ผลงาน ผลิตแฟลชไดร์ฟ โลโก้ ASUS

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ APEC

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













เลือกแฟลชไดร์ฟที่เหมาะสมกับเรา เลือกอย่างไร

ถึงแม้จะในปัจจุบันก็ตาม ในยุคที่เราใช้เทคโนโลยีในการเก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ มากมายหลากหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บไว้ในระบบ Cloud บนคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต หรือจะเก็บในรูปแบบของฮาร์ดดิสก์แบบพกพา ก็มีให้คุณเลือกด้วยกันมากมายหลากหลาย...

ถึงแม้จะในปัจจุบันก็ตาม ในยุคที่เราใช้เทคโนโลยีในการเก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ มากมายหลากหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บไว้ในระบบ Cloud บนคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต หรือจะเก็บในรูปแบบของฮาร์ดดิสก์แบบพกพา ก็มีให้คุณเลือกด้วยกันมากมายหลากหลาย แต่ก็มีอยู่อุปกรณ์หนึ่งที่ในอดีตได้รับความนิยม และจนถึงปัจจุบันก็ยังมีคนใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก นั่นก็คืออุปกรณ์อย่างแฟลชไดร์ฟ

แฟลชไดร์ฟ นับว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับการเก็บรักษาข้อมูล ที่นำมาใช้งานได้หลากหลายระดับเป็นอย่างมาก เราซื้อแฟลชไดร์ฟมาใช้งานส่วนตัวอย่าง GARD USB หรือสำหรับองค์กรหรือบริษัทใหญ่ๆ แฟลชไดร์ฟยังถูกนำมาทำเป็นของพรีเมี่ยมอีกด้วยและยังมีหลากหลายแบบทั้ง WOODEN USB TWISTER USB ซึ่งก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ยอดนิยมสำหรับการทำของพรีเมี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว แต่สำหรับการใช้ส่วนตัว เราจะเลือกอุปกรณ์สำคัญชิ้นนี้อย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา

และในวันนี้เอง เราจะพาคุณมาเลือกแฟลชไดร์ฟกัน ซึ่งเป็นแบบที่เหมาะสมสำหรับตัวคุณ เลือกแบบไหนจะเหมาะสมแก่การใช้งานของเรามากที่สุด ทำให้เราใช้งานได้อย่างสบายใจและยาวนาน กับคุณภาพมากที่สุดเทียบเท่าที่จะทำได้

ถามความต้องการของเราก่อน

แน่นอนว่า ทุกคนนั้นมีความต้องการในการใช้งานอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟที่แตกต่างกัน บางคนนำอุปกรณ์ชิ้นนี้ไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว เพียงเพื่อใช้สำหรับการเก็บไฟล์เอกสารต่าง ๆ หรือไฟล์ที่มีขนาดเล็กเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่บางคนถึงขั้นเอาไปเก็บวิดีโอขนาดใหญ่ หรือที่เป็นเพลงคุณภาพสูง บางคนอาจนำไปเปิดกับ Smart TV หรือเครื่องเสียงติดรถยนต์ เหล่านี้จำเป็นต้องดูในเรื่องของความเร็วในการอ่านข้อมูล และสิ่งอื่นนำมาพิจารณาร่วมด้วย

จากนั้นให้ดูเรื่องของความจุหรือพื้นที่จัดเก็บ

แฟลชไดร์ฟนั้นถูกพัฒนาให้มีความจุหรือพื้นที่จัดเก็บมากมายหลากหลายด้วยกัน ในปัจจุบันความจุขั้นต่ำของอุปกรณ์ชนิดนี้จะอยู่ที่ประมาณ 16 GB ไปจนถึงหลัก TB เลยก็มี และแน่นอนว่ามีความจุมากเท่าไหร่ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นไปเท่านั้น สำหรับเรื่องความจุที่เหมาะสม เราจะพิจารณาว่าเราใช้ในการเก็บข้อมูลได้มากน้อยเพียงไหน การใช้งานพื้นฐานของเราเป็นอย่างไร อย่างที่กล่าวไปว่าคุณนำไปเก็บไฟล์เอกสารเพียงแค่นั้น หรือนำไปเก็บวิดีโอขนาดใหญ่ ไม่ใช่ว่าความจุมากจะดีเสมอไป เพราะอย่าลืมว่าราคายิ่งแพงตามขนาดความจุที่มากขึ้นไปด้วย

อย่าลืมดูเรื่องของความปลอดภัย

แน่นอนว่าใครก็ไม่อยากให้ข้อมูลที่สำคัญนั้นสูญหายไปได้อย่างง่ายดาย ในปัจจุบันนั้นแฟลชไดร์ฟหลาย ๆ รุ่นมาพร้อมกับเทคโนโลยีการป้องกันข้อมูลของคุณ ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายรูปแบบ ทั้งการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมไปถึงอาจจะมีการเข้ารหัสได้ด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลของเราไม่ให้สูญหายหรือเกิดความเสียหาย นอกจากนี้เรื่องของซอฟต์แวร์ที่สำคัญ เรื่องของวัสดุภายนอกก็สำคัญด้วยเช่นเดียวกัน หากไม่อยากให้ข้อมูลเสียหาย อาจจะเลือกที่ทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน เพื่อที่ตกหล่นแล้วจะได้ไม่แตก

พอร์ตการเชื่อมต่อ

ในปัจจุบันนั้น แฟลชไดร์ฟ ได้มีการใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น USB 2.0, USB 3.0 หรือ USB 3.1 ก็ตาม ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐาน มาตรฐานการเชื่อมต่อเหล่านี้มีความแตกต่างกันในเรื่องของความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล แน่นอนว่าราคาก็สูงขึ้นไปด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นหากเราต้องการนำไปใช้งานกับไฟล์ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก อาจจะไม่จำเป็นต้องอ่านข้อมูลรวดเร็วขนาดนั้น อาจจะเลือกใช้เป็นแบบ USB 2.0 ได้เนื่องจากไฟล์ที่มีขนาดเล็กนั้นอาจจะใช้เวลาไม่นาน นอกจากนี้ USB 2.0 ในปัจจุบันยังมีราคาที่ถูกเอามาก ๆ

หรือหากจะนำไปใช้งานกับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ การเลือกแบบ USB 3.0 หรือ USB 3.1 ไปเลย ก็ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากกว่า

วิธีป้องกัน และกำจัดไวรัสในแฟลชไดร์ฟ

ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ เพื่อคัดลอก โอนย้ายไฟล์ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ หลายคนคงพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัญหาหนึ่งที่รบกวนประสิทธิภาพการทำงานของแก็ดเจ็ตตัวนี้จนอาจถึงขั้นทำให้ไฟล์ข้อมูลได้รับความเสียหายก็คือ ไวรัส...

ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ ซึ่งมีหลากหลายแฟลชไดร์ฟเช่น METAL USB  CARD USB เพื่อคัดลอก โอนย้ายไฟล์ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ อย่าง   WOODDLE USB  หรืออื่น ๆ หลายคนคงพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัญหาหนึ่งที่รบกวนประสิทธิภาพการทำงานของแก็ดเจ็ตตัวนี้จนอาจถึงขั้นทำให้ไฟล์ข้อมูลได้รับความเสียหายก็คือ ไวรัส หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ที่แฝงตัวเข้ามาอยู่ในไดร์ฟระหว่างที่เราทำการเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุปกรณ์นั้นๆ มีการเปิดใช้งานสัญญาณอินเทอร์เน็ตอยู่ การเข้าชมเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดข้อมูลจากระบบออนไลน์ต่างๆ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่ไวรัสประเภทต่างๆ จะหลุดรอดเข้ามาแฝงตัวอยู่ในไดร์ฟและรบกวนการเรียกดูไฟล์ต่างๆที่เราบันทึกไว้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้ใช้งานหลายคนจะทราบถึงปัญหาดังกล่าวดี และก็มีกรณีตัวอย่างที่แฟลชไดร์ฟ หรือทรัมไดร์ฟเสียหายจนไม่สามารถใช้งานต่อได้ เนื่องจากติดไวรัสให้ได้เห็นกันเรื่อยๆ แต่ในการใช้งานจริงก็ยังมีผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อยที่หลงลืมที่จะป้องกัน และกำจัดไวรัสที่แฝงตัวอยู่บนแฟลชไดร์ฟอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งรีบ ในบทความนี้จึงได้นำเอาวิธีป้องกันและกำจัดไวรัสในแฟลชไดร์ฟ ซึ่งจะช่วยให้เราใช้งานแก็ดเจ็ตตัวนี้ได้อย่างปลอดภัย และถนอมอายุการใช้งานไว้ได้นานขึ้นมาแนะนำบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน
ตรวจสอบหน้าต่างแจ้งเตือนระบบป้องกันของอุปกรณ์ก่อนเปิดไดร์ฟ โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือโน๊ตบุ๊คที่หลายคนใช้งานกันอยู่นั้นจะมีระบบป้องกันไฟล์ไม่พึงประสงค์จากไดร์ฟภายนอกอยู่แล้ว โดยอาจเป็นฟังก์ชั่นในส่วนของโปรแกรมป้องกันไวรัสที่เราทำการติดตั้งไว้ หรือเป็นฟีเจอร์ที่ติดมากับตัววินโดวส์เวอร์ชั่นที่เราใช้งานอยู่ ซึ่งเมื่อเราทำการเสียบเชื่อมต่อไดร์ฟภายนอกเข้าไป ฟีเจอร์ส่วนนี้ก็จะทำงานตรวจสอบความปลอดภัย และทำการเด้งหน้าต่างแจ้งเตือนคำแนะนำที่เหมาะสมมาให้เรา เช่น คำแนะนำว่าตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตราย คำแนะนำว่าตรวจพบไฟล์ที่อาจเป็นอันตรายและควรหลีกเลี่ยงการเปิดไฟล์ดังกล่าว เป็นต้น ดังนั้นในการเสียบเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับอุปกรณ์ใดๆ ก่อนการคลิกเข้าไปเปิดไดร์ฟ ก็ควรตรวจสอบหน้าต่างคำแนะนำในส่วนนี้ก่อนว่ามีข้อความแจ้งเตือนว่าอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากพบไฟล์อันตราย ระบบก็จะมีฟีเจอร์ให้เลือกลบไฟล์นั้นทิ้งโดยอัตโนมัติ แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ก่อนยืนยันการลบตามคำแนะนำของระบบก็ควรตรวจดูชื่อไฟล์ให้ดีก่อนว่าเป็นไฟล์สำคัญที่เราต้องใช้งานหรือไม่ เพราะบางทีเมื่อตัวไวรัส หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์แฝงติดมากับไฟล์งานใดๆ โปรแกรมก็จะทำการลบทิ้งไปทั้งไฟล์ ซึ่งเท่ากับว่าไฟล์งานนั้นๆของเราก็จะสูญหายไปพร้อมกับไวรัสด้วยนั่นเอง
สแกนไวรัสเฉพาะไดร์ฟ แม้ว่าอุปกรณ์ต่างๆ จะมีระบบความปลอดภัยพื้นฐาน ที่จะทำการสแกนไฟล์ไม่พึงประสงค์จากแฟลชไดร์ฟ หรือไดร์ฟภายนอกที่เราทำการเชื่อมต่อเข้าไปโดยอัตโนมัติดังที่กล่าวในข้อแรกแล้ว แต่การสแกนในส่วนนี้เรียกได้ว่าเป็นการสแกนเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งอาจมีไวรัส ไฟล์ไม่พึงประสงค์ขนาดเล็กอีกมากที่เล็ดลอดจากการตรวจพบ ไฟล์เหล่านี้อาจไม่ได้ทำให้ตัวแฟลชไดร์ฟ หรือไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ ที่เราบันทึกไว้เสียหายในทันที แต่หากฝังตัวอยู่ในไดร์ฟนานๆก็อาจรบกวนประสิทธิภาพการทำงานของแฟลชไดร์ฟได้ ดังนั้นเราจึงควรทำการสแกนไวรัสเฉพาะไดร์ฟเป็นระยะๆด้วย ซึ่งวิธีการก็ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแค่ทำการเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับคอมพิวเตอร์ หรือโน๊ตบุ๊ค จากนั้นคลิกเข้าไปในหน้าแสดงไดร์ฟต่างๆ เลือกไดร์ฟของแฟลชไดร์ฟและคลิกขวา เลือกเมนู Scan For Viruses เท่านี้ระบบก็จะทำการสแกนไวรัสบนไดร์ฟนั้นๆให้เราอย่างละเอียดแล้ว

เปรียบเทียบ SD Card และแฟลชไดร์ฟ ในปี 2023 เลือกใช้อันไหนดีกว่ากัน ?

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์เสริมสำหรับจัดเก็บข้อมูล ไฟล์ดิจิทัลต่างๆ โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์แรกๆที่เรานึกถึงกันก็มักจะเป็นแฟลชไดร์ฟ แก็ดเจ็ตที่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปจากแบรนด์ต่างๆ ผ่านพอร์ต USB ได้อย่างสะดวก ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาพอร์ตเชื่อมต่อ...

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์เสริมสำหรับจัดเก็บข้อมูล ไฟล์ดิจิทัลต่างๆ โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์แรกๆที่เรานึกถึงกันก็มักจะเป็นแฟลชไดร์ฟ มีหลากหลายแบบเช่น WOODEN USB METAL USB แก็ดเจ็ตที่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปจากแบรนด์ต่างๆ ผ่านพอร์ต USB ได้อย่างสะดวก ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาพอร์ตเชื่อมต่อ เพิ่มความยืดหยุ่นในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์มให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกในการโอนถ่ายข้อมูลมากขึ้นผ่านพอร์ต Type อื่นๆ เช่น USB Type C, Lightning แล้วด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามนอกจากแฟลชไดร์ฟแล้ว แก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลชิ้นนึงที่ถือว่าถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งผู้ใช้งานหลายคนก็รู้จักคุ้นเคยดี และได้รับความนิยมใช้งานในช่วงเริ่มแรกสูงเช่นกันก็คือ SD Card ที่ปัจจุบันดูเหมือนจะได้รับความนิยมลดน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังคงเป็นหนึ่งในแก็ดเจ็ตที่มีประโยชน์ในการจัดเก็บข้อมูลร่วมกับอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ในบทความนี้จึงจะมาอัปเดทการเปรียบเทียบระหว่างแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลขนาดเล็กอย่าง SD Card และแฟลชไดร์ฟให้ได้ทราบกันว่าในปี 2023 ประสิทธิภาพการใช้งาน ประโยชน์ ความคุ้มค่า อันไหนมีมากกว่ากัน และเราควรเลือกใช้แบบไหนจึงจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของเราได้มากที่สุด
– แฟลชไดร์ฟเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีการพัฒนาได้แมตช์กับอุปกรณ์ไอทีเจเนอเรชั่นใหม่ๆ มากกว่าและมีหลากหลายแบบเช่น CARD USB  PEN USB มีความยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่า ข้อเปรียบเทียบแรกที่ต้องบอกเป็นข้อดีที่ชัดเจนของแฟลชไดร์ฟก็คือ ความสะดวกในการใช้งานนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือหากต้องการแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลสำรองสักอัน ไว้ใช้โอนถ่ายไฟล์งาน หรือสื่อต่างๆ ระหว่างอุปกรณ์ การเลือกใช้แฟลชไดร์ฟดูจะตอบโจทย์กว่านั่นเอง เพราะทั้งการพัฒนาเวอร์ชั่น USB ที่มีความชัดเจนต่อเนื่องกว่า(ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้นเรื่อยๆ) ขนาด หรือพื้นที่ความจุข้อมูลที่ถูกพัฒนาขยายขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วเช่นกัน และ Type ของพอร์ตเชื่อมต่อที่พัฒนาให้หลากหลายขึ้นจนสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตได้แล้ว ขณะที่ SD Card นั้นแม้ว่าจะมีการพัฒนาเวอร์ชั่นพอร์ตเชื่อมต่อตามกาลเวลาเช่นกัน แต่ก็เห็นได้ชัดว่าความต่อเนื่องนั้นมีไม่มากเท่าแฟลชไดร์ฟ อีกทั้ง Type ของพอร์ตเชื่อมต่อ หรือ Card Reader ก็เป็นอีกหนึ่งข้อจำกัดที่ทำให้ความยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อ SD Card เข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ มีไม่มากเท่ากับแฟลชไดร์ฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแบรนด์ผู้ผลิตแล็ปท็อปบางแบรนด์เริ่มมีการตัดฟังก์ชั่นช่องเสียบ SD Card ออกไปจากแล็ปท็อปรุ่นใหม่ๆ ก็ยิ่งทำให้ความสะดวกในการใช้งานการ์ดเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ลดน้อยถอยลงไปอีก
– SD Card มีประโยชน์ในการใช้งานเป็นพื้นที่ความจำสำหรับอุปกรณ์ใช้งานเฉพาะทาง แม้ว่าแฟลชไดร์ฟจะเป็นแก็ดเจ็ตที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่าดังกล่าวในข้อที่ผ่านมา แต่ก็อย่างที่หลายคนพอจะทราบกันว่าสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของแฟลชไดร์ฟเหมาะสำหรับใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวเพื่อโอนย้าย หรือถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เหมาะสำหรับการเสียบเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใดๆทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานๆ แต่สำหรับ SD Card นั้น ถูกออกแบบมาให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใดๆ เพื่อเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลประจำของอุปกรณ์นั้นๆได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ที่มีประโยชน์การใช้งานเฉพาะทาง เช่น กล้องดิจิทัล กล้อง DSLR หรือกล้อง Mirrorless จากแบรนด์ต่างๆ ซึ่งถือว่ายังมีความจำเป็นต้องใช้งาน SD Card ในการเป็นพื้นที่จัดเก็บไฟล์ภาพ ไฟล์วิดีโอต่างๆ เช่นเดียวกับสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์จากหลายๆแบรนด์ ที่ก็ยังสามารถใช้ Micro SD Card ในการเสียบเชื่อมต่อเข้าไปเพื่อเพิ่มพื้นที่จัดเก็บไฟล์รูปภาพ วิดีโอ หรือเอกสารต่างๆ ได้ ซึ่งจะช่วยให้เหลือพื้นที่ภายในของอุปกรณ์ไว้สำหรับติดตั้งแอปพลิเคชั่นได้มากขึ้น

การตรวจสอบไวรัสเบื้องต้น สำหรับอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ

แฟลชไดร์ฟนั้น นับว่าเป็นอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา ที่สามารถเก็บข้อมูลให้กับผู้ใช้งานได้แทบจะทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ วีดีโอ ไฟล์เสียง หรือรูปแบบอื่นอีกมากมาย ที่ทั้งอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งาน อีกทั้งในปัจจุบันยังค่อนข้างมีความปลอดภัยสูงด้วย...

แฟลชไดร์ฟนั้น นับว่าเป็นอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา ที่สามารถเก็บข้อมูลให้กับผู้ใช้งานได้แทบจะทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ วีดีโอ ไฟล์เสียง หรือรูปแบบอื่นอีกมากมาย ที่ทั้งอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งาน อย่างเช่น  METAL USB อีกทั้งในปัจจุบันยังค่อนข้างมีความปลอดภัยสูงด้วย ถึงแม้ทุกวันนี้จะมีการใช้ระบบคราว แต่อุปกรณ์นี้ก็ยังกลายเป็นอุปกรณ์ยอดนิยมในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่อง หรืออุปกรณ์อื่นด้วยเหมือนกัน การใช้งานมันค่อนข้างมีความสะดวกรวดเร็วและง่ายดาย

นอกจากนี้ประโยชน์ที่เห็นได้อย่างเด่นชัด คือเรายังสามารถพกพาแฟลชไดร์ฟไปไหนมาไหนได้ทุกที่ แล้วมันยังถูกทำออกมาด้วยกันมากมายหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบที่เป็นปากกา PEN USB หรือรูปแบบที่เป็นการ์ด CARD USB วัสดุที่ใช้ในการทำปัจจุบันก็นับว่ามีความแข็งแรงทนทาน และบางรูปแบบยังสูญหายได้ยาก ยกตัวอย่างเช่นแบบที่เป็นพวงกุญแจ หรือแบบที่เป็นการ์ดที่เราสามารถนำใส่กระเป๋าสตางค์ของเราได้เป็นต้น

แต่ปัญหาหนึ่งที่นับว่าเป็นปัญหาที่มาคู่กับการใช้งานอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ นั่นก็คือปัญหาการติดไวรัส ที่หากมันเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเป็นแบบเบาก็อาจก่อกวนหรือสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานได้ แต่ถ้าหากเป็นแบบที่มาก อาจจะมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูลหรือเอกสารที่อยู่ข้างในได้เลยทีเดียว ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีการตรวจสอบ และคุ้มครองข้อมูลของเราให้ปลอดภัยจากไวรัสเหล่านี้ แต่ในการใช้งานอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟของเรา เราจะสามารถตรวจสอบ หรือกำจัดไวรัสเหล่านั้นได้อย่างไร

การใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัส

อย่างแรกที่เราอยากจะแนะนำ สามารถทำได้ง่ายและเป็นวิธีการที่สากลที่สุด คือการใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัส ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาด โปรแกรมเหล่านี้จะตรวจสอบไฟล์ทั้งหมดในแฟลชไดร์ฟของเรา เพื่อทำการค้นหาไวรัสหรือภัยคุกคามอื่นๆ ที่อาจมีอยู่ในไฟล์หรือโฟลเดอร์งานของเรา

ใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่เชื่อถือได้

สำคัญเลยสำหรับผู้ที่ใช้งานโปรแกรมแอนตี้ไวรัสเหล่านี้ คือเราจำเป็นต้องใช้โปรแกรมที่มีความน่าเชื่อถือ วิธีการที่จะทำให้เข้าสู่โปรแกรมอย่างปลอดภัยที่สุด ข้อแนะนำคือเราควรเข้าสู่ระบบปฏิบัติการด้วยบัญชีผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เป็นผู้ดูแลระบบ จากนั้นเราจะทำการเสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ของเรา ต่อมาเราจะเปิดโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่ติดตั้งไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงทำการสแกนแฟลชไดร์ฟ หรือหากใครไม่มั่นใจและอยากให้ปลอดภัยมากขึ้น อาจจะลองทำการสแกนทั้งระบบก็ได้เหมือนกัน เหล่านี้จะตรวจสอบไวรัสและภัยคุกคามอื่นๆ

จากนั้นผู้ใช้เพียงแค่ทำการรอ ระบบนี้อาจใช้เวลาสักระยะ ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนไฟล์ที่อยู่ข้างในของเรา หลังจากที่โปรแกรมสแกนไวรัสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งหมดจะถูกแสดงบนหน้าจอของเรา หากโปรแกรมแอนตี้ไวรัสพบไฟล์ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นไวรัสที่อยู่ในแฟลชไดร์ฟของเรา มันจะทำการกำจัดทิ้ง หรือเราอาจตั้งค่าให้ทำการกำจัดทิ้งด้วยตนเองก็ได้เหมือนกัน

ข้อแนะนำเล็กน้อย

มีข้อแนะนำบางอย่างในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ยกตัวอย่างเช่น เราอย่าลืมที่จะอัพเดทระบบปฏิบัติการของเราให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ อัพเดทโปรแกรมแอนตี้ไวรัสให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากบางจุดอาจจะมีช่องโหว่หรือข้อบกพร่อง การอัพเดทจะเป็นการแก้ไขช่องโหว่และปรับปรุงความปลอดภัยอยู่เสมอ

อย่าโหลดไฟล์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

ไฟล์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือนั้น ทางที่ดีเราไม่ควรที่จะโหลดเข้ามาไว้ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แฟลชไดร์ฟของเราเป็นอันขาด เนื่องจากไฟล์เหล่านี้เสี่ยงต่อการเป็นไวรัส และอาจทำให้แพร่คุกคามได้ในอนาคต แต่หากเราจำเป็นต้องดาวน์โหลดมาใช้งานจริงๆ อาจจะทำการสแกนไฟล์นั้นก่อนที่เราจะเปิดดูก็ได้เหมือนกัน

เปรียบเทียบอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลฮาร์ดดิสก์, SSD และแฟลชไดร์ฟ มีประโยชน์การใช้งาน และข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร ?

เทคโนโลยีจัดเก็บไฟล์ข้อมูลถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาควบคู่กับการใช้งานอุปกรณ์ไอทีอย่างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือโน๊ตบุ๊คที่หลายคนคุ้นเคยกันดี...

เทคโนโลยีจัดเก็บไฟล์ข้อมูลถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาควบคู่กับการใช้งานอุปกรณ์ไอทีอย่างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือโน๊ตบุ๊คที่หลายคนคุ้นเคยกันดี เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือความบันเทิงเลยก็ว่าได้ โดยเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลที่ถูกพัฒนา นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นมาตรฐานแรกที่รับรู้โดยทั่วกันก็คือ HardDisk(ฮาร์ดดิสก์) โดยเป็นอุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกไฟล์ข้อมูลต่างๆ โดยอาศัยจานหมุนแม่เหล็กในการขับเคลื่อนการทำงาน ก่อนที่ต่อมาจะได้มีการพัฒนาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบดิจิทัล โดยเป็นลักษณะของการใส่คำสั่งไว้บนแผงวงจรและบันทึกข้อมูลลงบนชิปขนาดเล็ก ซึ่งก็คือแฟลชไดร์ฟ มีหลากหลายแบบมากเช่น  WOODEN USB CASSIC USB เพื่อใช้งานเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาที่สะดวกต่อการโอนย้ายไฟล์ข้อมูลต่างๆ ระหว่างเครื่องพิวเตอร์มากกว่า และล่าสุดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มีอุปกรณ์อย่าง SSD โผล่มาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบันทึก จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็ถูกเลือกใช้แทนที่ฮาร์ดดิสก์ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปหลายรุ่นจากหลายแบรนด์ดัง อีกทั้งผู้ใช้งานหลายคนก็ยังเลือกใช้งานเป็นไดร์ฟจัดเก็บข้อมูลภายนอกแทนที่แฟลชไดร์ฟ หรือ External HardDisk อีกด้วย ซึ่งด้วยประโยชน์ใช้งานของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบต่างๆที่ดูจะมีความทับซ้อนกันอยู่พอสมควรนี้เอง จึงทำให้ผู้ใช้งานหลายคนยังคงสับสนว่าที่จริงแล้วประโยชน์ใช้งาน และข้อดีข้อเสียของ HardDisk, SSD และแฟลชไดร์ฟนั้นแตกต่างกันอย่างไร ในบทความจึงจะมาอธิบายเปรียบเทียบให้ได้ทราบกัน
HardDisk ใช้เทคโนโลยีจานหมุนแม่เหล็ก ขณะที่แฟลชไดร์ฟ และ SSD ใช้เทคโนโลยีการทำงานแบบดิจิทัล กล่าวคือมีแผงวงจรและแผ่นชิปสำหรับบันทึกไฟล์ข้อมูล ข้อเปรียบเทียบแรกที่ต้องบอกว่าเป็นความเหมือนกันของ แฟลชไดร์ฟ และ SSD ก็คือตัวเทคโนโลยีที่ใช้นั่นเอง ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าฮาร์ดดิสก์นั้นใช้ระบบขับเคลื่อนการทำงานด้วยสนามแม่เหล็ก ขณะที่แฟลชไดร์ฟ และ SSD มีการบันทึกคำสั่งการทำงานแบบดิจิทัลบนแผงวงจร ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานจึงชัดเจนว่า แฟลชไดร์ฟ และ SSD มีความเร็วในการเรียกอ่านไฟล์ และบันทึกไฟล์มากกว่าฮาร์ดดิสก์นั่นเอง โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์หลายรุ่นจากหลายแบรนด์มีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลระดับ 500 Mbps ขณะที่ฮาร์ดดิสก์นั้นเพดานความเร็วจะถูกจำกัดอยู่ที่ประมาณ 200 Mbps
แฟลชไดร์ฟใช้เป็นไดร์ฟภายนอกได้เท่านั้น มาที่ความเหมือนกันของ HardDisk และ SSD กันบ้าง หลังจากที่ในข้อแรกเราได้เปรียบเทียบความเหมือนกันของแฟลชไดร์ฟ และ SSD ให้ได้ทราบกันไปแล้ว โดยความเหมือนกันของฮาร์ดดิสก์ และ SSD ก็คือประโยชน์การใช้งานที่ยืดหยุ่นกว่านั่นเอง ฮาร์ดดิสก์ และ SSD สามารถใช้เป็นไดร์ฟจัดเก็บข้อมูลได้ทั้งแบบภายใน และภายนอก กล่าวคือฮาร์ดดิสก์ และ SSD สามารถจัดวางบนเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปได้นั่นเอง ขณะที่แฟลชไดร์ฟสามารถใช้งานเป็นไดร์ฟภายนอก หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านพอร์ต USB แบบชั่วคราวได้เท่านั้น
ความปลอดภัยในการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล มาปิดท้ายกันที่อีกหนึ่งข้อเปรียบเทียบสำคัญที่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งานอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลใดๆ ของหลายคนกันพอสมควร ซึ่งก็คือเรื่องของความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลนั่นเอง โดยในส่วนนี้สามารถเปรียบเทียบกันให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่าอุปกรณ์ที่มีการใช้คำสั่งการทำงานแบบดิจิทัล ข้อมูลถูกเขียนลงบนชิปเช่นแฟลชไดร์ฟ, SSD นั้น หากมีการลบ หรือเกิด ERROR ขึ้นกับระบบในระหว่างการใช้งาน การกู้คืนไฟล์ต่างๆ จะทำได้ยากกว่าการกู้คืนข้อมูลที่อยู่บนจานหมุนแม่เหล็กอย่างฮาร์ดดิสก์นั่นเอง เรียกได้ว่าหากต้องการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลสำคัญในปริมาณมากๆ เป็นระยะเวลานานหลายปี ฮาร์ดดิสก์ถือเป็นอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์มากที่สุดหากอยากซื้อเป็นของขวัญให้ใครสักคนเราขอแนะนำแบบ GIFT SET

วิธีตรวจเช็คสเปคแฟลชไดร์ฟ ให้ได้แบบที่ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานมากที่สุด

ในการเลือกซื้ออุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป สมาร์ทโฟน แน่นอนว่าหลายคนทราบดีอยู่แล้วว่าสิ่งสำคัญก็คือการตรวจเช็คสเปค หรือคุณสมบัติของอุปกรณ์นั้น ๆ ว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการใช้งานของเราหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การเช็คพื้นที่จัดเก็บข้อมูล(Rom) ว่ามีขนาดเท่าไหร่...

ในการเลือกซื้ออุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป สมาร์ทโฟน แน่นอนว่าหลายคนทราบดีอยู่แล้วว่าสิ่งสำคัญก็คือการตรวจเช็คสเปค หรือคุณสมบัติของอุปกรณ์นั้น ๆ ว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการใช้งานของเราหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การเช็คพื้นที่จัดเก็บข้อมูล(Rom) ว่ามีขนาดเท่าไหร่ ชนิดของชิป CPU หรือความเร็วของชิป ขนาดของหน่วยความจำแบบสุ่ม(Ram) เป็นต้น ซึ่งสเปคเหล่านี้จะสามารถบอกได้ว่าอุปกรณ์นั้นๆ ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของเราหรือไม่ เพียงพอต่อการจัดเก็บข้อมูล หรือมีความเร็วในการทำงานพอที่จะรองรับการใช้งานโปรแกรม และแอพพลิเคชั่นที่เราต้องการใช้งานหรือไม่ เรียกได้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ทราบกันดีและใช้เป็นหนึ่งในเกณฑ์ตัดสินใจเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนกันอยู่แล้ว แต่ทว่าเมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ต หรืออุปกรณ์เสริมที่ใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ไอทีดังกล่าว ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ ไม่ว่าจะเป็นแฟลชไดร์ฟรูปแบบไหน เช่น แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟปากกา ผู้ใช้งานหลายคนกลับมองข้ามเรื่องการตรวจเช็คสเปคต่าง ๆ ของตัวแก็ดเจ็ตไป โดยมักตัดสินใจเลือกจากขนาดความจุ หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟก็มีคุณสมบัติพื้นฐานหลายส่วนที่ทางแบรนด์ผู้ผลิตเลือกใส่เข้ามาแตกต่างกันและส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของเราโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแก็ดเจ็ตเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ ที่รองรับการใช้งานได้กับหลากหลายอุปกรณ์ ก็ย่อมมีรายละเอียดสเปคให้เราต้องตรวจเช็คมากขึ้นตามไปด้วย ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำวิธีตรวจเช็คสเปคแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟว่ามีจุดไหน ส่วนไหนบ้างนอกเหนือจากขนาดความจุที่เราต้องตรวจดูเพิ่มเติม เพื่อจะทราบได้ว่าแฟลชไดร์ฟตัวนั้น ๆ ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของเราหรือไม่
เวอร์ชั่นของพอร์ต USB แฟลชไดร์ฟเป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่อาศัยการเชื่อมต่อ รับส่งข้อมูลผ่านพอร์ต USB ดังนั้นหนึ่งในสเปคส่วนที่เราต้องตรวจเช็คก็คือเวอร์ชั่นของพอร์ต USB ที่ทางผู้ผลิตใส่มาในแฟลชไดร์ฟรุ่นนั้น ๆ นั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งเป็นเวอร์ชั่นใหม่มากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลก็ย่อมมีมากตามไปด้วย โดยเวอร์ชั่นล่าสุดของพอร์ต USB ก็คือเวอร์ชั่น 3.2 ดังนั้นหากจะให้แนะนำสเปคส่วนนี้ก็คงต้องบอกว่า จะให้ดีก็ควรเลือกแฟลชไดร์ฟรุ่นที่มาพร้อม USB 3.2 เลยนั่นเอง
Type ของ USB สเปคส่วนต่อมาที่ต้องตรวจเช็คให้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการนำแฟลชไดร์ฟไปใช้งานกับหลายอุปกรณ์ก็คือในส่วนของ Type หรือลักษณะของพอร์ตเชื่อมต่อนั่นเอง เพราะปัจจุบันแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตเจ้าต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาพอร์ตการเชื่อมต่อให้รองรับพอร์ตเจเนเรชั่นใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์พกพาอย่างแท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนเช่นกัน พูดกันง่าย ๆ ก็คือแฟลชไดร์ฟที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีแค่พอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-A แล้วนั่นเอง แต่ยังมีพอร์ตแบบ USB Type C, Lightning อีกด้วย ผู้ใช้งานจึงต้องเลือกให้ถูกต้อง แมตช์กับอุปกรณ์ที่ต้องการนำไปเชื่อมต่อ ตัวอย่างเช่น หากต้องการนำไปเสียบใช้งานร่วมกับไอโฟน หรือไอแพดเจนฯเดิม ๆ ก็ควรเลือกแฟลชไดร์ฟที่มีพอร์ต Lightning มาให้ด้วย
ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล อย่างที่ทราบกันดีว่าแฟลชไดร์ฟเป็นแก็ดเจ็ตที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล โอนย้ายไฟล์ต่าง ๆ ระหว่างอุปกรณ์ ดังนั้นสเปคส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อประสบการณ์ใช้งานของเราโดยตรงจึงเป็นความเร็วในการรับส่งข้อมูลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันสเปคส่วนนี้แบรนด์ผู้ผลิตแฟลชไดร์ฟหลายแบรนด์ก็ระบุเป็นตัวเลขมาให้เราชัดเจน โดยมีตั้งแต่ 50 Mbps(Megabit Per Second) ไปจนถึงหลัก 1000 Mbps ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขส่วนนี้ยิ่งเยอะก็ยิ่งดี โดยหมายถึงปริมาณข้อมูลที่สามารถส่งได้ต่อหนึ่งวินาทีนั่นเอง

ตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟของคุณ

แฟลชไดร์ฟ (Flash Drive) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูลให้กับผู้ใช้งานในรูปแบบของไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ซึ่งเป็นที่นิยมในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย...

แฟลชไดร์ฟ (Flash Drive) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูลให้กับผู้ใช้งานในรูปแบบของไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ซึ่งเป็นที่นิยมในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย นอกจากนี้แฟลชไดร์ฟยังง่ายต่อการพกพาติดตัวไปได้ทุกที่ เช่น แฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟการ์ด และมีความทนทาน เช่น แฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟหนัง จะชำรุดยากมีความทนทานแข็งแรง และยังยากต่อการสูญเสียข้อมูลเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อเก็บข้อมูลอื่น ๆ แบบเก่า เช่น ฮาร์ดดิสก์หรือแผ่น DVD

ในยุคที่เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญมากเช่นนี้ การตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟเป็นเรื่องสำคัญที่ควรให้ความสนใจ เนื่องจากไวรัสสามารถแพร่กระจายและทำความเสียหายข้อมูลของคุณได้ ดังนั้นเราจึงต้องรู้วิธีตรวจสอบและคุ้มครองข้อมูลของเราให้ปลอดภัยจากไวรัสที่อาจอยู่ในแฟลชไดร์ฟ บทความนี้จะเป็นเคล็ดลับในการตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟของคุณ

การตรวจสอบว่าแฟลชไดร์ฟของคุณมีไวรัสหรือไม่สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัส (Antivirus) ที่มีให้ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาด โปรแกรมแอนตี้ไวรัสจะสแกนและตรวจสอบไฟล์ทั้งหมดในแฟลชไดร์ฟของคุณเพื่อค้นหาไวรัสหรือภัยคุกคามอื่น ๆ ที่อาจมีอยู่ในไฟล์ นี่คือขั้นตอนที่คุณสามารถทำเพื่อตรวจสอบแฟลชไดร์ฟของคุณว่ามีไวรัสหรือไม่

โหลดโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่สามารถเชื่อถือได้
เข้าสู่ระบบปฏิบัติการของคุณด้วยบัญชีผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เป็นผู้ดูแลระบบ
เสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
เปิดโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่คุณได้ติดตั้งไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
เลือกตัวเลือก “สแกนทั้งระบบ” หรือ “สแกนแฟลชไดร์ฟ” หรือคล้ายกันจากเมนูหรือแท็บที่ให้
เริ่มต้นกระบวนการสแกน โปรแกรมแอนตี้ไวรัสจะเริ่มสแกนแฟลชไดร์ฟของคุณเพื่อตรวจสอบไวรัสหรือภัยคุกคามอื่น ๆ
รอให้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสสแกนไฟล์ในแฟลชไดร์ฟของคุณ กระบวนการนี้อาจใช้เวลาสักระยะ ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนไฟล์
หลังจากที่โปรแกรมแอนตี้ไวรัสสแกนแฟลชไดร์ฟเสร็จสิ้น ตรวจสอบผลลัพธ์ที่แสดงบนหน้าจอ
หากโปรแกรมแอนตี้ไวรัสพบไฟล์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสในแฟลชไดร์ฟ คุณควรทำการกำจัดไฟล์เหล่านั้น โปรแกรมแอนตี้ไวรัสจะมีตัวเลือกให้ลบไฟล์ที่เสี่ยงหรือจัดเก็บในที่ที่กำหนดไว้
เมื่อคุณลบไฟล์ที่เสี่ยงจากแฟลชไดร์ฟแล้ว คุณควรสแกนอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีไฟล์ที่ติดเชื้ออยู่ในแฟลชไดร์ฟของคุณ
เปิดใช้งานการตรวจสอบอัตโนมัติ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสบางตัวมีตัวเลือกให้เปิดใช้งานการตรวจสอบอัตโนมัติ ทำให้ระบบปฏิบัติการตรวจพบไวรัสเมื่อคุณเสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับคอมพิวเตอร์
อย่าลืมอัปเดตระบบปฏิบัติการของคุณเป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ เนื่องจากมีการแก้ไขช่องโหว่และปรับปรุงความปลอดภัยอยู่เสมอ
อย่าเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโดยการดาวน์โหลดหรือรับไฟล์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ควรทำการสแกนไฟล์ก่อนเปิดทุกครั้ง

การตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของเรา โดยการตรวจสอบนี้ช่วยป้องกันไม่ให้ไฟล์ที่เสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ มีการแพร่กระจายไวรัสหรือภัยคุกคามไปยังระบบอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาความสมบูรณ์ของข้อมูลในแฟลชไดร์ฟและเพิ่มความน่าเชื่อถือในการแชร์ข้อมูลกับผู้อื่นด้วย ดังนั้น การตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟเป็นกระบวนการที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาความปลอดภัยและความพร้อมของข้อมูลของเรา
ถ้าคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟ คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแหล่งที่มีความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยข้อมูลและโปรแกรมแอนตี้ไวรัส นอกจากนี้ คุณยังสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคหรือช่างคอมพิวเตอร์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมในการตรวจสอบแฟลชไดร์ฟของคุณได้อีกด้วย