ผลงานสายชาร์จ USB สกรีนโลโก้ THE BALI PROCESS

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













ผลงานแท่นชาร์จไร้สาย เลเซอร์โลโก้ IOD

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













5 เหตุผล ที่ทำให้แฟลชไดร์ฟ เป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เลือนหายไปตามยุคสมัย

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเสริมสำหรับใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป แน่นอนว่าผู้ใช้งานหลายคนคงพอจะได้เห็นไทม์ไลน์การเปลี่ยนแปลง และการเลือนหายไปของแก็ดเจ็ตหลาย ๆตัวตลอดหลายปีที่ผ่านมา...

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเสริมสำหรับใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป แน่นอนว่าผู้ใช้งานหลายคนคงพอจะได้เห็นไทม์ไลน์การเปลี่ยนแปลง และการเลือนหายไปของแก็ดเจ็ตหลาย ๆตัวตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่เราคุ้นเคยกันในช่วงยุค 2000’s เช่น แผ่น Floppy Disk แผ่น CD, VCD, DVD จะเห็นได้ว่าปัจจุบันแก็ดเจ็ตเหล่านี้ได้เลือนหายไปตามกาลเวลาอย่างสมบูรณ์แล้ว แต่กลับมีแก็ดเจ็ตตัวนึงที่ไม่ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา ซึ่งก็คือ”แฟลชไดร์ฟ”  ทั้งที่มันถูกริเริ่มใช้งานในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกับแก็ดเจ็ตตัวอื่น ๆ หลายตัวดังกล่าว ในบทความนี้จึงจะมาเผยถึงเหตุผลให้ได้ทราบกันว่าเพราะอะไรแก็ดเจ็ตที่จัดเก็บไฟล์ข้อมูลที่ถูกริเริ่มใช้กันมาเกินกว่า 20 ปีแล้วอย่างแฟลชไดร์ฟ จึงไม่เลือนหายไปตามกาลเวลาเหมือนเพื่อนร่วมรุ่นรายอื่น ๆ อีกทั้งยังถูกนิยมใช้ทำเป็น GIFT SET เพื่อแจกในงานต่าง ๆ ท่ามกลางทางเลือกการจัดเก็บข้อมูลที่มีให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้มากมายในปัจจุบัน

พื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ยืดหยุ่นกว่า แม้ว่าแฟลชไดร์ฟจะเป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่มีการริเริ่มใช้งานพร้อมๆกับ แก็ดเจ็ตอย่างแผ่น Floppy Disk และแผ่นดิสก์ในรูปแบบ CD ทั้งหลาย แต่สิ่งที่ทำให้แฟลชไดร์ฟ เป็นแก็ดเจ็ตที่มีข้อดีแตกต่างจากแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลตัวอื่น ๆ อย่างชัดเจนก็คือ สถาปัตยกรรมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของตนเองที่มีความยืดหยุ่นในการขยายพื้นที่ได้อย่างง่ายดายนั่นเอง โดยปัจจุบันจะเห็นได้ว่าแฟลชไดร์ฟสามารถยกระดับขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของตนเองมาถึงระดับเทราไบต์แล้วด้วยซ้ำ ขณะที่แก็ดเจ็ตที่อาศัยสถาปัตยกรรมแบบแผ่นดิสก์นั้นจะถูกจำกัดพื้นที่ด้วยขนาดของแผ่นดิสก์ ทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่จัดเก็บไปเกินกว่าระดับ กิกะไบต์ต้น ๆ ได้ และนั่นก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้แฟลชไดร์ฟยังคงอยู่ในยุคสมัยปัจจุบัน แต่แก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลตัวอื่น ๆ เลือนหายไป

พอร์ตการเชื่อมต่อที่สะดวก และมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย เหตุผลประการต่อมาที่ทำให้แฟลชไดร์ฟเป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่โดดเด่น สะดวกต่อผู้ใช้งานมากกว่าแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลจากเจเนอเรชั่นเดียวกันก็คือ พอร์ตการเชื่อมต่อที่สะดวก และง่ายต่อการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยนั่นเอง เนื่องจากแฟลชไดร์ฟใช้พอร์ตแบบ USB ซึ่งเป็นพอร์ตมาตรฐานของอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริมได้หลายชนิด ขณะที่แก็ดเจ็ตชิ้นอื่น ๆ จำเป็นต้องมีพอร์ตการเชื่อมตัวเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Floppy Disk Drive VCD/DVD Drive ซึ่งนับเป็นภาระของผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีที่ต้องใส่เข้ามาเพิ่มเติม สุดท้ายเมื่อความต้องการใช้งานลดลง ตัวพอร์ตจึงถูกตัดทอนทิ้งไปด้วย

ดีไซน์และขนาดที่สะดวกต่อการพกพา เหตุผลประการต่อมาที่ทำให้แฟลชไดร์ฟยังคงเป็นตัวเลือกการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลที่ดีท่ามกลางทางเลือกอีกมากมายในปัจจุบันก็คือ ดีไซน์และขนาดที่สะดวกต่อการพกพาติดตัวนั่นเอง เรียกว่าเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นที่ไม่มีอุปสรรคในการพกพาใด ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขนาด น้ำหนัก หรือหน้าตาดีไซน์ที่ถูกออกแบบมาแตกต่างจากยุคก่อน ๆ อย่างเช่น Pen Usb ที่เป็นได้ทั้งปากกาและแฟลชไดร์ฟ Rubber Usb ที่เป็นแฟลชไดร์ฟยางที่ทั้งเป็นสายรัดข้อมือ พวงกุญแจและสายวัด แต่ก็ยังใช้งานเป็นแฟลชไดร์ฟได้ด้วย

ความเป็นส่วนตัว/ความปลอดภัยของข้อมูล เหตุผลสำคัญต่อมาที่ทำให้แฟลชไดร์ฟยังคงถูกเลือกใช้ทดแทนทางเลือกการจัดเก็บข้อมูลแบบอื่น ๆ ก็คือ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยข้อมูลนั่นเอง เนื่องจากทางเลือกการจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ ในปัจจุบันมักจะเป็นรูปแบบออนไลน์ หรือพื้นที่กลางที่ให้บริการโดยบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์รายต่าง ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮ็ก หรือโจรกรรมข้อมูลจากผู้ไม่หวังดีจากทั่วทุกมุมโลก

ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้แฟลชไดร์ฟยังคงเป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่ถูกเลือกใช้งานในปัจจุบัน และไม่เลือนหายไปตามยุคสมัยก็คือ ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่ยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจนั่นเอง ทั้งนี้แม้ว่าปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีเทคโนโลยีการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์แบบไร้สาย แต่ข้อจำกัดนึงที่ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนรู้สึกไม่สะดวกก็คือเรื่องของความเร็วนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ การโอนถ่ายผ่านสัญญาณไร้สายมักจะใช้เวลาพอสมควร แต่การโอนถ่ายผ่านแฟลชไดร์ฟนั้นจะเป็นการเชื่อมต่อเขากับพอร์ต USB ของอุปกรณ์นั้น ๆ แบบไดเรค ทำให้โอนถ่ายไฟล์จำนวนมาก หรือไฟล์ขนาดใหญ่ทำได้รวดเร็วกว่า

ผลงานผลิตแฟลชไดร์ฟ โลโก้ QES

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













ผลงานปลั๊กไฟ สกรีนโลโก้ A&P

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













เหตุผลที่ไม่ควรใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกับผู้อื่น

อย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานอุปกรณ์ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป แท็บเล็ต สำหรับกิจกรรมการทำงาน การเรียนต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน มีแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ค่อนข้างมีความสำคัญในการใช้งานควบคู่กันเพื่อให้กิจกรรมการทำงานต่าง ๆ ของผู้ใช้งานลื่นไหลมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือ...

อย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานอุปกรณ์ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป แท็บเล็ต สำหรับกิจกรรมการทำงาน การเรียนต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน มีแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ค่อนข้างมีความสำคัญในการใช้งานควบคู่กันเพื่อให้กิจกรรมการทำงานต่าง ๆ ของผู้ใช้งานลื่นไหลมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือ “แฟลชไดร์ฟ” สำหรับจัดเก็บ ส่งต่อ โอนถ่ายไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ นั่นเองซึ่งมีมากมายหลายแบบอย่างเช่น Wooden Usb, Leather Usb, Card Usb เป็นต้น และบ่อยครั้งการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับกิจกรรมการทำงาน การเรียนต่าง ๆ  ของผู้ใช้งานหลายคนก็อาจเป็นไปในลักษณะของการใช้งานร่วมกันกับบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นการหยิบยืมชั่วคราว หรือการแบ่งปันแก็ดเจ็ตกันใช้งานในระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าการใช้งานในลักษณะย่อมมีข้อดีตรงที่สามารถช่วยให้ผู้ใช้งานบางส่วนประหยัดต้นทุนในการควักเงินซื้อตัวแก็ดเจ็ตมาใช้งานนั่นเอง ทั้งยังสามารถแชร์ข้อมูลให้กันได้อย่างสะดวกอีกด้วย แต่ทว่าขณะเดียวกันก็ตามมาด้วยข้อเสีย และความเสี่ยงในการใช้งานข้อมูล รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ หลายประการเช่นกัน เรียกได้ว่าเมื่อช่างน้ำหนักดูแล้ว ข้อดีที่ได้จากการใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันในหมู่ผู้ใช้งานหลายคนอาจจะไม่คุ้มค่าสำหรับข้อเสีย และความเสี่ยงที่จะตามมาสักเท่าไหร่ ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอาข้อเสียและความเสี่ยงต่าง ๆ จากการใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันมาแบ่งปันให้ผู้ใช้งานได้ทราบกัน

ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ข้อเสียใหญ่อย่างแรกที่เห็นได้ชัดในการใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันในหมู่ผู้ใช้งานหลายคนก็คือ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่จะลดทอนลงไปมากเลยนั่นเอง เพราะแน่นอนว่าเมื่อเป็นการใช้งานร่วมกันหลายคน ผู้ใช้งานแต่ละคนย่อมไม่สามารถที่จะจัดเก็บไฟล์ส่วนตัว หรือไฟล์ที่ไม่ต้องการแชร์กับผู้อื่นลงไปได้ และในการจัดเก็บไฟล์งานที่จำเป็นต่าง ๆ ลงไป ก็ย่อมเท่ากับว่าผู้อื่นสามารถเข้าถึง เปิดอ่าน หรือแก้ไขไฟล์ของเราได้ด้วย

ความปลอดภัยจากโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ลดน้อยลง เมื่อเป็นการใช้งานร่วมกัน หรือแชร์กันใช้งานกับผู้ใช้งานหลายคนก็แน่นอนว่าสิ่งที่จะตามมาก็คือ การนำแฟลชไดร์ฟไปเสียบเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์หลายตัว รวมถึงเสียบใช้งานกับอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์มด้วย และนั่นก็ย่อมทำให้ความเสี่ยงเรื่องการรักษาความปลอดภัย หรือการถูกเข้าถึง โจมตีโดยไวรัส โปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ มีมากขึ้นไปโดยอัตโนมัติ เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าบนอุปกรณ์ของผู้ใช้งานคนอื่น ๆ มีโปรแกรมไม่พึงประสงค์ใด ๆ แอบแฝงอยู่หรือไม่

ความเสี่ยงที่แก็ดเจ็ตจะชำรุดเสียหายจากการเสียบใช้งานกับอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์ม อย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานร่วมกันกับผู้ใช้งานหลายคน ย่อมทำให้ตัวแฟลชไดร์ฟถูกนำไปเสียบใช้งานเข้ากับอุปกรณ์หลายตัว และบางตัวก็อาจเป็นอุปกรณ์คนละแพลตฟอร์ม หรือมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ซึ่งความต่างของแพลตฟอร์มนี้เองย่อมนำมาซึ่งความต่างของคำสั่งดิจิทัลในการเรียกดู เข้าถึง ไฟล์ข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟด้วยเช่นกัน การที่ตัวแก็ดเจ็ตต้องรับคำสั่งการทำงานที่แตกต่างกัน สลับไปมาตลอดก็จะนำมาซึ่งความเสี่ยงที่แผงวงจรจะเสื่อมสภาพ หรือเสียหายได้เร็วขึ้นกว่าปกตินั่นเอง

จัดกลุ่มไฟล์ ค้นหาเรียกใช้ไฟล์ต่าง ๆ ได้ยาก อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้การใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันในหมู่ผู้ใช้งานหลายคนดูจะมีข้อเสียมากกว่าก็คือ การจัดการไฟล์ จัดกลุ่มไฟล์ ค้นหาและเรียกใช้ไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะยากกว่าการใช้งานเป็นแก็ดเจ็ตส่วนตัวนั่นเอง เพราะเมื่อมีผู้ใช้งานหลายคน ก็ย่อมมีการบันทึกไฟล์ หรือสร้างไฟล์จากผู้ใช้หลายคนตามไปด้วย จำนวนไฟล์ที่ถูกบันทึกก็ย่อมมีมากด้วยเช่นกัน วิธีการจัดกลุ่มไฟล์ การตั้งชื่อโฟลเดอร์ของผู้ใช้แต่ละคน ก็อาจแตกต่างกันออกไปตามความคุ้นเคยด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญหายของแฟลชไดร์ฟควรเลือกใช้ Package แฟลชไดร์ฟ มีขนาดใหญ่กว่าแฟลชไดร์ฟจะได้ไม่สูญหายง่าย

เช็คลิสต์ สิ่งที่ไม่ควรทำ ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type C

เมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ตเสริมสำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ไอที เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แล็ปท็อป ในปัจจุบัน ก็แน่นอนมีแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ได้รับความนิยมใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นก็คือแฟลชไดร์ฟซึ่งมีหลากหลายแบบมากมายเช่น wooden usb, metal usb, leather usb หรือแฟลชไดร์ฟ Type C แฟลชไดร์ฟที่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-C...

เมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ตเสริมสำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ไอที เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แล็ปท็อป ในปัจจุบัน ก็แน่นอนมีแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ได้รับความนิยมใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นก็คือแฟลชไดร์ฟซึ่งมีหลากหลายแบบมากมายเช่น wooden usb, metal usb, leather usb หรือแฟลชไดร์ฟ Type C แฟลชไดร์ฟที่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-C นั่นเอง ทั้งนี้เดิมทีแล้วแก็ดเจ็ตชิ้นดังกล่าวถือว่าเป็นไอเทมที่ผู้ใช้งานอุปกรณ์ไอทีรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่พอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานที่ติดมากับตัวแก็ดเจ็ตเป็นเวลานานนับสิบปีนั้นจะเป็นพอร์ต USB Type A ขณะที่อุปกรณ์พกพาเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ นั้นไม่ได้มาพร้อมกับพอร์ต USB-A ทำให้ช่วงไม่กี่ปีหลังที่ผ่านมานี้ ความนิยมในการใช้งานแฟลชไดร์ฟลดน้อยถอยลงไปพอสมควร ก่อนที่แฟลชไดร์ฟ USB-C จะถูกเปิดตัวออกสู่ตลาด และทำให้ผู้ใช้งานบางส่วนกลับมาพกพาแฟลชไดร์ฟ Type-C ไว้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อป อย่างไรก็ตามในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ พอร์ต USB-C ก็มีข้อควรระวังที่แตกต่างไปจากพอร์ต USB-A ที่ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ควรระมัดระวังอยู่หลายประการด้วยกัน ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอาสิ่งที่ควรระวัง และหลีกเลี่ยงในการใช้งานไอเทมชิ้นนี้มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

ไม่ใช่สาย/แก็ดเจ็ตแปลงพอร์ต เกินความจำเป็น อย่างที่ทราบกันว่าแฟลชไดร์ฟในยุคเริ่มต้นที่เราคุ้นเคยกันมีพอร์ตมาตรฐานแบบเดียว ซึ่งก็คือ USB-A และในการใช้งานจริง ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ก็แทบไม่มีความจำเป็นต้องใช้เชื่อมต่อเข้ากับพอร์ตลักษณะอื่น ๆ เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันอย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป ก็มีพอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานเป็น USB-A เช่นกัน ทว่าในปัจจุบันนี้แตกต่างออกไป พอร์ต USB-C ไม่ใช่เพียงพอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานเดียวเท่านั้น แต่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปหลาย ๆ รุ่นก็ยังคงมาพร้อมกับพอร์ตแบบ USB-A นอกจากนี้ก็ยังมีพอร์ตรูปแบบอื่น ๆ ที่อยู่ในอุปกรณ์พกพา เช่น USB-B, Lightning อีก ผู้ใช้งานบางส่วนจึงอาจมีความต้องการใช้งานพอร์ตการเชื่อมต่อมากกว่า 1 พอร์ตขึ้นไป และทำให้ตัดสินใจเลือกหาขั้วแปลงพอร์ต หรือสายแปลงพอร์ตมาต่อพ่วงกับพอร์ต USB-C ของตัวแฟลชไดร์ฟอีกทีนึง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะแม้ว่าจะไม่มีแบรนด์ผู้ผลิตรายใดออกมาแนะนำโดยตรงว่าไม่ควรใช้งานลักษณะดังกล่าว แต่ด้วยสถาปัตยกรรมของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ที่เป็นการใช้คำสั่งการทำงานแบบดิจิทัล และมีการส่งกระแสไฟและแปลงสัญญาณไปยังพอร์ตเชื่อมต่อเมื่อใช้งานนั้น การต่อพ่วงขั้วแปลงสัญญาณเพิ่มเติม จึงมีแนวโน้มที่จะรบกวนคำสั่งการทำงาน และอาจก่อให้เกิดเอฟเฟ็กต์ในทางลบได้

เสียบใช้งานโดยไม่สแกนไวรัส ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ ผู้ใช้งานหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการกดสแกนไวรัสเมื่อเสียบใช้งานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป ก่อนที่จะเปิดดูข้อมูลบนไดร์ฟ เพื่อใช้งานไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ หรือคัดลอก ส่งต่อ แต่สำหรับการใช้งานแฟลชไดร์ฟ USB-C กับอุปกรณ์พกพา สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หลายคนอาจจะหลงลืมถึงขั้นตอนดังกล่าวไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าระบบของอุปกรณ์พกพา เช่น Android, IOS, Ipad OS จะมีฟังก์ชั่นป้องกันความปลอดภัยในตัว สกรีนแอปพลิเคชั่นอันตรายบนสโตร์อัตโนมัติ แต่การสแกนไวรัสจากไดร์ฟที่เชื่อมต่อเข้าไปใหม่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพราะไวรัสที่อาจแฝงอยู่กับไฟล์ต่าง ๆ ในแฟลชไดร์ฟถือเป็นคนละส่วนกับที่อยู่บนอุปกรณ์ จึงอาจอยู่นอกเหนือการมองเห็นและเรียกใช้ฟังก์ชั่นความปลอดภัยอัตโนมัติของอุปกรณ์นั่นเอง

ติดตั้งแอปพลิเคชั่นช่วยจัดการไดร์ฟต่าง ๆ อีกหนึ่งข้อควรระวังที่ต้องบอกว่าค่อนข้างอันตรายในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type C บนอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตก็คือ การติดตั้งแอปพลิเคชั่นเสริมช่วยจัดการข้อมูลบนไดร์ฟไว้ใช้งานควบคู่กันนั่นเอง เพราะแอปพลิเคชั่นลักษณะนี้มีให้ดาวน์โหลดอยู่บนสโตร์จำนวนมาก และการใช้งานก็เท่ากับการยินยอมให้ตัวแอปพลิเคชั่นสามารถเข้าถึงไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนไดร์ฟของเรา ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งแอปพลิเคชั่นลักษณะดังกล่าวนี้ และใช้เพียงแอปพลิเคชั่นจัดการไดร์ฟที่ติดมากับอุปกรณ์ หรือเป็นแอปพลิเคชั่นทางการจากแบรนด์ผู้ผลิตแฟลชไดร์ฟที่เราใช้งานเท่านั้นและเพื่อป้องกันการสูญหายของแฟลชไดร์ฟควรเอาไว้กับ gps tracker ทำให้เห็นพิกัดของแฟลชไดร์ฟง่ายต่อการหา

 

ผลงานจริงจากโรงงาน แฟลชไดร์ฟ เลเซอร์โลโก้ CGH HOSPITAL

...

 ผลงานจริงจากโรงงาน แฟลชไดร์ฟ เลเซอร์โลโก้ CGH HOSPITAL

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













5 เหตุผล ที่ทำให้แฟลชไดร์ฟ Type C ได้รับความนิยมมากกว่าพอร์ตไทป์อื่น ๆ

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าแฟลชไดร์ฟ ถือเป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลชิ้นนึงที่ชาวไอทีจำนวนมากใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปมาเป็นเวลานานแล้ว ก่อนที่ในช่วงหลัง ๆ กระแสความนิยมในการใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้จะลดน้อยถอยลงไป...

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าแฟลชไดร์ฟ ถือเป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลชิ้นนึงที่ชาวไอทีจำนวนมากใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปมาเป็นเวลานานแล้ว ก่อนที่ในช่วงหลัง ๆ กระแสความนิยมในการใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้จะลดน้อยถอยลงไป เนื่องจากผู้ใช้สามารถใช้ทางเลือกการจัดเก็บข้อมูลแบบอื่น ๆ ทดแทนได้ เช่น การใช้ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟแบบพกพา การจัดเก็บบนระบบคลาวด์ออนไลน์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในช่วง 1-2 ปีหลังนี้ บรรดาผู้ผลิตแก็ดเจ็ตรายต่าง ๆ ได้พากันพัฒนาแฟลชไดร์ฟให้มีสเปคที่ทันยุคทันสมัยมากขึ้นมีหลากหลายแบบมากขึ้นเช่น Pen Usb ที่เป็นการใช้งานแบบ 2 In 1 ที่สามารถใช้เป็นปากกาเขียนงานได้และใช้เป็นแฟลชไดร์ฟได้ Rubber Usb เป็นแฟลชไดร์ฟยางที่ใช้ทำเป็นสายรัดข้อมือและพวงกุญแจไม้ตกแต่งได้และทำให้เกิดเป็นแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อ USB Type C ออกมาวางจำหน่ายสู่ตลาด ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งานทั่วโลก อาจเรียกได้ว่าการมาของแฟลชไดร์ฟ USB-C นี้ ทำให้ผู้ใช้งานที่เลิกใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นกลับมาใช้งานอีกครั้งก็ว่าได้ ดังนั้นเราจึงได้เเอา 5 เหตุผลสำคัญมาบอกกล่าวให้ได้ทราบกันว่าเพราะอะไร แฟลชไดร์ฟ USB Type C นี้ ถึงได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้งานมากกว่าพอร์ตเชื่อมต่อไทป์อื่น ๆ

อุปกรณ์เจเนอเรชั่นใหม่ ๆ มาพร้อมกับพอร์ต USB-C เหตุผลแรกที่ทำให้แฟลชไดร์ฟ USB-C ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ใช้งานอุปกรณ์ไอทีมากกว่าพอร์ตเชื่อมต่อไทป์อื่น ๆ ก็คือ การที่อุปกรณ์ไอทีเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อป คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรืออุปกรณ์ขนาดพกพาอื่น ๆ มักจะมาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อ USB-C นั่นเอง โดยบางอุปกรณ์ก็อาจจะยังให้พอร์ต USB-A มาด้วย แต่บางอุปกรณ์ก็ให้มาเพียงแค่ USB-C เท่านั้น ผู้ใช้งานจำนวนมากจึงมองว่า แฟลชไดร์ฟ USB-C สามารถใช้งานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกกว่านั่นเอง

ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวก เหตุผลสำคัญประการต่อมาที่ทำให้แฟลชไดร์ฟ USB-C มีกระแสความนิยมจากผู้ใช้งานมากกว่าพอร์ตเชื่อมต่อไทป์อื่น ๆ ก็คือ การที่สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกนั่นเอง เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าอุปกรณ์พกพา เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต มักจะมาพร้อมกับพอร์ต USB-C ขณะที่แฟลชไดร์ฟเจเนอเรชั่นก่อน ๆ นั้นจะมาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-A เท่านั้น ทำให้การสลับใช้งานกับอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์มทำได้ไม่สะดวกนัก โดยจำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมอย่างสายแปลงพอร์ต หรือขั้วแปลงพอร์ต

การรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วกว่า แม้ว่าลักษณะ หรือ Type ของพอร์ตเชื่อมต่อแต่ละ Type จะไม่ได้ส่งผลต่อความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลโดยตรง แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าพอร์ตเชื่อมต่อ USB นั้นถูกพัฒนาเวอร์ชั่นมาเรื่อย ๆ ตามลำดับเวลา และเวอร์ชั่นหลัง ๆ ก็ย่อมมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วกว่า ซึ่งด้วยความที่พอร์ต USB Type C เพิ่งจะถูกพัฒนาออกมาในช่วงหลังนี้เอง จึงทำให้ตัวพอร์ตเชื่อมต่อมักมาพร้อมกับเวอร์ชั่นหลัง ๆ ด้วยเช่นกัน ผู้ใช้งานจึงมักสังเกตเห็นได้ว่าแฟลชไดร์ฟ USB-C สามารถรับส่งข้อมูลได้รวดเร็วกว่าแฟลชไดร์ฟไทป์อื่นที่ตนเองเคยใช้งานมา จึงกลายเป็นกระแสความนิยมชื่นชอบในประสิทธิภาพของแฟลชไดร์ฟ Type C ด้วยนั่นเอง

ประโยชน์ใช้งานที่คุ้มค่าในราคาเบา ๆ หากย้อนกลับไปในช่วงที่การจัดเก็บไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ยังมีทางเลือกไม่มากนัก และยังไม่มีระบบจัดเก็บออนไลน์อย่างคลาวด์ ผู้ใช้งานหลายคนคงพอจะจดจำราคาของแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟ กับขนาดพื้นที่จัดเก็บที่ได้รับได้ว่าช่วงเรทราคาจำหน่ายนั้นไม่ใช่ระดับเรทราคาถูกๆ ขนาดพื้นที่จัดเก็บ 16Gb เคยมีราคาหลักพันบาทเลยด้วยซ้ำ ทว่าปัจจุบันแฟลชไดร์ฟ USB-C ที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปในตลาดนั้นถือว่ามีเรทราคาที่ถูกลงและคุ้มค่าขึ้นมากทีเดียว

มีตัวเลือกสินค้าจากแบรนด์ผู้ผลิตรายใหญ่ให้เลือกใช้ หากพูดถึงแฟลชไดร์ฟพอร์ต USB-A ที่เราคุ้นเคยกันในช่วงหลายปีก่อนหน้า ก็แน่นอนว่าตัวเลือกสินค้าที่มีให้เราได้เลือกใช้ในตลาดนั้นมักจะเป็นสินค้าจากแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่แบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทียักษ์ใหญ่รายต่าง ๆ ทว่าปัจจุบันแฟลชไดร์ฟ USB-C มีตัวเลือกสินค้าจากผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีรายใหญ่ต่าง ๆ เช่น HP, Xiaomi ฯลฯ วางจำหน่ายอยู่มากมายในตลาดให้ผู้ใช้อย่างเราๆ ได้เลือกใช้งาน และนั่นก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้แฟลชไดร์ฟ Type C ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ใช้งานมากกว่าพอร์ตไทป์อื่น ๆ   นอกจากนี้แฟลชไดร์ฟยังเป็นสิ่งที่นิยมในการนำไปจัดเป็น Gift Set เพื่อนำไปเป็นของขวัญหรือของแจกในงานต่าง ๆ