เปรียบเทียบ แฟลชไดร์ฟ-SD Card-External SSD แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนคุ้มค่าที่สุด ?

เมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ตสำหรับจัดเก็บไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ก็แน่นอนว่าในปัจจุบันยูสเซอร์ หรือผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ นั้นมีตัวเลือกให้ได้เลือกใช้งานกันค่อนข้างหลากหลายทีเดียว แม้ว่าเทคโนโลยีเดิม ๆ บางส่วน เช่น แผ่นวีซีดี แผ่นดีวีดี จะเลือนหายไปแล้วก็ตาม...

เมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ตสำหรับจัดเก็บไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ก็แน่นอนว่าในปัจจุบันยูสเซอร์ หรือผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ นั้นมีตัวเลือกให้ได้เลือกใช้งานกันค่อนข้างหลากหลายทีเดียว แม้ว่าเทคโนโลยีเดิม ๆ บางส่วน เช่น แผ่นวีซีดี แผ่นดีวีดี จะเลือนหายไปแล้วก็ตาม โดยปัจจุบันมีตัวเลือกแก็ดเจ็ดจัดเก็บข้อมูลทั้ง แฟลชไดร์ฟ SD Card และ External SSD ให้เราได้เลือกใช้งาน ซึ่งทั้งสามแบบนั้นต่างก็มีขนาดที่เล็กกะทัดรัด พกพาสะดวกด้วยกันทั้งนั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าเมื่อมองอย่างผิวเผินแล้วแก็ดเจ็ตทั้งสามตัวจะสามารถใช้งานทดแทนกันได้ แต่ทว่าในความเป็นจริง แก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลทั้งสามตัวนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งผู้ใช้งานบางส่วนอาจจะทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ก็อาจมีผู้ใช้งานหลายคนที่ไม่ทราบมาก่อน และยังคงชั่งใจที่จะตัดสินใจเลือกใช้แก็ดเจ็ตตัวใด ในบทความนี้จึงจะมาเปรียบเทียบให้ได้เห็นกันชัด ๆ ว่า แฟลชไดร์ฟ SD Card และ External SSD มีจุดเด่นในการจัดเก็บไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ที่เหมือน หรือต่างกันอย่างไร และแบบไหนคุ้มค่ามากที่สุด

แฟลชไดร์ฟ VS SD Card แก็ดเจ็ตสองตัวแรกที่ดูจะคล้าย ๆ กัน และผู้ใช้งานหลายคนเข้าใจว่ามีประโยชน์ใช้งานไม่ต่างกัน แต่ในความเป็นจริง ประโยชน์ใช้งานค่อนข้างต่างกันพอสมควรก็คือ แฟลชไดร์ฟ และ SD Card นั่นเอง โดยแฟลชไดร์ฟนั้น ผู้ใช้งานหลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วว่าเป็นไดร์ฟพกพาสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านพอร์ต USB     มีหลากหลายรูปแบบทั้ง PEN  USB ที่เป็นทั้งปากกาและแฟลชไดร์ฟในเวลาเดียวกัน RUBBER USB ที่เป็นทั้งสายรัดข้อมือ พวงกุญแจแต่สำหรับ SD Card นั้น เป็นแบบการ์ดแต่แม้ว่าจะสามารถใช้งานเป็นไดร์ฟภายนอกเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟนได้เหมือนกัน แต่ประโยชน์หลัก ๆ ของแก็ดเจ็ตบันทึกข้อมูลตัวนี้ก็คือ การเสียบติดไว้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆประจำเลยนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน กล้องดิจิทัล กล้องวงจรปิด โดย SD Card มีความสามารถในการบันทึกไฟล์ใหม่ ๆ ทับแทนไฟล์เดิม ๆ ได้ทันทีที่พื้นที่หน่วยความจำถูกใช้จนเต็ม จึงเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นมาตรฐานที่ถูกเลือกใช้งานกับกล้องวงจรปิดแบบต่าง ๆ ขณะที่แฟลชไดร์ฟไม่สามารถใช้งานในลักษณะนี้ได้

SD Card VS External SSD แก็ดเจ็ตสองตัวที่มีระบบการทำงานภายใน เขียน อ่านไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ไม่แตกต่างกัน แต่ประโยชน์การใช้งาน และความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันชัดเจนเช่นกันก็คือ SD Card และ External SSD อย่างที่ทราบดังกล่าวข้างต้นว่า SD Card นั้นมีจุดเด่นตรงที่สามารถใช้เป็นหน่วยความจำให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เสมือนเป็นหน่วยความจำหลัก แต่สำหรับ External SSD นั้น แม้ว่าจะถูกพัฒนาต่อยอดมาจากหน่วยความจำภายในของคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปเจนเนอเรชั่นใหม่ ๆ แต่ด้วยสถาปัตยกรรมที่ดีไซน์มาให้เน้นใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก จึงทำให้ไม่สามารถใช้งานในลักษณะเดียวกับ SD Card ได้ แต่ทว่าจุดเด่นของ External SSD ก็คือ สามารถใช้เป็นไดร์ฟภายนอกที่มีสเกลการใช้งานใหญ่กว่าทั้งแฟลชไดร์ฟ และ SD Card ได้ ทั้งการเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ที่มีความละเอียดสูง การติดตั้งซอฟต์แวร์ใด ๆ ลงไป และพร้อมใช้งานได้ทันทีที่เชื่อมต่อ SSD เข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ

ราคา จากข้อเปรียบเทียบดังกล่าวข้างต้นสองข้อ ผู้ใช้งานหลายคนน่าจะได้ทราบความแตกต่าง และจุดเด่นของแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลอย่างแฟลชไดร์ฟ SD Card และ External SSD กันแล้ว แต่อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องบอกว่ามีผลต่อความคุ้มค่าในการเลือกใช้งานของผู้ใช้งานหลายคนไม่น้อยเหมือนกันก็คือ ราคานั่นเอง ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบราคาโดยเฉลี่ย สามารถเรียงลำดับจากน้อยไปมากได้ดังนี้ แฟลชไดร์ฟ-SD Card-External SSD กล่าวสรุปคือ แฟลชไดร์ฟเป็นแก็ดเจ็ดจัดเก็บข้อมูลพกพาที่มีราคาถูกที่สุด ส่วน SD Card จะมีราคาสูงขึ้นมาหน่อยอยู่ในระดับกลาง ๆ และ External SSD มีราคาแพงที่สุดนั่นเอง ดังนั้นหากต้องการใช้งานสำหรับจัดเก็บข้อมูลโอนถ่ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ทั่วไป แฟลชไดร์ฟก็ถือว่าคุ้มค่าและเพียงพอต่อความต้องการแล้ว แต่สำหรับลักษณะการใช้งานอื่น ๆ นั้นก็จำเป็นต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสมทั้งนี้ควรจัดเก็บใส่ Package เพื่อป้องกันการสูญหาย

ส่องลิสต์ 5 แบรนด์แฟลชไดร์ฟ(Type-C) น่าใช้ ในปี 2024

อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบัน หากผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ จะเลือกซื้อเลือกหาแฟลชไดร์ฟสักอันมาไว้ใช้งาน สำหรับเก็บข้อมูล สำรองข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ควรที่จะเลือกแฟลชไดร์ฟแบบที่มีพอร์ต USB Type C มาให้ด้วย เพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เจเนอเรชั่นใหม่ ๆ...

อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบัน หากผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ จะเลือกซื้อเลือกหาแฟลชไดร์ฟสักอันมาไว้ใช้งาน สำหรับเก็บข้อมูล สำรองข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ควรที่จะเลือกแฟลชไดร์ฟแบบที่มีพอร์ต USB Type C มาให้ด้วย เพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เจเนอเรชั่นใหม่ ๆ ซึ่งตัวเลือกสินค้าในตลาดก็ต้องบอกว่ามีหลากหลายทีเดียว เพราะแต่ละแบรนด์ผู้ผลิตก็เริ่มมีการใส่พอร์ต USB-C เข้ามาในสินค้ารุ่นต่าง ๆ ของตัวเองมากขึ้นเรื่อย ๆ ทว่าปัญหาที่ตามมาก็คือ ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ไม่ทราบว่าสินค้าแบรนด์ไหนคุณภาพดี น่าใช้งานนั่นเอง เพราะอย่างที่รู้ ๆ กันว่า แฟลชไดร์ฟเองก็เป็นแก็ดเจ็ตไอทีชิ้นนึงที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวเรื่องอาการชำรุด เสียหายต่าง ๆ ดังนั้นในการเลือกซื้อเลือกหามาใช้งานจึงต้องเลือกใช้สินค้าชิ้นที่มั่นใจเรื่องของคุณภาพวัสดุ งานผลิต งานประกอบได้ในระดับนึง ในบทความนี้จึงได้เลือกเอาลิสต์ 5 แบรนด์แฟลชไดร์ฟ(Type C) คุณภาพดี น่าใช้งานในปี 2024 มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

SanDisk แบรนด์แรกต้องบอกว่าเป็นแบรนด์ที่ครองอันดับหนึ่งในตลาดแฟลชไดร์ฟบ้านเรามาตลอดช่วงหลายปีหลัง ซึ่งก็คือแซนดิสก์นั่นเอง เช่นเดียวกันกับแฟลชไดร์ฟ Type C ในปี 2024 นี้ สินค้าจาก SanDisk ก็ยังคงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ โดยสินค้ารุ่น Type C จากแซนดิสก์นั้นมีให้เลือกอยู่หลายรุ่นหลายแบบ และมีราคาเริ่มต้นประมาณ 300 บาทเท่านั้นซึ่งแบรนด์นี้ก็ยังมีการผลิต Recycle Usb ด้วยซึ่งชิ้นส่วนกว่า 70% ทำจากพลาสติกที่รีไซเคิล   ข้อดีของแบรนด์เจ้าดังรายนี้ก็คือในการใช้งานจะมีซอฟท์แวร์เสริมของตัวเองให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดลงบนอุปกรณ์ต่าง ๆ บนช่องทางดาวน์โหลดทางการของแต่ละอุปกรณ์ด้วย เช่น App Store, Play Store เป็นต้น

Hoco แบรนด์ต่อมาต้องบอกว่าอาจจะไม่ใช่แบรนด์ดัง มีชื่อระดับเจ้าตลาดสักเท่าไหร่ แต่ก็ถือว่าเป็นแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ต อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของตัวเองป้อนเข้ามาในตลาดบ้านเราอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในช่วงหลัง ๆ นี้ ผู้ใช้งานหลายคนน่าจะเริ่มคุ้นชื่อแบรนด์กันบ้างแล้ว ซึ่งก็คือ Hoco นั่นเอง โดย hoco เองก็มีแฟลชไดร์ฟ Type C ยิ่งเป็น Metal Usb ที่น่าสนใจเลือกใช้งานในปี 2024 นี้ เช่นกัน โดยมีราคาเริ่มต้นเพียงประมาณ 200 บาทเท่านั้น และมีความจุตั้งแต่ 16Gb, 32Gb, 64Gb และ 128 Gb

Lenova แบรนด์ต่อมาถือเป็นแบรนด์ที่ผู้ใช้งานอาจจะไม่คุ้นกับภาพลักษณ์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตสักเท่าไหร่ เพราะผลิตภัณฑ์ของแบนด์ที่คุ้นตาผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมามักจะเป็นตัว Device หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปรุ่นต่าง ๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็คือแบรนด์ เลโนโว่ ทว่าในปี 2024 นี้ แบรนด์ดังรายนี้กลับมีตัวเลือกแฟลชไดร์ฟ Type C ที่น่าสนใจมากทีเดียว โดยแฟลชไดร์ฟเลโนโวที่มีวางจำหน่ายอยู่ในปี 2024 นี้ มีราคาเริ่มต้นเพียงประมาณ 350 บาท เท่านั้น และมาพร้อมขนาดความคุใหญ่ยักษ์ถึง 1TB และ 2TB

HP อีกหนึ่งแบรนด์ที่นับว่าได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งานในบ้านเราค่อนข้างสูงทั้งผลิตภัณฑ์ Device และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ อย่าง HP ก็เป็นอีกแบรนด์ที่มีการทำแฟลชไดร์ฟ Type C ออกมาวางจำหน่ายเช่นกัน โดยแฟลชไดร์ฟ Type C HP มีราคาจำหน่ายเริ่มต้นเพียงประมาณ 300 บาท เท่านั้น และมีขนาดความจุสูงสุดถึง 2TB

Kingston และอีกหนึ่งแบรนด์ที่ต้องบอกว่ายังคงเป็นหนึ่งในตัวเลือกแฟลชไดร์ฟที่น่าใช้งานมากที่สุดในทุกยุคก็คือ Kingston แบรนด์เก่าแก่ที่ยังคงพัฒนาแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟออกมาต่อเนื่อง โดยในปี 2024 นี้ คิงส์ตันเองก็มี แฟลชไดร์ฟ Type C ให้ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ เลือกใช้เช่นกัน โดยมาพร้อมทั้งพอร์ต USB-C และพอร์ตมาตรฐานอย่าง USB-A มีราคาเริ่มต้นเพียงประมาณ 250 บาทเท่านั้น มีขนาดความจุให้เลือกหลากหลายตั้งแต่ 32 Gb ไปจนถึงระดับเทราไบต์

สามาถเลือกซื้อเลือกใช้ได้ตามความต้องการ และปัจจุบันนี้นอกจากแฟลชไดร์ฟจะถูกนำไปใช้ส่วนตัวแล้ว ยังถูกนำไปเป็นของพรีเมี่ยม เพื่อทำเป็น Gift Set แจกในงานต่าง ๆ อีกด้วย

 

ผลงานสายชาร์จ USB สกรีนโลโก้ THE BALI PROCESS

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













ผลงานแท่นชาร์จไร้สาย เลเซอร์โลโก้ IOD

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













5 เหตุผล ที่ทำให้แฟลชไดร์ฟ เป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เลือนหายไปตามยุคสมัย

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเสริมสำหรับใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป แน่นอนว่าผู้ใช้งานหลายคนคงพอจะได้เห็นไทม์ไลน์การเปลี่ยนแปลง และการเลือนหายไปของแก็ดเจ็ตหลาย ๆตัวตลอดหลายปีที่ผ่านมา...

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเสริมสำหรับใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป แน่นอนว่าผู้ใช้งานหลายคนคงพอจะได้เห็นไทม์ไลน์การเปลี่ยนแปลง และการเลือนหายไปของแก็ดเจ็ตหลาย ๆตัวตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่เราคุ้นเคยกันในช่วงยุค 2000’s เช่น แผ่น Floppy Disk แผ่น CD, VCD, DVD จะเห็นได้ว่าปัจจุบันแก็ดเจ็ตเหล่านี้ได้เลือนหายไปตามกาลเวลาอย่างสมบูรณ์แล้ว แต่กลับมีแก็ดเจ็ตตัวนึงที่ไม่ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา ซึ่งก็คือ”แฟลชไดร์ฟ”  ทั้งที่มันถูกริเริ่มใช้งานในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกับแก็ดเจ็ตตัวอื่น ๆ หลายตัวดังกล่าว ในบทความนี้จึงจะมาเผยถึงเหตุผลให้ได้ทราบกันว่าเพราะอะไรแก็ดเจ็ตที่จัดเก็บไฟล์ข้อมูลที่ถูกริเริ่มใช้กันมาเกินกว่า 20 ปีแล้วอย่างแฟลชไดร์ฟ จึงไม่เลือนหายไปตามกาลเวลาเหมือนเพื่อนร่วมรุ่นรายอื่น ๆ อีกทั้งยังถูกนิยมใช้ทำเป็น GIFT SET เพื่อแจกในงานต่าง ๆ ท่ามกลางทางเลือกการจัดเก็บข้อมูลที่มีให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้มากมายในปัจจุบัน

พื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ยืดหยุ่นกว่า แม้ว่าแฟลชไดร์ฟจะเป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่มีการริเริ่มใช้งานพร้อมๆกับ แก็ดเจ็ตอย่างแผ่น Floppy Disk และแผ่นดิสก์ในรูปแบบ CD ทั้งหลาย แต่สิ่งที่ทำให้แฟลชไดร์ฟ เป็นแก็ดเจ็ตที่มีข้อดีแตกต่างจากแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลตัวอื่น ๆ อย่างชัดเจนก็คือ สถาปัตยกรรมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของตนเองที่มีความยืดหยุ่นในการขยายพื้นที่ได้อย่างง่ายดายนั่นเอง โดยปัจจุบันจะเห็นได้ว่าแฟลชไดร์ฟสามารถยกระดับขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของตนเองมาถึงระดับเทราไบต์แล้วด้วยซ้ำ ขณะที่แก็ดเจ็ตที่อาศัยสถาปัตยกรรมแบบแผ่นดิสก์นั้นจะถูกจำกัดพื้นที่ด้วยขนาดของแผ่นดิสก์ ทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่จัดเก็บไปเกินกว่าระดับ กิกะไบต์ต้น ๆ ได้ และนั่นก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้แฟลชไดร์ฟยังคงอยู่ในยุคสมัยปัจจุบัน แต่แก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลตัวอื่น ๆ เลือนหายไป

พอร์ตการเชื่อมต่อที่สะดวก และมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย เหตุผลประการต่อมาที่ทำให้แฟลชไดร์ฟเป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่โดดเด่น สะดวกต่อผู้ใช้งานมากกว่าแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลจากเจเนอเรชั่นเดียวกันก็คือ พอร์ตการเชื่อมต่อที่สะดวก และง่ายต่อการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยนั่นเอง เนื่องจากแฟลชไดร์ฟใช้พอร์ตแบบ USB ซึ่งเป็นพอร์ตมาตรฐานของอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริมได้หลายชนิด ขณะที่แก็ดเจ็ตชิ้นอื่น ๆ จำเป็นต้องมีพอร์ตการเชื่อมตัวเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Floppy Disk Drive VCD/DVD Drive ซึ่งนับเป็นภาระของผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีที่ต้องใส่เข้ามาเพิ่มเติม สุดท้ายเมื่อความต้องการใช้งานลดลง ตัวพอร์ตจึงถูกตัดทอนทิ้งไปด้วย

ดีไซน์และขนาดที่สะดวกต่อการพกพา เหตุผลประการต่อมาที่ทำให้แฟลชไดร์ฟยังคงเป็นตัวเลือกการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลที่ดีท่ามกลางทางเลือกอีกมากมายในปัจจุบันก็คือ ดีไซน์และขนาดที่สะดวกต่อการพกพาติดตัวนั่นเอง เรียกว่าเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นที่ไม่มีอุปสรรคในการพกพาใด ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขนาด น้ำหนัก หรือหน้าตาดีไซน์ที่ถูกออกแบบมาแตกต่างจากยุคก่อน ๆ อย่างเช่น Pen Usb ที่เป็นได้ทั้งปากกาและแฟลชไดร์ฟ Rubber Usb ที่เป็นแฟลชไดร์ฟยางที่ทั้งเป็นสายรัดข้อมือ พวงกุญแจและสายวัด แต่ก็ยังใช้งานเป็นแฟลชไดร์ฟได้ด้วย

ความเป็นส่วนตัว/ความปลอดภัยของข้อมูล เหตุผลสำคัญต่อมาที่ทำให้แฟลชไดร์ฟยังคงถูกเลือกใช้ทดแทนทางเลือกการจัดเก็บข้อมูลแบบอื่น ๆ ก็คือ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยข้อมูลนั่นเอง เนื่องจากทางเลือกการจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ ในปัจจุบันมักจะเป็นรูปแบบออนไลน์ หรือพื้นที่กลางที่ให้บริการโดยบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์รายต่าง ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮ็ก หรือโจรกรรมข้อมูลจากผู้ไม่หวังดีจากทั่วทุกมุมโลก

ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้แฟลชไดร์ฟยังคงเป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่ถูกเลือกใช้งานในปัจจุบัน และไม่เลือนหายไปตามยุคสมัยก็คือ ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่ยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจนั่นเอง ทั้งนี้แม้ว่าปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีเทคโนโลยีการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์แบบไร้สาย แต่ข้อจำกัดนึงที่ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนรู้สึกไม่สะดวกก็คือเรื่องของความเร็วนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ การโอนถ่ายผ่านสัญญาณไร้สายมักจะใช้เวลาพอสมควร แต่การโอนถ่ายผ่านแฟลชไดร์ฟนั้นจะเป็นการเชื่อมต่อเขากับพอร์ต USB ของอุปกรณ์นั้น ๆ แบบไดเรค ทำให้โอนถ่ายไฟล์จำนวนมาก หรือไฟล์ขนาดใหญ่ทำได้รวดเร็วกว่า

ผลงานผลิตแฟลชไดร์ฟ โลโก้ QES

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













ผลงานปลั๊กไฟ สกรีนโลโก้ A&P

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













เหตุผลที่ไม่ควรใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกับผู้อื่น

อย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานอุปกรณ์ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป แท็บเล็ต สำหรับกิจกรรมการทำงาน การเรียนต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน มีแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ค่อนข้างมีความสำคัญในการใช้งานควบคู่กันเพื่อให้กิจกรรมการทำงานต่าง ๆ ของผู้ใช้งานลื่นไหลมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือ...

อย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานอุปกรณ์ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป แท็บเล็ต สำหรับกิจกรรมการทำงาน การเรียนต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน มีแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ค่อนข้างมีความสำคัญในการใช้งานควบคู่กันเพื่อให้กิจกรรมการทำงานต่าง ๆ ของผู้ใช้งานลื่นไหลมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือ “แฟลชไดร์ฟ” สำหรับจัดเก็บ ส่งต่อ โอนถ่ายไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ นั่นเองซึ่งมีมากมายหลายแบบอย่างเช่น Wooden Usb, Leather Usb, Card Usb เป็นต้น และบ่อยครั้งการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับกิจกรรมการทำงาน การเรียนต่าง ๆ  ของผู้ใช้งานหลายคนก็อาจเป็นไปในลักษณะของการใช้งานร่วมกันกับบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นการหยิบยืมชั่วคราว หรือการแบ่งปันแก็ดเจ็ตกันใช้งานในระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าการใช้งานในลักษณะย่อมมีข้อดีตรงที่สามารถช่วยให้ผู้ใช้งานบางส่วนประหยัดต้นทุนในการควักเงินซื้อตัวแก็ดเจ็ตมาใช้งานนั่นเอง ทั้งยังสามารถแชร์ข้อมูลให้กันได้อย่างสะดวกอีกด้วย แต่ทว่าขณะเดียวกันก็ตามมาด้วยข้อเสีย และความเสี่ยงในการใช้งานข้อมูล รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ หลายประการเช่นกัน เรียกได้ว่าเมื่อช่างน้ำหนักดูแล้ว ข้อดีที่ได้จากการใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันในหมู่ผู้ใช้งานหลายคนอาจจะไม่คุ้มค่าสำหรับข้อเสีย และความเสี่ยงที่จะตามมาสักเท่าไหร่ ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอาข้อเสียและความเสี่ยงต่าง ๆ จากการใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันมาแบ่งปันให้ผู้ใช้งานได้ทราบกัน

ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ข้อเสียใหญ่อย่างแรกที่เห็นได้ชัดในการใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันในหมู่ผู้ใช้งานหลายคนก็คือ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่จะลดทอนลงไปมากเลยนั่นเอง เพราะแน่นอนว่าเมื่อเป็นการใช้งานร่วมกันหลายคน ผู้ใช้งานแต่ละคนย่อมไม่สามารถที่จะจัดเก็บไฟล์ส่วนตัว หรือไฟล์ที่ไม่ต้องการแชร์กับผู้อื่นลงไปได้ และในการจัดเก็บไฟล์งานที่จำเป็นต่าง ๆ ลงไป ก็ย่อมเท่ากับว่าผู้อื่นสามารถเข้าถึง เปิดอ่าน หรือแก้ไขไฟล์ของเราได้ด้วย

ความปลอดภัยจากโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ลดน้อยลง เมื่อเป็นการใช้งานร่วมกัน หรือแชร์กันใช้งานกับผู้ใช้งานหลายคนก็แน่นอนว่าสิ่งที่จะตามมาก็คือ การนำแฟลชไดร์ฟไปเสียบเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์หลายตัว รวมถึงเสียบใช้งานกับอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์มด้วย และนั่นก็ย่อมทำให้ความเสี่ยงเรื่องการรักษาความปลอดภัย หรือการถูกเข้าถึง โจมตีโดยไวรัส โปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ มีมากขึ้นไปโดยอัตโนมัติ เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าบนอุปกรณ์ของผู้ใช้งานคนอื่น ๆ มีโปรแกรมไม่พึงประสงค์ใด ๆ แอบแฝงอยู่หรือไม่

ความเสี่ยงที่แก็ดเจ็ตจะชำรุดเสียหายจากการเสียบใช้งานกับอุปกรณ์ต่างแพลตฟอร์ม อย่างที่ทราบกันดีว่าในการใช้งานร่วมกันกับผู้ใช้งานหลายคน ย่อมทำให้ตัวแฟลชไดร์ฟถูกนำไปเสียบใช้งานเข้ากับอุปกรณ์หลายตัว และบางตัวก็อาจเป็นอุปกรณ์คนละแพลตฟอร์ม หรือมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ซึ่งความต่างของแพลตฟอร์มนี้เองย่อมนำมาซึ่งความต่างของคำสั่งดิจิทัลในการเรียกดู เข้าถึง ไฟล์ข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟด้วยเช่นกัน การที่ตัวแก็ดเจ็ตต้องรับคำสั่งการทำงานที่แตกต่างกัน สลับไปมาตลอดก็จะนำมาซึ่งความเสี่ยงที่แผงวงจรจะเสื่อมสภาพ หรือเสียหายได้เร็วขึ้นกว่าปกตินั่นเอง

จัดกลุ่มไฟล์ ค้นหาเรียกใช้ไฟล์ต่าง ๆ ได้ยาก อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้การใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกันในหมู่ผู้ใช้งานหลายคนดูจะมีข้อเสียมากกว่าก็คือ การจัดการไฟล์ จัดกลุ่มไฟล์ ค้นหาและเรียกใช้ไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะยากกว่าการใช้งานเป็นแก็ดเจ็ตส่วนตัวนั่นเอง เพราะเมื่อมีผู้ใช้งานหลายคน ก็ย่อมมีการบันทึกไฟล์ หรือสร้างไฟล์จากผู้ใช้หลายคนตามไปด้วย จำนวนไฟล์ที่ถูกบันทึกก็ย่อมมีมากด้วยเช่นกัน วิธีการจัดกลุ่มไฟล์ การตั้งชื่อโฟลเดอร์ของผู้ใช้แต่ละคน ก็อาจแตกต่างกันออกไปตามความคุ้นเคยด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญหายของแฟลชไดร์ฟควรเลือกใช้ Package แฟลชไดร์ฟ มีขนาดใหญ่กว่าแฟลชไดร์ฟจะได้ไม่สูญหายง่าย

เช็คลิสต์ สิ่งที่ไม่ควรทำ ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type C

เมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ตเสริมสำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ไอที เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แล็ปท็อป ในปัจจุบัน ก็แน่นอนมีแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ได้รับความนิยมใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นก็คือแฟลชไดร์ฟซึ่งมีหลากหลายแบบมากมายเช่น wooden usb, metal usb, leather usb หรือแฟลชไดร์ฟ Type C แฟลชไดร์ฟที่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-C...

เมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ตเสริมสำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ไอที เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แล็ปท็อป ในปัจจุบัน ก็แน่นอนมีแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่ได้รับความนิยมใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นก็คือแฟลชไดร์ฟซึ่งมีหลากหลายแบบมากมายเช่น wooden usb, metal usb, leather usb หรือแฟลชไดร์ฟ Type C แฟลชไดร์ฟที่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-C นั่นเอง ทั้งนี้เดิมทีแล้วแก็ดเจ็ตชิ้นดังกล่าวถือว่าเป็นไอเทมที่ผู้ใช้งานอุปกรณ์ไอทีรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่พอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานที่ติดมากับตัวแก็ดเจ็ตเป็นเวลานานนับสิบปีนั้นจะเป็นพอร์ต USB Type A ขณะที่อุปกรณ์พกพาเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ นั้นไม่ได้มาพร้อมกับพอร์ต USB-A ทำให้ช่วงไม่กี่ปีหลังที่ผ่านมานี้ ความนิยมในการใช้งานแฟลชไดร์ฟลดน้อยถอยลงไปพอสมควร ก่อนที่แฟลชไดร์ฟ USB-C จะถูกเปิดตัวออกสู่ตลาด และทำให้ผู้ใช้งานบางส่วนกลับมาพกพาแฟลชไดร์ฟ Type-C ไว้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อป อย่างไรก็ตามในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ พอร์ต USB-C ก็มีข้อควรระวังที่แตกต่างไปจากพอร์ต USB-A ที่ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ควรระมัดระวังอยู่หลายประการด้วยกัน ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอาสิ่งที่ควรระวัง และหลีกเลี่ยงในการใช้งานไอเทมชิ้นนี้มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

ไม่ใช่สาย/แก็ดเจ็ตแปลงพอร์ต เกินความจำเป็น อย่างที่ทราบกันว่าแฟลชไดร์ฟในยุคเริ่มต้นที่เราคุ้นเคยกันมีพอร์ตมาตรฐานแบบเดียว ซึ่งก็คือ USB-A และในการใช้งานจริง ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ก็แทบไม่มีความจำเป็นต้องใช้เชื่อมต่อเข้ากับพอร์ตลักษณะอื่น ๆ เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันอย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป ก็มีพอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานเป็น USB-A เช่นกัน ทว่าในปัจจุบันนี้แตกต่างออกไป พอร์ต USB-C ไม่ใช่เพียงพอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานเดียวเท่านั้น แต่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปหลาย ๆ รุ่นก็ยังคงมาพร้อมกับพอร์ตแบบ USB-A นอกจากนี้ก็ยังมีพอร์ตรูปแบบอื่น ๆ ที่อยู่ในอุปกรณ์พกพา เช่น USB-B, Lightning อีก ผู้ใช้งานบางส่วนจึงอาจมีความต้องการใช้งานพอร์ตการเชื่อมต่อมากกว่า 1 พอร์ตขึ้นไป และทำให้ตัดสินใจเลือกหาขั้วแปลงพอร์ต หรือสายแปลงพอร์ตมาต่อพ่วงกับพอร์ต USB-C ของตัวแฟลชไดร์ฟอีกทีนึง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะแม้ว่าจะไม่มีแบรนด์ผู้ผลิตรายใดออกมาแนะนำโดยตรงว่าไม่ควรใช้งานลักษณะดังกล่าว แต่ด้วยสถาปัตยกรรมของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ที่เป็นการใช้คำสั่งการทำงานแบบดิจิทัล และมีการส่งกระแสไฟและแปลงสัญญาณไปยังพอร์ตเชื่อมต่อเมื่อใช้งานนั้น การต่อพ่วงขั้วแปลงสัญญาณเพิ่มเติม จึงมีแนวโน้มที่จะรบกวนคำสั่งการทำงาน และอาจก่อให้เกิดเอฟเฟ็กต์ในทางลบได้

เสียบใช้งานโดยไม่สแกนไวรัส ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ ผู้ใช้งานหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการกดสแกนไวรัสเมื่อเสียบใช้งานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป ก่อนที่จะเปิดดูข้อมูลบนไดร์ฟ เพื่อใช้งานไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ หรือคัดลอก ส่งต่อ แต่สำหรับการใช้งานแฟลชไดร์ฟ USB-C กับอุปกรณ์พกพา สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หลายคนอาจจะหลงลืมถึงขั้นตอนดังกล่าวไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าระบบของอุปกรณ์พกพา เช่น Android, IOS, Ipad OS จะมีฟังก์ชั่นป้องกันความปลอดภัยในตัว สกรีนแอปพลิเคชั่นอันตรายบนสโตร์อัตโนมัติ แต่การสแกนไวรัสจากไดร์ฟที่เชื่อมต่อเข้าไปใหม่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพราะไวรัสที่อาจแฝงอยู่กับไฟล์ต่าง ๆ ในแฟลชไดร์ฟถือเป็นคนละส่วนกับที่อยู่บนอุปกรณ์ จึงอาจอยู่นอกเหนือการมองเห็นและเรียกใช้ฟังก์ชั่นความปลอดภัยอัตโนมัติของอุปกรณ์นั่นเอง

ติดตั้งแอปพลิเคชั่นช่วยจัดการไดร์ฟต่าง ๆ อีกหนึ่งข้อควรระวังที่ต้องบอกว่าค่อนข้างอันตรายในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type C บนอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตก็คือ การติดตั้งแอปพลิเคชั่นเสริมช่วยจัดการข้อมูลบนไดร์ฟไว้ใช้งานควบคู่กันนั่นเอง เพราะแอปพลิเคชั่นลักษณะนี้มีให้ดาวน์โหลดอยู่บนสโตร์จำนวนมาก และการใช้งานก็เท่ากับการยินยอมให้ตัวแอปพลิเคชั่นสามารถเข้าถึงไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนไดร์ฟของเรา ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งแอปพลิเคชั่นลักษณะดังกล่าวนี้ และใช้เพียงแอปพลิเคชั่นจัดการไดร์ฟที่ติดมากับอุปกรณ์ หรือเป็นแอปพลิเคชั่นทางการจากแบรนด์ผู้ผลิตแฟลชไดร์ฟที่เราใช้งานเท่านั้นและเพื่อป้องกันการสูญหายของแฟลชไดร์ฟควรเอาไว้กับ gps tracker ทำให้เห็นพิกัดของแฟลชไดร์ฟง่ายต่อการหา