพันเมกะบิตก็ตาม ในบทความนี้จึงจะมาไขข้อข้องใจให้ได้ทราบกันว่าแท้จริงแล้วในการใช้งานจริง ความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลของแฟลชไดร์ฟ SSD ยี่ห้อใด ๆ ตรงกับตัวเลขที่ระบุในคำโฆษณาหรือไม่
แบรนด์ผู้ผลิตบางแบรนด์อาจระบุความเร็วในคำโฆษณาไม่ตรงกับความเร็วที่แท้จริง อย่างที่ทราบกันดีว่าแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟ, External SSD นั้น ความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลถือว่าเป็นสเปคส่วนสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งานที่จะเลือกซื้อเลือกหามาใช้งาน ยิ่งตัวเลขส่วนนี้สูงเท่าไหร่ ผู้ใช้งานก็ยิ่งมองว่าแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD ตัวนั้นมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลดีมากเท่านั้น ซึ่งด้วยเหตุนี้ทำให้แบรนดผู้ผลิตบางแบรนด์ที่มีมาตรฐานการผลิตและตรวจทานคุณภาพที่ไม่ดีนัก เลือกใส่ตัวเลขความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลสูงเกินกว่าความเร็วที่แท้จริง ดังนั้นหากใช้งานแฟลชไดร์ฟ SSD แล้วรู้สึกว่าความเร็วในการรอรับส่งข้อมูลช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น ก็มีความเป็นไปได้ว่าความเร็วในคำโฆษณา หรือฉลากนั้นถูกระบุไว้สูงเกินกว่าความเป็นจริง
ความเร็วที่ทำได้จริงขึ้นอยู่กับความเร็วของพอร์ต USB ด้วย อีกหนึ่งสาเหตุยอดฮิตที่ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนรู้สึกว่าความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลที่ทำได้จริงของแฟลชไดร์ฟ, External SSD ตัวใด ๆ ไม่ถูกต้องตามคำโฆษณาก็คือ ความเร็วของพอร์ต USB บนอุปกรณ์ที่เราใช้งานนั่นเอง กล่าวคือแม้ว่าตัวแฟลชไดร์ฟจะสามารถทำความเร็วได้สููงแค่ไหนก็ตาม แต่ในการใช้งานจริงก็จะทำความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลใด ๆ ได้ไม่เกินตัวเลขที่พอร์ต USB ซัพพอร์ต ตัวอย่างเช่น แฟลชไดร์ฟ หรือ External SSD มีความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลอยู่ที่ 5,000 Mbps แต่ความเร็วสูงสุดของพอร์ต USB อยู่ที่ 800 Mbps ในการใช้งานจริงจึงแน่นอนว่าผู้ใช้งานหลายคนย่อมรู้สึกว่าความเร็วจริงไม่ถึง 5,000 Mbps ซึ่งความเร็วของพอร์ต USB นั้นก็แตกต่างกันไปตามเวอร์ชั่น โดยพอร์ตเวอร์ชั่นล่าสุดอย่าง USB 3.2 ก็ย่อมทำความเร็วได้สูงกว่าพอร์ตเวอร์ชั่นก่อน ๆ อย่าง 3.0 หรือเวอร์ชั่นต่ำกว่านั้น ส่วนสาเหตุอื่น ๆ นอกจากนี้ก็ยังมีในส่วนของขนาดไฟล์ กล่าวคือการทดสอบการรับส่งไฟล์ขนาดเล็กด้วยแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD ที่มีความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลต่างกันมาก ๆ นั้นอาจจะแทบไม่เห็นความแตกต่างกัน เนื่องจากหน่วยวัดความเร็วเป็นระดับเมกะบิตต่อวินาที ดังนั้นหากเป็นไฟล์หลักสิบเมกะบิตที่ถูกรับส่งบนฐานความเร็วในการเขียน อ่านตั้งแต่ 100 Mbps ก็ย่อมสังเกตุเห็นความแตกต่างกันยาก โดยหากต้องการทดสอบ เปรียบเทียบความเร็วของแฟลชไดร์ฟ SSD ตัวใด ๆ เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนนั้น ควรทดสอบด้วยไฟล์ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 Gb ขึ้นไป หากตอนนี้ท่านใดกำลังเลือกหาแฟลชไดร์ฟเป็นของแจกในงานอื่น ๆ เราของแนะนำให้ซื้อเป็นแบบ GIFT SET

การเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟสำหรับโทรศัพท์มือถือ

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนั้น การสำรองข้อมูลรวมไปถึงการถ่ายโอนข้อมูล จากโทรศัพท์เครื่องหนึ่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆ เราสามารถที่จะทำได้ผ่านระบบคลาวด์แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นระบบดังกล่าวก็มีข้อจำกัดบางประการอยู่ อย่างหากเป็นไฟล์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่...

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนั้น การสำรองข้อมูลรวมไปถึงการถ่ายโอนข้อมูล จากโทรศัพท์เครื่องหนึ่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆ เราสามารถที่จะทำได้ผ่านระบบคลาวด์แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นระบบดังกล่าวก็มีข้อจำกัดบางประการอยู่ อย่างหากเป็นไฟล์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ อาจจะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการอัปโหลดหรือดาวน์โหลดค่อนข้างมาก ทำให้การดาวน์โหลดไฟล์หรืออัปโหลดไฟล์เหล่านี้ช้าไปด้วย หลายคนจึงยังคงนิยมวิธีการแบบออฟไลน์ นั่นก็คือการถ่ายโอนข้อมูล เก็บข้อมูล และย้ายข้อมูลผ่านทางแฟลชไดร์ฟแต่ในปัจจุปันนี้แฟลชไดร์ฟก็พัฒนารูปแบบขึ้นมามากมาย เช่น PEN USB , RECYCLE USB , GARD USB และอื่น ๆ อีกมากมาย

 

ในปัจจุบันเรามีแฟลชไดร์ฟที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันในท้องตลาดก็มีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายยี่ห้อ และหลากหลายแบรนด์ให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้งานกัน วันนี้เราจะพาคุณมาเลือกแฟลชไดร์ฟสำหรับมือถือ คุณจะสามารถเลือกซื้อมันได้อย่างไร เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตรงกับเป้าหมายการใช้งานมากที่สุด ก่อนอื่นจะต้องบอกก่อนว่า แฟลชไดร์ฟในรูปแบบมือถือนั้น เราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แฟลชไดร์ฟแบบ OTG ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้มีพอร์ตรองรับการใช้งานร่วมกับโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตด้วย

 

พอร์ตที่รองรับ

 

ขั้นแรกให้เราดูพอร์ตที่รองรับก่อน เนื่องจากโทรศัพท์มือถือแต่ละรุ่นนั้นอาจจะรองรับพอร์ตที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องเลือกซื้อให้ตรงกันด้วย ยกตัวอย่างเช่นมือถือ Android รุ่นปัจจุบันทั่วไป พอร์ตที่รองรับจะเป็นพอร์ต USB-C ส่วนหากเป็น iPhone หากใครต้องการใช้แฟลชไดร์ฟประเภทนี้อาจต้องเลือกเป็นพอร์ต Lightning หรือถ้าหากใครต้องการนำไปเสียบกับคอมพิวเตอร์ด้วย ก็อาจเลือกแบบที่มีทั้งสองพอร์ต จะสะดวกในการใช้งานมากกว่า

 

ขนาดขนาดความจุของไฟล์

 

แน่นอนว่า แฟลชไดร์ฟแบบ OTG นี้ วิธีการในการเลือกใช้ก็ดูเหมือนจะมีความคล้ายกับแฟลชไดร์ฟทั่วไป คือเลือกตามขนาดความจุที่เราต้องการจะนำไปใช้งาน โดยมีขั้นต่ำอยู่ที่ตั้งแต่ 32 GB ไปจนถึงขั้นที่มีความจุค่อนข้างมากคือ 512 GB หรืออาจมีมากกว่านั้นให้เราได้เลือกกันในท้องตลาด การพิจารณาว่าจะเลือกขนาดความจุขนาดขนาดไหน ก็อยู่ที่ว่าเราใช้ในการเก็บไฟล์มากน้อยขนาดไหน ไฟล์ที่เราเก็บนั้นเป็นรูปแบบอะไร อย่างหากเราต้องการเก็บไฟล์ที่เป็นวิดีโอความละเอียดสูง เราอาจจะต้องใช้พื้นที่และความจุมากกว่าปกติเป็นต้น

 

ความเร็วสำหรับการถ่ายโอนข้อมูล

 

หลายหลายรุ่นที่วางขายในท้องตลาดนั้น มักจะมีการระบุไว้ว่ามีความเร็วในการอ่านข้อมูลและการเขียนข้อมูลอยู่ที่เท่าไหร่ แน่นอนว่ายิ่งหากเวลาในการถ่ายโอนข้อมูลเร็ว ใครหลายคนก็น่าจะชื่นชอบและเลือกซื้อมากกว่า แต่ในบางรุ่น ก็ไม่ได้มีการบอกในเรื่องของความเร็วในการถ่ายโอนและการเขียนข้อมูลไว้ หากเป็นแบบนั้นให้เราดูเมื่อจะมาตรฐานเวอร์ชั่นของ USB ได้ โดยปกติทั่วไปทุกวันนี้ ที่เราพบเห็นขั้นต่ำอาจจะเป็นแบบ USB3.0 ขึ้นไปแล้ว ยิ่งเป็นเวอร์ชั่นที่มีความใหม่มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

 

ราคา
เรื่องของราคายังคงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นหนึ่งในตัวเลือกและปัจจัยที่จะทำให้เราซื้อหรือซื้อ ที่จะบอกก็คือ ไม่ใช่ว่าราคาถูกหรือราคาแพงจะดี เพียงแต่ให้เราเลือกที่มีความสมเหตุสมผล เลือกพอเหมาะและพอดีกับลักษณะงานที่เราจะนำไปใช้ ยกตัวอย่างเช่นหากเราใช้เพียงแค่นำมาเก็บไฟล์เอกสาร เราอาจซื้อที่มีความจุน้อยๆ และนั่นจะทำให้ราคาถูกลงมา อาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อราคาแพงที่มีความจุมาก แบบนี้จะทำให้เราใช้งานได้คุ้มค่ามากกว่า หากเราซื้อมาเกินเท่าที่เราจะใช้งาน เราอาจจะต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ก็ได้ หากคุณกำลังตามหาของขวัญให้ใใครซักคนอยู่แนะนำว่าควรซื้อแบบเป็น GIFT SET บอกเลยว่าคุ้มค่าสุด ๆ ผู้รับจะต้องประทับใจแน่นอน

 

พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC

แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และซอฟท์แวร์การประมวลผลต่าง ๆ จะพัฒนาขึ้นจากเดิมมาก มีอุปกรณ์ไอทีให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการมาของอุปกรณ์แบบพกพาต่าง ๆ เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือกระทั่งการปรับเปลี่ยนดีไซน์ ขนาดของแล็ปท็อปให้บางเบาลง...

แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และซอฟท์แวร์การประมวลผลต่าง ๆ จะพัฒนาขึ้นจากเดิมมาก มีอุปกรณ์ไอทีให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการมาของอุปกรณ์แบบพกพาต่าง ๆ เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือกระทั่งการปรับเปลี่ยนดีไซน์ ขนาดของแล็ปท็อปให้บางเบาลง เอื้อต่อการพกพามากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานโอนถ่าย เคลื่อนย้าย ส่งต่อข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ความสำคัญและความนิยมในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟก็ไม่ได้จางหายไปไหนมีและยังมีหลากหลายแบบให้ใช้งาน อย่างเช่น CARD USB METAL USB โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานบน PC หรือคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะสำหรับโอนถ่าย คัดลอกไฟล์งานต่าง ๆ ที่ถือว่ายังคงมีความสำคัญต่อกิจกรรมการทำงานของผู้ใช้งานหลายคนเช่นเดียวกับตลอดหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามอย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ มักจะมีปัญหาจุกจิกที่ผู้ใช้งานต้องเผชิญกันอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งทำให้กิจกรรมการทำงานต่าง ๆ ไม่สะดวก ลื่นไหลเท่าที่ควร เช่น ปัญหาไฟล์ข้อมูลสูญหาย คัดลอกไฟล์ไม่ได้ เปิดอ่าน หรือส่งต่อไฟล์ไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งเราเรียกปัญหาเหล่านี้รวม ๆ ได้ว่าเป็นอาการชำรุด เสียหายของแฟลชไดร์ฟนั่นเอง โดยที่ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานเอง ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอาพฤติกรรมต้องห้ามในการใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC ซึ่งเสี่ยงทำให้ตัวแฟลชไดร์ฟชำรุดเสียหายมาบอกกล่าวให้ได้ทราบ
ดาวน์โหลดไฟล์หนัง ซีรีย์บนอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้บนไดร์ฟ แม้ว่าปัจจุบันขนาดความจุโดยเฉลี่ยของแฟลชไดร์ฟจากหลายแบรนด์ หลายยี่ห้อจะมีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าในช่วงหลายปีก่อนมาก(มากกว่า 64 Gb ขึ้นไป) ซึ่งอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการจัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่อย่างไฟล์ภาพยนตร์ ซีรีย์ แต่หนึ่งในพฤติกรรมต้องห้ามที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือ การดาวน์โหลดไฟล์หนัง ซีรีย์ใด ๆ ที่เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ต่าง ๆ มีเปิดให้ดาวน์โหลดกันฟรี ๆ บน PC มาเก็บไว้ เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วยังเสี่ยงที่จะได้โปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่แฝงมากับไฟล์หนังเรื่องนั้น ๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียถึงขั้นทำให้แฟลชไดร์ฟเสียหาย รวมถึงตัวคอมพิวเตอร์ที่อาจมีอาการผิดปกติในการรันการทำงานของซอฟท์แวร์ต่าง ๆ จากการถูกชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รบกวน
ติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ลงบนไดร์ฟ อย่างที่ทราบกันว่าโดยทั่วไปแล้ว สถาปัตยกรรมของแฟลชไดร์ฟนั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานเป็นไดร์ฟภายนอก สำหรับเป็นพื้นที่จัดเก็บไฟล์ชั่วคราว เพื่อให้สะดวกในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ แต่ก็มีบางซอฟท์แวร์ เช่น ซอฟท์แวร์ที่มีชุดคำสั่งขนาดเล็ก อย่างซอฟท์แวร์ปรับแต่ง Interface หรือมินิเกมต่าง ๆ ที่สามารถติดตั้งลงไปบนไดร์ฟ และสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อทำการเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับ PC อย่างไรก็ตามแม้ว่าซอฟท์แวร์ลักษณะดังกล่าวจะสามารถติดตั้งและรันการทำงานได้ แต่ก็ถือเป็นหนึ่งในพฤติกรรมการใช้งานที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะซอฟท์แวร์ที่มีชุดคำสั่งต่าง ๆ อาจรบกวนการทำงานของแฟลชไดร์ฟจนทำให้เกิดอาการรวน และชำรุดเสียหายเร็วกว่าอายุการใช้งานที่ควรจะเป็น
บันทึกไฟล์จากอินเตอร์โดยไม่ทำการสแกนไวรัส แม้ว่าปัจจุบันการดาวน์โหลด หรือเซฟไฟล์จากอินเทอร์เน็ตจะถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการใช้งานอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกิจกรรมการทำงาน ซึ่งมักมีการแชร์ไฟล์ภายในองค์กรผ่านระบบคลาวด์ของผู้ให้บริการรายต่าง ๆ แต่อีกหนึ่งพฤติกรรมที่ผู้ใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC ควรระมัดระวังก็คือการดาวน์โหลด บันทึกไฟล์ลงไดร์ฟโดยไม่ได้สแกนไวรัส เพราะนั่นอาจทำให้ได้ไวรัส โทรจัน โปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ติดมาด้วย แม้ว่าจะเป็นไฟล์จากบุคคลรู้จักก็ตาม ทั้งนี้หากต้องการแฟลชไดร์ฟซักอันไว้ใช้งานเราขอแนะนำเป็น RECYCLE USB เป็นแฟลชไดร์ฟรีไซเคิล ที่มีความทันสมัยไม่ทำร้ายโลก และยังมีความสวยงามอีกด้วย