การเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟสำหรับโทรศัพท์มือถือ

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนั้น การสำรองข้อมูลรวมไปถึงการถ่ายโอนข้อมูล จากโทรศัพท์เครื่องหนึ่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆ เราสามารถที่จะทำได้ผ่านระบบคลาวด์แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นระบบดังกล่าวก็มีข้อจำกัดบางประการอยู่ อย่างหากเป็นไฟล์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่...

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนั้น การสำรองข้อมูลรวมไปถึงการถ่ายโอนข้อมูล จากโทรศัพท์เครื่องหนึ่งไปยังอุปกรณ์อื่นๆ เราสามารถที่จะทำได้ผ่านระบบคลาวด์แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นระบบดังกล่าวก็มีข้อจำกัดบางประการอยู่ อย่างหากเป็นไฟล์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ อาจจะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการอัปโหลดหรือดาวน์โหลดค่อนข้างมาก ทำให้การดาวน์โหลดไฟล์หรืออัปโหลดไฟล์เหล่านี้ช้าไปด้วย หลายคนจึงยังคงนิยมวิธีการแบบออฟไลน์ นั่นก็คือการถ่ายโอนข้อมูล เก็บข้อมูล และย้ายข้อมูลผ่านทางแฟลชไดร์ฟแต่ในปัจจุปันนี้แฟลชไดร์ฟก็พัฒนารูปแบบขึ้นมามากมาย เช่น PEN USB , RECYCLE USB , GARD USB และอื่น ๆ อีกมากมาย

 

ในปัจจุบันเรามีแฟลชไดร์ฟที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันในท้องตลาดก็มีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายยี่ห้อ และหลากหลายแบรนด์ให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้งานกัน วันนี้เราจะพาคุณมาเลือกแฟลชไดร์ฟสำหรับมือถือ คุณจะสามารถเลือกซื้อมันได้อย่างไร เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตรงกับเป้าหมายการใช้งานมากที่สุด ก่อนอื่นจะต้องบอกก่อนว่า แฟลชไดร์ฟในรูปแบบมือถือนั้น เราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แฟลชไดร์ฟแบบ OTG ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้มีพอร์ตรองรับการใช้งานร่วมกับโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตด้วย

 

พอร์ตที่รองรับ

 

ขั้นแรกให้เราดูพอร์ตที่รองรับก่อน เนื่องจากโทรศัพท์มือถือแต่ละรุ่นนั้นอาจจะรองรับพอร์ตที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องเลือกซื้อให้ตรงกันด้วย ยกตัวอย่างเช่นมือถือ Android รุ่นปัจจุบันทั่วไป พอร์ตที่รองรับจะเป็นพอร์ต USB-C ส่วนหากเป็น iPhone หากใครต้องการใช้แฟลชไดร์ฟประเภทนี้อาจต้องเลือกเป็นพอร์ต Lightning หรือถ้าหากใครต้องการนำไปเสียบกับคอมพิวเตอร์ด้วย ก็อาจเลือกแบบที่มีทั้งสองพอร์ต จะสะดวกในการใช้งานมากกว่า

 

ขนาดขนาดความจุของไฟล์

 

แน่นอนว่า แฟลชไดร์ฟแบบ OTG นี้ วิธีการในการเลือกใช้ก็ดูเหมือนจะมีความคล้ายกับแฟลชไดร์ฟทั่วไป คือเลือกตามขนาดความจุที่เราต้องการจะนำไปใช้งาน โดยมีขั้นต่ำอยู่ที่ตั้งแต่ 32 GB ไปจนถึงขั้นที่มีความจุค่อนข้างมากคือ 512 GB หรืออาจมีมากกว่านั้นให้เราได้เลือกกันในท้องตลาด การพิจารณาว่าจะเลือกขนาดความจุขนาดขนาดไหน ก็อยู่ที่ว่าเราใช้ในการเก็บไฟล์มากน้อยขนาดไหน ไฟล์ที่เราเก็บนั้นเป็นรูปแบบอะไร อย่างหากเราต้องการเก็บไฟล์ที่เป็นวิดีโอความละเอียดสูง เราอาจจะต้องใช้พื้นที่และความจุมากกว่าปกติเป็นต้น

 

ความเร็วสำหรับการถ่ายโอนข้อมูล

 

หลายหลายรุ่นที่วางขายในท้องตลาดนั้น มักจะมีการระบุไว้ว่ามีความเร็วในการอ่านข้อมูลและการเขียนข้อมูลอยู่ที่เท่าไหร่ แน่นอนว่ายิ่งหากเวลาในการถ่ายโอนข้อมูลเร็ว ใครหลายคนก็น่าจะชื่นชอบและเลือกซื้อมากกว่า แต่ในบางรุ่น ก็ไม่ได้มีการบอกในเรื่องของความเร็วในการถ่ายโอนและการเขียนข้อมูลไว้ หากเป็นแบบนั้นให้เราดูเมื่อจะมาตรฐานเวอร์ชั่นของ USB ได้ โดยปกติทั่วไปทุกวันนี้ ที่เราพบเห็นขั้นต่ำอาจจะเป็นแบบ USB3.0 ขึ้นไปแล้ว ยิ่งเป็นเวอร์ชั่นที่มีความใหม่มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

 

ราคา
เรื่องของราคายังคงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นหนึ่งในตัวเลือกและปัจจัยที่จะทำให้เราซื้อหรือซื้อ ที่จะบอกก็คือ ไม่ใช่ว่าราคาถูกหรือราคาแพงจะดี เพียงแต่ให้เราเลือกที่มีความสมเหตุสมผล เลือกพอเหมาะและพอดีกับลักษณะงานที่เราจะนำไปใช้ ยกตัวอย่างเช่นหากเราใช้เพียงแค่นำมาเก็บไฟล์เอกสาร เราอาจซื้อที่มีความจุน้อยๆ และนั่นจะทำให้ราคาถูกลงมา อาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อราคาแพงที่มีความจุมาก แบบนี้จะทำให้เราใช้งานได้คุ้มค่ามากกว่า หากเราซื้อมาเกินเท่าที่เราจะใช้งาน เราอาจจะต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ก็ได้ หากคุณกำลังตามหาของขวัญให้ใใครซักคนอยู่แนะนำว่าควรซื้อแบบเป็น GIFT SET บอกเลยว่าคุ้มค่าสุด ๆ ผู้รับจะต้องประทับใจแน่นอน

 

ผลงาน ผลิตแฟลชไดร์ฟสกรีนโลโก้ สันติบาล

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC

แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และซอฟท์แวร์การประมวลผลต่าง ๆ จะพัฒนาขึ้นจากเดิมมาก มีอุปกรณ์ไอทีให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการมาของอุปกรณ์แบบพกพาต่าง ๆ เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือกระทั่งการปรับเปลี่ยนดีไซน์ ขนาดของแล็ปท็อปให้บางเบาลง...

แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และซอฟท์แวร์การประมวลผลต่าง ๆ จะพัฒนาขึ้นจากเดิมมาก มีอุปกรณ์ไอทีให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการมาของอุปกรณ์แบบพกพาต่าง ๆ เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือกระทั่งการปรับเปลี่ยนดีไซน์ ขนาดของแล็ปท็อปให้บางเบาลง เอื้อต่อการพกพามากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานโอนถ่าย เคลื่อนย้าย ส่งต่อข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ความสำคัญและความนิยมในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟก็ไม่ได้จางหายไปไหนมีและยังมีหลากหลายแบบให้ใช้งาน อย่างเช่น CARD USB METAL USB โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานบน PC หรือคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะสำหรับโอนถ่าย คัดลอกไฟล์งานต่าง ๆ ที่ถือว่ายังคงมีความสำคัญต่อกิจกรรมการทำงานของผู้ใช้งานหลายคนเช่นเดียวกับตลอดหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามอย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ มักจะมีปัญหาจุกจิกที่ผู้ใช้งานต้องเผชิญกันอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งทำให้กิจกรรมการทำงานต่าง ๆ ไม่สะดวก ลื่นไหลเท่าที่ควร เช่น ปัญหาไฟล์ข้อมูลสูญหาย คัดลอกไฟล์ไม่ได้ เปิดอ่าน หรือส่งต่อไฟล์ไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งเราเรียกปัญหาเหล่านี้รวม ๆ ได้ว่าเป็นอาการชำรุด เสียหายของแฟลชไดร์ฟนั่นเอง โดยที่ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานเอง ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอาพฤติกรรมต้องห้ามในการใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC ซึ่งเสี่ยงทำให้ตัวแฟลชไดร์ฟชำรุดเสียหายมาบอกกล่าวให้ได้ทราบ
ดาวน์โหลดไฟล์หนัง ซีรีย์บนอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้บนไดร์ฟ แม้ว่าปัจจุบันขนาดความจุโดยเฉลี่ยของแฟลชไดร์ฟจากหลายแบรนด์ หลายยี่ห้อจะมีการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าในช่วงหลายปีก่อนมาก(มากกว่า 64 Gb ขึ้นไป) ซึ่งอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการจัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่อย่างไฟล์ภาพยนตร์ ซีรีย์ แต่หนึ่งในพฤติกรรมต้องห้ามที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือ การดาวน์โหลดไฟล์หนัง ซีรีย์ใด ๆ ที่เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ต่าง ๆ มีเปิดให้ดาวน์โหลดกันฟรี ๆ บน PC มาเก็บไว้ เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วยังเสี่ยงที่จะได้โปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่แฝงมากับไฟล์หนังเรื่องนั้น ๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียถึงขั้นทำให้แฟลชไดร์ฟเสียหาย รวมถึงตัวคอมพิวเตอร์ที่อาจมีอาการผิดปกติในการรันการทำงานของซอฟท์แวร์ต่าง ๆ จากการถูกชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รบกวน
ติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ลงบนไดร์ฟ อย่างที่ทราบกันว่าโดยทั่วไปแล้ว สถาปัตยกรรมของแฟลชไดร์ฟนั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานเป็นไดร์ฟภายนอก สำหรับเป็นพื้นที่จัดเก็บไฟล์ชั่วคราว เพื่อให้สะดวกในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ แต่ก็มีบางซอฟท์แวร์ เช่น ซอฟท์แวร์ที่มีชุดคำสั่งขนาดเล็ก อย่างซอฟท์แวร์ปรับแต่ง Interface หรือมินิเกมต่าง ๆ ที่สามารถติดตั้งลงไปบนไดร์ฟ และสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อทำการเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับ PC อย่างไรก็ตามแม้ว่าซอฟท์แวร์ลักษณะดังกล่าวจะสามารถติดตั้งและรันการทำงานได้ แต่ก็ถือเป็นหนึ่งในพฤติกรรมการใช้งานที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะซอฟท์แวร์ที่มีชุดคำสั่งต่าง ๆ อาจรบกวนการทำงานของแฟลชไดร์ฟจนทำให้เกิดอาการรวน และชำรุดเสียหายเร็วกว่าอายุการใช้งานที่ควรจะเป็น
บันทึกไฟล์จากอินเตอร์โดยไม่ทำการสแกนไวรัส แม้ว่าปัจจุบันการดาวน์โหลด หรือเซฟไฟล์จากอินเทอร์เน็ตจะถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการใช้งานอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกิจกรรมการทำงาน ซึ่งมักมีการแชร์ไฟล์ภายในองค์กรผ่านระบบคลาวด์ของผู้ให้บริการรายต่าง ๆ แต่อีกหนึ่งพฤติกรรมที่ผู้ใช้งานแฟลชไดร์ฟบน PC ควรระมัดระวังก็คือการดาวน์โหลด บันทึกไฟล์ลงไดร์ฟโดยไม่ได้สแกนไวรัส เพราะนั่นอาจทำให้ได้ไวรัส โทรจัน โปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ติดมาด้วย แม้ว่าจะเป็นไฟล์จากบุคคลรู้จักก็ตาม ทั้งนี้หากต้องการแฟลชไดร์ฟซักอันไว้ใช้งานเราขอแนะนำเป็น RECYCLE USB เป็นแฟลชไดร์ฟรีไซเคิล ที่มีความทันสมัยไม่ทำร้ายโลก และยังมีความสวยงามอีกด้วย

ข้อควรระวังในการใช้งานแฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน Android และ IOS

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตไอทีเจ้าต่างๆ ได้มีการพัฒนาแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพา "แฟลชไดร์ฟ" ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างอิสระ และสะดวกมากขึ้น โดยได้มีการเพิ่มพอร์ตการเชื่อมต่อแบบอื่นๆ เข้ามานอกเหนือจากพอร์ต USB-A ที่เราคุ้นเคย...

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตไอทีเจ้าต่างๆ ได้มีการพัฒนาแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพา “แฟลชไดร์ฟ” ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างอิสระ และสะดวกมากขึ้นมีหลากหลายแบบอย่างเช่น CARD USB METAL USB อีกมากมาย โดยได้มีการเพิ่มพอร์ตการเชื่อมต่อแบบอื่นๆ เข้ามานอกเหนือจากพอร์ต USB-A ที่เราคุ้นเคย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพอร์ต USB-C แบบที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับที่ตัวสมาร์ทโฟนทั้ง Android และ IOS เจเนอเรชั่นใหม่ได้ทันที ทำให้สามารถโอนถ่าย คัดลอกข้อมูลร่วมกับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้อย่างสะดวก อย่างไรก็ตามในการใช้งานจริง การเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับตัวสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ หรือ ios โดยตรงก็ยังคงมีความไม่สะดวก และข้อควรระวังต่างๆ อยู่พอสมควร ซึ่งในบทความนี้ก็ได้รวบรวมมาแนะนำบอกกล่าวให้ผู้ใช้งานหลายคนที่สนใจมองหาแฟลชไดร์ฟ USB-C มาใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตได้ทราบกัน

พอร์ตเชื่อมต่อของสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตอาจชำรุด เสียหายได้ ข้อควรระวังประการแรกที่ผู้ใช้งานแฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตพึงระวังก็คือ พอร์ตเชื่อมต่อ ซึ่งเป็นพอร์ตเดียวกับพอร์ตชาร์จแบตเตอรี่อาจชำรุดเสียหายได้ หากเป็นการเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับตูดอุปกรณ์โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสมาร์ทโฟน เพราะโดยทั่วไปแล้วการจับใช้งานสมาร์ทโฟนที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่คุ้นเคยจะเป็นลักษณะของการจับถือใช้งานในแนวตั้ง และเมื่อทำการเสียบแฟลชไดร์ฟเข้าไปที่พอร์ต USB-C(Input) ของตัวสมาร์ทโฟนก็ย่อมทำให้ตัวแฟลชไดร์ฟยื่นออกมาเป็นส่วนเกินจากตัวสมาร์ทโฟน ซึ่งหากไม่ระมัดระวังให้ดีก็อาจทำให้มือพลาดปัดไปโดนตัวแฟลชไดร์ฟ หรือสัมผัสวัตถุใดๆ โดยไปตั้งใจและทำให้พอร์ตชาร์จของตัวสมาร์ทโฟนเสียหายได้ ดังนั้นแม้ว่าแฟลชไดร์ฟที่เราเลือกซื้อเลือกหามาใช้งานจะสามารถเสียบเชื่อมต่อเข้ากับตูดสมาร์ทโฟนได้ทันที แต่การเลือกหาสาย USB-C to USB-C มาต่อพ่วงเพิ่มก็จะช่วงให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและเป็นการถนอมพอร์ตเชื่อมต่อของสมาร์ทโฟนได้ดีกว่า

มีซอฟต์แวร์จัดการไฟล์อย่างไม่เป็นทางการเปิดให้ดาวน์โหลดอยู่เยอะ อีกหนึ่งข้อควรระวังที่สำคัญ ซึ่งเสี่ยงทำให้การใช้งานแฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตของผู้ใช้งานหลายคนไม่ปลอดภัย โดยอาจถูกเข้าถึงและเก็บไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนเครื่องโดยบุคคลภายนอก และอาจได้รับซอฟต์แวร์ที่รบกวนประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ติดมาโดยไม่รู้ตัวก็คือ ซอฟต์แวร์จัดการไฟล์อย่างไม่เป็นทางการที่มีเปิดให้ดาวน์โหลดอยู่มากมายทั้งบนระบบแอนดรอยด์ และ IOS ทั้งนี้อย่างที่ทราบกันว่าการใช้งานแฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตยังมีข้อจำกัดเรื่องของประสิทธิภาพการเข้าถึง จัดระเบียบไฟล์ต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยซอฟต์แวร์จัดการไฟล์เข้ามาช่วยให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก มี UI ที่สวยงาม ดูสบายตามากขึ้น ซึ่งนั่นก็ทำให้แบรนด์ผู้ผลิตแฟลชไดร์ฟหลาย ๆ แบรนด์ได้ทำการออกซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการของตัวเองมาให้ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดไว้ใช้งานคู่กับแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลของตัวเอง แต่ขณะเดียวกันก็มีการปล่อยซอฟต์แวร์จัดการไฟล์อย่างไม่เป็นทางการออกมาจากผู้พัฒนาทั่วไปให้ผู้ใช้งานได้เลือกดาวน์โหลดมาใช้งานเช่นกัน ซึ่งการเลือกใช้งานซอฟต์แวร์จัดการไฟล์อย่างไม่เป็นทางการเหล่านี้เป็นเรื่องยากที่จะคัดกรองซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัย และไม่ปลอดภัย แม้ว่าบางซอฟต์แวร์จะได้รับคะแนนรีวิวสูงก็ตาม ในการเลือกดาวน์โหลดมาใช้งานจึงควรระมัดระวังเลือกใช้เฉพาะซอฟต์แวร์อย่างเป็นทางการของแบรนด์นั้นๆ เท่านั้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะตามมา ทั้งการถูกเข้าถึงข้อมูลสำคัญต่างๆ โดยบุคคลภายนอก และการได้รับชุดคำสั่งแฝงต่างๆ ที่ไม่ได้มีประโยชน์ต่อการจัดการไฟล์ใดๆ ตามคำอธิบายที่ผู้พัฒนากล่าวอ้าง ซึ่งเป็นการรบกวนประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ และสุดท้ายนี้หากกำลังต้องการแฟลชไดร์ฟสักอันไว้ใช้ เราจึงแนะนำเป็นแบบ Gift Set  Usbเพื่อความคุ้มค่า

 

เปรียบเทียบข้อจำกัด แฟลชไดร์ฟ และ SSD ใช้ทำอะไรได้-ไม่ได้บ้าง ทำไม SSD จึงมีราคาสูงกว่า ?

หากจะพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ สำหรับใช้งานบนแพลตฟอร์มไอที เช่น คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปในปัจจุบันก็แน่นอนว่าหลายคนย่อมนึกถึง SSD หรือ Solid State Drive ซึ่งสามารถใช้งานเป็นได้ทั้งตัวจัดเก็บข้อมูลภายใน และตัวจัดเก็บข้อมูลภายนอก หรือ External Hard Drive โดย SSD...

หากจะพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ สำหรับใช้งานบนแพลตฟอร์มไอที เช่น คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปในปัจจุบันก็แน่นอนว่าหลายคนย่อมนึกถึง SSD หรือ Solid State Drive ซึ่งสามารถใช้งานเป็นได้ทั้งตัวจัดเก็บข้อมูลภายใน และตัวจัดเก็บข้อมูลภายนอก หรือ External Hard Drive โดย SSD นั้นถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานแทนที่ หรือใช้ร่วมกับ HardDisk เพื่อประสิทธิภาพในการรันการทำงานของอุปกรณ์ได้รวดเร็วขึ้น ทั้งการเปิดโปรแกรม การอ่าน เขียนไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ อย่างไรก็ตามนอกจาก SSD แล้ว ก็แน่นอนเช่นกันว่ายังมีอีกหนึ่งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ผู้ใช้งานหลายคนคุ้นเคยกันดี และถูกใช้งานเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ประจำวันของหลายคนมานานหลายปีแล้ว ซึ่งก็คือแฟลชไดร์ฟ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพาที่ใช้เทคโนโลยีชุดคำสั่งแบบดิจิทัลเช่นกันกับ SSD นั่นเอง ซึ่งแฟลชไดร์ฟนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น WOODEN USB METAL USB แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ก็ตามที่ทุกคนทราบกันดีว่าแฟลชไดร์ฟมักจะถูกมองว่าเป็นแก็ดเจ็ตขนาดเล็ก และมีราคาจำหน่ายที่ถูกกว่า External SSD อยู่พอสมควร แม้ว่าการใช้งานจริงในหลาย ๆ บริบทจะสามารถทดแทนกันก็ได้ และมีความเร็วในการอ่าน เขียนข้อมูลใกล้เคียงกันก็ตาม ในบทความนี้จึงจะมาเปรียบเทียบข้อจำกัดให้ได้เห็นกันชัด ๆ ว่า แฟลชไดร์ฟ และ External SSD ทำอะไรได้-ไม่ได้บ้าง ทำไม SSD จึงมีราคาสูงกว่า
ใช้ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดว์ได้เหมือนกัน เริ่มกันที่ความสามารถที่ทำได้เหมือนกัน สามารถใช้งานทดแทนกันได้ทั้ง แฟลชไดร์ฟ และ External SSD ก็คือการใช้เป็นตัวบู๊ตเพื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดว์เวอร์ชั่นต่าง ๆ ให้กับอุปกรณ์ หรือ คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปเครื่องใด ๆ ได้นั่นเอง โดยเราสามารถดาวน์โหลดวินโดว์มาบันทึกไว้ในแฟลชไดร์ฟ หรือ External SSD ที่มีพื้นที่จัดเก็บเพียงพอ(มากกว่า 4 Gb ขึ้นไป) เพื่อนำไปใช้ติดตั้งให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ โดยการเลือกวิธีบู๊ตจาก USB ดังนั้นสรุปข้อเปรียบเทียบแรก ซึ่งก็คือการใช้เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับ SetUp ระบบปฏิบัติการวินโดว์ได้ว่าไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งแฟลชไดร์ฟราคาหลักร้อย หรือ External SSD ราคาหลักพันก็สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน
แฟลชไดร์ฟไม่สามารถติดตั้งโปรแกรม แอปพลิเคชั่นได้ มาที่ข้อจำกัดที่อาจจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ราคาของ External SSD นั้นสูงกว่าแฟลชไดร์ฟ ซึ่งก็คือข้อจำกัดเรื่องของการติดตั้งโปรแกรม แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟนั้นไม่สามารถทำได้ ขณะที่ External SSD สามารถทำการติดตั้งโปรแกรม แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อความบันเทิง เช่น เกม Streaming ต่างๆ หรือการทำงาน โปรแกรมเอกสาร กราฟฟิกใด ๆ ลงไปและนำไปเปิดใช้งานบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ
External SSD ไม่รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ข้อเปรียบเทียบที่ดูจะเป็นข้อได้เปรียบของแฟลชไดร์ฟก็คือ ในส่วนของการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตหลาย ๆ แบรนด์มีการพัฒนาพอร์ตการเชื่อมแก็ดเจ็ตของตัวเองให้รองรับการใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้พอร์ตแบบ USB-C ที่ทำให้สามารถเสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับตัวสมาร์ทโฟนได้ทันที โดยไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการโอนถ่ายข้อมูล ขณะที่ External SSD ปัจจุบันยังไม่รองรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ขนาดเล็กในตัวเอง โดยอาจต้องอาศัยสายต่อพ่วงต่าง ๆ ในการช่วยแปลงพอร์ต หากต้องการเชื่อมต่อเพื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ขนาดเล็ก ดังนั้นสรุปข้อจำกัดระหว่างแฟลชไดร์ฟ และ External SSD ได้ว่า External SSD สามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป โน๊ตบุ๊คได้อย่างยืดหยุ่นกว่า ทั้งการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล การติดตั้งโปรแกรม แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ขณะที่แฟลชไดร์ฟสามารถใช้งานในรูปแบบอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกได้หลากหลาย และพกพาไว้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ขนาดเล็กได้สะดวกกว่าอย่างเช่น GARD USB

ข้อจำกัดในการใช้แฟลชไดร์ฟเก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟถือได้ว่ามียืดหยุ่นกว่าในช่วงหลายปีก่อนพอสมควร เนื่องจากบรรดาแบรนด์ผู้ผลิตแต่ละเจ้าต่างก็มีการพัฒนาทั้งในเรื่องของขนาดความจุ ประสิทธิภาพในการใช้งาน และพอร์ตเชื่อมต่อให้สอดรับกับเทคโนโลยี...

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟถือได้ว่ามียืดหยุ่นกว่าในช่วงหลายปีก่อนพอสมควร เนื่องจากบรรดาแบรนด์ผู้ผลิตแต่ละเจ้าต่างก็มีการพัฒนาทั้งในเรื่องของขนาดความจุ ประสิทธิภาพในการใช้งาน และพอร์ตเชื่อมต่อให้สอดรับกับเทคโนโลยี และสเปคอุปกรณ์ไอทีเจเนอเรชั่นใหม่ๆ มากขึ้น มีหลากหลายรูปแบบ เช่น Wooden Usb Leather Usb และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อ ซึ่งแต่เดิมการใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้จะผูกติดอยู่กับพอร์ต USB-A มาตลอด เป็นเวลานานเกินกว่าทศวรรษแล้ว แต่ปัจจุบันหลังจากที่อุปกรณ์ไอที เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตรุ่นใหม่ๆจากแบรนด์ผู้ผลิตเจ้าดังต่างๆ ได้มีการปรับเปลี่ยนไปใช้พอร์ตเชื่อมต่อเจนฯใหม่ ซึ่งก็คือ USB-C ที่ดูเหมือนจะกลายเป็นพอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานใหม่ที่เข้ามาทลายข้อจำกัดในการโอนถ่ายข้อมูลข้ามแพลตฟอร์ม บรรดาผู้ผลิตแก็ดเจ็ตเจ้าต่างๆ ก็ได้มีการพัฒนาแฟลชไดร์ฟพอร์ต USB-C ออกมาวางจำหน่ายตามเช่นกัน ซึ่งก็ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนมองว่าแฟลชไดร์ฟ USB-C นั้นเป็นหนึ่งในตัวเลือกการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้งานบนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ที่มีขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายในที่จำกัด เช่น อุปกรณ์ที่มีพื้นที่ต่ำกว่า 100 Gb ลงไป ซึ่งเป็นขนาดความจุที่น้อยเกินกว่าจะรองรับไลฟ์ไตล์ดิจิทัลของผู้ใช้งานในปัจจุบันได้ อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง การใช้งานแฟลชไดร์ฟเพื่อจัดเก็บข้อมูลต่างๆ บนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตนั้นถือว่ายังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่อาจทำให้ไม่สามารถทดแทนขนาดพื้นที่ความจำภายในของอุปกรณ์นั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ผู้ใช้งานหลายคนคาดหวังไว้ แม้ว่าการมาของพอร์ต USB-C จะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อตัวแก็ดเจ็ตเข้ากับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตได้โดยตรงจริงก็ตาม ซึ่งในบทความนี้เองก็ได้นำเอาข้อจำกัดต่างๆ ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟเพื่อจัดเก็บข้อมูลร่วมกับอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตมาบอกกล่าวให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจกันอย่างถูกต้องว่ามีส่วนไหนบ้างที่เราอาจจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และได้รับความสะดวกตามที่เราคาดหวังไว้

ไม่สามารถจัดเก็บแอปพลิเคชั่น หรือซอฟท์แวร์ที่มีชุดคำสั่งเพื่อรันการทำงานได้ ข้อจำกัดสำคัญประการแรกในการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับจัดเก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตก็คือ การที่ไม่สามารถติดตั้งแอปพลิเคชั่น หรือซอฟท์แวร์ใดๆ ลงบนไดร์ฟได้นั่นเอง โดยมีเพียงไฟล์ดิจิทัลที่ไม่มีชุดคำสั่งสำหรับรันการทำงานใดๆ เช่น ไฟล์รูปภาพ วิตรงนั่นดีโอ คลิปเสียง ไฟล์เอกสารต่างๆ เท่านั้น ที่เราสามารถโอนย้ายจากพื้นที่จัดเก็บบนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตมาไว้บนไดร์ฟของแฟลชไดร์ฟได้ กล่าวสรุปได้ว่าเราไม่สามารถใช้แฟลชไดร์ฟแก้ปัญหาหน่วยความจำภายในอุปกรณ์เต็มจากการติดตั้งแอปพลิเคชั่นจำนวนมากได้นั่นเอง

มีความเสี่ยงที่ข้อมูลอาจสูญหาย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัญหายอดฮิตอย่างหนึ่งในการใช้งานแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟก็คือ ปัญหาข้อมูลสูญหายจากอาการเสีย หรือชำรุดของตัวแก็ดเจ็ตนั่นเอง ซึ่งสาเหตุนั้นก็มีหลากหลาย เช่น ติดไวรัส ฮาร์ดแวร์เสื่อมคุณภาพ การใช้งานที่ผิดวิธี เป็นต้น ดังนั้นการใช้งานแฟลชไดร์ฟเพื่อสำรองข้อมูลจากสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการสำรองข้อมูลเพื่อเคลียร์พื้นที่ความจำภายในอุปกรณ์(เมื่อคัดลอกข้อมูลมายังแฟลชไดร์ฟแล้วทำการลบข้อมูลบนอุปกรณ์ออกไปนั้น) จึงค่อนข้างเสี่ยงที่ข้อมูลจะสูญหายไปแบบถาวร

สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตส่วนใหญ่ยังไม่รองรับคำสั่งอ่าน เขียนข้อมูลจากแฟลชไดร์ฟ อีกหนึ่งข้อจำกัดที่อาจทำให้ผู้ใช้งานหลายคนรู้สึกว่าการใช้งานแฟลชไดร์ฟเพื่อจัดเก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟน แฟลชไดร์ฟนั้นไม่สะดวกเท่าที่ควรก็คือ การที่สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตหลายรุ่นจากแบรนด์ผู้ผลิตเจ้าดังต่างๆ ยังไม่รองรับคำสั่งอ่าน เขียนข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟได้โดยตรงนั้นเอง แม้ว่าเราจะสามารถเสียบเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้าที่ตัวสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตได้โดยตรงด้วยพอร์ต USB-C ก็ตาม โดยยังจำเป็นต้องมีการลงซอฟท์แวร์เสริมเพื่อช่วยในการอ่าน เขียนข้อมูลบนไดร์ฟนั้นๆ  หากกำลังหาแฟลชไดร์ฟซักอันเป็นของขวัญให้ใครซักอันเราอยากจะแนะนำเป็น Gift Set รับรองว่าผู้รับจะต้องประทับใจแน่นอน

ผลงาน ผลิตแฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ Mastercam

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













การใช้งานแฟลชไดร์ฟ ปลอดภัยแค่ไหน

เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยใช้งานอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟกันอย่างแน่นอน ซึ่งสิ่งนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูล การโอนย้ายหรือถ่ายข้อมูล หรือแม้แต่การใช้เก็บไฟล์เอกสารหรือไฟล์งานสำหรับการนำเสนองานทั้งในระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ในการทำงานก็ตาม...

เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยใช้งานอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟกันอย่างแน่นอน ซึ่งสิ่งนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูล การโอนย้ายหรือถ่ายข้อมูล หรือแม้แต่การใช้เก็บไฟล์เอกสารหรือไฟล์งานสำหรับการนำเสนองานทั้งในระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ในการทำงานก็ตาม และยังมีหลากหลายรูปแบบมากมายเช่น  METAL USB  TWISTER USB  แฟลชไดร์ฟนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถพกพาได้อย่างสะดวกสบาย นอกจากนี้ในยุคสมัยปัจจุบันยังถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากมายเลยทีเดียว

แต่ส่วนมากสำหรับคนที่ใช้งานอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ น่าจะเป็นการใช้เก็บข้อมูลที่มีความสำคัญต่างๆ เอาไว้ข้างใน หลาย ๆ แฟลชไดร์ฟอย่างเช่น CARD USB WOODEN USB คำถามก็คือ อุปกรณ์แฟลชไดร์ฟของเรานี้มีความปลอดภัยจริงหรือไม่ มีโอกาสที่จะโดนล้วงหรือขโมยข้อมูลหรือไม่ ในวันนี้เราจะมาให้คำตอบทุกคนเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยของแฟลชไดร์ฟ ว่าแท้จริงแล้วมันมีความปลอดภัยหรือไม่ หรือแม้แต่มีความปลอดภัยมากน้อยเท่าไหร่

แฟลชไดร์ฟนั้นปลอดภัยหรือไม่

หากเราจะถามว่าการใช้งานอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟของเรามีความปลอดภัยหรือไม่ เราก็จะขอตอบอย่างง่ายที่สุดเลยคือมันค่อนข้างมีความปลอดภัย หรือระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีโอกาสที่อุปกรณ์ของเราจะถูกแฮ็กได้ด้วยเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีการป้องกันหรือสามารถรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ของเราได้หลากหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้รหัสผ่านเวลาเปิด ซึ่งอันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอุปกรณ์แต่ละตัว วิธีนี้เราไม่จำเป็นต้องกังวลว่าใครจะหยิบเอาอุปกรณ์ของเราไปดูข้อมูลใดเลย เพราะระบบจะขึ้นให้ใส่รหัสผ่านเพื่อทำการปลดล็อคข้อมูล แน่นอนว่าหลักการตั้งรหัสผ่านก็ควรจะมีความซับซ้อนในระดับหนึ่ง

แฟลชไดร์ฟติดไวรัส

นี่ก็เป็นอีกปัญหาสำหรับผู้ใช้งาน อุปกรณ์ที่ถูกแฮ็กส่วนใหญ่นั้น จะเกิดจากการที่ติดไวรัสมา ซึ่งนั่นก็ได้มาจากการดาวน์โหลดข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ตั้งแต่ไฟล์เอกสารเล็กๆ ไปจนถึงคลิปวีดีโอหรือไฟล์ที่เป็นเกมขนาดใหญ่ ที่มาจากแหล่งข้อมูลที่ไม่ได้น่าเชื่อถือมากนัก ทำให้อาจจะมีไวรัสแพร่กระจายเข้าไปในอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราในที่สุดโดยที่เราไม่รู้ตัว ตรงนี้เองเป็นช่องว่างให้บรรดาผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้งาน วิธีแก้ไขก็ง่ายนิดเดียว เราอาจจะทำการสแกนไวรัสไฟล์ต่างๆ ก่อนที่เราจะนำมาเก็บไว้ในอุปกรณ์ของเรา หรือไม่ก็ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลที่เราดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตนั้น มาจากเว็บไซต์ที่เราสามารถเชื่อถือได้

ปัญหาที่มักพบเจอบ่อย

และก็มีอีกปัญหาหนึ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าจะพบเจอบ่อย สำหรับผู้ใช้งานอุปกรณ์หลายคน คือการทำอุปกรณ์นี้หาย เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วส่วนมากมักจะทำออกมาให้มีขนาดเล็กพกพาได้ง่าย นั่นจึงมีโอกาสที่จะตกระหว่างที่เราเดินทาง หรือลืมเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นทิ้งไว้ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่เราไม่ควรจะมองข้ามเด็ดขาด โดยเฉพาะหากเราเก็บข้อมูลสำคัญไว้ในอุปกรณ์ มีโอกาสที่เราจะโดนขโมยข้อมูลอันมีค่า ดังนั้นตรงนี้จำเป็นต้องระวังให้มากๆ

การป้องกันข้อมูลของเราให้ดีที่สุด

แน่นอนว่ามีหลักการปฏิบัติในการป้องกันข้อมูลของเราได้บ้าง ซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่แนะนำให้ทำเพราะมันจะสามารถป้องกันข้อมูลของเราได้ในระดับที่ดีเลยทีเดียว อย่างแรกคืออย่าทำการแชร์อุปกรณ์ร่วมกับคนอื่น หรือนำไปเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ไม่จำเป็น เพราะมีโอกาสจะทำให้อุปกรณ์ของเราติดไวรัสได้ การตั้งรหัสผ่านก็สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน ทำให้ข้อมูลของเรามีความปลอดภัย มีซอฟต์แวร์ต่างๆมากมายที่ช่วยในการตั้งรหัสผ่านอุปกรณ์ของเราได้ การ Backup ข้อมูลหรือสำรองข้อมูลไว้ทุกครั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ก็สามารถป้องกันในกรณีที่ข้อมูลสูญหายได้ และสุดท้ายคือการสแกนไวรัส จะช่วยให้การใช้งานของเราปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น

แฟลชไดร์ฟ กับฮาร์ดไดร์ฟแตกต่างกันอย่างไร ใช้ทดแทนกันได้หรือไม่ ?

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่างๆ สำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป รวมถึงแท็บเล็ต แน่นอนว่าผู้ใช้งานทั่วไปมักคุ้นเคยกับชื่อเรียกของอุปกรณ์อย่างแฟลชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์...

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่างๆ สำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป รวมถึงแท็บเล็ต แน่นอนว่าผู้ใช้งานทั่วไปมักคุ้นเคยกับชื่อเรียกของอุปกรณ์อย่างแฟลชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นตัวจัดเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้งานกันตั้งแต่ในยุคเริ่มแรกที่มีการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับบุคคลและองค์กรเอกชนทั่วไป ว่ากันง่ายๆก็คือ หากพูดถึงอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ หลายคนก็เข้าใจว่าหมายถึงฮาร์ดดิสก์ และเมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ต่อจากภายนอก เพื่อการโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะเข้าใจว่าหมายถึงแฟลชไดร์ฟนั่นเอง ในปัจจุบันนี้แฟลชไดร์ฟนั้นมีหลากหลายรูปแบบมาก อย่างเช่น wooden usb classic usb และอื่น ๆ อีกมากมายอย่างไรก็ตามนอกเหนือจากชื่อเรียกอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทั้งสองชื่อดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้งานบางคนก็อาจจะเคยได้ยินชื่อเรียกอื่นๆอีกบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลเฉพาะด้านในแวดวงไอทีที่อาจจะได้ยินได้ฟังจากร้านค้าผู้จำหน่ายอุปกรณ์ไอที หรือช่างเทคนิคที่ทำการซ่อมอาการเสียต่างๆ ของอุปกรณ์ เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ ทรัมไดร์ฟ เป็นต้น โดยเฉพาะกับชื่อ ฮาร์ดไดร์ฟ ซึ่งผู้ใช้งานหลายคนอาจสงสัยว่ามันมีความเหมือน หรือแตกต่างจากแฟลชไดร์ฟ และฮาร์ดดิสก์หรือไม่ ในบทความนี้จึงจะมาไขข้อข้องใจให้ได้ทราบกันว่าแท้จริงแล้ว ฮาร์ดไดร์ฟ คือชื่อเรียกของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบไหน และเหมือนกับแฟลชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ ที่เราคุ้นเคยกันหรือไม่
ฮาร์ดไดร์ฟหมายถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบจานหมุน ถ้ายึดเอาตามความหมายดั้งเดิมก็ต้องบอกว่าฮาร์ดไดร์ฟคือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่งที่อาศัยเทคโนโลยีจานหมุนแม่เหล็กในการขับเคลื่อนการทำงาน ซึ่งก็คือคล้ายคลึงกับฮาร์ดดิสก์นั่นเอง หรือถ้าจะเรียกให้ถูกยิ่งขึ้นก็ต้องบอกว่าเป็นส่วนประกอบของกันและกัน เพราะตัวดิสก์นั้นหมายถึง แผ่นที่ถูกบันทึกจัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ ลงไป แต่ตัวแผ่นนั้นไม่สามารถรันการทำงานด้วยตัวเองได้ จึงต้องอาศัยการขับเคลื่อนโดยฮาร์ดไดร์ฟ เพื่อเรียกดู แก้ไข หรือเขียน ลบข้อมูลต่างๆ ดังนั้นในทางเทคนิคแวดวงไอทีเราจึงจะได้ยินทั้งคำว่าฮาร์ดไดร์ฟ ที่หมายถึงตัวจานหมุนแม่เหล็ก และฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ที่หมายถึงทั้งตัวจานหมุนแม่เหล็กและแผ่นดิสก์ที่จัดเก็บข้อมูลไว้ด้วยนั่นเอง สรุปเบื้องต้นได้ฮาร์ดไดร์ฟเป็นส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์สำหรับใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายในอุปกรณ์ ซึ่งแตกต่างจากแฟลชไดร์ฟที่เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก
ฮาร์ดไดร์ฟที่เป็นไดร์ฟสำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบต่างๆ แม้ว่าตามความหมายดั้งเดิมจะค่อนข้างมีความชัดเจนดังกล่าวข้างต้นว่า ฮาร์ดไดร์ฟนั้นเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายใน ซึ่งแตกต่างจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ แต่ทว่าในบริบทของยุคสมัยที่เปลี่ยนไปก็ทำให้ชื่อเรียกอุปกรณ์ดังกล่าวถูกใช้ในความหมายที่แตกต่างไปจากเดิมด้วย โดยในแวดวงไอที และกลุ่มผู้ใช้งานในบางประเทศใช้ชื่อเรียกฮาร์ดไดร์ฟแทนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบต่างๆ โดยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การใช้เรียกอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบจานหมุนแม่เหล็กเท่านั้น ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบ SSD หรือ External SSD, External HardDisk ก็ถูกเรียกรวมๆ ว่าฮาร์ดไดร์ฟ กล่าวสรุปได้ว่าในบริบทสมัยใหม่ ฮาร์ดไดร์ฟมักถูกใช้เรียกอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากแฟลชไดร์ฟ และสามารถใช้งานเป็นได้ทั้งไดร์ฟภายในและภายนอก โดยสังเกตได้จากการตั้งชื่อสินค้ากลุ่มอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของร้านค้า แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือเว็บไซต์ขายสินค้าต่างประเทศที่บ่อยครั้งอาจใช้ชื่อ External Hard Drive กับสินค้าประเภท SSD หรือ External HardDisk ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบประโยชน์การใช้งานที่ผู้ใช้งานบางคนสงสัยก็ต้องบอกว่าฮาร์ดไดร์ฟ กับแฟลชไดร์ฟนั้นแตกต่างกันชัดเจน และไม่สามารถใช้งานทดแทนกันได้ เพราะแฟลชไดร์ฟนั้นหมายถึงแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่เราคุ้นเคยกับการใช้งานพกพาไว้สำหรับคัดลอก โอนย้ายข้อมูลบนอุปกรณ์ต่างๆ ขณะที่ฮาร์ดไดร์ฟนั้นหมายถึงอุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกข้อมูลที่สามารถใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลักบนคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปได้ด้วย หากกำลังต้องการแฟลชไดร์ฟสักอันในการทำงานเราขอแนะนำเป็นแบบ gift set usb คุ้มค่ามาก ๆ