ผลงานแฟลชไดร์ฟการ์ด สกรีนโลโก้ KG SOLAR

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













เทคนิคจัดกลุ่มไฟล์ 5 ประเภท บนแฟลชไดร์ฟ ให้ใช้งานง่าย ไม่เสียเวลาค้นหา

อย่างที่ทราบกันดีว่าแฟลชไดร์ฟนั้นเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ผู้ใช้งานอุปกรณ์ไอทีหลายคนเลือกใช้เป็นตัวช่วยในการจัดเก็บ บันทึกไฟล์ดิจิทัลต่างๆ มีหลากหลายแบบอย่างเช่น card usb, metal usb, pen usb เป็นต้นซึ่งรูปแบบการใช้งานนั้นก็มีหลากหลาย แตกต่างกันไปตามบุคคล...

อย่างที่ทราบกันดีว่าแฟลชไดร์ฟนั้นเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ผู้ใช้งานอุปกรณ์ไอทีหลายคนเลือกใช้เป็นตัวช่วยในการจัดเก็บ บันทึกไฟล์ดิจิทัลต่างๆ มีหลากหลายแบบอย่างเช่น card usb, metal usb, pen usb เป็นต้นซึ่งรูปแบบการใช้งานนั้นก็มีหลากหลาย แตกต่างกันไปตามบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการใช้จัดเก็บในรูปแบบของการแบ็คอัพไว้เพื่อป้องกันไฟล์สูญหายจากอุปกรณ์อื่นๆ การใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บไฟล์หลัก เสมือนเป็น Device ชิ้นนึง สำหรับแบ่งไฟล์ข้อมูลต่างๆ จากอุปกรณ์อื่นๆมาจัดเก็บไว้ การใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บไฟล์ชั่วคราว สำหรับการโอนถ่าย คัดลอก ส่งต่อกันระหว่างอุปกรณ์ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการใช้งานรูปแบบใด ปัญหานึงที่ผู้ใช้งานแฟลชไดร์ฟมักต้องเจอก็คือ การค้นหาไฟล์ที่จำเป็นต้องใช้งานในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งมักจะต้องค้นหาจากไฟล์จำนวนมากและหลากหลายประเภทที่ปะปนกันอยู่บนไดร์ฟ ทำให้บ่อยครั้งต้องเสียเวลาไปโดยใช่เหตุ และนำมาซึ่งความผิดพลาดในกิจกรรมการทำงานต่างๆ ด้วยนั่นเอง ในบทความนี้จึงจะมาแชร์เทคนิคการจัดกลุ่มไฟล์ 5 ประเภท บนแฟลชไดร์ฟ ที่จะช่วยให้ข้อมูลบนไดร์ฟของเราเป็นระเบียบ ใช้งานง่าย และไม่เสียเวลาค้นหา ให้ได้ทราบกัน

ไฟล์เอกสาร ไฟล์กลุ่มแรกที่ถ้าแยกประเภทออกมาแล้วจะช่วยให้การค้นหา เรียกใช้งานไฟล์ต่างๆ บนแฟลชไดร์ฟ ทำได้ง่ายมากขึ้นทีเดียวก็คือ ไฟล์เอกสาร ซึ่งเป็นไฟล์ส่วนใหญ่เราที่ใช้ในกิจกรรมการทำงานต่างๆ นั่นเอง โดยไฟล์เอกสารต่างๆ ควรจะถูกแยกมาไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน และเพื่อให้การค้นหาไฟล์สะดวกมากยิ่งขึ้นอีกก็ควรแบ่งโฟลเดอร์ย่อยออกเป็น 2 โฟลเดอร์ สำหรับไฟล์เอกสารสองประเภท ซึ่งก็คือ ไฟล์ที่สามารถแก้ไขได้ เช่น ไฟล์ word, excel กับไฟล์เอกสารที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งก็คือ ไฟล์ pdf

ไฟล์รูปภาพ ไฟล์ประเภทต่อมาที่ไม่ควรจะถูกจัดเก็บไว้ปะปนรวมกับไฟล์อื่นๆ ก็คือ ไฟล์รูปภาพนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายส่วนตัว หรือรูปภาพสำหรับใช้ในกิจกรรมการทำงานต่างๆ ก็ตาม โดยไฟล์รูปภาพควรจะมีโฟลเดอร์แยกออกจากไฟล์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ก็ยังอาจจะสร้างโฟลเดอร์แยกย่อยสำหรับไฟล์รูปภาพที่มีความละเอียดต่ำ และไฟล์รูปภาพที่มีความละเอียดสูง โดยอาจแบ่งกลุ่มตามนามสกุลของไฟล์ เช่น .JPG, ,PNG เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยให้การค้นหา และใช้งานภาพต่างๆบนแฟลชไดร์ฟ ทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

ไฟล์งานนำเสนอ ไฟล์กลุ่มต่อมาที่ควรสร้างโฟลเดอร์แยก เพื่อให้ข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟของเราถูกจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ และสะดวกในการเรียกใช้งานแต่ละครั้งก็คือ ไฟล์งานนำเสนอต่างๆ นั่นเอง เช่น ไฟล์ที่สร้างโดยโปรแกรม Power Point, Canva เป็นต้น ไฟล์เหล่านี้ถือว่ามีลักษณะ และวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างจากไฟล์อื่นๆอย่างชัดเจน

ไฟล์สื่อมีเดีย ไฟล์ประเภทต่อมาที่เมื่อแยกกลุ่มออกมาจะช่วยให้การค้นหา เลือกใช้งานไฟล์ต่างๆบนแฟลชไดร์ฟสะดวกขึ้นไม่น้อยเช่นกันก็คือ ไฟล์สื่อมีเดียต่างๆ เช่น วิดีโอ ไฟล์เสียงบันทึก ไฟล์ภาพเคลื่อนไหวชนิดต่างๆ เป็นต้น โดยผู้ใช้งานอาจเลือกแบ่งกลุ่มเป็นโฟลเดอร์ย่อยเพิ่มเติมตามนามสกุลของไฟล์ หรือตามลักษณะการใช้งาน เช่น กลุ่มไฟล์มีเดียสื่อบันเทิงต่างๆ กลุ่มไฟล์มีเดียสำหรับกิจกรรมการทำงาน เป็นต้น

ไฟล์ที่ไม่มีการจัดกลุ่ม สำหรับไฟล์กลุ่มสุดท้ายที่จะช่วยทำให้ข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟของเราเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ค้นหาไฟล์ที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้นก็คือ การนำเอาไฟล์ที่ไม่เข้ากลุ่มใดๆ เช่น ไฟล์สำหรับการติดตั้งต่างๆ(.exe) มารวมไว้ในโฟลเดอร์เดียวกันนั่นเอง วิธีนี้จะช่วยให้ไฟล์ที่ดูเหมือนจะปะปนกันอย่างไม่เป็นระเบียบบนแฟลชไดร์ฟนั้นเป็นระเบียบขึ้นมา และมองหาได้ง่าย เรียกใช้งานง่าย นอกจากนี้ก็ยังอาจใช้วิธีตั้งชื่อไฟล์ตามการใช้งาน เช่น ไฟล์สำหรับโปรเจค 1, ไฟล์สำหรับโปรเจค 2 เป็นต้น เพื่อให้สามารถค้นหาไฟล์แบบเจาะจงในกลุ่มนี้ง่ายมากยิ่งขึ้นอีก

นอกจากนี้แฟลชไดร์ฟก็ยังเหมาะแก่การนำไปเป็นของขวัญในงานสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานแต่ง งานบวช งานเลี้ยง และในปัจจุบันนี้บริษัทหลาย ๆ ที่ยังนิยมที่จะนำแฟลชไดร์ฟไปจัดเป็น Gift Set เพื่อนำปแจกพนักงานหรือลูกค้า

5 ประโยชน์ของแฟลชไดร์ฟ ในยุคดิจิทัลไลฟ์สไตล์ที่หลายคนมองข้ามไป

เมื่อพูดถึงการใช้งานแฟลชไดร์ฟในปัจจุบัน ก็แน่นอนว่าผู้ใช้งานหลายคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่มีประโยชน์ในการช่วยจัดเก็บ บันทึกไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงใช้เป็นตัวช่วยในการโอนถ่ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ...

เมื่อพูดถึงการใช้งานแฟลชไดร์ฟในปัจจุบัน ก็แน่นอนว่าผู้ใช้งานหลายคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่มีประโยชน์ในการช่วยจัดเก็บ บันทึกไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงใช้เป็นตัวช่วยในการโอนถ่ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้  แต่ขณะเดียวผู้ใช้งานหลายคนก็มองว่าในยุคสมัยปัจจุบันนี้ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้งาน หรือพึ่งพาแก็ดเจ็ตชิ้นนี้สักเท่าไหร่ เพราะมีตัวเลือกบริการจัดการข้อมูลแบบอื่น ๆ ที่สามารถทดแทนกันได้ เช่น ระบบคลาวด์ หรือการใช้พื้นที่ความจำของอุปกรณ์พกพาแทน เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เป็นต้น  อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าในแง่ของประโยชน์ใช้งานหลักสำหรับจัดเก็บ บันทึกไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ลงบนแฟลชไดร์ฟนั้น เราจะสามารถใช้ทางเลือกจัดการข้อมูลอื่น ๆ ทดแทนกันได้จริงดังกล่าว แต่ทว่าประโยชน์ใช้งานจริงของแฟลชไดร์ฟในยุคดิจิทัลไลฟ์สไตล์อย่างในปัจจุบันนี้ต้องบอกว่ามีมากกว่าที่หลายคนคิดไว้อย่างเช่น PEN USB ที่เป็นปากกาแฟลชไดร์ฟ  โดยสามารถใช้งานได้ทั้งการเขียนและการใช้งานแฟลชไดร์ฟ, RUBBER USB เป็นสายรัดข้อมือ นอกจะสามารถใช้งานจริงได้แล้วยังสามารถใส่เป็นแฟชั่นได้ด้วย และในหลาย ๆ บริบทก็มีส่วนช่วยให้ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ในแต่ละวันของเราลื่นไหล และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย ในบทความนี้จึงได้สรุป 5 ประโยชน์ของแฟลชไดร์ฟ ที่จะช่วยให้ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของเราลื่นไหลยิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมการทำงาน การเรียน และชีวิตส่วนตัวเป็นไปอย่างราบรื่นขึ้นด้วยนั้นมาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

ช่วยจำแนกกลุ่มไฟล์ ประโยชน์อย่างแรกของแฟลชไดร์ฟที่ผู้ใช้งานหลายคนมักหลงลืม มองข้ามไปก็คือ ประโยชน์ในการช่วยจำแนก แยกจัดเก็บไฟล์ต่างประเภทกันนั่นเอง ทั้งนี้อย่างที่ทราบกันว่าในยุคดิจิทัลไลฟ์สไตล์อย่างในปัจจุบันนี้ ไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ที่เราจำเป็นต้องจัดเก็บและใช้งานในแต่ละวันนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ไฟล์สำหรับกิจกรรมการเรียน หรือการทำงานเท่านั้น แต่ยังมีไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัว ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับสังคม ความสัมพันธ์  หรือกิจกรรม ไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ เฉพาะบุคคล และบ่อยครั้งไฟล์เหล่านี้มักจะปะปนกันอยู่บนอุปกรณ์ใด อุปกรณ์หนึ่ง เช่น สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป เป็นต้น ทำให้การค้นหา เรียกใช้งานแต่ละครั้งยุ่งยาก และกินเวลานาน การใช้แฟลชไดร์ฟเข้ามาช่วยแยกไฟล์ต่างประเภทกันออกจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แยกไฟล์งานออกจากไฟล์ส่วนตัวต่าง ๆ บนสมาร์ทโฟน หรือแยกไฟล์สื่อบันเทิงต่าง ๆ บนแล็ปท็อปออกจากไฟล์งาน จะช่วยให้การจัดการกับไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ สะดวกมากขึ้น ค้นหา และเรียกใช้ได้อย่างลื่นไหลขึ้น

สร้างความเป็นส่วนตัวแบบ 100% ประโยชน์ต่อมาที่ผู้ใช้งานหลายคนมักมองข้ามไปเช่นกันก็คือ การช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวแบบ 100% นั่นเอง ทั้งนี้แม้ว่าปัจจุบันเราจะมีทางเลือกบริการจัดการไฟล์ออนไลน์ เช่น ระบบคลาวด์ ให้สามารถใช้งานจัดเก็บ บันทึกไฟล์ต่าง ๆ ทดแทนแฟลชไดร์ฟได้ แต่ก็อย่างที่ทราบกันว่าบริการลักษณะนี้ ความเป็นส่วนตัวไม่ได้อยู่ในระดับ 100% เพราะอย่างน้อยที่สุดก็มีผู้ให้บริการที่สามารถเข้าถึงไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ของเราได้ และหากมีบุคคลใดล่วงรู้รหัสผ่านของบัญชีผู้ใช้คลาวด์ของเรา ความเป็นส่วนตัวก็ย่อมลดน้อยถอยลงไปอีก ขณะที่การบันทึกข้อมูลไว้บนแฟลชไดร์ฟนั้น ความเป็นส่วนตัวในการอนุญาตให้บุคคลใดเข้าถึงไฟล์ข้อมูลจะขึ้นอยู่ที่เรา 100% และยังหมดกังวลเรื่องข้อมูลรั้วไหลผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วย

เป็นตัวช่วยควบคุมชั่วโมงออนไลน์ แม้ว่าในยุคดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ระบบออนไลน์ และกิจกรรมออนไลน์ต่างๆจะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตของผู้ใช้งานได้มากมาย ทั้งกิจกรรมการเรียน การทำงาน และความบันเทิง แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีว่า การใช้เวลาออนไลน์บนอุปกรณ์ต่าง ๆ มากเกินไปนั้นสามารถส่งผลเสียต่อชีวิตได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องของสุขภาพ การเลือกปิดโหมดออนไลน์ หรือปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ในบางช่วงเวลาบ้างจึงจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างดิจิทัลไลฟ์สไตล์แบบสมดุลได้ดีขึ้น ซึ่งการใช้งานแฟลชไดร์ฟจัดเก็บไฟล์ต่าง ๆ แทนระบบออนไลน์นี่เองจะช่วยให้เราสามารถควบคุมชั่วโมงออนไลน์ได้ดีขึ้น และจัดการกับกิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการออนไลน์อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา

ใช้งานไฟล์บางประเภทได้โดยไม่ต้องเปิดหน้าจอ ประโยชน์ต่อมาที่ผู้ใช้งานจำนวนมากหลงลืมไปเช่นกันก็คือ การใช้งานไฟล์บางประเภทจากแฟลชไดร์ฟได้โดยไม่จำเป็นต้องเปิดหน้าจออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะกับไฟล์สื่อบันเทิง เช่น ไฟล์เสียง ไฟล์ Audio เพลงของศิลปินต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเปิดไฟล์เหล่านี้ผ่านลำโพงบลูทูธได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้งานหน้าจอคำสั่งบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์

ช่วยประหยัดค่าบริการพื้นที่จัดเก็บไฟล์ออนไลน์ ประโยชน์อีกหนึ่งอย่างที่ทำให้แฟลชไดร์ฟยังคงเป็นไอเทมที่แสนคุ้มค่าในยุคดิจิทัลไลฟ์สไตล์นี้ก็คือ การช่วยเซฟค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าบริการพื้นที่จัดเก็บไฟล์ออนไลน์ที่จำเป็นต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน หรือทุกปีนั่นเอง เพราะการควักจ่ายเงินซื้อแฟลชไดร์ฟสักอันนั้นจะทำให้เรามีพื้นที่ใช้งานจัดเก็บไฟล์ต่าง ๆ ได้ยาว ๆ ตราบที่ตัวแก็ดเจ็ตไม่ได้ชำรุด เสียหาย ดังนั้นควรเลือกใช้ PACKAGE เพื่อป้องกันการชำหลุดตกหล่นที่จะก่อให้เกิดความเสียหายของแฟลชไดร์ฟ

แฟลชไดร์ฟ ที่ฉันซื้อมา ปลอม หรือ แท้ ?

แฟลชไดร์ฟ อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ถูกทำสินค้าเลียนแบบมาอย่างยาวนาน ที่ถึงแม้ว่ายุคปัจจุบันมันจะเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตได้ง่าย มีราคาถูก หาซื้อได้ง่ายมากกว่าในอดีตมีหลากหลายแบบมากมายไม่ว่าจะเป็น wooden usb, matal usb, twister usb, recycle usbเป็นต้น แต่ถึงอย่างไรสินค้าปลอมก็ยังคงมีอยู่เกลื่อนตลาดทุกยุคทุกสมัย...

แฟลชไดร์ฟ อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ถูกทำสินค้าเลียนแบบมาอย่างยาวนาน ที่ถึงแม้ว่ายุคปัจจุบันมันจะเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตได้ง่าย มีราคาถูก หาซื้อได้ง่ายมากกว่าในอดีตมีหลากหลายแบบมากมายไม่ว่าจะเป็น wooden usb, matal usb, twister usb, recycle usbเป็นต้น แต่ถึงอย่างไรสินค้าปลอมก็ยังคงมีอยู่เกลื่อนตลาดทุกยุคทุกสมัย ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาตรวจดูกันว่า แฟลชไดร์ฟ ที่คุณครอบครองอยู่หรือเพิ่งซื้อมานั้น เป็นของแท้จริงหรือไม่ ?

 

การสำรวจ แฟลชไดร์ฟ จากภายนอก

การสำรวจที่สามารถเช็คได้ง่าย ๆ ตั้งแต่ก่อนซื้อสินค้า ก็คือการตรวจสอบคุณภาพงานภายนอกว่าเข้าข่ายจะเป็นของปลอมหรือไม่ แต่ถ้าหาคุณได้ซื้อมาแล้ว เราก็มาดูกันดีกว่าว่าระหว่างของแท้กับของปลอมมีความต่างกันอย่างไร

 

แฟลชไดร์ฟ ของปลอม

อย่างแรกของปลอมมักจะมีราคาถูกกว่าราคาที่ขายกันอยู่ในตลาดอย่างชัดเจน แต่ถ้าหากว่ามีราคาเท่ากันแล้ว ก็ต้องมาดูที่คุณภาพงานประกอบ เบอร์ของปลอมนั้นมักจะใช้วัสดุคุณภาพต่ำ หรืองานประกอบที่ไม่ละเอียด สกรีนข้อความไม่ชัด ชื่อแบรนด์มีความผิดปกติ และมักไม่มีประกันสินค้า

 

แฟลชไดร์ฟ ของแท้

ของแท้จะใช้วัสดุที่มีคุณภาพอย่างเช่น มีความทนทานมากกว่าจากงานประกอบที่มีความละเอียด การสกรีนข้อความและโลโก้มีความชัดเจนถูกต้อง มีประกันสินค้า รวมถึงราคาที่สมเหตุสมผลกับขนาดความจุ

 

ทดสอบการใช้งาน

 

แฟลชไดร์ฟ ของปลอม

แฟลชไดร์ฟ ของปลอมเมื่อเสียบแล้วมักจะขึ้น Error บ่อย ๆ หรือหากมีคุณภาพขึ้นมาหน่อยก็จะใช้งานได้ตามปกติ แต่จะใช้งานได้ไม่เต็มความจุ อย่างเช่น แฟลชไดร์ฟ ขนาด 32 GB เมื่อใช้งานจริงก็อาจจะใช้ได้แค่ 2 GB ส่วนไฟล์ที่เหลือก็จะเสียหายทั้งหมด หรืออาจมีปัญหาไฟล์หาย ไม่ก็ปัญหาอื่น ๆ ตามมา เมื่ออุปกรณ์ได้รับข้อมูลมากกว่าที่จะรับไหว

 

แฟลชไดร์ฟของแท้

การใช้งานจะทำได้ตามปกติ มีความสะดวกไหลลื่น ไม่ทำให้ไฟล์ที่เก็บไว้เสียหาย ที่สำคัญคือมีอายุการใช้งานยาวนานแม้เวลาจะผ่านไปหลายปี ก็ไม่มีอาการเสื่อมสภาพใด ๆ หากใช้งานอย่างทะนุถนอม โดยไม่ได้ทำให้วัสดุเสียหายด้วยมือของเจ้าของเอง

 

ใช้โปรแกรมช่วยตรวจสอบ

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถตรวจสอบสินค้า แฟลชไดร์ฟ ที่ซื้อมาได้อย่างชัดเจนคือ การทดลองกับโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ทั้ง FakeFlashTest ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความจุของแฟลชไดร์ฟ โดยใช้เพียงไม่กี่วินาทีก็รู้ผล ด้วยโหมด Quick Size Test

 

โปรแกรม RMPrepUSB ที่สามารถใช้ตรวจสอบได้ทั้ง คุณภาพความจุของแฟลชไดร์ฟ, ความเร็วในการอ่านข้อมูล หรือแม้แต่ใช่สร้าง USB แบบ Bootable สำหรับใช้ลงระบบปฏิบัติการก็ทำได้เช่นกัน

 

วิธีการซื้อแฟลชไดร์ฟที่ปลอดภัย

โดยปกติแล้วแฟลชไดร์ฟปลอมมักจะมีวางจำหน่ายอยู่ตามร้านค้าหรือย่านที่ไม่ใช่จุดจำหน่ายสินค้าคอมพิวเตอร์โดยตรง อย่างเช่น ร้านค้าข้างทาง ไม่ก็ตลาดขายของทั่วไป ซึ่งทางที่ดีคุณควรเดินทางไปยังห้างสรรพสินค้า ศูนย์บริการ หรือร้านไอที เพราะสถานที่เหล่านี้มีมาตรฐานการให้บริการที่ค่อนข้างสูง และยังมีประกันสินค้า สามารถนำมาเปลี่ยนใหม่ได้เมื่อซื้อไปแล้วเกิดพบปัญหา

นอกจากนี้เรายังสามารถสำรวจราคาตลาดของแฟลชไดร์ฟ เพื่อนนำมาเปรียบเทียบกับตัวสินค้าที่เรากำลังจะซื้อว่ามีราคาใกล้เคียงกันหรือไม่ หากมีราคาถูกกว่ามาก ก็ให้ตีเลยว่าเป็นของปลอม เนื่องจากสินค้าเหล่านี้มักใช้อะไหล่และชิ้นส่วนจากตลาดมืด ไม่ก็เป็นของไม่ผ่านมาตรฐาน QC จากโรงงานผลิต จึงเป็นที่มาของราคาที่ทำให้ถูกลง รวมถึงเป็นสาเหตุของสินค้าปลอมที่มีอายุการใช้งานต่ำกว่าของแท้ด้วย

 

สรุปแล้วหากคุณมีความคิดต้องการอยากจะซื้อแฟลชไดร์ฟ มาใช้โดยคาดหวังว่าจะต้องได้ของแท้กลับมา มันก็ต้องพิจารณากันตั้งแต่การเลือกร้านค้าว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน มีบริการรับประกันสินค้าหรือไม่ รวมถึงราคาจะต้องสมน้ำสมเนื้อกับคุณภาพ จากนั้นจึงเป็นเรื่องของการตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่ต้องมีการเช็คกันอย่างละเอียดอีกทีหนึ่ง และเพื่อการป้องกันการสูญหายของแฟลชไดร์ฟควรที่จะมี Package ที่เป็นถุงผ้าหรือกล่องไว้พกพา

ไขข้อข้องใจ ใช้แฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน-ไอแพด ปลอดภัยหรือไม่ ?

หากพูดถึงการใช้งานแก็ดเจ็ตสำหรับบันทึกไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ อย่างแฟลชไดร์ฟ ก็แน่นอนว่าในปัจจุบันนี้มีออกมาหลายหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น wooden usb,crystal usb,recycle usb,card usb เป็นต้น  นอกจากนี้ในปัจจุบันการใช้งานไม่จำกัดอยู่แค่เพียงบนคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปเท่านั้น...

หากพูดถึงการใช้งานแก็ดเจ็ตสำหรับบันทึกไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ อย่างแฟลชไดร์ฟ ก็แน่นอนว่าในปัจจุบันนี้มีออกมาหลายหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น wooden usb,crystal usb,recycle usb,card usb เป็นต้น  นอกจากนี้ในปัจจุบันการใช้งานไม่จำกัดอยู่แค่เพียงบนคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปเท่านั้น แต่ผู้ใช้งานหลายคนยังมีการใช้งานเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน ไอแพด หรือแท็บเล็ตแบรนด์ต่าง ๆ อีกด้วย เนื่องจากอุปกรณ์พกพาเหล่านี้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้ใช้งานส่วนใหญ่มากขึ้น และกิจกรรมดิจิทัลไลฟ์สไตล์หลาย ๆ อย่างก็สามารถใช้งานอุปกรณ์พกพาเหล่านี้ทดแทนคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามด้วยความที่ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ คุ้นเคยกับการใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปมาเป็นเวลานานหลายปี การปรับมาใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน ไอแพด หรือแท็บเล็ต จึงทำให้ผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อยรู้สึกกังวลใจเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งาน และประสิทธิภาพในการเก็บรักษาข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีภัยคุกคามไซเบอร์อยู่รอบตัว และข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ก็เสี่ยงที่จะถูกโจรกรรมอยู่ได้ตลอดเวลา ในบทความนี้จึงจะมาช่วยไขข้อข้องใจให้ผู้ใช้งานหลายคนได้คลายกังวลกันว่า แท้จริงแล้วการใช้งานแฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน ไอแพด หรือแท็บเล็ตบนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น Android และ IOS นั้นปลอดภัยหรือไม่

ภัยคุกคามจากไวรัส โปรแกรมไม่พึงประสงค์อยู่ในระดับต่ำกว่า แม้ว่าปัจจุบันเราจะได้เห็นข่าวการถูกโจรกรรมข้อมูลทางการเงินบนสมาร์ทโฟนเป็นจำนวนมาก แต่หากมองที่ความปลอดภัยของตัวสถาปัตยกรรมของระบบปฏิบัติการอุปกรณ์พกพา เช่น Android, IOS แล้ว ต้องบอกว่าความเสี่ยงที่จะโดนภัยคุกคามจากไวรัส โปรแกรมไม่พึงประสงค์ โปรแกรมมุ่งร้ายต่าง ๆ กลับมีต่ำกว่าบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อป เนื่องจากสถาปัตยกรรมของระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์มีการเปิดกว้างสำหรับโปรแกรมที่หลากหลายกว่า ขณะที่ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพานั้นมีข้อจำกัดของซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งได้ที่ชัดเจน และมีวงแคบกว่า ดังนั้นหากมองในส่วนของภัยคุกคามจากซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ จึงอาจสรุปได้ว่าการใช้งานแฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน ไอแพด หรือแท็บเล็ตมีความปลอดภัยกว่าการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ

การอนุญาตให้แอปพลิเคชั่น โปรแกรมเข้าถึงข้อมูลบนอุปกรณ์ ส่วนที่ต้องบอกว่าเป็นทั้งข้อดี และช่องโหว่สำหรับการใช้งานแฟลชไดร์ฟบนสมาร์ทโฟน ไอแพด แท็บเล็ต ด้วยก็คือ การยินยอม หรืออนุญาตให้แอปพลิเคชั่น หรือโปรแกรมใด ๆ ที่ติดตั้งลงบนอุปกรณ์สามารถเข้าถึง เรียกดูข้อมูลส่วนต่าง ๆ ของอุปกรณ์ได้ รวมถึงข้อมูลบนไดร์ฟของแฟลชไดร์ฟที่เราเชื่อมต่อนั่นเอง โดยระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์พกพาส่วนใหญ่จะมีระบบการอนุญาตการเข้าถึงดังกล่าวเป็นฟังก์ชั่นมาตรฐาน ดังนั้นหากต้องการใช้งานแฟลชไดร์ฟบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ไอแพด หรือแท็บเล็ตให้ปลอดภัย ผู้ใช้งานก็ต้องระมัดระวังในการกดอนุญาตการเข้าถึงข้อมูลบนไดร์ฟ โดยควรอ่านข้อตกลง และเงื่อนไขการใช้งานให้ชัดเจนก่อนกดยินยอม

ประสิทธิภาพในการเก็บรักษา โอนถ่ายข้อมูลไว้บนไดร์ฟ มากันที่ส่วนที่ถือว่าเป็นประโยชน์ใช้งานหลักของแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟกัน ซึ่งก็คือ ประสิทธิภาพในการเก็บโอนถ่ายข้อมูล และเก็บรักษาข้อมูลไว้บนไดร์ฟ โดยการใช้งานบนสมาร์ทโฟน ไอแพด หรือแท็บเล็ตนั้น ประสิทธิภาพแทบจะไม่แตกต่างไปจากการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อป ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลจะขึ้นอยู่กับทั้งตัวแฟลชไดร์ฟ และความเร็วสูงสุดที่พอร์ตเชื่อมต่อ(USB ไทป์ต่าง ๆ ) ทำได้ ขณะที่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการเก็บรักษาไฟล์ข้อมูลไว้บนไดร์ฟขึ้นอยู่กับตัวฮาร์ดแวร์ของแฟลชไดร์ฟ ซึ่งตราบที่ฮาร์ดแวร์ไม่ได้เสียหาย ข้อมูลที่เก็บไว้ก็จะยังคงปลอดภัยดี และการเสียบเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับสมาร์ทโฟน ไอแพดก็ไม่ได้มีส่วนทำให้ความเสี่ยงที่ฮาร์ดแวร์จะเสียหายเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดและนอกจากนี้เนื่องจากตัวแฟลชไดร์ฟมีขนาดเล็กควรหา package ดี ๆ ไว้ใส่แฟลชไดร์ฟเพื่อป้องกันการสูญหายของแฟลชไดร์ฟ

ผลงานสายชาร์จ USB สกรีนโลโก้ Wrap Room

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













เปรียบเทียบการทำงาน แฟลชไดร์ฟกับระบบคลาวด์

หากเราย้อนกลับไปประมาณ 10 ถึง 20 ปีที่แล้ว เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูล หรือการบันทึกข้อมูลยอดนิยมที่ผู้คนมักจะจะใช้กัน เราก็น่าจะนึกถึงอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์แรก เรียกได้ว่าอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ถือเป็นอุปกรณ์สามัญและติดตัวสำหรับใครหลายคน นักเรียนนักศึกษา...

หากเราย้อนกลับไปประมาณ 10 ถึง 20 ปีที่แล้ว เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูล หรือการบันทึกข้อมูลยอดนิยมที่ผู้คนมักจะจะใช้กัน เราก็น่าจะนึกถึงอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์แรก เรียกได้ว่าอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ถือเป็นอุปกรณ์สามัญและติดตัวสำหรับใครหลายคน นักเรียนนักศึกษา หรือจะเป็นคนที่ทำงานล้วนแต่ใช้แฟลชไดร์ฟ ถือว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นอุปกรณ์ที่เราขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตามในยุคนั้นยังมีแฟลชไดร์ฟแค่ไม่กี่รูปแบบไม่ว่าจะเป็น CLASSIC USB , METAL USB

 

แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เทคโนโลยีหนึ่งได้เข้ามาแทนที่แฟลชไดร์ฟ ถึงแม้จะมีคนใช้แฟลชไดร์ฟ กันอยู่บ้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีสิ่งอื่นเข้ามาแทนที่ด้วยเช่นเดียวกัน นั่นคือการเก็บไฟล์ หรือเก็บข้อมูลไว้บนโลกอินเทอร์เน็ต หรือที่เราเรียกกันว่าระบบคลาวด์ ระบบดังกล่าวนี้นับว่ามีความโดดเด่นไม่แพ้กับการใช้แฟลชไดร์ฟ ในสมัยก่อน สามารถที่จะทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูล ในการจัดเก็บข้อมูล และในการถ่ายโอนข้อมูลได้เช่นเดียวกันกับแฟลชไดร์ฟ

 

ทั้งสองเทคโนโลยียังคงถูกใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันและยังมีรูปแบบใหม่ ๆ ออกมามากมายอย่างเช่น PEN USB, RUBBER USB, RECYCLE USB เป็นต้น แต่อาจจะนำมาใช้ในกรณีที่แตกต่างกันออกไป วันนี้เราจะพาคุณมาเปรียบเทียบทั้งสองเทคโนโลยีนี้ ว่าเทคโนโลยีไหนที่จะเหมาะกับจุดประสงค์งานไหนมากกว่ากัน พื้นฐานการทำงานรวมถึงเรื่องของความปลอดภัย แบบไหนจะดีกว่าและตอบโจทย์การใช้งานของคุณมากกว่ากัน เพื่อที่จะเลือกใช้งานได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์นั่นเอง

 

พื้นฐานในการทำงาน

 

พื้นฐานในการทำงานของสองอุปกรณ์นี้ นับว่ามีความใกล้เคียงกันพอสมควรเลยทีเดียว อย่างแรกก็คือแฟลชไดร์ฟ โดยปกติแล้วพื้นฐานการทำงานของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือเราจะนำมาใช้สำหรับการเก็บข้อมูล การบันทึกข้อมูล รวมถึงการถ่ายโอนข้อมูล ผ่านอุปกรณ์ซึ่งมีขนาดค่อนข้างเล็ก เราสามารถที่จะเก็บอุปกรณ์ชนิดนี้อีกทั้งยังพกพาไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบายมากกว่า กลับกันแล้ว หากเป็นระบบคลาวด์ เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพกเอาสิ่งนี้ไปไหนมาไหนอยู่ด้วย เนื่องจากการทำงานเป็นการฝากไฟล์ ผ่านอินเทอร์เน็ตหรือผ่านระบบออนไลน์ การนำข้อมูลเหล่านี้เก็บเข้าไปไว้ในระบบออนไลน์ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องพกพาอุปกรณ์ใดไปไหนมาไหนเลยในขณะใช้งาน เพียงแค่เรามีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น เราก็สามารถที่จะใช้งานข้อมูลของเราได้แล้ว

 

ความปลอดภัยในการใช้งาน

 

ในเรื่องของความปลอดภัย เราก็ต้องยอมรับกันตรงตรง ว่าการเข้าถึงข้อมูลได้นั้น หากเป็นอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ เรียกได้ว่าปลอดภัยแทบจะเกือบ 100% เลยก็ว่าได้ เนื่องจากข้อมูลที่เรามีอยู่เป็นข้อมูลที่อยู่ในอุปกรณ์ของเรา เราจะพกพาอุปกรณ์ของเราไปไหนมาไหนก็ได้ การนำข้อมูลใส่อุปกรณ์บางอย่างโดยที่ไม่ได้ทำการอัพโหลด หรือการเก็บไฟล์ไว้บนโลกอินเทอร์เน็ตเลย ทำให้เรามั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยได้ค่อนข้างสูง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า การที่เรานำไฟล์ใดใดก็ตามไว้ในโลกอินเทอร์เน็ต มันจะเป็นอะไรที่ไม่ปลอดภัย ในระบบคลาวด์ ถึงแม้จะมีการแชร์ข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูลกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็ยังคงมีการป้องกันในระดับที่ยอดเยี่ยม แต่นั่นต้องอยู่ในกรณีที่เราเลือกใช้กับเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ แต่ถึงอย่างนั้นหากเทียบกับความเสี่ยง ไฟล์บนระบบอินเทอร์เน็ตย่อมเสี่ยงกว่าอยู่แล้ว

 

การพกพา

 

ในเรื่องของการพกพานั้น อุปกรณ์ขนาดเล็กที่เราพกพาไปไหนมาไหน ถึงแม้จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างสะดวกสบายดี แต่บ่อยครั้งเราอาจจะทำหาย หรือลืมไว้ที่ไหนซักที่ก็ได้ กลับกันแล้ว หากเป็นระบบออนไลน์เอง เราไม่จำเป็นต้องกังวลหรือพกพาอุปกรณ์ไปไหนมาไหนเลย เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้งานข้อมูลของเราได้ แต่นี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดอ่อนเช่นเดียวกัน เพราะว่าหากไม่มีอินเทอร์เน็ต ระบบคลาวด์ ก็จะใช้การไม่ได้

ตัวการทำลาย แฟลชไดร์ฟ ให้ชำรุดนั้นมีอะไรบ้า

การเก็บรักษา แฟลชไดร์ฟ นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ที่มีข้อมูลจำนวนมากหรือมีข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้อย่างยาวนาน แต่บางทีข้อมูลเหล่านั้นก็อาจสูญหายได้ จากสาเหตุที่คาดไม่ถึง อันส่งผลให้ แฟลชไดร์ฟ เกิดการชำรุดได้ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ ที่สามารถทำให้ แฟลชไดร์ฟ ...

การเก็บรักษา แฟลชไดร์ฟ นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ที่มีข้อมูลจำนวนมากหรือมีข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้อย่างยาวนาน แต่บางทีข้อมูลเหล่านั้นก็อาจสูญหายได้ จากสาเหตุที่คาดไม่ถึง อันส่งผลให้ แฟลชไดร์ฟ เกิดการชำรุดได้

 

ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ ที่สามารถทำให้ แฟลชไดร์ฟ  เกิดการชำรุดได้นั้นมีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลย

 

แฟลชไดร์ฟ ชำรุดจากการเปียกหรือชื้น

น้ำและความชื้นคือสาเหตุยอดนิยมที่พบเจอได้บ่อยมากโดยเฉพาะการเผชิญกับสภาพอากาศในวันฝนตก หรือต้องเปียกปอนจากการทำงานบ้าน โดยที่ยังพกพา แฟลชไดรฟ์ ติดตัวอยู่ หรือแม้แต่กระทั่งในขณะทำงาน เผลอทำเครื่องดื่มหกใส่ ก็มีอุบัติเหตุแบบนี้เกิดขึ้นกับหลายผู้ใช้งานเช่นกัน ซึ่งไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ แฟลชไดร์ฟ เกิดการชำรุดได้ทั้งสิ้น หรือแม้แต่อาจจะไม่ชำรุดในทันที แต่เกิดคราบตะกรันหรือคราบสนิม คอยบั่นทอนอายุการใช้งาน
หรือหากร้ายกว่านั้นก็อาจจะเกิดการชำรุดตามมาในไม่ช้า อย่างไม่ทันตั้งตัวรู้ทัน

 

ชำรุดจากการกระทบกระเทือน

อีกสาเหตุหนึ่งที่พบเจอได้บ่อยนั่นก็คือการชำรุดของ แฟลชไดร์ฟ อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน โดยการกระทบกระเทือนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย
ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับอุบัติเหตุ หรือการกระแทกที่แม้แต่การกระแทกเพียงแค่เล็ก ๆ ที่ร่างกายไม่รู้สึกบาดเจ็บ หากเป็นการกระแทกในกิจวัตรประจำวันทั่วไปที่ไม่ได้สังเกตเห็น
แต่แรงกระทบนั้นมันดันทำมุมที่พอดี และส่งแรงตรงกับจุดที่เก็บ แฟลชไดร์ฟ ไว้กับตัว จนเกิดการชำรุดเสียหายได้เช่นกัน หรืออาจจะต้องเปลี่ยนมาใช้ Metal Usb ที่วัสดุเป็นโลหะมีความแข็งแรงทนทาน อาจจะได้รับผลกระทบน้อยหรือไม่ได้รับเลยเมื่อตกหล่นโดนพื้น

 

ชำรุดจากกระแสไฟฟ้า หรืออุณหภูมิสูง

มีอีกสาเหตุหนึ่งที่เกิดขึ้นได้แม้ว่าผู้พกพา แฟลชไดร์ฟ จะมีการระมัดระวังแค่ไหนก็ตาม นั่นก็คือเรื่องของกระแสไฟฟ้า ที่เกิดการผกผันคาดเดาไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นกระแสไฟฟ้าแปรปรวนจากฟ้าผ่าส่งแรงดันสูงมายังสายไฟเข้าสู่อุปกรณ์ หรือเกิดไฟกระชากไฟตกจากปัจจัยภายนอก สิ่งเหล่านี้ก็สามารถทำให้ แฟลชไดร์ฟ เกิดการชำรุดได้เช่นกัน

อีกทั้ง ในเรื่องของความร้อนสูงจากการใช้งานหนัก ซึ่งผู้ใช้งาน แฟลชไดร์ฟ กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปจำนวนมาก มักจะนิยมเสียบ แฟลชไดร์ฟ คาเครื่องเอาไว้
และสิ่งนี้เองจึงทำให้เกิดการเสื่อมสภาพก่อนอายุการใช้งาน อันเนื่องด้วยภายในชิ้นส่วนโครงสร้างของ แฟลชไดร์ฟ นั้นประกอบไปด้วยวัสดุ อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีขนาดเล็กจิ๋วและค่อนข้างเปราะบาง

ซึ่งแม้ว่าโครงสร้างของ แฟลชไดร์ฟ บางรุ่นนั้นจะมีน้ำหนักเบา ทนทานต่อแรงกระแทกตกหล่นแต่หากต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่เกินขนาด มันก็ง่ายที่จะสร้างความเสียหายได้เช่นกัน
ดังนั้นก่อนที่ผู้ใช้งาน แฟลชไดร์ฟ จะนำอุปกรณ์ไปเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายพลังงาน ผ่านอุปกรณ์ชนิดใดก็ตาม ก็ควรจะตรวจสอบสังเกตให้ดีว่าอุปกรณ์ชนิดนั้น หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีระบบการควบคุมไฟที่ไว้วางใจได้หรือไม่

แม้หากเป็นกรณีของอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ส่วนตัวที่มีระบบการควบคุมไฟที่แน่นหนา ไม่ว่าจะเป็น power supply คุณภาพดี หรือมีการติดตั้งเครื่องสำรองไฟ UPS เอาไว้เรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ปัจจัยภายนอกที่เกิดจากสายไฟนอกบ้าน หรือปัจจัยทางธรรมชาติที่เกิดจากแรงฟ้าผ่า มันมีพลังงานที่ไม่อาจคาดเดาได้ ดังนั้นการเสียบ แฟลชไดร์ฟ เอาไว้กับเครื่องตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง

 

ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าปัจจัยในการทำให้อุปกรณ์ แฟลชไดร์ฟ เกิดการชำรุดเสียหายนั้นมีอยู่หลายกรณีด้วยกัน แต่ผู้ใช้งานสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นได้ ด้วยการใช้งานอย่างถูกวิธีและสังเกตระมัดระวังอยู่เสมอซึ่งหากจะให้ดีขึ้นอีก ควรมีที่เก็บ แฟลชไดร์ฟ ที่มีความแข็งแรง แน่นหนา อย่างเช่นเก็บไว้ใน Package ที่เคสหรือในกล่องเป็นต้น หรือใช้แฟลชไดร์ฟที่เป็น Rubber Usb เนื่องจากเป็นแฟลชไดร์ฟที่เป็นสายรัดข้อมือ สามรถนำมาใส่เพื่อความสวยงามและป้องกันการตกหล่นหรือเสียหายได้ เพียงเท่านี้ก็ไว้วางใจได้เลยว่า แฟลชไดร์ฟ ที่เก็บข้อมูลสำคัญของเรานั้น จะมีอายุการใช้งานได้อีกยาวนานอย่างแน่นอน

เช็คลิสต์สิ่งที่ควรทำ/ไม่ควรทำ เมื่อเปิดไฟล์ในแฟลชไดร์ฟไม่ได้

แฟลชไดร์ฟมีหลายรูปแบบมากมาย ทั้งแบบ card usb, wooden usb, metal usb เป็นต้น ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับบันทึกข้อมูล โอนถ่ายไฟล์ดิจิทัลต่างๆ นั้น ผู้ใช้งานหลายคนคงทราบกันดีว่ามีหนึ่งในปัญหากวนใจที่มักจะเกิดขึ้นแบบที่เราไม่ทันตั้งตัว ซึ่งก็คือปัญหาการเปิดไฟล์ใด ๆ...

แฟลชไดร์ฟมีหลายรูปแบบมากมาย ทั้งแบบ card usb, wooden usb, metal usb เป็นต้น ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับบันทึกข้อมูล โอนถ่ายไฟล์ดิจิทัลต่างๆ นั้น ผู้ใช้งานหลายคนคงทราบกันดีว่ามีหนึ่งในปัญหากวนใจที่มักจะเกิดขึ้นแบบที่เราไม่ทันตั้งตัว ซึ่งก็คือปัญหาการเปิดไฟล์ใด ๆ ที่เราบันทึกไว้ในแฟลชไดร์ฟเพื่ออ่าน หรือคัดลอก ส่งต่อไม่ได้นั่นเอง และแม้ว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะทราบดีว่าควรต้องสำรองไฟล์ข้อมูลนั้น ๆ ไว้บนอุปกรณ์อื่นก่อนทำการบันทึกลงแฟลชไดร์ฟ แต่ในการใช้งานจริงนั้นก็มีบ่อยครั้งที่เราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สะดวกในการสำรองข้อมูลไปยังอุปกรณ์อื่น ไม่ว่าจะด้วยข้อจำกัดเรื่องของเวลา อุปกรณ์ที่มีให้ใช้งาน หรือด้านความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลสำคัญโดยบุคคลอื่น ดังนั้นปัญหาการเปิดไฟล์จากแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ไม่ได้ จึงยังคงนับเป็นปัญหายอดฮิตนึงของผู้ใช้งานอุปกรณ์ไอทีในปัจจุบัน ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำลิสต์สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ เมื่อไม่สามารถเปิดไฟล์ใด ๆ จากแฟลชไดร์ฟได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟล์เสียหายจนถึงขั้นไม่สามารถเปิดและใช้งานไฟล์นั้น ๆ ได้เป็นการถาวร
ควรสแกนไวรัสโดยโปรแกรมของระบบ ลิสต์สิ่งที่ควรทำอันดับแรกเมื่อไม่สามารถเปิดไฟล์ในแฟลชไดร์ฟได้ก็คือ การสแกนไวรัสโดยโปรแกรมของระบบบนอุปกรณ์นั้น ๆ เอง ทั้งนี้อุปกรณ์บางตัวในปัจจุบันจะมีระบบป้องกันภัยคุกคามจากไดร์ฟภายนอก ทำให้ไม่สามารถเปิด เรียกดูไฟล์ใดๆ ได้ หากไม่ผ่านการสแกนโดยระบบซะก่อน ดังนั้นในหลายๆกรณีที่ผู้ใช้งานไม่สามารถเปิดไฟล์จากแฟลชไดร์ฟได้ จึงสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยการกดสแกนไวรัสโดยโปรแกรมของระบบ ก่อนเข้าไปเปิดไฟล์อีกครั้งหลายจากที่เสร็จสิ้นขั้นตอนการสแกนไวรัส
ไม่ควรสแกนไวรัสโดยโปรแกรมที่ติดตั้งเอง มากันที่ลิสต์ที่ไม่ควรทำเมื่อไม่สามารถเปิดไฟล์จากแฟลชไดร์ฟได้กันบ้าง ซึ่งก็คือ การกดสแกนไวรัสโดยโปรแกรมแอนตี้ไวรัสต่างๆ ที่ทำการดาวน์โหลดมาติดตั้งเองนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะโปรแกรมสแกนไวรัสต่าง ๆ ที่มีให้เลือกดาวน์โหลดมาใช้งานกันฟรี ๆ ตามแหล่งดาวน์โหลดออนไลน์ต่าง ๆ นั้น อาจแฝงมาด้วยไวรัส หรือซอฟท์แวร์ไม่พึ่งประสงค์ต่าง ๆ ซะเอง และบ่อยครั้งการใช้งานโปรแกรมสแกนไวรัสที่เชื่อถือไม่ได้เหล่านี้ก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้ไฟล์ต่าง ๆ บนแฟลชไดร์ฟเสียหายจนไม่สามารถเข้าถึงได้เป็นการถาวร
ไม่ควรดาวน์โหลดโปรแกรม/แอปพลิเคชั่น กู้คืนข้อมูลมาใช้งาน อีกหนึ่งวิธีที่ผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อยมักนึกถึง แต่ต้องจัดให้เป็นลิสต์ที่ไม่ควรทำก็คือ การดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชั่นกู้คืนข้อมูลใด ๆ มาใช้งานนั่นเอง เพราะซอฟท์ลักษณะดังกล่าวที่เปิดให้ดาวน์โหลดมาใช้งานกันฟรี ๆ จัดเป็นซอฟท์แวร์ที่ค่อนข้างอันตราย เนื่องจากต้องมีการอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลบนอุปกรณ์ของเราหลายส่วน อีกทั้งเปอร์เซ็นต์ที่ซอฟท์แวร์จะสามารถกู้คืนไฟล์ต่าง ๆ ได้จริงก็มีเพียงน้อยนิดด้วย เพราะพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของแฟลชไดร์ฟนั้นเป็นลักษณะของดิจิทัลไดร์ฟ ซึ่งจะเป็นการเขียนข้อมูลทับไปเรื่อย ๆ หากมีข้อมูลใด ๆ ถูกลบ หรือสูญหายไปแล้วจริง ๆ ก็เท่ากับว่าพื้นที่นั้น ๆ อาจถูกใช้งานในการเขียนข้อมูลใหม่ ๆ ทับลงไปแล้ว ซึ่งแตกต่างจากกรณีปัญหาเปิดไฟล์ไม่ได้ ที่ไฟล์ข้อมูลยังคงมีอยู่
เปิด/แกะบอดี้เพื่อตรวจเช็คชิ้นส่วนภายใน อีกหนึ่งลิสต์ข้อห้ามที่ต้องบอกว่าควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาดเลยก็คือ การเปิด หรือแกะบอดี้ของตัวแฟลชไดร์ฟ เพื่อตรวจเช็คความผิดปกติของชิ้นส่วนภายในใด ๆ นั่นเอง เนื่องจากชิ้นส่วนภายในแฟลชไดร์ฟนั้นเป็นเพียงชิปวงจรขนาดจิ๋ว ซึ่งง่ายต่อการถูกรบกวน หรือทำให้เสียหายได้เพียงแค่การสัมผัสไม่กี่ครั้ง และแน่นอนว่าเป็นเรื่องยากยิ่งที่ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ จะสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติของชิ้นส่วนภายในใด ๆ และทำการซ่อมแซมได้ การแกะบอดี้ออกมาตรวจเช็คเองจึงยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ไฟล์ข้อมูลเสียหาย และเข้าถึงไม่ได้เป็นการถาวรขึ้นไปอีก ทั้งที้ควรเลือกใช้แฟลชไดร์ฟที่ดี มีคุณภาพ มีรีวิวและควรเลือกใช้แฟลชไดร์ฟที่มีความแข็งแรงทนทานเมื่อตกหล่นอย่างเช่น Metal usb หรือหากว่ามีแฟลชไดร์ฟในรูปแบบอื่น ๆ ก็ควรใช้ Package แบบกล่องหรือถุงผ้าเพื่อป้องกันการตกหล่น ที่อาจจะก่อให้ข้างในของแฟลชไดร์ฟเสียหาย