ไฟล์ 5 ประเภท ที่ไม่ควรบันทึกลงในแฟลชไดร์ฟ

แฟลชไดร์ฟในปัจจุบันมีหลายแบบมากมายอย่างเช่น Metal Usb, Wooden Uab, Twister Usb เป็นต้น และเป็นที่ทราบกันดีว่าแฟลชไดร์ฟ ถือเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่อำนวยความสะดวกในการใช้งานอุปกรณ์ไอทีให้กับผู้ใช้งานหลายคน ทั้งการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างอุปกรณ์ การคัดลอกและสำรองข้อมูล...

แฟลชไดร์ฟในปัจจุบันมีหลายแบบมากมายอย่างเช่น Metal Usb, Wooden Uab, Twister Usb เป็นต้น และเป็นที่ทราบกันดีว่าแฟลชไดร์ฟ ถือเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่อำนวยความสะดวกในการใช้งานอุปกรณ์ไอทีให้กับผู้ใช้งานหลายคน ทั้งการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างอุปกรณ์ การคัดลอกและสำรองข้อมูล หรือกระทั่งใช้เป็นตัวบูตสำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ให้กับอุปกรณ์ เรียกว่าเป็นแก็ดเจ็ตที่ช่วยให้กิจกรรมการทำงาน การเรียนของหลายคนลื่นไหล  ต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น แต่ขณะเดียวกันการใช้งานแฟลชไดร์ฟในชีวิตประจำวันสำหรับหลายคนก็ตามมาด้วยความเสี่ยงหลายประการเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ระมัดระวังในการตรวจสอบ คัดกรองไฟล์ที่จะบันทึกลงบนไดร์ฟให้ดี ก็มักจะนำมาซึ่งปัญหาไฟล์ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้บนแฟลชไดร์ฟตัวนั้น ๆ เสียหาย ไม่สามารถเข้าถึงหรือเปิดไฟล์ใด ๆ ที่อยู่บนไดร์ฟได้ หรืออาจถึงขั้นทำให้ซอฟต์แวร์บางส่วนบนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟอยู่ได้รับความเสียหายไปด้วย ในบทความนี้จึงได้นำเอาไฟล์ 5 ประเภท ที่ควรหลีกเลี่ยงการบันทึกลงในแฟลชไดร์ฟ เพราะอาจเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานต่าง ๆ ทั้งในแง่ความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูลที่มีอยู่และการถูกโจรกรรมโดยบุคคลภายนอกมาแนะนำบอกกล่าวให้ผู้ใช้งานได้ใช้เป็นแนวทางในการตรวจเช็คและคัดกรองไฟล์ที่จะบันทึกลงบนไดร์ฟกัน

ไฟล์ .exe  ไฟล์ประเภทแรกที่ต้องบอกว่าไม่ควรบันทึกลงบนแฟลชไดร์ฟของเรา หากไม่จำเป็นก็คือไฟล์ที่มีนามสกุลต่อท้ายเป็น .exe นั่นเอง เนื่องจากไฟล์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ที่มีโปรแกรม ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่พร้อมรันการทำงานทันที หากว่าเราไปคลิกที่ตัวไฟล์ พูดง่าย ๆ ก็คือไฟล์อาจทำอะไรกับอุปกรณ์ของเราก็ได้ตามคำสั่งที่ถูกเขียนไว้ ดังนั้นหากไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม ซอฟต์แวร์ใด ๆ ก็ไม่ควรมีการบันทึกไฟล์ .exe ไว้บนไดร์ฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต หรือถูกส่งต่อ ๆ กันมาโดยไม่ทราบแหล่งที่มาดั้งเดิมของตัวไฟล์

ไฟล์ .apk ไฟล์ประเภทต่อมาที่ควรระมัดระวังในการบันทึกลงแฟลชไดร์ฟก็คือ ไฟล์ .apk หรือ Android Package Kit ซึ่งก็คือไฟล์ติดตั้งแอปพลิเคชั่นบนอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ หรือระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ที่เข้ากันได้ ทั้งนี้หากตรวจเช็คโดยผิวเผินผู้ใช้งานบางคนอาจมองว่าไฟล์ดังกล่าวไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร เพราะเป็นไฟล์แอปพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์ระบบแอนดรอยด์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไป แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว ในการใช้งานทั่วไป ผู้ใช้งานมักไม่ได้มีความจำเป็นต้องดาวน์โหลดไฟล์ .apk สักเท่าไหร่ เพราะสามารถเลือกดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ บน Play Store ได้อยู่แล้ว อีกทั้งไฟล์ .apk ที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตนั้นก็ถูกสร้างมาจากหลายแหล่ง ทั้งผู้พัฒนาที่เชื่อถือได้ และเชื่อถือไม่ได้ จึงถือเป็นความเสี่ยงของผู้ใช้งานที่อาจจะได้ซอฟต์แวร์แอบแฝงติดมากับไฟล์เหล่านี้ด้วย

ไฟล์ที่มีนามสกุลที่ไม่คุ้น โดยทั่วไปแล้วในการใช้งานอุปกรณ์ไอทีสำหรับกิจกรรมการเรียน การทำงานในชีวิตประจำวัน ผู้ใช้งานหลายคนมักมีประเภทของไฟล์ต่าง ๆ ที่คุ้นเคยกับการใช้งาน หรือบันทึกจัดเก็บเป็นประจำอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่นไฟล์เอกสาร .docx, .pdf ไฟล์รูปภาพ .jpg, .png หรือไฟล์สื่อมีเดียอย่าง .mp4, mpg เป็นต้น ซึ่งนามสกุลไฟล์ดังกล่าวที่เราคุ้นเคยนี่เองสามารถเป็นจุดสังเกตในการคัดกรองไฟล์ที่ปลอดภัยได้ในระดับนึง โดยควรหลีกเลี่ยงการบันทึกไฟล์ที่มีนามสกุลต่อท้ายที่เราไม่คุ้นเคยลงบนแฟลชไดร์ฟ เพราะอาจเสี่ยงเจอกับไฟล์ที่มาพร้อมกับไวรัส มัลแวร์ต่าง ๆ ได้

ไฟล์ทุกชนิดที่ไม่ทราบแหล่งที่มา ไฟล์อีกหนึ่งประเภทที่ควรหลีกเลี่ยงการบันทึกลงบนแฟลชไดร์ฟโดยเด็ดขาดเช่นกันก็คือ ไฟล์ทุกชนิดที่เราไม่ทราบแหล่งที่มานั่นเอง แม้ว่าไฟล์นั้น ๆ จะมีนามสกุลที่เรารู้จักคุ้นเคยดีก็ตาม เพราะไฟล์ติดตั้งโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ อาจถูกดัดแปลงชื่อไฟล์ และนามสกุลไฟล์ที่แสดงให้ดูเหมือนไฟล์ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้เช่นกัน

ไฟล์ที่ผ่านการบีบอัดไว้โดยบุคคลอื่น แม้ว่าการบีบอัดไฟล์จะถือว่าเป็นเรื่องปกติในการใช้งานอุปกรณ์ไอที และแก็ดเจ็ตสำหรับจัดเก็บไฟล์ต่าง ๆ เพื่อประหยัดพื้นที่ใช้งาน แต่การจัดเก็บไฟล์ที่ผ่านการบีบอัดโดยบุคคลอื่นลงบนแฟลชไดร์ฟของเราก็ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องระมัดระวังตรวจเช็คให้ดี เพราะไฟล์ติดตั้งไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ อาจแฝงรวมอยู่ในไฟล์ที่ผ่านการบีบอัดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไฟล์นั้น ๆ ผ่านการบีบอัดโดยซอฟต์แวร์ฟรีต่าง ๆ ที่มาจากแหล่งดาวน์โหลดที่ไม่น่าเชื่อถือ

หากคุณกำลังมองหาของพรีเมี่ยมเพื่อแจกในงานต่าง ๆ แฟลชไดร์ฟก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เหมาะแก่การทำ Gift Set เป็นสิ่งที่ใช้งานได้จริง รับรองว่าผู้ที่ได้รับจะประทับใจ

เปรียบเทียบ แฟลชไดร์ฟ-SD Card-External SSD แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนคุ้มค่าที่สุด ?

เมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ตสำหรับจัดเก็บไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ก็แน่นอนว่าในปัจจุบันยูสเซอร์ หรือผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ นั้นมีตัวเลือกให้ได้เลือกใช้งานกันค่อนข้างหลากหลายทีเดียว แม้ว่าเทคโนโลยีเดิม ๆ บางส่วน เช่น แผ่นวีซีดี แผ่นดีวีดี จะเลือนหายไปแล้วก็ตาม...

เมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ตสำหรับจัดเก็บไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ก็แน่นอนว่าในปัจจุบันยูสเซอร์ หรือผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ นั้นมีตัวเลือกให้ได้เลือกใช้งานกันค่อนข้างหลากหลายทีเดียว แม้ว่าเทคโนโลยีเดิม ๆ บางส่วน เช่น แผ่นวีซีดี แผ่นดีวีดี จะเลือนหายไปแล้วก็ตาม โดยปัจจุบันมีตัวเลือกแก็ดเจ็ดจัดเก็บข้อมูลทั้ง แฟลชไดร์ฟ SD Card และ External SSD ให้เราได้เลือกใช้งาน ซึ่งทั้งสามแบบนั้นต่างก็มีขนาดที่เล็กกะทัดรัด พกพาสะดวกด้วยกันทั้งนั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าเมื่อมองอย่างผิวเผินแล้วแก็ดเจ็ตทั้งสามตัวจะสามารถใช้งานทดแทนกันได้ แต่ทว่าในความเป็นจริง แก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลทั้งสามตัวนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งผู้ใช้งานบางส่วนอาจจะทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ก็อาจมีผู้ใช้งานหลายคนที่ไม่ทราบมาก่อน และยังคงชั่งใจที่จะตัดสินใจเลือกใช้แก็ดเจ็ตตัวใด ในบทความนี้จึงจะมาเปรียบเทียบให้ได้เห็นกันชัด ๆ ว่า แฟลชไดร์ฟ SD Card และ External SSD มีจุดเด่นในการจัดเก็บไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ที่เหมือน หรือต่างกันอย่างไร และแบบไหนคุ้มค่ามากที่สุด

แฟลชไดร์ฟ VS SD Card แก็ดเจ็ตสองตัวแรกที่ดูจะคล้าย ๆ กัน และผู้ใช้งานหลายคนเข้าใจว่ามีประโยชน์ใช้งานไม่ต่างกัน แต่ในความเป็นจริง ประโยชน์ใช้งานค่อนข้างต่างกันพอสมควรก็คือ แฟลชไดร์ฟ และ SD Card นั่นเอง โดยแฟลชไดร์ฟนั้น ผู้ใช้งานหลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วว่าเป็นไดร์ฟพกพาสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านพอร์ต USB มีหลายแบบเช่น  Card Usb, Wooden Usb แต่สำหรับ SD Card นั้น แม้ว่าจะสามารถใช้งานเป็นไดร์ฟภายนอกเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟนได้เหมือนกัน แต่ประโยชน์หลัก ๆ ของแก็ดเจ็ตบันทึกข้อมูลตัวนี้ก็คือ การเสียบติดไว้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆประจำเลยนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน กล้องดิจิทัล กล้องวงจรปิด โดย SD Card มีความสามารถในการบันทึกไฟล์ใหม่ ๆ ทับแทนไฟล์เดิม ๆ ได้ทันทีที่พื้นที่หน่วยความจำถูกใช้จนเต็ม จึงเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นมาตรฐานที่ถูกเลือกใช้งานกับกล้องวงจรปิดแบบต่าง ๆ ขณะที่แฟลชไดร์ฟไม่สามารถใช้งานในลักษณะนี้ได้

SD Card VS External SSD แก็ดเจ็ตสองตัวที่มีระบบการทำงานภายใน เขียน อ่านไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ไม่แตกต่างกัน แต่ประโยชน์การใช้งาน และความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันชัดเจนเช่นกันก็คือ SD Card และ External SSD อย่างที่ทราบดังกล่าวข้างต้นว่า SD Card นั้นมีจุดเด่นตรงที่สามารถใช้เป็นหน่วยความจำให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เสมือนเป็นหน่วยความจำหลัก แต่สำหรับ External SSD นั้น แม้ว่าจะถูกพัฒนาต่อยอดมาจากหน่วยความจำภายในของคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปเจนเนอเรชั่นใหม่ ๆ แต่ด้วยสถาปัตยกรรมที่ดีไซน์มาให้เน้นใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก จึงทำให้ไม่สามารถใช้งานในลักษณะเดียวกับ SD Card ได้ แต่ทว่าจุดเด่นของ External SSD ก็คือ สามารถใช้เป็นไดร์ฟภายนอกที่มีสเกลการใช้งานใหญ่กว่าทั้งแฟลชไดร์ฟ และ SD Card ได้ ทั้งการเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ที่มีความละเอียดสูง การติดตั้งซอฟต์แวร์ใด ๆ ลงไป และพร้อมใช้งานได้ทันทีที่เชื่อมต่อ SSD เข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ

ราคา จากข้อเปรียบเทียบดังกล่าวข้างต้นสองข้อ ผู้ใช้งานหลายคนน่าจะได้ทราบความแตกต่าง และจุดเด่นของแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลอย่างแฟลชไดร์ฟ SD Card และ External SSD กันแล้ว แต่อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องบอกว่ามีผลต่อความคุ้มค่าในการเลือกใช้งานของผู้ใช้งานหลายคนไม่น้อยเหมือนกันก็คือ ราคานั่นเอง ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบราคาโดยเฉลี่ย สามารถเรียงลำดับจากน้อยไปมากได้ดังนี้ แฟลชไดร์ฟ-SD Card-External SSD กล่าวสรุปคือ แฟลชไดร์ฟเป็นแก็ดเจ็ดจัดเก็บข้อมูลพกพาที่มีราคาถูกที่สุด ส่วน SD Card จะมีราคาสูงขึ้นมาหน่อยอยู่ในระดับกลาง ๆ และ External SSD มีราคาแพงที่สุดนั่นเอง ดังนั้นหากต้องการใช้งานสำหรับจัดเก็บข้อมูลโอนถ่ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ทั่วไป แฟลชไดร์ฟก็ถือว่าคุ้มค่าและเพียงพอต่อความต้องการแล้ว แต่สำหรับลักษณะการใช้งานอื่น ๆ นั้นก็จำเป็นต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม  หากคุณกำลังต้องการที่จะหาแฟลชไดร์ฟเพื่อทำเป็น Gift Set แจกในงานต่างๆ จึงแนะนำเป็น Metal Usb  เนื่องจากเป็นโลหะทำให้มีความแข็งแรง

เลือกแฟลชไดร์ฟอย่างไร? ให้ใช้งานได้กับทุกแพลตฟอร์ม

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์ไอทีของผู้ใช้งานส่วนใหญ่นั้นแตกต่างไปจากยุคก่อน ๆ พอสมควร โดยปัจจุบันมีตัวแพลตฟอร์ม หรืออุปกรณ์ให้ผู้ใช้งานเลือกใช้หลากหลายขึ้น ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปเท่านั้น...

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์ไอทีของผู้ใช้งานส่วนใหญ่นั้นแตกต่างไปจากยุคก่อน ๆ พอสมควร โดยปัจจุบันมีตัวแพลตฟอร์ม หรืออุปกรณ์ให้ผู้ใช้งานเลือกใช้หลากหลายขึ้น ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปเท่านั้น โดยยังมีอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างแท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนแบบต่าง ๆ อีก ซึ่งก็ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้การเลือกหาแก็ดเจ็ตเสริมมาไว้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงการใช้งานร่วมกันได้กับหลายแพลตฟอร์ม เช่นเดียวกับแฟลชไดร์ฟ Metal Usb, Card Usb, และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ซึ่งเดิมทีแล้วผู้ใช้งานในยุคก่อน ๆ มักจะคุ้นเคยกับการใช้งานเฉพาะบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปเท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องใส่ใจเรื่องของการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มแต่อย่างใด ทว่าในปัจจุบันที่ความต้องการโอนถ่ายไฟล์ข้ามแพลตฟอร์มเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้การเลือกใช้งานแฟลชไดร์ฟสักตัว จำเป็นต้องคำนึงถึงการเสียบใช้งานได้กับอุปกรณ์หลากหลายแพลตฟอร์มด้วยนั่นเอง ในบทความนี้จึงได้นำเอาวิธีเลือกแฟลชไดร์ฟที่สามารถใช้งานร่วมกับทุกแพลตฟอร์มได้ มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

เลือกแฟลชไดร์ฟแบบ Dual Port

หากนึกถึงหน้าตาแฟลชไดร์ฟที่เราคุ้นเคยกันในช่วงหลายปีก่อน ก็แน่นอนว่ามักจะเป็นแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานแบบพอร์ตเดี่ยว ซึ่งก็คือพอร์ต USB-A ทว่าปัจจุบันดังที่กล่าวข้างต้นว่าพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์ไอทีของผู้ใช้งานเปลี่ยนไป มีแพลตฟอร์มให้เลือกใช้หลากหลายขึ้น ทำให้พอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานแบบ USB-A ไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานแล้ว โดยผู้ใช้งานควรเลือกใช้สินค้าที่มาพร้อม Dual Port ซึ่งก็คือมาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อสองพอร์ต โดยมีพอร์ตด้านนึงเป็นพอร์ตมาตรฐาน USB-A ส่วนอีกด้านนึงควรเลือกที่เป็นพอร์ต USB-C ที่ถูกกำหนดให้เป็นพอร์ตมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต) เจเนอเรชั่นใหม่ ๆ เพื่อให้การใช้งานแฟลชไดร์ฟนี้สะดวกกับทุกอุปกรณ์ นอกจากนี้บางแบรนด์ยังมีการออกแบบแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมแพ็กเกจสวยงามเหมาะสำหรับเป็น gift set ให้กับผู้ใช้งานอีกด้วย

เลือกใช้แบรนด์ที่มีซอฟต์แวร์จัดการไฟล์ของตนเอง

แม้ว่าพอร์ตเชื่อมต่อจะถือเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยแรกที่กำหนดว่าเราจะสามารถเสียบเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟตัวนั้น ๆ เข้ากับอุปกรณ์ใด ๆ ได้หรือไม่ แต่อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้ใช้งานต้องไม่หลงลืมไปก็คือ ระบบการเมเนจไฟล์ข้อมูล การอ่านไฟล์ การเรียกเปิดไฟล์ของแต่ละแพลตฟอร์มมีความแตกต่างกัน โดยการเสียบเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟเข้ากับบางแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะแพลตฟอร์มพกพาอาจจะเกิดปัญหาติดขัดในการจัดการไฟล์ได้ ผู้ใช้งานจึงควรต้องเลือกใช้งานสินค้าจากแบรนด์ที่มีซอฟต์แวร์เสริมช่วยจัดการไฟล์เป็นของตนเอง เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และลดความยุ่งยาก หรือความเสี่ยงที่จะเจอปัญหาในการสลับใช้งานบนหลากหลายแพลตฟอร์มในอนาคต

USB-A & Lightning

เป็นที่ทราบกันดีว่าสำหรับสมาร์ทโฟนบางแบรนด์ บางรุ่นนั้น พอร์ตการเชื่อมต่อจะไม่ได้เป็นแบบ USB-C แต่จะเป็นแบบ Lightning ซึ่งก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งพอร์ตเชื่อมต่อที่ผู้ใช้งานจำนวนมากคุ้นเคย และยังคงใช้งานอยู่ และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนเลือกหาแฟลชไดร์ฟ Dual Port ที่เป็น USB-C และ Lightning แทนที่จะเป็น USB-A และ USB-C อย่างไรก็ตามผู้ใช้งานต้องไม่ลืมว่านอกเหนือจากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปแล้ว ยังมีอุปกรณ์เสริมอีกหลายตัวที่ยังคงใช้พอร์ตเชื่อมมาตรฐานแบบ USB-A เช่น ลำโพงพกพา เครื่องเสียง/เครื่องเสียงรถยนต์ ดังนั้นการมีพอร์ตแบบ USB-A ไว้ จะช่วยให้เราใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมกว่า หากต้องการใช้งานพอร์ต Lightning ด้วย ผู้ใช้งานจึงควรเลือกหา Dual Port ที่เป็น USB-A & Lightning แทนที่จะเป็น USB-C & Lightning หรือในกรณีที่แฟลชไดร์ฟแบรนด์ที่เราต้องการไม่มี Dual Port ดังกล่าว ก็อาจเลือกใช้วิธีหาขั้วแปลงพอร์ตแบบ USB OTG (USB On-The-Go) จาก USB-C เป็น Lightning หรือจาก USB-A เป็น Lightning มาต่อใช้งานเพิ่ม ก็จะช่วยให้เราใช้งานแฟลชไดร์ฟได้ครอบคลุมกับทุกแพลตฟอร์มเช่นกัน

 

เลือกขนาดความจุแฟลชไดร์ฟอย่างไร ให้พอดีกับความต้องการใช้งาน

ในการเลือกซื้อเลือกหาแฟลชไดร์ฟสักอันมาไว้ใช้งานนอกจากเลือกจากดีไซน์ภายนอกอย่างเช่นclassic usb, pen usb, rubber usb แต่แน่นอนว่าสเปคส่วนนึงที่ค่อนข้างมีความสำคัญและผู้ใช้งานจำเป็นต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของตนเองก็คือ ความจุ หรือขนาดพื้นที่จัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ...

ในการเลือกซื้อเลือกหาแฟลชไดร์ฟสักอันมาไว้ใช้งานนอกจากเลือกจากดีไซน์ภายนอกอย่างเช่นclassic usb, pen usb, rubber usb แต่แน่นอนว่าสเปคส่วนนึงที่ค่อนข้างมีความสำคัญและผู้ใช้งานจำเป็นต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของตนเองก็คือ ความจุ หรือขนาดพื้นที่จัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่แฟลชไดร์ฟตัวนั้นๆ มี ซึ่งปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ระดับ Gb(Gigabyte) ไปจนถึง Tb(Terabyte) อย่างไรก็ตามการเลือกขนาดพื้นที่ความจุของแฟลชไดร์ฟนั้น ไม่ได้หมายความยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะถ้าความต้องการใช้งานจริงของเราไม่ได้ถึงขนาดความจุนั้นๆ ก็เท่ากับว่าพื้นที่ความจุขนาดใหญ่ที่ได้รับมานั้นไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย ทั้งยังจะทำให้เราต้องควักจ่ายเงินแพงกว่าที่ควรจะเป็นด้วย นอกจากนี้ผู้ใช้งานอย่างเราๆ ก็ต้องไม่ลืมด้วยว่า แฟลชไดร์ฟนั้นเป็นแก็ดเจ็ตที่ใช้ชุดคำสั่งแบบดิจิทัล และตัวฮาร์ดแวร์นั้นก็จะค่อยๆเสื่อมสภาพไปตามจำนวนครั้งของการใช้งาน จึงยิ่งทำให้แทบไม่มีความจำเป็นเลยที่เราจะเผื่อขนาดความจุไว้ โดยที่ไม่ได้ใช้งานจริงและปล่อยให้มันเสื่อมอายุการใช้งานไปเฉยๆ ในบทความนี้จึงได้นำเอาเทคนิคการเลือกขนาดความจุของแฟลชไดร์ฟให้พอดีกับความต้องการใช้งานมาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

ความจุ 16 Gb สำหรับจัดเก็บไฟล์เอกสาร ลักษณะการใช้งานแฟลชไดร์ฟแบบนึงที่ต้องบอกว่าผู้ใช้งานจำนวนมากทำเหมือนๆกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ใช้งานที่เป็นหนุ่มสาวออฟฟิศก็คือ การใช้แฟลชไดร์ฟจัดเก็บไฟล์งานเอกสารต่างๆ นั่นเอง ซึ่งการเลือกหาแฟลชไดร์ฟไว้จัดเก็บไฟล์เอกสารนี้ ผู้ใช้งานหลายคนมักเลือกขนาดความจุที่มากเกินความต้องการใช้งานจริง เนื่องจากไปมองที่จำนวนไฟล์ที่จำเป็นต้องจัดเก็บ ซึ่งอาจเป็นหลักหลายสิบไฟล์ หรือหลักร้อยไฟล์ ทว่าความจริงแล้ว ไฟล์งานเอกสารนั้นมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับไฟล์ประเภทอื่นๆ โดยมีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่เพียงหลักร้อย Kb(Kilobyte) หรือหลัก Mb(Megabyte) ต้นๆ เท่านั้นเอง ดังนั้นแฟลชไดร์ฟขนาดความจุเริ่มต้นประมาณ 16 Gb ก็ถือว่าเพียงพอสำหรับใช้งานจัดเก็บไฟล์ลักษณะนี้ได้กว่าพันไฟล์แล้ว

ความจุ 32-64 Gb สำหรับจัดเก็บไฟล์รูปภาพจากโทรศัพท์ ไฟล์ประเภทต่อมาที่ผู้ใช้งานจำนวนมากนิยมใช้แฟลชไดร์ฟในการจัดเก็บ หรือแบ็คอัพไว้ก็คือ ไฟล์รูปภาพจากมือถือ หรือสมาร์ทโฟนนั่นเอง เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่ารูปภาพบนมือถือนั้นนับว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญของผู้ใช้งานหลายคนที่มีส่วนทำให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนมือถือนั้นลดน้อยลง จนไม่เพียงพอสำหรับการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงต้องหาทางถ่ายโอนไฟล์รูปภาพไปจัดเก็บ หรือแบ็คอัพไว้ที่อื่น โดยขนาดความจุแฟลชไดร์ฟที่แนะนำสำหรับไว้ใช้แบ็คอัพไฟล์รูปภาพจากมือถืออยู่ที่ประมาณ 32-64 Gb เนื่องจากไฟล์รูปภาพที่ถ่ายจากมือถือ หรือสมาร์ทโฟนนั้นจะมีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-10 Mb ดังนั้นขนาดความจุประมาณ 32-64 Gb ก็ถือว่าเพียงพอที่จะจัดเก็บไฟล์รูปภาพได้กว่าพันไฟล์แล้ว

ความจุ 256 Gb ขึ้นไป สำหรับไฟล์ความละเอียดสูง ไฟล์งานกราฟิก ไฟล์ 3D มาถึงลักษณะการใช้งานที่เน้นจัดเก็บไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษกันบ้าง ซึ่งก็คือกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความจำเป็นต้องใช้งานไฟล์ออกแบบทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ภาพความละเอียดสูง ไฟออกแบบ 3D ต่างๆ โดยการเลือกขนาดความจุแฟลชไดร์ฟสำหรับจัดเก็บไฟล์เหล่านี้ควรเลือกที่มีความจุตั้งแต่ 256 Gb ขึ้นไป เพราะขนาดไฟล์กลุ่มนี้มักจะใหญ่กว่าไฟล์ประเภทอื่นๆ พอสมควร โดยไฟล์บางชิ้นอาจกินพื้นที่ตั้งแต่ 1 Gb ขึ้นไปเลยทีเดียว นอกจากนี้หากจำเป็นต้องใช้งานจัดเก็บกลุ่มไฟล์เสียง เช่น ซาวด์เอฟเฟ็กต์ต่างๆ หรือไฟล์ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเพิ่มเติม ก็อาจขยับไปเลือกใช้ขนาดความจุตั้งแต่ 500 Gb ขึ้นไป

หากคุณกำลังมองหาแฟลชไดร์ฟที่เป็น gift set หรือของขวัญสำหรับบุคคลพิเศษ ขนาดความจุก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานและความต้องการของผู้รับ

5 ทางเลือก จัดเก็บ-โอนถ่ายไฟล์ ที่สามารถใช้ทดแทนแฟลชไดร์ฟได้

เมื่อพูดถึงการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลเป็นการชั่วคราว เพื่อโอนถ่ายระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ไอทีใด ๆ ก็แน่นอนว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักนึกถึงแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟเป็นลำดับแรก ๆ เพราะนับเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นที่ใช้งานง่าย มีขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาสะดวก มีหลากหลายแบบเช่น metal usb, rubber usb, pen...

เมื่อพูดถึงการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลเป็นการชั่วคราว เพื่อโอนถ่ายระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ไอทีใด ๆ ก็แน่นอนว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักนึกถึงแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟเป็นลำดับแรก ๆ เพราะนับเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นที่ใช้งานง่าย มีขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาสะดวก มีหลากหลายแบบเช่น metal usb, rubber usb, pen usb อีกทั้งยังมีราคาถูกอีกด้วย อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงยังมีตัวเลือกการจัดเก็บข้อมูลชั่วคราว และโอนถ่ายระหว่างอุปกรณ์แบบอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถใช้งานทดแทนแฟลชไดร์ฟได้ และผู้ใช้งานบางส่วนก็มองว่าการใช้แฟลชไดร์ฟนั้นมีข้อเสียอยู่ไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปัญหาอาการชำรุด เสียหายที่ส่งผลให้ไฟล์ข้อมูลที่บันทึกไว้สูญหายไปด้วย ในบทความนี้จึงได้รวบรวมเอา 5 ทางเลือกการจัดเก็บข้อมูลและโอนถ่ายไฟล์รูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถใช้ทดแทนแฟลชไดร์ฟได้มาแนะนำบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

ใช้ External Harddisk ผู้ใช้งานหลายคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า Harddisk นั้นเป็นตัวจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อป สำหรับใช้เป็นหน่วยความจำภายในตัวเครื่องที่คอยจัดเก็บข้อมูลทุกอย่างที่ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ กดบันทึกลงไป แต่สิ่งที่ผู้ใช้งานบางส่วนอาจจะยังไม่ทราบก็คือฮาร์ดดิสก์นั้นก็สามารถใช้งานเป็นแก็ดเจ็ตเสริมสำหรับต่อพ่วงเป็นหน่วยความจำภายนอกแทนแฟลชไดร์ฟได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น External Harddisk สำเร็จรูปที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปตามร้านขายแก็ดเจ็ต อุปกรณ์ไอที หรือฮาร์ดดิสก์ทั่วไปที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แล็ปท็อปที่ชำรุด เสียหายแล้ว เราก็สามารถถอดเอาฮาร์ดดิสก์มาใช้งานเป็น External Harddisk ได้เช่นกัน

E-mail เครื่องมือพื้นฐานตัวนึงที่สามารถใช้งานจัดเก็บข้อมูลเป็นการชั่วคราว และโอนถ่ายข้อมูลทดแทนแฟลชไดร์ฟได้ แต่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักมองข้ามไปก็คือ E-mail หรือบริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการออนไลน์แพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Google นั่นเอง ทั้งนี้ปัจจุบันการรับส่งอีเมลนั้นรองรับการแนบไฟล์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร รูปภาพ หรือไฟล์มีเดียเคลื่อนไหวต่าง ๆ ดังนั้นผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ จึงสามารถใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บและโอนถ่ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ได้เช่นกัน ซึ่งวิธีการก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแค่สมัครบัญชีอีเมลของผู้ให้บริการใด ๆ ตั้งแต่สองบัญชีขึ้นไป เพื่อใช้บัญชีใดบัญชีนึงแนบไฟล์ส่งไปยังอีกบัญชี จากนั้นทำการล็อกอินบัญชีรับอีเมลบนอุปกรณ์ใด ๆ เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ลงเครื่อง ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการโอนถ่ายไฟล์

External SSD แก็ดเจ็ตอีกชิ้นนึงที่สามารถใช้งานทดแทนแฟลชไดร์ฟได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และยังรองรับการติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ลงไปได้ด้วยก็คือ External SSD ที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปเช่นกันนั่นเอง ทว่าข้อเสียของ SSD ก็คือ ราคาที่สูงกว่า และขนาดที่ไม่ได้เล็กกะทัดรัดมากนักเมื่อเทียบกับแฟลชไดร์ฟ

บัญชีโซเชียลมีเดีย อีกหนึ่งตัวเลือกการจัดเก็บและโอนถ่ายข้อมูลที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง แต่สามารถใช้งานได้ดีทีเดียวก็คือ บัญชีโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่เราใช้งานกันในชีวิตประจำวันอยู่แล้วนั่นเอง ซึ่งบัญชีโซเชียลฯเหล่านี้ต่างก็รองรับการอัพโหลดไฟล์รูปภาพ วิดีโออยู่แล้ว และแม้ว่าประโยชน์จริงๆ ของบัญชีโซเชียลฯจะเป็นการแชร์รูปภาพ วิดีโอต่าง ๆ ให้บุคคลอื่น ๆ ได้รับชม แต่เราก็สามารถเลือกตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้เฉพาะเจ้าของบัญชี ซึ่งก็คือตัวเราเห็นเท่านั้นได้ เราจึงสามารถใช้บัญชีโซเชียลฯเหล่านี้โอนถ่ายไฟล์มีเดียต่างๆ ระหว่างอุปกรณ์ ทดแทนการใช้งานแฟลชไดร์ฟได้เช่นกัน

ใช้ระบบคลาวด์ อีกหนึ่งตัวเลือกการจัดเก็บ โอนถ่ายไฟล์ที่ผู้ใช้งานหลายคนอาจคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่บางคนก็อาจจะไม่เคยใช้งานมาก่อนก็คือระบบคลาวด์ หรือพื้นที่จัดเก็บไฟล์แบบออนไลน์นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ได้มีเพียงผู้ให้บริการออนไลน์แพลตฟอร์มรายใหญ่ เช่น Google หรือ Microsoft เท่านั้นที่ให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ แต่ระบบคลาวด์ยังมีติดมากับอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ที่เราใช้งานกันในชีวิตประจำวัน เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โดยเป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานที่แบรนด์ผู้ผลิตให้ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ สามารถใช้งานได้ฟรี ๆ โดยให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเริ่มต้นมาประมาณนึง และสามารถอัพเกรดแพ็คเกจเพื่อเพิ่มพื้นที่ได้ในภายหลัง ปัจจุบันเราจึงสามารถใช้คลาวด์จัดเก็บ โอนถ่ายไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนอุปกรณ์พกพาทดแทนแฟลชไดร์ฟได้อย่างสะดวกทีเดียว ทั้งนี้แฟลชไดร์ฟในปัจจุบันก็ยังฮิตเพราะถูกนำเอามาทำเป็น gift set เพื่อแจกหรือให้เป็นของสมนาคุณในงานต่าง ๆ

ผลงานแฟลชไดร์ฟ เลเซอร์โลโก้ HUAWEI

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













เทียบความเร็วพอร์ต USB แต่ละเวอร์ชั่น ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟ

แฟลชไดร์ฟในยุคปัจจุบันนี้มีรูปแบบมากมายหลายรูปแบบเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น Rubber Usb, Recycle Usb, Pen Usb เป็นต้น และอย่างที่ทราบกันดีว่าในการเลือกซื้อเลือกหาแฟลชไดร์ฟสักตัวไว้ใช้งานนั้นมีสเปคหลายส่วนที่ผู้ใช้งานอย่างเราๆ ต้องคำนึงถึง...

แฟลชไดร์ฟในยุคปัจจุบันนี้มีรูปแบบมากมายหลายรูปแบบเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น Rubber Usb, Recycle Usb, Pen Usb เป็นต้น และอย่างที่ทราบกันดีว่าในการเลือกซื้อเลือกหาแฟลชไดร์ฟสักตัวไว้ใช้งานนั้นมีสเปคหลายส่วนที่ผู้ใช้งานอย่างเราๆ ต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสเปคที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการใช้งานโดยตรง ซึ่งนับว่ามีหลายจุดทีเดียวที่ผู้ใช้งานต้องพิจารณาให้ดี แม้ว่าแฟลชไดร์ฟนั้นดูจะเป็นเพียงแก็ดเจ็ตชิ้นเล็กๆ ที่ดูไม่น่าจะมีอะไรซับซ้อนก็ตาม โดยจุดสำคัญที่ผู้ใช้งานหลายคนมักนึกถึงเป็นลำดับแรกๆ เสมอก็แน่นอนว่าเป็นในส่วนของขนาดความจุข้อมูล ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าเราจะสามารถบันทึกข้อมูลลงในตัวแฟลชไดร์ฟตัวนั้นๆ ได้มากน้อยแค่ไหน และสเปคส่วนต่อมาที่ผู้ใช้งานมักจะนึกถึงเป็นลำดับต่อมาก็คือ Type ของพอร์ตเชื่อมต่อ ว่าเป็น USB Type ไหนนั่นเอง ซึ่ง Type ที่ผู้ใช้งานนิยมเลือกใช้ในปัจจุบันนี้ก็คือ Type C หรือ USB-C ที่เป็นเหมือนพอร์ตมาตรฐานของอุปกรณ์พกพาเจเนอเรชั่นใหม่ๆ อย่างไรก็ตามนอกจาก Type หรือลักษณะของหัวพอร์ต USB แล้ว สเปคอีกส่วนนึงที่สำคัญไม่แพ้กันและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลของแฟลชไดร์ฟตัวนั้นๆ โดยตรง แต่ผู้ใช้งานหลายคนกลับมองข้ามไปก็คือ เวอร์ชั่นของพอร์ต USB ที่ผู้ผลิตเลือกใส่มานั่นเอง ในบทความนี้จึงจะมาเปรียบเทียบความเร็วของพอร์ต USB แต่ละเวอร์ชั่นให้ได้เห็นกันชัดๆ ว่า แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟสักตัวให้ได้ประสิทธิภาพการใช้งานตรงตามความต้องการ

USB 1.0 เวอร์ชั่นดั้งเดิมของพอร์ต USB ที่แน่นอนว่าเป็นเวอร์ชั่นที่อยู่มานานที่สุดแล้ว และผู้ใช้งานหลายคนก็ล้วนเคยผ่านการใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ กันมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อยก็คือ เวอร์ชั่น USB 1.0 โดย USB 1.0 นี้ถูกใช้งานกับแฟลชไดร์ฟเจเนอเรชั่นแรกๆ ที่ถูกผลิตออกมาวางจำหน่ายครั้งแรกๆเมื่อกว่าสิบปีก่อน ซึ่งปัจจุบันต้องบอกว่าแทบจะไม่มีอุปกรณ์และแก็ดเจ็ตที่เลือกใช้ USB เวอร์ชั่นนี้แล้ว โดยประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลของ USB 1.0 นี้อยู่ที่ 1.5 Mbps (Megabit per Second) หรือก็คือใน 1 วินาที สามารถส่งข้อมูลผ่านพอร์ตดังกล่าวนี้ได้เพียง 1.5 บิต นั่นเอง และด้วยประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลที่จำกัดมากๆ ดังกล่าวนี้เอง ทำให้พอร์ต USB ถูกพัฒนาต่อมาเป็นเวอร์ USB 1.1 โดยมีความเร็วก้าวกระโดดมาอยู่ที่ 12 Mbps

USB 2.0 การพัฒนาเวอร์ชั่นพอร์ต USB ที่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญก็คือการพัฒนาจากเวอร์ชั่น 1.1 มาเป็นเวอร์ชั่น 2.0 นั่นเอง โดยการมาของ USB 2.0 ถือว่ามีส่วนช่วยให้การใช้งานแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟแพร่หลายมากยิ่งขึ้นไปด้วย เพราะประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลที่ถูกอัพเกรดขึ้นมานั้น ถือว่าดีกว่าเดิมชนิดทิ้งกันไม่เห็นฝุ่นเลยทีเดียว โดยพอร์ต USB 2.0 ทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้ถึง 480 Mbps และด้วยประสิทธิภาพดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ พอร์ตเวอร์ชั่นนี้ถูกใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ มายาวนานต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายปี และแม้ว่าปัจจุบันจะมีพอร์ตเวอร์ชั่นใหม่ๆ ออกมาที่สามารถทำความเร็วได้ดีกว่า แต่ USB 2.0 ก็ยังคงถูกผู้ผลิตอุปกรณ์ไอที และผู้ผลิตแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟรายต่างๆ เลือกใช้ในสินค้ารุ่นราคาประหยัดของตนเอง

USB 3 มากันถึงซีรีย์ของเวอร์ชั่น USB 3 กันบ้าง ซึ่งนับว่าเป็นการก้าวกระโดดอีกครั้งของประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล โดยเวอร์ชั่น USB 3 พัฒนาเริ่มต้นมาจาก USB 3.0 ก่อนจะอัพเกรดต่อเรื่อยๆ เป็น 3.1, และ 3.2 ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ตามลำดับ เริ่มจาก USB 3.0 ที่รับส่งข้อมูลได้เร็ว 5 Gbps USB 3.1 ที่ 10 Gbps และ USB 3.2 ทำความเร็วได้ที่ 20 Gbps จะเห็นได้ว่า USB เวอร์ชั่น 3 เป็นต้นมามีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลที่ขยับขึ้นมาจากระดับเมกะบิต เป็น กิกะบิต ดังนั้นแน่นอนว่าการเลือกใช้แฟลชไดร์ฟ USB 3 กับ USB 2 ย่อมมีความแตกต่างเรื่องประสิทธิภาพอยู่พอสมควร ทว่าข้อจำกัดที่ตามมาก็คือเรื่องของราคานั่นเอง โดยแฟลชไดร์ฟที่เลือกใช้พอร์ต USB ตั้งแต่เวอร์ชั่น 3 ขึ้นมา ย่อมมีราคาที่สูงกว่าเวอร์ชั่น 2 พอสมควรเช่นกัน และหากหากใครกำลังลังเลว่าจะทำ Gift Set ดีไหมเพื่อนำไปแจกในงานสำคัญต่าง ๆ บอกเลยว่าควรค่าแก่การนำไปทำ Gift Set มากๆ

เปรียบเทียบ แฟลชไดร์ฟ-SD Card-External SSD แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนคุ้มค่าที่สุด ?

เมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ตสำหรับจัดเก็บไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ก็แน่นอนว่าในปัจจุบันยูสเซอร์ หรือผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ นั้นมีตัวเลือกให้ได้เลือกใช้งานกันค่อนข้างหลากหลายทีเดียว แม้ว่าเทคโนโลยีเดิม ๆ บางส่วน เช่น แผ่นวีซีดี แผ่นดีวีดี จะเลือนหายไปแล้วก็ตาม...

เมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ตสำหรับจัดเก็บไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ก็แน่นอนว่าในปัจจุบันยูสเซอร์ หรือผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ นั้นมีตัวเลือกให้ได้เลือกใช้งานกันค่อนข้างหลากหลายทีเดียว แม้ว่าเทคโนโลยีเดิม ๆ บางส่วน เช่น แผ่นวีซีดี แผ่นดีวีดี จะเลือนหายไปแล้วก็ตาม โดยปัจจุบันมีตัวเลือกแก็ดเจ็ดจัดเก็บข้อมูลทั้ง แฟลชไดร์ฟ SD Card และ External SSD ให้เราได้เลือกใช้งาน ซึ่งทั้งสามแบบนั้นต่างก็มีขนาดที่เล็กกะทัดรัด พกพาสะดวกด้วยกันทั้งนั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าเมื่อมองอย่างผิวเผินแล้วแก็ดเจ็ตทั้งสามตัวจะสามารถใช้งานทดแทนกันได้ แต่ทว่าในความเป็นจริง แก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลทั้งสามตัวนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งผู้ใช้งานบางส่วนอาจจะทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ก็อาจมีผู้ใช้งานหลายคนที่ไม่ทราบมาก่อน และยังคงชั่งใจที่จะตัดสินใจเลือกใช้แก็ดเจ็ตตัวใด ในบทความนี้จึงจะมาเปรียบเทียบให้ได้เห็นกันชัด ๆ ว่า แฟลชไดร์ฟ SD Card และ External SSD มีจุดเด่นในการจัดเก็บไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ที่เหมือน หรือต่างกันอย่างไร และแบบไหนคุ้มค่ามากที่สุด

แฟลชไดร์ฟ VS SD Card แก็ดเจ็ตสองตัวแรกที่ดูจะคล้าย ๆ กัน และผู้ใช้งานหลายคนเข้าใจว่ามีประโยชน์ใช้งานไม่ต่างกัน แต่ในความเป็นจริง ประโยชน์ใช้งานค่อนข้างต่างกันพอสมควรก็คือ แฟลชไดร์ฟ และ SD Card นั่นเอง โดยแฟลชไดร์ฟนั้น ผู้ใช้งานหลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วว่าเป็นไดร์ฟพกพาสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านพอร์ต USB     มีหลากหลายรูปแบบทั้ง PEN  USB ที่เป็นทั้งปากกาและแฟลชไดร์ฟในเวลาเดียวกัน RUBBER USB ที่เป็นทั้งสายรัดข้อมือ พวงกุญแจแต่สำหรับ SD Card นั้น เป็นแบบการ์ดแต่แม้ว่าจะสามารถใช้งานเป็นไดร์ฟภายนอกเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟนได้เหมือนกัน แต่ประโยชน์หลัก ๆ ของแก็ดเจ็ตบันทึกข้อมูลตัวนี้ก็คือ การเสียบติดไว้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆประจำเลยนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน กล้องดิจิทัล กล้องวงจรปิด โดย SD Card มีความสามารถในการบันทึกไฟล์ใหม่ ๆ ทับแทนไฟล์เดิม ๆ ได้ทันทีที่พื้นที่หน่วยความจำถูกใช้จนเต็ม จึงเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นมาตรฐานที่ถูกเลือกใช้งานกับกล้องวงจรปิดแบบต่าง ๆ ขณะที่แฟลชไดร์ฟไม่สามารถใช้งานในลักษณะนี้ได้

SD Card VS External SSD แก็ดเจ็ตสองตัวที่มีระบบการทำงานภายใน เขียน อ่านไฟล์ดิจิทัลต่าง ๆ ไม่แตกต่างกัน แต่ประโยชน์การใช้งาน และความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันชัดเจนเช่นกันก็คือ SD Card และ External SSD อย่างที่ทราบดังกล่าวข้างต้นว่า SD Card นั้นมีจุดเด่นตรงที่สามารถใช้เป็นหน่วยความจำให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เสมือนเป็นหน่วยความจำหลัก แต่สำหรับ External SSD นั้น แม้ว่าจะถูกพัฒนาต่อยอดมาจากหน่วยความจำภายในของคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปเจนเนอเรชั่นใหม่ ๆ แต่ด้วยสถาปัตยกรรมที่ดีไซน์มาให้เน้นใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก จึงทำให้ไม่สามารถใช้งานในลักษณะเดียวกับ SD Card ได้ แต่ทว่าจุดเด่นของ External SSD ก็คือ สามารถใช้เป็นไดร์ฟภายนอกที่มีสเกลการใช้งานใหญ่กว่าทั้งแฟลชไดร์ฟ และ SD Card ได้ ทั้งการเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ที่มีความละเอียดสูง การติดตั้งซอฟต์แวร์ใด ๆ ลงไป และพร้อมใช้งานได้ทันทีที่เชื่อมต่อ SSD เข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ

ราคา จากข้อเปรียบเทียบดังกล่าวข้างต้นสองข้อ ผู้ใช้งานหลายคนน่าจะได้ทราบความแตกต่าง และจุดเด่นของแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลอย่างแฟลชไดร์ฟ SD Card และ External SSD กันแล้ว แต่อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องบอกว่ามีผลต่อความคุ้มค่าในการเลือกใช้งานของผู้ใช้งานหลายคนไม่น้อยเหมือนกันก็คือ ราคานั่นเอง ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบราคาโดยเฉลี่ย สามารถเรียงลำดับจากน้อยไปมากได้ดังนี้ แฟลชไดร์ฟ-SD Card-External SSD กล่าวสรุปคือ แฟลชไดร์ฟเป็นแก็ดเจ็ดจัดเก็บข้อมูลพกพาที่มีราคาถูกที่สุด ส่วน SD Card จะมีราคาสูงขึ้นมาหน่อยอยู่ในระดับกลาง ๆ และ External SSD มีราคาแพงที่สุดนั่นเอง ดังนั้นหากต้องการใช้งานสำหรับจัดเก็บข้อมูลโอนถ่ายไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ทั่วไป แฟลชไดร์ฟก็ถือว่าคุ้มค่าและเพียงพอต่อความต้องการแล้ว แต่สำหรับลักษณะการใช้งานอื่น ๆ นั้นก็จำเป็นต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสมทั้งนี้ควรจัดเก็บใส่ Package เพื่อป้องกันการสูญหาย

ส่องลิสต์ 5 แบรนด์แฟลชไดร์ฟ(Type-C) น่าใช้ ในปี 2024

อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบัน หากผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ จะเลือกซื้อเลือกหาแฟลชไดร์ฟสักอันมาไว้ใช้งาน สำหรับเก็บข้อมูล สำรองข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ควรที่จะเลือกแฟลชไดร์ฟแบบที่มีพอร์ต USB Type C มาให้ด้วย เพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เจเนอเรชั่นใหม่ ๆ...

อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบัน หากผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ จะเลือกซื้อเลือกหาแฟลชไดร์ฟสักอันมาไว้ใช้งาน สำหรับเก็บข้อมูล สำรองข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ควรที่จะเลือกแฟลชไดร์ฟแบบที่มีพอร์ต USB Type C มาให้ด้วย เพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เจเนอเรชั่นใหม่ ๆ ซึ่งตัวเลือกสินค้าในตลาดก็ต้องบอกว่ามีหลากหลายทีเดียว เพราะแต่ละแบรนด์ผู้ผลิตก็เริ่มมีการใส่พอร์ต USB-C เข้ามาในสินค้ารุ่นต่าง ๆ ของตัวเองมากขึ้นเรื่อย ๆ ทว่าปัญหาที่ตามมาก็คือ ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ไม่ทราบว่าสินค้าแบรนด์ไหนคุณภาพดี น่าใช้งานนั่นเอง เพราะอย่างที่รู้ ๆ กันว่า แฟลชไดร์ฟเองก็เป็นแก็ดเจ็ตไอทีชิ้นนึงที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวเรื่องอาการชำรุด เสียหายต่าง ๆ ดังนั้นในการเลือกซื้อเลือกหามาใช้งานจึงต้องเลือกใช้สินค้าชิ้นที่มั่นใจเรื่องของคุณภาพวัสดุ งานผลิต งานประกอบได้ในระดับนึง ในบทความนี้จึงได้เลือกเอาลิสต์ 5 แบรนด์แฟลชไดร์ฟ(Type C) คุณภาพดี น่าใช้งานในปี 2024 มาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน

SanDisk แบรนด์แรกต้องบอกว่าเป็นแบรนด์ที่ครองอันดับหนึ่งในตลาดแฟลชไดร์ฟบ้านเรามาตลอดช่วงหลายปีหลัง ซึ่งก็คือแซนดิสก์นั่นเอง เช่นเดียวกันกับแฟลชไดร์ฟ Type C ในปี 2024 นี้ สินค้าจาก SanDisk ก็ยังคงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ โดยสินค้ารุ่น Type C จากแซนดิสก์นั้นมีให้เลือกอยู่หลายรุ่นหลายแบบ และมีราคาเริ่มต้นประมาณ 300 บาทเท่านั้นซึ่งแบรนด์นี้ก็ยังมีการผลิต Recycle Usb ด้วยซึ่งชิ้นส่วนกว่า 70% ทำจากพลาสติกที่รีไซเคิล   ข้อดีของแบรนด์เจ้าดังรายนี้ก็คือในการใช้งานจะมีซอฟท์แวร์เสริมของตัวเองให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดลงบนอุปกรณ์ต่าง ๆ บนช่องทางดาวน์โหลดทางการของแต่ละอุปกรณ์ด้วย เช่น App Store, Play Store เป็นต้น

Hoco แบรนด์ต่อมาต้องบอกว่าอาจจะไม่ใช่แบรนด์ดัง มีชื่อระดับเจ้าตลาดสักเท่าไหร่ แต่ก็ถือว่าเป็นแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ต อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของตัวเองป้อนเข้ามาในตลาดบ้านเราอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในช่วงหลัง ๆ นี้ ผู้ใช้งานหลายคนน่าจะเริ่มคุ้นชื่อแบรนด์กันบ้างแล้ว ซึ่งก็คือ Hoco นั่นเอง โดย hoco เองก็มีแฟลชไดร์ฟ Type C ยิ่งเป็น Metal Usb ที่น่าสนใจเลือกใช้งานในปี 2024 นี้ เช่นกัน โดยมีราคาเริ่มต้นเพียงประมาณ 200 บาทเท่านั้น และมีความจุตั้งแต่ 16Gb, 32Gb, 64Gb และ 128 Gb

Lenova แบรนด์ต่อมาถือเป็นแบรนด์ที่ผู้ใช้งานอาจจะไม่คุ้นกับภาพลักษณ์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตสักเท่าไหร่ เพราะผลิตภัณฑ์ของแบนด์ที่คุ้นตาผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมามักจะเป็นตัว Device หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปรุ่นต่าง ๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็คือแบรนด์ เลโนโว่ ทว่าในปี 2024 นี้ แบรนด์ดังรายนี้กลับมีตัวเลือกแฟลชไดร์ฟ Type C ที่น่าสนใจมากทีเดียว โดยแฟลชไดร์ฟเลโนโวที่มีวางจำหน่ายอยู่ในปี 2024 นี้ มีราคาเริ่มต้นเพียงประมาณ 350 บาท เท่านั้น และมาพร้อมขนาดความคุใหญ่ยักษ์ถึง 1TB และ 2TB

HP อีกหนึ่งแบรนด์ที่นับว่าได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งานในบ้านเราค่อนข้างสูงทั้งผลิตภัณฑ์ Device และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ อย่าง HP ก็เป็นอีกแบรนด์ที่มีการทำแฟลชไดร์ฟ Type C ออกมาวางจำหน่ายเช่นกัน โดยแฟลชไดร์ฟ Type C HP มีราคาจำหน่ายเริ่มต้นเพียงประมาณ 300 บาท เท่านั้น และมีขนาดความจุสูงสุดถึง 2TB

Kingston และอีกหนึ่งแบรนด์ที่ต้องบอกว่ายังคงเป็นหนึ่งในตัวเลือกแฟลชไดร์ฟที่น่าใช้งานมากที่สุดในทุกยุคก็คือ Kingston แบรนด์เก่าแก่ที่ยังคงพัฒนาแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟออกมาต่อเนื่อง โดยในปี 2024 นี้ คิงส์ตันเองก็มี แฟลชไดร์ฟ Type C ให้ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ เลือกใช้เช่นกัน โดยมาพร้อมทั้งพอร์ต USB-C และพอร์ตมาตรฐานอย่าง USB-A มีราคาเริ่มต้นเพียงประมาณ 250 บาทเท่านั้น มีขนาดความจุให้เลือกหลากหลายตั้งแต่ 32 Gb ไปจนถึงระดับเทราไบต์

สามาถเลือกซื้อเลือกใช้ได้ตามความต้องการ และปัจจุบันนี้นอกจากแฟลชไดร์ฟจะถูกนำไปใช้ส่วนตัวแล้ว ยังถูกนำไปเป็นของพรีเมี่ยม เพื่อทำเป็น Gift Set แจกในงานต่าง ๆ อีกด้วย