ผลงาน ผลิตแฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ APSIPA ASC

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













OTG คืออะไร? จำเป็นต่อการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C อย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟได้พัฒนามาถึงจุดที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์พกพาอย่างโทรศัพท์ หรือแท็บเล็ตได้โดยตรงแล้ว ทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์มากขึ้น จากเดิมที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา...

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ ทุกรูปแบบและวัสดุ เช่น แฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟยาง หรือแฟลชไดร์ฟไม้ ได้พัฒนามาถึงจุดที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์พกพาอย่างโทรศัพท์ หรือแท็บเล็ตได้โดยตรงแล้ว ทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์มากขึ้น จากเดิมที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การถ่ายโอนข้อมูลแบบออฟไลน์ต้องอาศัยตัวกลางเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่อย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป กล่าวคือหากต้องการถ่ายโอนข้อมูลจากโทรศัพท์เครื่องนึงไปยังโทรศัพท์อีกเครื่องนึง ก็จะต้องทำการคัดลอก หรือย้ายข้อมูลจากโทรศัพท์เครื่องแรกลงบนคอมพิวเตอร์ซะก่อน จากนั้นจึงค่อยนำโทรศัพท์เครื่องที่สองมาทำการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อคัดลอกข้อมูลนั้นๆ ลงไปอีกที ขณะที่การถ่ายโอนโดยสัญญาณไร้สาย เช่น Bluetooth ก็ยังคงมีข้อจำกัดเรื่องของระยะเวลาในการรับส่งที่อาจไม่เหมาะสำหรับการถ่ายโอนไฟล์ขนาดใหญ่ หรือถ่ายโอนครั้งละมากๆ ทั้งนี้แก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้โดยตรงจะมาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อ USB-C ซึ่งเป็นพอร์ตมาตรฐานของอุปกรณ์เจเนอเรชั่นใหม่ๆ แทนพอร์ต USB-A หรือในบางรุ่น บางแบรนด์ก็อาจมาพร้อมพอร์ตเชื่อมต่อสองหัว คือด้านนึงเป็นพอร์ตมาตรฐานดั้งเดิม usb-a และอีกด้านนึงเป็น usb-c อย่างไรก็ตามแม้ว่าพอร์ตมาตรฐานใหม่อย่าง USB-C นั้นดูจะช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกในการใช้งานแฟลชไดร์ฟเพื่อโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ขนาดเล็กมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีผู้ใช้งานจำนวนมากที่ยังลังเลในการตัดสินใจเลือกซื้อเลือกหาแฟลชไดร์ฟ Type-C มาใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลองค้นหาข้อมูล หรือสอบถามผู้ขายแล้วมักจะได้เจอคำแนะนำว่าให้ตรวจสอบก่อนว่าโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ของเรานั้นรองรับ OTG หรือไม่ ในบทความนี้จึงจะมาอธิบายให้ได้ทราบกันว่า OTG คืออะไร และมีความจำเป็น หรือสำคัญต่อการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Typ-C อย่างไร
OTG ย่อมาจาก USB On to Go หมายถึงระบบรองรับการเชื่อมต่อกับไดร์ฟ หรืออุปกรณ์ภายนอกผ่านพอร์ต USB ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วพอร์ต USB บนอุปกรณ์มาตรฐานอย่างคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปนั้นจะรองรับ OTG อยู่แล้ว เพราะผู้ใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับไดร์ฟภายนอก หรือแก็ดเจ็ตเสริมต่างๆ เช่น เม้าส์ คีย์บอร์ด ลำโพง เป็นปกติอยู่แล้ว แต่สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างสมาร์ทโฟนในยุคเริ่มต้นนั้น แบรนด์ผู้ผลิตมักจะไม่ใส่ฟังก์ชั่น OTG นี้เข้ามา เพราะผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่มีความต้องการเชื่อมต่อโทรศัพท์กับไดร์ฟ หรืออุปกรณ์เสริมภายนอกใดๆ ทว่าปัจจุบันสเกลการใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตขยายใหญ่ขึ้นกว่าช่วงหลายปีก่อนมาก ผู้ใช้งานมีความต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับไดร์ฟภายนอก และอุปกรณ์เสริมต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แบรนด์ผู้ผลิตเจ้าต่างๆ ใส่ฟังก์ชั่น OTG เข้ามาในอุปกรณ์เจนฯ ใหม่ของตัวเองในหลายๆ รุ่น กล่าวสรุปง่ายๆ ได้ว่า โดยประโยชน์พื้นฐานแล้ว พอร์ต USB ที่ติดมากับสมาร์ทโฟนจะใช้สำหรับการชาร์จไฟ หรือแบตเตอรี่เท่านั้น แต่ฟังก์ชั่น OTG ที่เพิ่มเข้าจะช่วยให้พอร์ตดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อกับไดร์ฟ หรืออุปกรณ์ภายนอก เช่น แฟลชไดร์ฟได้ด้วยนั่นเอง
จะตรวจเช็คอย่างไรว่าสมาร์ทโฟนของเรารองรับ OTG หรือไม่? โดยทั่วไปแล้วหากเป็นอุปกรณ์เจนฯใหม่ๆ ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2021 ในรุ่นระดับกลางขึ้นไปของแบรนด์เจ้าดังต่างๆ มักจะใส่ฟังก์ชั่น OTG เข้ามาด้วยอยู่แล้ว ซึ่งเท่ากับว่าโดยส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์รุ่นใหม่รองรับการใช้งานเชื่อมต่อกับแฟลชไดร์ฟ Type-C ได้นั่นเอง อย่างไรก็ตามวิธีตรวจเช็คที่ง่ายที่สุดก็คือการสอบถามทางกับทางผู้ขาย หรือซัพพอร์ทของแบรนด์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตเจ้านั้นๆ โดยตรงว่าอุปกรณ์รุ่นนั้นๆรองรับ OTG หรือไม่ แต่ทั้งนั้นทั้งนี้นอกเหนือจากฟังก์ชั่น OTG แล้ว การเริ่มต้นใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C ร่วมกับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตก็ยังมีข้อควรรู้ที่สำคัญอีกอย่างนึง ซึ่งก็คือการฟอร์แมตแฟลชไดร์ฟก่อนการใช้งานนั่นเอง โดยเราจะต้องทำการฟอร์แมตให้เป็นนามสกุลที่ระบบ Android หรือ IOS รองรับ ซึ่งก็คือ exFAT หรือ NTFS จึงจะสามารถเขียน อ่านข้อมูลในไดร์ฟนั้นๆ บนสมาร์ทโฟนได้

ข้อควรระวังในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C ร่วมกับสมาร์ทโฟน

ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ หลายคนน่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าพอร์ตการเชื่อมต่อมาตรฐานของตัวแก็ดเจ็ตก็คือพอร์ต USB Type A ซึ่งถือเป็นพอร์ตที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อย่างแล็ปท็อป หรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ...

ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ หลายคนน่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าพอร์ตการเชื่อมต่อมาตรฐานของตัวแก็ดเจ็ตก็คือพอร์ต USB Type A ซึ่งถือเป็นพอร์ตที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อย่างแล็ปท็อป หรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เนื่องจากเป็นพอร์ตเชื่อมต่อพื้นฐานที่แบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีทุกแบรนด์ใส่มากับผลิตภัณฑ์ของตนเองเช่นกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าปัจจุบันพอร์ต USB-A จะยังคงเป็นพอร์ตมาตรฐานที่ติดมากับตัวอุปกรณ์ดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันก็มีพอร์ตอย่าง USB-C ซึ่งเป็นพอร์ตเจเนอเรชั่นใหม่ที่ถูกมาใส่มากับอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อป และกำลังได้รับความนิยมในการประยุกต์ใช้งานรับส่ง แชร์ไฟล์ข้อมูลต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนั่นก็ทำให้แบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตเจ้าต่างๆ มีการพัฒนาแฟลชไดร์ฟ Type-C ตามมาเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่มาพร้อมพอร์ต USB-C โดยเฉพาะอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตนั้นสะดวกมากขึ้น ทั้งนี้แม้ว่าการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตนั้นจะมีหลักการเดียวกันกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อป แต่ในความเป็นจริงก็ถือว่ายังมีข้อควรระวังที่ผู้ใช้งานหลายคนมองข้ามไปอยู่หลายประการเหมือนกัน ในบทความนี้จึงได้นำเอาข้อควรระวังต่างๆ ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C กับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตมาแนะนำให้ได้ทราบกัน
ไม่นำแฟลชไดร์ฟที่มีข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ไม่รู้จักมาเสียบเชื่อมต่อ ปัญหาพื้นฐานอย่างนึงที่พบได้บ่อยในการใช้งานอุปกรณ์ไอทีในช่วงยุคเริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป หรือกระทั่งแฟลชไดร์ฟเองก็ตามก็คือ ไวรัส หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่ติดมาจากการดาวน์โหลดข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นอาจรบกวนประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ หรืออาจถึงขั้นทำให้ตัวแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟเสียหาย ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกเลย ทว่าปัจจุบันที่ระบบความปลอดภัยของอุปกรณ์มีการพัฒนาขึ้นจากเดิม เมื่อเราทำการเสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับอุปกรณ์อย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือโน๊ตบุ๊ค ระบบก็มักจะมีการเด้งแจ้งเตือนให้เราทำการสแกนไวรัสของไดร์ฟที่เชื่อมต่อเข้ามาใหม่ให้เรียบร้อยก่อนการใช้งาน หรือหากพบไฟล์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายก็อาจจะมีแจ้งเตือนคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเรียกดูไฟล์ดังกล่าว ซึ่งถือว่าช่วยให้การใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้มีความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น แต่ทว่าอย่างที่ทราบกันดีว่าระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตนั้นแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้แม้ว่าเมื่อมองที่ความปลอดภัยในการใช้งานทั่วไป สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตดูจะมีความปลอดภัยจากไวรัส และโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ มากกว่า แต่นั่นก็เป็นเพราะอัตราการดาวน์โหลดข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ไม่รู้จัก หรือไม่น่าเชื่อถือนั้นอยู่ในระดับต่ำ(โดยส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นต่างๆ จากพื้นที่ให้บริการหลักของระบบอย่าง Play Store หรือ App Store) ดังนั้นในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ สิ่งสำคัญที่ต้องระวังก็คือการไม่นำแฟลชไดร์ฟที่บรรจุข้อมูลที่เราไม่ทราบแหล่งที่มาเสียบเชื่อมต่อเข้าไป เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับไฟล์ไวรัส หรือแอปพลิเคชั่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่จะเข้ามารบกวนการทำงานของสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตของเรา
หลีกเลี่ยงการใช้งานเก็บไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ โดยไม่มีการสำรองข้อมูลไว้ที่แหล่งอื่น อย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของแฟลชไดร์ฟรุ่นใหม่ๆ มีการพัฒนาขยายใหญ่ขึ้นกว่าช่วงหลายปีก่อนมาก โดยบางรุ่นมีความจุสูงถึงระดับ TB(เทราไบต์) และนั่นก็ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนเข้าใจผิดว่าเราสามารถใช้งานแฟลชไดร์ฟเป็นแหล่งสำรองข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสำคัญๆ หรือข้อมูลขนาดใหญ่ได้ แต่ความจริงก็คือสถาปัตยกรรมของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้นั้นไม่เหมาะสำหรับใช้งานเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหลัก เนื่องจากประสิทธิภาพการใช้งานจะเสื่อมไปตามจำนวนรอบการเขียน อ่านข้อมูล ซึ่งหมายความว่าตัวแก็ดเจ็ตอาจเสียหายจนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในวันใดหนึ่ง ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการดึงข้อมูลใดๆ จากสมาร์ทโฟนมาเก็บไว้บนตัวแฟลชไดร์ฟ โดยไม่ได้มีการสำรองข้อมูลไว้ในแหล่งอื่นเพิ่มเติม ปัจจุบันแฟลชไดร์ฟมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบและวัสดุ เช่น แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ หรือที่ดูทันสมัยและพกพาง่ายคือ แฟลชไดร์ฟปากกา ที่ถูกใช้เป็นจำนวนมาก หรือทำเป็นของทีระลึกในโอกาสต่างๆ

รูปแบบ ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้งานแฟลชไดร์ฟในยุคปัจจุบัน

แฟลชไดร์ฟเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและน่าสนใจในปัจจุบัน เนื่องจากมีรูปแบบและประโยชน์ที่หลากหลาย สำหรับบทความนี้ เราจะมาพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบ...

แฟลชไดร์ฟเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและน่าสนใจในปัจจุบัน เนื่องจากมีรูปแบบและประโยชน์ที่หลากหลาย สำหรับบทความนี้ เราจะมาพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบ ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้งานแฟลชไดร์ฟในยุคปัจจุบัน

รูปแบบของแฟลชไดร์ฟในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานหลายแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของการใช้งานต่างๆ USB Flash Drive แฟลชไดร์ฟรูปแบบ USB เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน มีขนาดเล็กกระทัดรัดและใช้งานง่าย เช่น แฟลชไดร์ฟการ์ด แฟลชไดร์ฟปาก หรือจะเป็นแฟลชไดร์ฟคลาสสิคที่ถูกใช้งานเป็นจำนวนมาก สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีพอร์ต USB ได้อย่างสะดวก รวมถึงมีความจุที่หลากหลายตั้งแต่ไม่กี่เมกะไบต์ถึงหลายเทราไบต์
Wireless Flash Drive แฟลชไดร์ฟรูปแบบไร้สายก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่ต่างกัน ซึ่งสามารถเชื่อมต่อผ่านทาง Wi-Fi หรือเทคโนโลยีไร้สายอื่นๆ เพื่อส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและง่ายต่อการใช้งาน
Lightning Flash Drive รูปแบบแฟลชไดร์ฟที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานอุปกรณ์ iOS เช่น iPhone, iPad และ iPod มีพอร์ต Lightning เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อและถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ Apple ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

แฟลชไดร์ฟมีประโยชน์หลักๆเลยคือ ความสะดวกและพกพาง่าย แฟลชไดร์ฟมีขนาดเล็กกระทัดรัดทำให้สะดวกต่อการพกพาและใช้งาน คุณสามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวหรือไฟล์ที่สำคัญไว้ในแฟลชไดร์ฟและพกพาไปได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ที่บ้าน หรือเมื่อต้องการแชร์ข้อมูลกับผู้อื่น
การถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็ว แฟลชไดร์ฟสามารถถ่ายโอนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการใช้สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ เช่น แผ่น DVD หรือฮาร์ดดิสก์ภายนอก คุณสามารถส่งหรือรับข้อมูลขนาดใหญ่ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้สะดวกและประหยัดเวลาของคุณ
ความปลอดภัยของข้อมูล แฟลชไดร์ฟที่มีการเข้ารหัสข้อมูลหรือระบบความปลอดภัยสามารถช่วยให้ข้อมูลของคุณปลอดภัยจากการถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณสามารถเพิ่มรหัสผ่านหรือระบบการเข้ารหัสเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและความลับของข้อมูลที่เก็บในแฟลชไดร์ฟของคุณ
การสำรองข้อมูล แฟลชไดร์ฟเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการสำรองข้อมูล คุณสามารถสำรองข้อมูลที่สำคัญออกจากอุปกรณ์

เมื่อใช้แฟลชไดร์ฟเพื่อการจัดเก็บและถ่ายโอนข้อมูล นอกจากประโยชน์ที่มีมากมายแล้ว ยังควรมีความระมัดระวังในการใช้งานด้วย ความสูญเสียข้อมูล แฟลชไดร์ฟเป็นอุปกรณ์ที่เสถียรและทนทาน แต่อย่างไรก็ตามยังมีโอกาสที่ข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟอาจสูญหายหรือเสียหายได้ อาจเกิดจากการถูกลบโดยไม่ได้ตั้งใจ การสูญเสียหรือเสียหายเมื่อแฟลชไดร์ฟถูกทำลาย หรือปัญหาทางฮาร์ดแวร์ ในกรณีนี้ควรสำรองข้อมูลบนอุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันความสูญเสียข้อมูลที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น
ความปลอดภัยของข้อมูล หากแฟลชไดร์ฟหายไปหรือถูกขโมย ข้อมูลที่อยู่ในนั้นอาจถูกเปิดเผยแก่บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต สำหรับข้อมูลที่มีความลับหรือสำคัญ ควรพิจารณาการใช้งานระบบความปลอดภัยเสมอ เช่น เข้ารหัสข้อมูลหรือใช้รหัสผ่านเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต
การติดเชื้อไวรัส แฟลชไดร์ฟอาจเป็นที่ติดเชื้อไวรัสหากถูกเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ติดเชื้อ ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟเสียหายได้

นอกจากประโยชน์และข้อควรระวัง การเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟก็มีความสำคัญอย่างมากที่ควรคำนึงถึงดังนี้
ความจุ เลือกแฟลชไดร์ฟที่มีความจุเพียงพอตามความต้องการของคุณ ความจุของแฟลชไดร์ฟมีหลากหลายตั้งแต่ไม่กี่เมกะไบต์ถึงหลายเทราไบต์ ควรพิจารณาว่าคุณต้องการใช้งานในระดับไหน เช่น ใช้เก็บเอกสารเพียงพอหรือต้องการจัดเก็บไฟล์มากมาย
ความเร็วการถ่ายโอนข้อมูล ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของแฟลชไดร์ฟสามารถแตกต่างกันได้ และขึ้นอยู่กับมาตรฐาน USB ที่ใช้ ความเร็วสูงสุดของ USB 3.0 สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วกว่า USB 2.0 ดังนั้นถ้าคุณต้องการการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็ว ควรเลือกแฟลชไดร์ฟที่ความเร็ว USB 3.0 หรือสูงกว่านั้น
คุณภาพและความทนทาน ควรเลือกแฟลชไดร์ฟที่มีคุณภาพและทนทาน เนื่องจากคุณอาจใช้งานแฟลชไดร์ฟอย่างส่วนตัวหรือธุรกิจเป็นเวลานาน ดังนั้นเลือกแฟลชไดร์ฟที่มีการออกแบบที่ทนทานต่อการใช้งานประจำและต้านทานต่อการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การทนต่อการกระทบ การทนต่อน้ำหรือฝุ่น
ราคา ในตลาดมีแฟลชไดร์ฟที่มีราคาและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ควรตรวจสอบราคาและฟังก์ชันของแฟลชไดร์ฟที่คุณต้องการเพื่อให้ได้รับคุณภาพและประโยชน์ที่เหมาะสมในราคาที่เหมาะสมกับงบประมาณของคุณ

ดังนั้น การเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟควรคำนึงถึงความจุ, ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล, ความปลอดภัย, คุณภาพและความทนทาน, ราคา และความต้องการของคุณเอง โดยเลือกแฟลชไดร์ฟที่ตอบสนองต่อความต้องการและการใช้งานของคุณ

แฟลชไดร์ฟ USB 3.0 คืออะไร ใหม่กว่า เร็วกว่าหรือไม่

แฟลชไดร์ฟ นับว่าเป็นอุปกรณ์เคียงคู่ออฟฟิศ หรือสำหรับหลายคนเปรียบเสมือนอุปกรณ์ที่จำเป็นที่จะต้องพกพาไปไหนมาไหนตลอดเวลาด้วยซ้ำ...

แฟลชไดร์ฟ นับว่าเป็นอุปกรณ์เคียงคู่ออฟฟิศ หรือสำหรับหลายคนเปรียบเสมือนอุปกรณ์ที่จำเป็นที่จะต้องพกพาไปไหนมาไหนตลอดเวลาด้วยซ้ำ เนื่องจากสิ่งนี้ค่อนข้างที่จะมีประโยชน์ในด้านของการทำงานสามารถที่จะทำให้เราทำการรับและส่งข้อมูลไปได้มากมายหลากหลายสามารถที่จะนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้มากมายหลากหลายเครื่อง และในปัจจุบันนี้เอง มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้กับอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ พัฒนาให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากยิ่งขึ้น แบบหนึ่งที่เราน่าจะเคยเห็นกันมาบ้าง นั่นก็คืออุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ที่อยู่ในรูปแบบของ USB 3.0 มีหลายรูปแบบ เช่น แฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟไม้ หรือแฟลชไดร์ฟยาง

หลายคนที่ใช้งานอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ น่าจะเกิดคำถามกันมาบ้างว่า แฟลชไดร์ฟที่เราเรียกกันว่าแบบ USB 3.0 สิ่งนี้คืออะไร แล้วทำไมเราต้องเรียกว่า 3.0 มันมีความเหมือนหรือแตกต่างจากแบบยูเอสบีที่เราใช้งานกันทุกวันนี้หรือไม่ เเล้วเแฟลชไดร์ฟ ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันทุกวันนี้ เป็นแบบ 3.0 หรือเป็นแบบ 2.0 สอง แบบนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ถ้านำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ของเราสามารถที่จะใช้งานได้หรือไม่ และความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะเร็วหรือช้าขึ้นอย่างไร

ทำความเข้าใจ พอร์ต USB 3.0

พอร์ต USB 3.0 คือมาตรฐานในการรับส่งข้อมูล ที่เรียกได้ว่าถูกพัฒนาขึ้นมาจากแบบดั้งเดิม แต่ก็ยังคงสามารถที่จะใช้งานได้ปกติ เหมือนกับแฟลชไดร์ฟ ที่เป็นในรูปแบบ USB 2.0 แต่จุดสังเกตที่เปลี่ยนไปของเวอร์ชั่นใหม่นี้ก็คือ บริเวณพอร์ตหรือบริเวณหัวเสียบ ที่จะมีลักษณะเป็นสีฟ้า และบริเวณหัวต่อจะมีสัญลักษณ์เป็น SS เพื่อสามารถที่จะให้ผู้ใช้งานเข้าใจและแยกออกได้ว่า แฟลชไดร์ฟที่ผู้ใช้งานใช้งานอยู่นี้ อยู่ในรูปแบบของ USB 2.0 ที่เป็นในรูปแบบเดิม หรือเป็นในรูปแบบใหม่ที่เป็น USB 3.0 นั่นเอง

ประสิทธิภาพที่สูงยิ่งขึ้น

โดยปกติทั่วไปแล้ว USB 3.0 ปิ่นเทคโนโลยีที่ถูกผลิตมาทีหลัง USB 2.0 ด้วยเหตุนี้ จึงมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่สูงกว่าอย่างแน่นอน โดยมีการคำนวณมาเป็นตัวเลขว่า USB 3.0 มีประสิทธิภาพ และความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากถึง 5 Gbps ซึ่งเทคโนโลยีแบบเดิม USB 2.0 มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพียงแค่ 480 Mbps เพียงเท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นความเร็วที่มากกว่าเดิมถึง 10 เท่าตัวเลยทีเดียว

และที่กล่าวมานี้ เป็นข้อมูลที่ใช้ในเชิงทฤษฎีสามารถนำมาอ้างอิง และนำมาเปรียบเทียบได้ในระดับนึง ในความเป็นจริงแล้ว มีปัจจัยอีกมากมายหลากหลายที่มีส่วนสำคัญ ที่ทำให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลแตกต่างกันออกไปในแต่ละเครื่อง และแต่ละอุปกรณ์สำหรับการใช้งาน

สามารถใช้งานร่วมกันได้หรือไม่

คำถามต่อมาก็คือ แล้วแบบนี้ ที่เป็นแบบ USB 3.0 สามารถใช้ร่วมกับพอร์ตแบบเดิม หรือก็คือแบบ USB 2.0 ได้หรือไม่ คำตอบคือมันสามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ แต่หากเรานำเอา USB 2.0 มาเสียบกับพอร์ต USB 3.0 ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะถูกปรับให้อยู่ในรูปแบบของ USB 2.0 โดยอัตโนมัติ และหากนำแบบที่เป็น USB 3.0ไปเสียบกับ USB 2.0 ความเร็วในการรับส่งข้อมูลก็จะถูกปรับให้อยู่ในรูปแบบของ USB 2.0 เช่นเดียวกัน การใช้งาน USB 3.0 ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เราจำเป็นที่จะต้องเสียบใช้งานกับพอร์ตแบบเดียวกันถึงจะสามารถรับและส่งข้อมูลได้และมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการใช้งาน

ซึ่งในปัจจุบันนี้ USB 3.0 นับว่าเป็นที่แพร่หลาย และใช้งานกันอย่างมากบนอุปกรณ์มากมาย ซึ่งแทบจะเป็นธรรมดากันแล้ว กลับกัน แบบที่เป็นรูปแบบเดิมหรือก็คือ USB 2.0 หายากมากขึ้น และไม่ค่อยเป็นที่นิยมเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นหากใครอยากนำมาจัดทำเป็นของพรีเมี่ยม ก็เลือกเอาที่สะดวก อาจจะเรื่องที่ความยากง่ายในการหาก็ได้

วิธีใช้แฟลชไดร์ฟลงระบบปฏิบัติการวินโดวส์

เมื่อพูดถึงการใช้งานแฟลชไดร์ฟ แน่นอนว่าโดยทั่วไปแล้วเราย่อมนึกถึงการใช้งานสำหรับเป็นอุปกรณ์ในการจัดเก็บ บันทึกไฟลดิจิทัลต่างๆ รวมถึงการโอนย้าย คัดลอกไฟล์จากอุปกรณ์นึงไม่ยังอุปกรณ์นึง ซึ่งถือเป็นประโยชน์ใช้สอยหลักที่ทำให้เกิดการพัฒนาแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ขึ้นมาอยู่แล้ว...

เมื่อพูดถึงการใช้งานแฟลชไดร์ฟ แน่นอนว่าโดยทั่วไปแล้วเราย่อมนึกถึงการใช้งานสำหรับเป็นอุปกรณ์ในการจัดเก็บ บันทึกไฟลดิจิทัลต่างๆ รวมถึงการโอนย้าย คัดลอกไฟล์จากอุปกรณ์นึงไม่ยังอุปกรณ์นึง ซึ่งถือเป็นประโยชน์ใช้สอยหลักที่ทำให้เกิดการพัฒนาแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ขึ้นมาอยู่แล้ว แต่ทว่าด้วยความที่พอร์ตการเชื่อมต่ออย่าง USB-A ซึ่งเป็นพอร์ตพื้นฐานที่ติดมากับแฟลชไดร์ฟแทบทุกรุ่นนั้นเป็นพอร์ตมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์บุคคล และแล็ปท็อปตลอดหลายปีที่ผ่านมา จึงทำให้ USB FlashDrive มีประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ ตามมาด้วย อาทิเช่น ใช้เป็นอุปกรณ์ในการดาวน์โหลด ติดตั้งเกม หรือโปรแกรมต่างๆ ลงบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์บุคคล หรือแล็ปท็อปเครื่องต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าในปัจจุบันมีแฟลชไดร์ฟหลายรูปทรง เช่นแฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟการ์ด หรือแฟลชไดร์ฟทวิสเตอร์ ประโยชน์เหล่านี้ถือว่าช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้มากทีเดียว เพราะสามารถพกพาแฟลชไดร์ฟ แก็ดเจ็ตขนาดกะทัดรัดสำหรับนำไปลงเกม หรือโปรแกรมต่างๆ ได้โดยไม่ต้องพกพาแผ่น CD หรือ DVD ต้นฉบับของตัวโปรแกรมนั้นๆ รวมถึงไม่ต้องลงทุนจ่ายเงินซื้อซอฟท์แวร์นั้นๆ เพิ่มสำหรับโปรแกรมที่สามารถแชร์การใช้งานร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามนอกจากการดาวน์โหลดเกม โปรแกรมต่างๆ มาเซฟไว้และติดตั้งลงอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว แฟลชไดร์ฟก็ยังมีอีกหนึ่งประโยชน์สำคัญที่หลายคนอาจจะเคยใช้งาน และอีกหลายคนก็อาจจะยังไม่เคยใช้งาน และอาจไม่ทราบวิธีใช้มาก่อนด้วย ซึ่งก็คือการใช้เป็นตัวบูท หรือติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ลงบนอุปกรณ์ต่างๆ นั่นเอง ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำวิธีใช้งานพื้นฐานสำหรับใช้แฟลชไดร์ฟบูทวินโดวส์ให้กับคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปของเรากัน
ทำการดาวน์โหลดไฟล์วินโดวส์มาเก็บไว้ในแฟลชไดร์ฟ หากย้อนกลับไปช่วง 5-6 ปีก่อน วิธีการติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่เราคุ้นเคยกันจะเป็นลักษณะของการซื้อแผ่น DVD ของทางไมโครซอฟท์มาทำการติดตั้ง โดยใส่แผ่นลงไปใน DVD Drive ของอุปกรณ์นั้นๆ แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแล็ปท็อปเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ที่มักจะดีไซน์ออกมาให้บางเบา มักตัดฟังก์ชั่น DVD Drive ออกไป ทำให้การบูท หรือติดตั้งโปรแกรมใดๆ ต้องอาศัยการบูทผ่าน USB Drive แทน เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ทางไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนมาให้บริการในระบบการดาวน์โหลดไฟล์ผ่านเว็บไซต์ รวมถึงการจำหน่ายโปรแกรมติดตั้งที่มาพร้อม USB FlashDrive แทนแผ่น DVD ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องมีสำหรับการลงระบบปฏิบัติการวินโดวส์ใหม่ก็คือแฟลชไดร์ฟ ที่มีไฟล์วินโดวส์เวอร์ชั่นที่เราต้องการลงให้อุปกรณ์ของเรานั่นเอง ซึ่งหากเป็นแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมไฟล์วินโดวส์จากทางไมโครซอฟท์เองก็แทบจะไม่ต้องเตรียมอะไรเพิ่มเติมเลย เพราะไฟล์ในตัวแฟลชไดร์ฟนั้นมาพร้อมสำหรับการบูทติดตั้งอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่เราต้องการใช้แฟลชไดร์ฟเก็บข้อมูลทั่วไปที่เรามีอยู่ เราก็ต้องไปทำการดาวน์โหลดไฟล์วินโดวส์จากเว็บไซต์มาไว้ให้ครบถ้วนซะก่อน
สร้างไฟล์ติดตั้ง หลังจากที่ได้ไฟล์วินโดวส์มาครบไว้ในแฟลชไดร์ฟครบถ้วนแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนสำคัญ ซึ่งก็คือทำให้ตัว USB FlashDrive สามารถบูทเข้าระบบปฏิบัติการเพื่อทำการติดตั้งได้ เพราะแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟทั่วไปที่เราใช้งานกันไม่สามารถบูทเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งด้วยตัวเองได้ ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้ว หากผู้ใช้งานพอจะมีพื้นฐานในการใช้งานเครื่องมือสำหรับสร้างไฟล์ติดตั้งก็อาจจะเลือกใช้เครื่องมืออย่า Rufus Portable โดยเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ของ Rufus เพื่อสร้างตัวบูทขึ้นมาเองได้ แต่สำหรับคนที่ไม่สันทัดในการใช้เครื่องมือติดตั้งเหล่านี้อาจเลือกใช้บริการร้านซ่อมอุปกรณ์ไอที หรือช่างไอทีทั่วไปให้ทำการสร้างตัวบูทวินโดวส์ใน FlashDrive ที่เราทำการเซฟไฟล์วินโดวส์นั้นไว้แทน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเสียค่าบริการเพียงเล็กน้อย เมื่อได้แฟลชไดร์ฟที่มีตัวบูทพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เพียงแค่ทำการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปที่เราต้องการติดตั้งวินโดวส์ เปิดเครื่องและกดปุ่มใดๆ บนคีย์บอร์ด(ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของอุปกรณ์) เพื่อบูทเข้าสู่ BIOS เมื่อปรากฎหน้าแสดงเมนูใน Bios แล้วก็ทำการเลือกเลือกเมนูให้อุปกรณ์บูทจาก USB Drive เท่านี้ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งวินโดวส์ปกติเช่นเดียวกับการติดตั้งโดยแผ่น DVD แล้ว

แฟลชไดร์ฟจากวัสดุรีไซเคิล อันตรายหรือไม่

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีการปรับเปลี่ยนลักษณะ และรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาในด้านของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ สิ่ง หนึ่ง ที่เราพบการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม น่าจะเป็นเรื่องของการจับจ่ายเลือกซื้อสินค้า...

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีการปรับเปลี่ยนลักษณะ และรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาในด้านของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ สิ่ง หนึ่ง ที่เราพบการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม น่าจะเป็นเรื่องของการจับจ่ายเลือกซื้อสินค้า โดยไม่ว่าจะเป็นบรรดาร้านสะดวกซื้อใดก็ตาม ต่างออกมารณรงค์ให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่ งดการใช้ถุงพลาสติก หรืออย่างน้อยก็เป็นการลดการใช้เพื่อซื้อสินค้า และเปลี่ยนเป็นการใช้ถุงผ้าหรือถุงกระดาษแทน นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนในหลายด้าน ทั้งนี้ รวมถึงการดัดแปลง และใช้วัสดุรีไซเคิล ในการผลิตสิ่งของต่างๆ ที่เราจะกล่าวกันก็คือในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นสำคัญ อย่างอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงเคสมือถือ หรือภาชนะเครื่องใช้ข้าวของมากมาย

หากเราจะกล่าวถึงแฟลชไดร์ฟ ในปัจจุบันมีการออกแบบมาให้มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน รวมถึงการใช้วัสดุในการทำก็แตกต่างกันไปด้วย มีทั้งแบบที่เป็นแฟลชไดร์ฟโลหะซึ่งใช้กันทั่วไป แบบที่เป็นแฟลชไดร์ฟยางให้สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก หรือแบบที่มีหลายฟังก์ชัน อย่างเช่นการทำมาในรูปแบบของแฟลชไดร์ฟการ์ด หรือแฟลชไดร์ฟปากกา ทั้งนี้เนื่องจากเพื่อให้ตอบรับกับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน เพิ่มความหลากหลายและตัวเลือกให้ผู้บริโภค

วัสดุ หนึ่ง ที่อยากจะนำมาคุยกันในวันนี้ ก็คือการใช้วัสดุรีไซเคิลในการทำแฟลชไดร์ฟ การนำวัสดุรีไซเคิลเหล่านี้มาทำ อาจต้องพิจารณาถึงหลักหลายปัจจัยด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเกิดความกังวล ว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดใดก็ตาม ควรใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานหรือไม่ มีคุณภาพมากกว่าและทนความร้อนได้ดี หรือบางส่วนอาจคิดว่า การใช้วัสดุรีไซเคิลในการทำแฟลชไดร์ฟ จะไปเป็นการลดคุณภาพและลดอายุการใช้งานหรือไม่ และมันอันตรายหรือไม่ วันนี้เราจะมาคุยกัน

ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแฟลชไดร์ฟ ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลกันก่อน ในความเป็นจริงนั้น วัสดุรีไซเคิลที่นำมาใช้ เป็นเพียงแค่วัสดุภายนอกของตัวอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ของเราเพียงเท่านั้น ซึ่งตัววัสดุภายนอกนี้ทำการปกป้องไม่ให้แผ่นชิป หรือส่วนหัวของตัวอุปกรณ์ของเราเกิดความเสียหายเพียงเท่านั้น ดังนั้นในจุดนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุที่มีการทนความร้อนสูง เนื่องจากตัวแฟลชไดร์ฟ ไม่ได้เกิดความร้อนในขณะที่ใช้งาน

นอกจากนี้วัสดุรีไซเคิลเอง ไม่ใช่วัสดุที่ไม่มีคุณภาพแต่อย่างใด เป็นเพียงแค่วัสดุที่เกิดจากการแปรรูปสิ่งของเหลือใช้ และนำกลับมาโดยผ่านกระบวนการอีกที ทั้งการหลอมเหลว การแปรรูปเพื่อเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ก็ยังคงมีประสิทธิภาพในการใช้งานเช่นเดิม วัสดุรีไซเคิลที่นำมาใช้อาจจะเป็นพวกไม้ กระดาษ แก้ว พลาสติก โลหะ หรืออาจเป็นวัสดุอื่น เหล่านี้ยังคงเป็นวัสดุที่แข็งแรงและเปลี่ยนไปด้วยคุณภาพ เพียงแต่แปรรูปหลักให้ต่างไปจากเดิมเท่านั้นเอง

อุปกรณ์ภายในก็ยังเหมือนเดิม

ในส่วนของอุปกรณ์ภายใน หรือบริเวณส่วนหัวยูเอสบีของแฟลชไดร์ฟ ยังคงเป็นวัสดุเดิม เราไม่สามารถที่จะใช้วัสดุใดก็ตาม ในการทดแทนตรงนี้ได้ เพราะสิ่งนี้ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ถึงแม้ว่าวัสดุภายนอกของตัวอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ จะเปลี่ยนไปเป็นวัสดุรีไซเคิล หรือแม้แต่จะเปลี่ยนเป็นวัสดุใดก็ตาม เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกังวล เนื่องจากการใช้งาน คุณภาพ รวมถึงประสิทธิภาพก็ยังคงเป็นแบบเดิม

นี่เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ และถือเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนในอีกแง่ หนึ่ง ถึงจะเป็นการลดภาวะโลกร้อนในทางอ้อม แต่อย่างน้อยมันก็ช่วยได้บ้าง อีกอย่างการใช้วัสดุรีไซเคิล ในปัจจุบันก็มีการออกแบบให้มีความสวยงามและน่าใช้งานมาก

แฟลชไดร์ฟยังจำเป็นอยู่ไหม? ในยุคที่มี SSD แบบพกพา

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพานั้นถือเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่อยู่คู่กับแวดวงไอทีมาตลอดนับตั้งแต่มีการเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ในหมู่ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และบุคคลทั่วไป เพื่อตอบสนองกิจกรรมโอนถ่าย เคลื่อนย้าย คัดลอกไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่างๆ ของผู้ใช้งาน...

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพานั้นถือเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่อยู่คู่กับแวดวงไอทีมาตลอดนับตั้งแต่มีการเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ในหมู่ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และบุคคลทั่วไป เพื่อตอบสนองกิจกรรมโอนถ่าย เคลื่อนย้าย คัดลอกไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่างๆ ของผู้ใช้งาน โดยที่นวัตกรรมและเทคนิคการผลิตแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพานั้นก็ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่กับการพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูล และปริมาณ หรือขนาดข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาขนาดกะทัดรัดที่มีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทั้งความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลที่สูงขึ้นตามเวอร์ชั่นของพอร์ตเชื่อมต่อ USB-A และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เริ่มต้นด้วยความจุเพียงหลักเมกะไบต์ จนมาถึงระดับเทราไบต์ในปัจจุบัน รวมไปถึงรูปร่างและวัสดุมีทั้งแบบแฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟไม้ และแฟลชไดร์ฟยาง อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากแฟลชไดร์ฟแล้ว ปัจจุบันยังมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพาอีกแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาและดูเหมือนว่ากำลังจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งก็คือ External SSD (External Solid State Drive) การมาของ SSD แบบพกพาทำให้หลายคนมองว่าอาจเป็นการเข้ามาแทนที่แก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟ ที่ดูจะมีประสิทธิภาพการใช้งานต่ำกว่า หลายคนที่กำลังมองหาแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลชิ้นใหม่มาใช้งานอยู่ จึงอาจรู้สึกชั่งใจว่าควรเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟที่คุ้นเคย หรือควรตัดสินใจซื้อ External SSD ที่น่าจะรองรับการใช้งานในระยะยาวได้ดีกว่า ในบทความนี้จึงได้นำเอาข้อมูลของแก็ดเจ็ตทั้งสองตัวมาแนะนำให้ได้ทราบกันว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร และการมาของ SSD จะเป็นการมาแทนที่แฟลชไดร์ฟอย่างที่หลายคนคาดไว้หรือไม่

แฟลชไดร์ฟ กับ SSD มีจุดประสงค์ในการพัฒนาต่างกัน แม้ว่าผู้ใช้งานหลายคนจะมองว่า External SSD มีประสิทธิภาพในการใช้งานเป็นแก็ดเจ็ตบันทึกข้อมูลแบบพกพาสูงกว่าแฟลชไดร์ฟ หรือทรัมไดร์ฟ แต่ที่จริงแล้วจุดประสงค์ในการพัฒนาของ SSD นั้นคือการใช้เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลร่วมกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ หรือพูดกันง่ายๆ ก็คือ SSD ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนที่ HHD หรือฮาร์ดดิสก์นั่นเอง ทั้งนี้ HHD ถือว่ามีข้อจำกัดเรื่องของความเร็วในการอ่าน เขียนข้อมููลเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน เนื่องจากต้องอาศัยแรงหมุนของมอเตอร์ขับเคลื่อนการทำงาน จึงได้มีการพัฒนา SSD ซึ่งสามารถอ่าน เขียนข้อมูลโดยอาศัยแผงวงจร และคำสั่งที่อยู่บนชิปแทน ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ บนคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น ขณะที่แฟลชไดร์ฟเป็นแก็ดเจ็ตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อุปกรณ์จัดเก็บ โอนย้ายข้อมูลแบบพกพาโดยตรงอยู่แล้ว จึงมาพร้อมกับดีไซน์ และขนาดของแผงชิปที่กะทัดรัด

External SSD ยังมีข้อจำกัดเรื่องของราคา และขนาด แม้ว่าโดยนวัตกรรมที่ใช้ในการผลิต SSD และแฟลชไดร์ฟจะเป็นไทป์เดียวกัน หรืออาศัยคำสั่งการทำงานที่อยู่บนแผงชิป ซึ่งช่วยให้อ่าน เขียนข้อมูลได้รวดเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์เหมือนกัน จนทำให้ผู้ใช้งานหลายคนมองว่าการลงทุนซื้อ External SSD มาใช้งานแทนน่าจะคุ้มกว่า แต่อย่างที่ทราบกันตามกล่าวข้างต้นแล้วว่าสเกลการพัฒนาของแก็ดเจ็ตทั้งสองตัวแตกต่างกันชัดเจน SSD ถูกพัฒนาขึ้นมาให้รองรับการใช้งานอ่าน เขียนข้อมูลร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อป แต่ก็สามารถปรับใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายนอกได้ แต่แฟลชไดร์ฟนั้นถูกพัฒนามาเพื่อใช้เป็นเพียงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก หรือจัดเก็บข้อมูลแบบพกพาเท่านั้น ดังนั้น External SSD ย่อมตามมาด้วยข้อจำกัดเรื่องของขนาด น้ำหนัก และราคาที่สูงกว่านั่นเอง หรือกล่าวสรุปได้ว่าแฟลชไดร์ฟยังคงเป็นแก็ดเจ็ตที่มีประโยชน์และเหมาะสำหรับการใช้งานจัดเก็บข้อมูลพกพา โอนย้าย คัดลอกไฟล์ข้อมูลต่างๆ ขณะที่ External SSD แม้จะมีประสิทธิภาพการอ่าน เขียนข้อมูลที่รวดเร็วกว่า แต่ก็ตามมาด้วยข้อจำกัด และความเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สะดวกในการพกพา ความเสี่ยงที่ข้อมูลจะเสียหายในปริมาณที่มากกว่าจากขนาดพื้นที่จัดเก็บที่ใหญ่กว่า งบในการซ่อมแซม หรือซื้อตัวใหม่ที่สูงกว่า เป็นต้น

ผลงาน ผลิตแฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ welcome to vv

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ