รวมเทคนิคใช้งานแฟลชไดร์ฟให้คุ้มค่า เพิ่มความลื่นไหลในการจัดการไฟล์ดิจิทัล

ถ้าพูดถึงการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ ก็แน่นอนว่าโดยประโยชน์พื้นฐานนั้นหลายคนย่อมคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งก็คือการใช้งานโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่างๆ เช่น การเซฟงานจากคอมพิวเตอร์ที่ออฟฟิศเพื่อนำกลับไปทำต่อที่บ้าน...

ถ้าพูดถึงการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ ก็แน่นอนว่าโดยประโยชน์พื้นฐานนั้นหลายคนย่อมคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งก็คือการใช้งานโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่างๆ เช่น การเซฟงานจากคอมพิวเตอร์ที่ออฟฟิศเพื่อนำกลับไปทำต่อที่บ้าน หรือการเคลื่อนย้ายไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของเราเพื่อส่งต่อให้เพื่อนร่วมงานไปใช้งานต่อ เป็นต้น เรียกได้ว่าแฟลชไดร์ฟนั้นเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมในการส่งต่อ คัดลอก โอนย้ายไฟล์ดิจิทัลจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์ หรือจากบุคคลสู่บุคคล แต่ทว่าในความเป็นจริงประโยชน์ที่ติดมากับตัวแฟลชไดร์ฟนั้นยังมีอะไรมากมายกว่าการเป็นแค่แก็ดเจ็ตสำหรับช่วยในการโอนย้ายข้อมูล ซึ่งบางประโยชน์การใช้งานหลายคนก็อาจจะนึกไม่ถึงด้วยซ้ำ ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำเทคนิคการใช้งานต่างๆ ที่จะช่วยให้เราใช้งานแฟลชไดร์ฟคู่ใจได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น และช่วยให้เราสามารถจัดการกับไฟล์ดิจิทัลต่างๆ ได้ลื่นไหลขึ้นด้วย และปัจจุบันแฟลชไดร์ฟยังมีหลายแบบหลายทรงให้เราได้เลือกใช้งาน เช่น แฟลชไดร์ฟปากกา พกพาง่าย รูปทรงสวยงาม แฟลชไดร์ฟการ์ด สามาราพกพาใส่กระเป๋าสตางค์ไปได้ทุกที่ แฟลชไดร์ฟไม้ เป็นวัสดุรีไซเคิล รักษ์โลก
ใช้งานเป็นเครื่องเล่นเพลงพกพา ประโยชน์การใช้งานอย่างนึงของแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟที่หลายคนคุ้นเคยกันดี แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่ทราบมาก่อนว่าสามารถใช้แก็ดเจ็ตชิ้นนี้ทดแทนได้ก็คือ การใช้งานเป็นเครื่องเล่นเพลงพกพานั่นเอง โดยทั่วไปแล้วแฟลชไดร์ฟจะสามารถจัดเก็บและอ่านไฟล์ดิจิทัลได้หลากหลายนามสกุล ซึ่งครอบคลุมถึงไฟล์ดิจิทัลประเภทเพลง หรือวีดีโอด้วย เราจึงสามารถใช้แฟลชไดร์ฟเป็นเครื่องเล่นเพลงพกพาได้เช่นกัน วิธีใช้งานก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแค่เรามีการบันทึกไฟล์เพลงไว้ก่อน และเชื่อมต่อแฟลชไดรฟ์เข้ากับลำโพงบลูทูธ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วลำโพงบลูทูธจากแบรนด์ต่างๆ จะมีพอร์ตเชื่อมต่อ USB-A มาให้เป็นฟังก์ชั่นมาตรฐานอยู่แล้ว เท่านี้เราก็สามารถกดเล่นไฟล์เพลงที่ถูกบันทึกไว้ได้แล้ว โดยไม่ต้องพึ่งพาสัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือบลูทูธเลย เสมือนมีเครื่องเล่นเพลงแบบอนาล็อกติดตัว
ใช้สำหรับลงระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์/แล็ปท็อป ถ้าพูดถึงการลงระบบปฏิบัติการ เช่น windows ให้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับวิธีซื้อแผ่นในลักษณะของแผ่นซีดีมาใส่ในช่องซีดีไดร์ฟของอุปกรณ์นั้นๆ และให้ตัวระบบปฏิบัติบูตเข้าขั้นตอนการติดตั้งต่อไป แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์บุคคลจากแบรนด์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแล็ปท็อปรุ่นใหม่ๆ มักมีการดีไซน์สเปคมาให้มีความบางเบา พกพาสะดวก ประกอบกับความนิยิมในการใช้พอร์ตซีดีไดร์ฟของผู้ใช้งานลดลงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการตัดฟังก์ชั่นส่วนนี้ออก ขณะที่การอัพเดทเวอร์ชั่นระบบปฏิบัติการต่างๆ จากบริษัทผู้ผลิตก็กลายเป็นรูปแบบออนไลน์หมดแล้ว ผู้ใช้งานจึงต้องหาวิธีในการติดตั้งและอัพเดทระบบปฏิบัติการให้อุปกรณ์ต่างๆ และหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดก็คือการดาวน์โหลดระบบปฏิบัติมาเซฟลงแฟลชไดร์ฟไว้ และใช้ตัวแฟลชไดร์ฟเป็นตัวบูตเข้าสู่ขั้นตอนการอัพเดท หรือติดตั้งนั่นเอง
ใช้สำหรับจัดเก็บไฟล์รูปภาพ/วิดีโอ จากสมาร์ทโฟนเพื่อเพิ่มพื้นที่ความจำให้สมาร์ทโฟน หนึ่งในพฤติกรรมที่มาควบคู่กับไลฟ์สไตล์แบบดิจิทัลเจนฯ ที่เราคุ้นเคยกันดี ก็คือการใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพ หรือถ่ายวิดีโอบันทึกความทรงจำรอบตัวในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นชีวิตการทำงาน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หรือการท่องเที่ยว ซึ่งปริมาณรูปถ่ายและวิดีโอที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่เอง มักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สมาร์ทโฟนของเราเจอปัญหาหน่วยความจำเต็ม และทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างติดขัด ไม่ลื่นไหล ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดทแอปพลิเคชั่นต่างๆ หรือการติดตั้งแอปฯใหม่ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เราสามารถใช้แฟลชไดร์ฟเข้ามาช่วยจัดการได้ โดยอาจจะทำการคัดลอกไฟล์รูปถ่าย และวิดีโอเก่าๆ ที่ไม่ได้มีแพลนส่งต่อให้ใครแล้วไปเก็บไว้ในแฟลชไดร์ฟ แล้วทำการลบไฟล์เหล่านั้นที่อยู่บนสมาร์ทโฟน ก็จะช่วยให้ได้พื้นที่หน่วยความจำกลับมาพอสมควร โดยอาจทำแบบนี้เป็นระยะๆ เช่น เดือนละครั้ง หรือสามเดือนครั้ง ก็จะช่วยให้เราจัดการกับพื้นที่ใช้งานของสมาร์ทโฟนได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

แฟลชไดร์ฟ กับ SSD แตกต่างกันอย่างไร

หากเราจะกล่าวถึงอุปกรณ์ที่สามารถใช้ในการจัดเก็บข้อมูลได้ ใช้ในการบันทึกข้อมูล หรือแม้แต่ใช้ในการสำรองข้อมูลก็ตาม แน่นอนว่าใครหลายคนก็น่าจะนึกถึงแฟลชไดร์ฟการเป็นอันดับแรก เพราะถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย มีราคาที่ค่อนข้างถูก...

หากเราจะกล่าวถึงอุปกรณ์ที่สามารถใช้ในการจัดเก็บข้อมูลได้ ใช้ในการบันทึกข้อมูล หรือแม้แต่ใช้ในการสำรองข้อมูลก็ตาม แน่นอนว่าใครหลายคนก็น่าจะนึกถึงแฟลชไดร์ฟการเป็นอันดับแรก เพราะถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย มีราคาที่ค่อนข้างถูก อีกทั้งยังมีให้เราเลือกใช้งานด้วยการหลากหลายรูปแบบ เช่น แฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟการ์ด ที่พกพาสะดวก หรือจะเป็นวัสดุที่มีให้เลือกหลายแบบ เช่นแฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ อุปกรณ์ชิ้นนี้ในอดีตนับว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง แม้กระทั่งในปัจจุบันเอง ก็ยังคงมีผู้ที่ใช้งานกันอยู่ตลอด ทุกวันนี้หลายคนยังคงคุ้นชินกับการใช้งานแฟลชไดร์ฟ สำหรับใช้ในการเก็บไฟล์เอกสาร ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเรียน หรือการทำงานมาโดยตลอด

แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีถูกพัฒนามากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีในการจัดการและการจัดเก็บข้อมูลนี้ก็ด้วยเช่นเดียวกัน มีทางเลือกในการทำงานกับข้อมูลเหล่านี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น มีอุปกรณ์ใหม่ๆ ออกมาใช้งานกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้หน่วยความจำที่ติดมากับอุปกรณ์สำคัญอย่างสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต การใช้ระบบคลาวด์ ที่ถูกต่อยอดมาจากการมาถึงของอินเทอร์เน็ต การแชร์หรือเคลื่อนย้ายไฟล์เอกสาร และอีกเทคโนโลยีหนึ่ง ที่ค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกันแฟลชไดร์ฟ คือการใช้ SSD นั่นเอง

วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก SSD รวมถึงความแตกต่าง ว่ามันมีความแตกต่างกับอุปกรณ์ที่เราใช้งานกันอยู่อย่างแฟลชไดร์ฟ อย่างไรบ้าง อะไรมีข้อดีข้อเสีย ก็ได้เปรียบและข้อสังเกตที่แตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาคุยกัน

SSD คืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก SSD กันเสียก่อน อุปกรณ์ชนิดนี้ คืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ถูกพัฒนา และต่อยอดมาเพื่อแทนที่ฮาร์ดดิสก์ กล่าวก็คือ มันถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลักบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปนั่นเอง แต่นอกเหนือจากการใช้งานดังกล่าวที่ว่ามันมีแล้ว SSD ยังถูกพัฒนา และดัดแปลงให้เอื้อต่อการใช้งานสำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา หรือที่เราเรียกว่าฮาร์ดดิสก์พกพา หรือ SSD พกพา ซึ่งมีความคล้ายกับตัวแฟลชไดร์ฟ ที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างค่อนข้างอิสระ เหตุนี้จึงมีคนนิยมใช้ SSD ในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อทดแทนแฟลชไดร์ฟ

เรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน

หลายคนคงจะเดาได้ไม่ยากว่า SSD โดยมาตรฐานแล้ว มันมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่าแฟลชไดร์ฟ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า SSD เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ถูกพัฒนามาใช้สำหรับ เป็นหน่วยความจำหลัก ดังนั้นการอ่านข้อมูล เขียนข้อมูล และการถ่ายโอนข้อมูล ย่อมสูงกว่าแฟลชไดร์ฟ ยกตัวอย่างเช่น แฟลชไดร์ฟ จะมีความสามารถในการอ่านข้อมูล และรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 10-100 mb/s ในขณะเดียวกัน External SSD มีความสามารถในการอ่าน และรับส่งข้อมูลสูงถึง 1000 mb/s

ความแตกต่างในด้านการใช้งาน

ในเรื่องของความแตกต่างในด้านการใช้งานจริง หลายคนอาจรู้สึกว่า SSD เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าแน่นอน และควรจะเลือกใช้อุปกรณ์ SSD แบบพกพาในการถ่ายโอน หรือสำรองข้อมูลอย่างแน่นอน และใช้ในการทดแทนอุปกรณ์แบบเก่าได้เลย แต่ว่าในด้านของการใช้งานจริง ความแตกต่างที่เกิดขึ้น อันที่จริงก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของเรา และลักษณะของไฟล์ข้อมูลมากกว่า หากเป็นไฟล์งานข้อมูลที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มากนัก เราอาจจะใช้อุปกรณ์แบบเก่าน่าจะถนัดกว่า

ในเรื่องของราคา

แน่นอนว่า SSD เป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ ดังนั้นจึงมีราคาที่สูงกว่าเป็นธรรมดา และเรื่องราคานี่เองก็เป็นอีกหนึ่งจุดแตกต่างที่ค่อนข้างชัดเจน และสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้อได้เลยทีเดียว หากเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบเก่า อาจจะมีราคาไม่กี่ร้อยบาท แต่หากเป็น SSD ราคาจะโดดไปถึงหลักพันเลยทีเดียว จะว่าไปแล้ว อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบเก่า ก็มีระดับของความจุให้เลือกอยู่มากมาย และเหมาะสมตามความต้องการการใช้งานของแต่ละคนอยู่แล้ว แต่หากใครอยากเลือก SSD ก็ได้ด้วยเช่นกัน

แฟลชไดร์ฟ กับคลาวด์ เลือกใช้อะไรดีกว่ากัน?

ถ้าจะนึกถึงเครื่องมือช่วยในการบันทึก จัดเก็บ และโอนถ่ายข้อมูลในปัจจุบัน แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้วหลายคนมักจะนึกถึงตัวช่วยประเภทแก็ดเจ็ตที่มีความเป็นส่วนตัวในการบันทึกจัดเก็บไฟล์ข้อมูลใดๆ อย่างแฟลชไดร์ฟ หรือ External Harddisk, External SSD...

ถ้าจะนึกถึงเครื่องมือช่วยในการบันทึก จัดเก็บ และโอนถ่ายข้อมูลในปัจจุบัน แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้วหลายคนมักจะนึกถึงตัวช่วยประเภทแก็ดเจ็ตที่มีความเป็นส่วนตัวในการบันทึกจัดเก็บไฟล์ข้อมูลใดๆ อย่างแฟลชไดร์ฟ หรือ External Harddisk, External SSD ซึ่งถือเป็นแก็ดเจ็ตที่เป็นคุ้นเคยกันในแวดวงไอทีมานานหลายสิบปีแล้ว โดยข้อดีของแก็ดเจ็ตเหล่านี้ก็คือความสะดวกในการจัดเก็บ มีให้เลือกใช้หลายรูปทรงตามความสะดวก เช่น แฟลชไดร์ฟการ์ด แฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟทวิสเตอร์ บันทึกข้อมูลได้อย่างอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาระบบออนไลน์ หรือสัญญาณอินเตอร์เน็ต และค่อนข้างมีความเป็นส่วนตัวเพราะข้อมูลจะถูกบันทึกไว้แค่ในตัวแฟลชไดร์ฟ หรือไดร์ฟนั้นๆ ตราบที่เราไม่ได้ส่งต่อตัวแก็ดเจ็ตไปให้ใครหยิบยืมใช้งานต่อ ความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลก็แทบจะเป็น 100% อย่างไรก็ตามช่วงหลายปีหลังมานี้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือว่าเข้ามามีบทบาทกับวิถีของคนส่วนใหญ่มากขึ้น การแชร์ หรือแบ่งปันไฟล์ข้อมูลใดๆ ผ่านเครือข่ายต่างๆ ก็มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด บรรดาผู้พัฒนาระบบเครือข่ายต่างๆ จึงมีการคิดค้นพัฒนาระบบคลาวด์(Cloud Computing) ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการบันทึก จัดเก็บ รวมถึงแชร์ไฟล์ข้อมูลใดๆ แก่บุคคล หรือกลุ่มคนที่ต้องการได้ ซึ่งจะว่าไปแล้วในช่วงไม่กี่ปีหลังระบบคลาวด์ก็ถือว่าได้รับความนิยมในการใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บไฟล์ แชร์กิจกรรมการทำงานต่างๆ ของกลุ่มบุคคล องค์กรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อดีของการใช้คลาวด์ในการจัดเก็บ และแชร์ไฟล์ข้อมูลก็คือ ทำให้เราไม่ต้องยุ่งยากกับการพกพาแก็ดเจ็ตเสริมอย่างแฟลชไดร์ฟ หรือไดร์ฟภายนอกอื่นใด โดยคลาวด์จะเป็นเสมือน Hosting กลางที่รองรับข้อมูลที่เราบันทึกไว้ และสามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และขั้นตอนตรวจสอบความปลอดภัยด้วย Username และ Password
จะเห็นได้ว่าระบบคลาวด์ในปัจจุบันถือว่าเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกตัวช่วยในการจัดเก็บ และโอนถ่ายข้อมูลต่างๆ ที่สามารถใช้แทนแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลออฟไลน์แต่ละแบบได้ จึงทำให้ผู้ใช้งานหลายคนรู้สึกสงสัยว่าการใช้แก็ดเจ็ตออฟไลน์อย่างแฟลชไดร์ฟ กับการใช้ระบบออนไลน์อย่างคลาวด์ในการช่วยจัดเก็บ และจัดการข้อมูลของเรานั้นแบบไหนดีกว่ากัน และมีข้อดี ข้อเสียต่างกันอย่างไร ในบทความนี้จึงจะมากล่าวกันถึงข้อดีข้อเสีย และความเหมาะสมในการเลือกใช้งานตัวช่วยจัดเก็บข้อมูลทั้งสองแบบให้ได้ทราบกัน
แฟลชไดร์ฟมีความเป็นส่วนตัวในการเข้าถึง ใช้งานข้อมูลมากกว่า ความแตกต่างอย่างแรกที่ดูจะเป็นข้อดีพื้นฐานที่ติดมากับแก็ดเจ็ตประเภทออฟไลน์เสมอก็คือ ความเป็นส่วนตัวนั่นเอง กล่าวคือการใช้งานแฟลชไดร์ฟในการจัดเก็บ บันทึก และโอนย้ายไฟล์ข้อมูลใดๆ นั้นสามารถมั่นใจเรื่องของความเป็นส่วนตัวได้มากกว่า เพราะข้อมูลที่ถูกบันทึก หรือเซฟไว้บนแฟลชไดร์ฟของเราจะไม่สามารถเข้าถึงได้โดยผู้ดูแลระบบ หรือบุคคลใดที่จดจำ Username และ Password เราไปใช้งาน
แฟลชไดร์ฟใช้วิธีการแชร์ หรือส่งต่อข้อมูลแบบไดเรค อย่างที่หลายคุ้นเคยกันดีว่าการโอนย้ายข้อมูลด้วยแฟลชไดร์ฟจะเป็นลักษณะของการคัดลอก หรือย้ายไฟล์จากอุปกรณ์ใดๆ มาบันทึกลงไว้บนตัวแฟลชไดร์ฟก่อน จากนั้นจึงค่อยนำตัวไดร์ฟไปเสียบเข้ากับอุปกรณ์ใดๆ ที่เราต้องการนำข้อมูลดังกล่าวใส่ลงไปเพื่อใช้งาน แล้วทำการก๊อปปี้ หรือย้ายไฟล์ลงไปอีกที จะเห็นได้ว่าวิธีนี้ค่อนข้างมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนอุปกรณ์ หรือบุคคลที่เราต้องการแชร์ข้อมูลด้วย และเวลาที่ใช้ในการส่งต่อ เคลื่อนย้ายข้อมูล ขณะที่ระบบคลาวด์นั้นเป็นการอาศัยเครือข่ายอินเตอร์(หรืออาจเป็นเครือข่ายรูปแบบอื่นๆ สำหรับคลาวด์ที่จำกัดความเป็นส่วนตัวในการใช้งานเฉพาะภายในพื้นที่ใดพื้นที่นึง) ในการอัพโหลดข้อมูลมาเก็บไว้ ดังนั้นการแบ่งปัน เข้าถึงข้อมูลนั้นๆ จึงสามารถทำพร้อมกันได้จากหลายบุคคล หลายอุปกรณ์ ดังนั้นจึงพอสรุปง่ายๆ ได้ว่าแฟลชไดร์ฟเหมาะสำหรับการส่งต่อ เคลื่อนย้ายข้อมูลที่จำกัดการใช้งานร่วมกันเพียงไม่กี่คน ไม่กี่อุปกรณ์ ส่วนคลาวด์นั้นสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการแชร์ ส่งต่อข้อมูลที่มีความต้องการใช้งานร่วมกันสำหรับกลุ่มคนจำนวนมาก แต่ก็ยังคงจำกัดความเป็นส่วนตัวในการเข้าถึงไว้ระดับนึง ตัวอย่างลักษณะการใช้งานที่เหมาะสม เช่น ไฟล์งานที่จำเป็นต้องใช้งานสำหรับบุคลากร หรือพนักงานในบริษัททุกคน แต่ไม่จำเป็นต้องเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกรับรู้ เป็นต้น

แฟลชไดร์ฟ กับเมมโมรี่การ์ดแตกต่างกันอย่างไร ควรเลือกใช้แบบไหน?

ถ้าพูดถึงแก็ดเจ็ตสำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบพกพาขนาดเล็ก แน่นอนว่านอกจากแฟลชไดร์ฟ หรือ USB Thumb Drive แล้ว ก็ยังมีเมมโมรี่การ์ด หรือ SD Card อีกหนึ่งตัวที่หลายคนน่าจะพอคุ้นเคย และเคยผ่านประสบการณ์ใช้งานกันมาบ้างแล้ว เพราะหากย้อนกลับไปช่วง 20 ปีที่ผ่านมา...

ถ้าพูดถึงแก็ดเจ็ตสำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบพกพาขนาดเล็ก แน่นอนว่านอกจากแฟลชไดร์ฟ หรือ USB Thumb Drive แล้ว ก็ยังมีเมมโมรี่การ์ด หรือ SD Card อีกหนึ่งตัวที่หลายคนน่าจะพอคุ้นเคย และเคยผ่านประสบการณ์ใช้งานกันมาบ้างแล้ว เพราะหากย้อนกลับไปช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เมมโมรี่การ์ดก็ถือเป็นแก็ดเจ็ตหน่วยความจำขนาดพกพาที่อยู่คู่กับอุปกรณ์ไอทีหลากหลายไทป์มาตลอด ไม่ว่าจะเป็น กล้องดิจิทัล โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป ซึ่งหน้าที่ หรือประโยชน์ที่ผู้ใช้งานได้รับจากแก็ดเจ็ตตัวนี้ก็คือการบันทึก จัดเก็บข้อมูล โอนย้ายไฟล์ข้อมูลต่างๆ เช่นเดียวแฟลชไดร์ฟ เรียกว่าหากมองกันที่ประโยชน์การใช้งานก็แทบแยกความต่างของแก็ดเจ็ตทั้งสองชิ้นไม่ออก แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว ด้วยสถาปัตยกรรมการผลิตที่แตกต่างกันก็ทำให้แก็ดเจ็ตทั้งสองตัวมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน และมีลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมต่างกันออกไปด้วย ซึ่งในบทความนี้เองจะมาอธิบายให้ได้ทราบกันว่าเมมโมรี่การ์ด หรือ SD Card กับ USB Flash Drive นั้นต่างกันอย่างไร และเราควรเลือกใช้แบบไหน

ขนาด และพอร์ตเชื่อมต่อที่ต่างกัน ความแตกต่างที่ชัดเจนอย่างแรกของเมมโมรี่การ์ด และแฟลชไดร์ฟ แม้ว่าแก็ดเจ็ตทั้งสองตัวจะเป็นไอเทมจัดเก็บข้อมูลแบบพกพาเหมือนกันก็คือ ขนาด และพอร์ตการเชื่อม ซึ่งเมมโมรี่การ์ดมีขนาดที่เล็กกว่าแฟลชไดร์ฟ และใช้วิธีเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยการสัมผัสแผ่วขั้วโลหะบนการ์ดโดยตรง ขณะที่แฟลชไดร์ฟมาพร้อมพอร์ต USB Type A เวอร์ชั่นต่างๆ ซึ่งจากความแตกต่างดังกล่าวนี้ ทำให้สรุปได้ว่าสถาปัตยกรรมการผลิตของเมมโมรี่การ์ดนั้นต้องการตอบสนองการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ในลักษณะของการใช้ร่วมกัน เช่น สำหรับเสียบติดไว้กับกล้องดิจิทัลเพื่อใช้เป็นหน่วยความจำในการจัดเก็บ บันทึกภาพที่ถ่ายจากกล้องตัวนั้นๆ, ใช้สำหรับเสียบติดไว้กับสมาร์ทโฟน เพื่อเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้สมาร์ทโฟนเครื่องนั้นๆ โดยที่หากต้องการโอนย้ายข้อมูล หรือส่งต่อ ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูลใดๆ ก็สามารถทำได้สะดวกด้วยการถอดเมมโมรี่การ์ดออกมา ขณะที่ USB Flash Drive มีสถาปัตยกรรมการผลิตที่สร้างให้ตัวแก็ดเจ็ตเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในตัวเอง ไม่ใช่ลักษณะของการเชื่อมต่อเพื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นอยู่ตลอดเวลา เน้นตอบสนองการใช้งานลักษณะของการสำรองข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ จากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อปเพื่อป้องกันการสูญหาย และใช้เป็นตัวกลางในการโอนย้ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์เป็นครั้งคราว

ความเร็วในการอ่าน เขียนข้อมูล อีกจุดนึงที่ในความรู้สึกของผู้ใช้งานทั่วไปอาจสัมผัสถึงความแตกต่างได้ยากก็คือ ความเร็วในการอ่านเขียน ข้อมูล หรือก็คือความเร็วในการเรียกดู รับ บันทึก ส่งต่อข้อมูล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความเร็วในการเรียกเปิดไฟล์ต่างๆ ของแฟลชไดร์ฟ กับเมมโมรี่การ์ดจะไม่แตกต่างกัน ขณะที่ความเร็วในการบันทึกข้อมูลโดยเฉลี่ยเมมโมรี่การ์ด หรือ SD Card จะรวดเร็วกว่าเล็กน้อย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเวอร์ชั่นของพอร์ตเชื่อมต่อด้วย ตัวอย่างเช่น หากนำเอาแฟลชไดร์ฟที่มีพอร์ตเชื่อมต่อเป็นเวอร์ชั่นหลังๆ เช่น USB 3.1 ไปเปรียบเทียบกับเมมโมรี่การ์ดเจนก่อนๆ ที่ถูกผลิตออกมาวางจำหน่ายตั้งแต่เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ความเร็วในการเขียน หรือบันทึกข้อมูลก็อาจอยู่ในระดับเดียวกัน หรือแฟลชไดร์ฟอาจเขียนได้รวดเร็วกว่าด้วยซ้ำ

ความทนทาน ความแตกต่างเล็กๆ อีกจุดนึงของแก็ดเจ็ตทั้งสองตัวในแง่ของประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้งานก็คือ ความทนทาน หรืออายุการใช้งาน ซึ่งหลายคนรู้สึกว่าแฟลชไดร์ฟดูจะมีความแข็งแรงทนทานมากกว่า ขณะที่เมมโมรี่การ์ดนั้นมีขนาดเล็ก และบอบบางเกินไป เสี่ยงที่จะชำรุด หรือสูญหายได้ง่าย ทั้งนี้หากอธิบายตามหลักการทำงานแล้วก็ต้องบอกว่าเมมโมรี่การ์ดมีความอ่อนไหวต่อปัญหาจุกจิกที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้งานมากกว่าแฟลชไดร์ฟอยู่เล็กน้อย เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าพอร์ตเชื่อมต่อของเมมโมรี่การ์ดเป็นลักษณะของการสัมผัสแผ่นขั้วโลหะบนตัวการ์ดโดยตรง ซึ่งหากตัวอ่านการ์ด หรือ Card Reader ที่เราเสียบเชื่อมต่อด้วยนั้นมีปัจจัยรบกวน เช่น ฝุ่น หรือสิ่งสกปรกใดๆ เปรอะเปื้อนอยู่เป็นเวลานาน ก็อาจทำให้การอ่านข้อมูลไม่สำเร็จ ขณะที่แฟลชไดร์ฟมากับพอร์ตเชื่อมต่อ USB-A ที่ไม่ได้เผยขั้วโลหะไว้ด้านนอก จึงโพรเทคปัจจัยรบกวนต่างๆ ได้ดีกว่า

ซึ่งในปัจจุบัน มีแฟลชไดร์ฟให้เลือกใช้หลายรูปแบบรูปทรง เพราะมีการพัฒนาให้เกิดความน่าสนใจทางการตลาด ทำให้แฟลชไดร์ฟสมัยนี้มีทั้งแบบที่เป็น แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ หรือจะออกแบบรูปทรงให้ดูน่าสนใจมากขึ้นพกพาง่ายขึ้น เช่น แฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์การ์ด รวมไปถึงแฟลชไดร์ฟที่เพิ่มความหรูหราอย่างแฟลชไดร์ฟคริสตัลอีกด้วย

แฟลชไดร์ฟ กับ SSD ต่างกันอย่างไร ควรเลือกใช้แบบไหน?

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์สำหรับบันทึก หรือจัดเก็บข้อมูล แน่นอนว่าหลายคนย่อมรู้จักคุ้นเคยกับแฟลชไดร์ฟ หรือทรัมไดร์ฟเป็นอย่างดี เพราะถือเป็นแก็ดเจ็ตที่ใช้งานได้อย่างสะดวก มีราคาถูก และเป็นที่นิยมกันมาตลอดช่วงหลายสิบปีผ่านมา ว่ากันง่ายๆ...

เมื่อพูดถึงอุปกรณ์สำหรับบันทึก หรือจัดเก็บข้อมูล แน่นอนว่าหลายคนย่อมรู้จักคุ้นเคยกับแฟลชไดร์ฟ หรือทรัมไดร์ฟเป็นอย่างดี เพราะถือเป็นแก็ดเจ็ตที่ใช้งานได้อย่างสะดวก มีราคาถูก มีหลายแบบหลายรูปทรง เช่น แฟลชไดร์ฟยาง แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟการ์ด แฟลชไดร์ฟคริสตัล และเป็นที่นิยมกันมาตลอดช่วงหลายสิบปีผ่านมา ว่ากันง่ายๆ ก็คือนับตั้งแต่เปลี่ยนผ่านจากยุคของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอย่าง Floppy Disk เราต่างก็คุ้นเคยกับการใช้งานแฟลชไดร์ฟสำหรับเก็บไฟล์งานที่เกี่ยวข้องกับการเรียน หรือการทำงานมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามในปัจจุบันทิศทางการพัฒนาอุปกรณ์ไอทีมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้มีทางเลือกในการใช้งานแก็ดเจ็ต หรืออุปกรณ์ใดๆ สำหรับจัดเก็บข้อมูลมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้หน่วยความจำที่ติดมากับอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต, การใช้ระบบคลาวด์ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการบันทึก แชร์ หรือเคลื่อนย้ายไฟล์งาน แต่ทางเลือกนึงที่ดูจะมีความคล้ายคลึงกับการใช้งานแฟลชไดร์ฟมากที่สุดก็คือการใช้ SSD นั่นเอง

ทั้งนี้ SSD ถืออุปกรณ์บันทึก จัดเก็บข้อมูลที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาแทนที่ Harddisk กล่าวคือมันถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลักบนอุปกรณ์อย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปนั่นเอง แต่นอกเหนือจากประโยชน์การใช้งานดังกล่าวแล้ว มันก็ยังถูกพัฒนาดัดแปลงให้เอื้อต่อการใช้งานเป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา หรือที่เรียกกันว่า External Harddisk, External SSD ซึ่งเป็นเหมือนตัวไดร์ฟที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ใดๆ ได้อย่างอิสระนั่นเอง และก็ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เริ่มมีความนิยมใช้งาน SSD แทนแฟลชไดร์ฟ ในบทความนี้จึงจะมาอธิบายให้ได้ทราบกันว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทั้งสองแบบนั้นแตกต่างกันอย่างไร และเราควรเลือกใช้งานแฟลชไดร์ฟ หรือ SSD มากกว่ากัน

โดยมาตรฐานแล้ว SSD มีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าแฟลชไดร์ฟ อย่างที่ทราบดังกล่าวข้างต้นว่า SSD เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้งานเป็นหน่วยความจำหลักให้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นประสิทธิภาพในการเรียกอ่านข้อมูล เขียน โอนถ่าย ส่งต่อย่อมสูงกว่าแฟลชไดร์ฟ หรือยกตัวอย่างให้เห็นภาพกันง่ายๆ ได้ว่า แฟลชไดร์ฟมีความสามารถในการอ่านข้อมูล รับส่งข้อมูลอยู่ที่ระดับ 10 – 100 Mb ต่อวินาที ขณะที่ External SSD มีความสามารถในการอ่าน และรับส่งข้อมูลสูงถึงกว่า 1,000 Mb ต่อวินาที

ความแตกต่างในการใช้งานจริง หากอ้างอิงกันตามตัวเลขที่ยกตัวอย่างในข้อที่ผ่านมา หลายคนอาจรู้สึกว่าประสิทธิภาพของ SSD สูงกว่าแฟลชไดร์ฟมาก และควรเลือกใช้ External SSD เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพาแทนที่แฟลชไดร์ฟ ทว่าในการใช้งานจริง ความแตกต่างที่เกิดขึ้นนั้นต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน และลักษณะของไฟล์ข้อมูลมากกว่า กล่าวคือหากเป็นไฟล์งานทั่วไปที่ขนาดไฟล์ไม่ใหญ่มาก ความแตกต่างในเรื่องของระยะเวลาในการอ่านข้อมูล รับ ส่งไฟล์ที่เกิดขึ้นจริงก็จะไม่แตกต่างกันมากนัก ว่ากันง่ายๆ ก็คือหากไฟล์งานที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันไม่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 Gb ขึ้นไป ประสิทธิภาพในการอ่าน และรับส่งข้อมูลของแฟลชไดร์ฟ USB 3.0 ขึ้นไปก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว

ราคา และความจุเริ่มต้น อีกหนึ่งความแตกต่างที่เป็นรูปธรรมและหลายคนควรใช้เป็นเกณฑ์การตัดสินเลือกใช้งานอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทั้งสองแบบก็แน่นอนว่าเป็นเรื่องของราคานั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าอุปกรณ์อย่าง External SSD ย่อมมีราคาจำหน่ายเริ่มต้นสูงกว่า และมาพร้อมกับความจุเริ่มต้นตั้งแต่ 128 Gb ขึ้นไป โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ที่ราว 1,000 บาทขึ้นไป ขณะที่แฟลชไดร์ฟมีราคาเริ่มต้นเพียงแค่หลักร้อยบาทต้นๆ เท่านั้น และมีระดับความจุให้เลือกอย่างยืดหยุ่นเหมาะสมกับความต้องการใช้งานของแต่ละคนมากกว่า(มีความจุต่ำกว่า 64 Gb ให้เลือกใช้)

เหตุใด แฟลชไดร์ฟจึงมีความจุไม่เต็ม

ในโลกแห่งเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ การทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก มันทั้งให้ความสะดวกและความรวดเร็วกับเราอย่างไม่น่าเชื่อ อีกทั้งยังมีการคำนวณอย่างเต็มรูปแบบ สะดวกและรวดเร็ว ทำให้เราสามารถประหยัดเวลาไปได้อย่างที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว...

ในโลกแห่งเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ การทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก มันทั้งให้ความสะดวกและความรวดเร็วกับเราอย่างไม่น่าเชื่อ อีกทั้งยังมีการคำนวณอย่างเต็มรูปแบบ สะดวกและรวดเร็ว ทำให้เราสามารถประหยัดเวลาไปได้อย่างที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว และในการทำงานผ่านคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ในเรื่องของการเก็บข้อมูล รวมถึงเรื่องของการถ่ายโอนข้อมูลต่างๆ ผ่านคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้น ก็ยิ่งมีความสำคัญ และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นไปอีก มีวิธีการในการถ่ายโอนข้อมูลเหล่านี้อยู่ด้วยกันมากมายหลากหลาย วิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมในอดีตเป็นอย่างมาก และในปัจจุบันก็ยังคงได้รับความนิยมในระดับนึงอยู่ นั่นคือการใช้อุปกรณ์สำคัญอย่างแฟลชไดร์ฟไม่ว่าจะแฟลชไดร์ฟในรูปทรงแบบใดขึ้นอยู่กับความสะดวกของคนใช้งาน มีให้เลือกหลายแบบ เช่น แฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟไม้ หรือ แฟลชไดร์ฟยางและยังสามารถเลือกมาทำเป็นของพรีเมี่ยม จัด Gift set เพื่อแจกได้อีกด้วย

 

ทุกครั้งที่เราใช้แฟลชไดร์ฟ ใครหลายคนอาจจะเคยสังเกตกันอยู่บ้าง ว่าอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ที่เราซื้อมาใช้งานนั้น ทำไมบนตัวอุปกรณ์ เขียนความจุไว้ไม่ตรงกับข้อมูลในคอมพิวเตอร์ตอนที่เรานำมันมาเสียบใช้งาน ซึ่งทุกครั้งที่เราสังเกตดู แฟลชไดร์ฟของเราจะมีความจุน้อยกว่าที่เขียน หรือที่มีการระบุไว้บนตัวอุปกรณ์ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เกิดความผิดพลาดได้ขึ้นหรือเปล่า วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องนี้ เกี่ยวกับเรื่องของความจุแฟลชไดร์ฟ ว่าเหตุใดจึงไม่ตรงกับอุปกรณ์ของเรา

 

พื้นฐานของแฟลชไดร์ฟ

 

ก่อนอื่นเราจำเป็นที่จะต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า ในระบบคอมพิวเตอร์นั้น เราจะใช้ระบบเลขที่เรียกว่า ระบบเลขฐานสอง ซึ่งใช้เป็นตัวอ่านค่าของข้อมูลต่างๆ ต่างจากชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบัน ที่เราใช้ตัวเลขที่เรียกว่า ตัวเลขฐานสิบ นอกจากนี้ยังมีระบบเลขฐานอื่นๆ อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่นเลขฐานแปด หรือเลขฐานสิบหก ซึ่งเหล่านี้ก็มีการมาใช้งานในคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นเดียวกัน เหล่านี้เอง ทำให้การแปลงค่าตัวเลขต่างๆ ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา อาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

 

ยกตัวอย่างเช่น ในความเป็นจริงหากเราจะตีตัวเลขกลมกลม ข้อมูล 1,000 kb จะมีค่าเท่ากับ 1 mb หรือตัวเลข 1,000 mb จะมีค่าเท่ากับ 1 gb แบบนี้เป็นต้น ในความเข้าใจของเราซึ่งใช้เลขฐานสิบ อาจจะเป็นลักษณะแบบนี้ แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ด้วยในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา จะทำการมองตัวเลขเหล่านี้ทั้งหมด และจะประมวลออกมาในรูปแบบของเลขฐานสอง นั่นทำให้ข้อมูลของเรา 1,024 kb จะมีค่าเท่ากับ 1 mb และตัวเลข 1,024 mb จะมีค่าเท่ากับ 1 gb แบบนี้เป็นต้น

 

แล้วเราจะรู้ความจุจริงของแฟลชไดร์ฟได้อย่างไร

 

อย่างที่บอกไปว่า จากตัวเลขที่ได้กล่าวมานี้ จะทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ตัวเลขที่ระบบคอมพิวเตอร์ของเราคำนวณมา กับความเข้าใจของตัวเราเองนั้นจะมีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย ด้วยเหตุนี้เองทำให้เมื่อเราซื้ออุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ มาใช้งาน และทำการเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา จำนวนความจุของแฟลชไดร์ฟ ที่ถูกแสดงอยู่บนคอมพิวเตอร์ กับที่เราซื้อมาใช้อยู่จริงมันไม่เท่ากัน หากเป็นในลักษณะแบบนี้ ให้เรารู้ไว้เลยว่าอุปกรณ์ของเราไม่ได้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด โดยปกติจะมีการเหลื่อมล้ำอยู่เล็กน้อยอยู่แล้ว

 

แต่จะมีการเหลื่อมล้ำเท่าไหร่นั้น มีวิธีการคำนวณง่ายๆ ทำให้เราสามารถรู้ความจุจริง ว่าเราจะสามารถใช้งานข้อมูลของเราได้เท่าไหร่ นั่นคือการนำมาหารด้วยความจุ ยกตัวอย่างเช่น หากเราทำการซื้ออุปกรณ์ที่มีความจุอยู่ที่ 16 gb มาใช้งาน หากเป็นตามความเป็นจริง มันจะมีค่าอยู่ที่ 16 พันล้านไบต์ เราสามารถที่จะคำนวณง่ายๆ โดยการนำตัวเลข 16 พันล้าน มาหารด้วย kb 1,024 ทหารด้วย mb 102.4 และหารด้วย gb 10.24 อีกที ตัวเลขที่ได้จะอยู่ที่ประมาณ 14.90 ซึ่งเป็นความจุที่จัดแสดงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และเราสามารถใช้งานได้จริงเท่านี้

มาตรฐานแฟลชไดร์ฟ ปี 2023

การพัฒนาแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลแบบพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ จากแบรนด์ผู้ผลิตเจ้าต่างๆ ถือได้มีว่ารูปแบบการพัฒนาที่คล้ายกับแก็ดเจ็ต หรืออุปกรณ์ไอทีชนิดอื่นๆ ซึ่งจะมีการอัพเกรดสเปคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ดังนั้นในฐานะของลูกค้า...

การพัฒนาแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลแบบพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ ที่มีให้เลือกหลายแบบ เช่น แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ หรือ แฟลชไดร์ฟยาง มีรูปทรงให้เลือกหลายหลาย ไม่ว่าจะเป็น แฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟการ์ด หรือจะเป็นแฟลชไดร์ฟทวิสเตอร์ที่คุ้นเคยกันดี จากแบรนด์ผู้ผลิตเจ้าต่างๆ ถือได้มีว่ารูปแบบการพัฒนาที่คล้ายกับแก็ดเจ็ต หรืออุปกรณ์ไอทีชนิดอื่นๆ ซึ่งจะมีการอัพเกรดสเปคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ดังนั้นในฐานะของลูกค้า หรือผู้ใช้งาน การจะเลือกซื้อเลือกหาอุปกรณ์ แก็ดเจ็ตใดๆ มาใช้งาน ก็จำเป็นค้นหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ เพื่อให้ได้แก็ดเจ็ด หรืออุปกรณ์ที่คุณภาพเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ จะถูกพัฒนาขึ้นแล้ว แต่สินค้าที่มีวางจำหน่ายจริงในตลาดนั้นก็ล้วนปะปนไปด้วยสินค้ารุ่นเก่า หรือเจเนอเรชั่นเดิม และสินค้ารุ่นใหม่ๆ ที่เพิ่งถูกผลิตด้วยมาตรฐานการผลิตใหม่ และด้วยเหตุนี้เองในบทความนี้จึงได้นำเอามาตรฐานใหม่ในปี 2023 ของแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแก็ดเจ็ตสามัญประจำตัวสำหรับคนทำงาน มาบอกกล่าวให้หนุ่มสาวออฟฟิศได้ใช้เป็นไกด์ในการเลือกซื้อเลือกหา เพื่อให้ได้แฟลชไดร์ฟชิ้นที่ตอบโจทย์การใช้งานในปัจจุบันมากที่สุด

มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ 128GB ขึ้นไป ด้วยขนาดโดยเฉลี่ยของไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่างๆ ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มีความละเอียดขึ้น และมีลักษณะข้อมูลที่หลากหลายขึ้น ประกอบกับไลฟ์สไตล์การทำงานและใช้ชีวิตของผู้ใช้งานในปัจจุบันที่สัมพันธ์กับการใช้งานไฟล์ และสื่อดิจิทัลมากกว่าแต่ก่อน ทำให้แฟลชไดร์ฟ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพาใดๆ ที่มีความจุต่ำกว่า 128GB ดูจะไม่เพียงพอสำหรับรองรับการใช้งานในปัจจุบันแล้ว ดังนั้นสเปคแรกที่ควรคำนึงถึงในการเลือกหาแฟลชไดร์ฟคู่ใจอันใหม่ก็คือ ระดับความจุข้อมูลที่ไม่ควรน้อยกว่า 128GB นั่นเอง

พอร์ต USB-A เวอร์ชั่น 3.1 ขึ้นไป พอร์ตเชื่อมต่อ USB นั้นก็เช่นเดียวกับส่วนประกอบของไอทีส่วนอื่นๆ ซึ่งมีการอัพเกรดเวอร์ชั่นมาเรื่อยๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งานได้มากขึ้น ทั้งนี้หากพูดถึงการใช้งานแฟลชไดร์ฟ รวมถึงอุปกรณ์อย่าง PC หรือแล็ปท็อปในช่วงยุคเริ่มแรกเราอาจจะคุ้นเคยกับพอร์ต USB 2.0 หรือก็คือ USB Type A เวอร์ชั่น 2.0 ซึ่ง ณ ตอนนั้นถือว่ามีประสิทธิภาพการใช้งาน ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่น่าพึงพอใจในระดับนึงเลยทีเดียว แต่สำหรับยุคสมัยปัจจุบันที่ความละเอียดของข้อมูลไฟล์ดิจิทัลสูงขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น USB 2.0 ก็ดูจะมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะตอบสนองผู้ใช้งานให้ได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดีแล้ว พอร์ต USB-A จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนล่าสุดมาถึงเวอร์ชั่น 3.2 แล้ว ซึ่งหากต้องการให้การรับส่ง โอนถ่ายข้อมูล ไฟล์ดิจิทัลต่างๆเป็นไปอย่างลื่นไหล รวดเร็ว เราก็ควรเลือกแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมกับพอร์ต USB-A 3.1 เป็นอย่างน้อย

มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ Dual อีกหนึ่งสเปคที่ควรจะเป็นมาตรฐานใหม่ของแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟในปี 2023 ก็คือการให้พอร์ตเชื่อมต่อมาแบบ Dual หรือก็คือมีสองหัวนั่นเอง โดยหัวนึงเป็นพอร์ตหลักอย่าง USB-A ส่วนอีกหัวนึงอาจเป็น USB-C หรือ Lightning ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานปรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างสะดวกมากขึ้น ลดความยุ่งยากในการอัพโหลดไฟล์งานขึ้นคลาวด์ในกรณีที่ต้องการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลข้ามอุปกรณ์ ไปยังอุปกรณ์พกพาอย่างแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน รวมถึงช่วยลดการพึ่งพาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กล่าวคือการใช้งานแฟลชไดร์ฟแบบ Dual Port นั้นจะช่วยให้เราทำงานพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณ WIFI หรือไม่ได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างลื่นไหลขึ้นนั่นเอง แต่ทั้งนั้นทั้งนี้การจะเลือกใช้งานแฟลชไดร์ฟที่มีสเปคแบบ Dual Port ก็อาจต้องคำถึงลักษณะการใช้งานจริงของเราร่วมด้วย ซึ่งหากโดยปกติเราใช้งานแค่เฉพาะการโอนถ่ายข้อมูลกับ PC หรือ Laptop ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเลือกแฟลชไดร์ฟแบบ Dual Port สักเท่าไหร่ เพราะแน่นอนว่าการได้มาซึ่งสเปคดังกล่าวย่อมต้องแลกด้วยราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย

แฟลชไดร์ฟ Dual Drive ทางเลือกแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่สะดวกมากขึ้น

เมื่อพูดถึงการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลแบบพกพาสำหรับจัดเก็บไฟล์งาน หรือไฟล์รูปภาพ วิดีโอ รวมถึงไฟล์สื่อบันเทิงอย่างเพลง หนัง แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้วหลายคนคุ้นเคยกับการใช้งานแฟลชไดร์ฟ USB Type A  ซึ่งเป็นพอร์ตมาตรฐานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปจากแบรนด์ต่างๆ...

เมื่อพูดถึงการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลแบบพกพาสำหรับจัดเก็บไฟล์งาน หรือไฟล์รูปภาพ วิดีโอ รวมถึงไฟล์สื่อบันเทิงอย่างเพลง หนัง แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้วหลายคนคุ้นเคยกับการใช้งานแฟลชไดร์ฟ USB Type A  ซึ่งเป็นพอร์ตมาตรฐานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปจากแบรนด์ต่างๆ มีให้เลือกหลายแบบ เช่น แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ และแฟลชไดร์ฟรูปทรงต่างๆ เช่น แฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟการ์ด เป็นต้น ก่อนที่ช่วงไม่กี่ปีหลังแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตเริ่มจะมีการพัฒนาแฟลชไดร์ฟ USB-C และ Lightning เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถปรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟนได้สะดวก อย่างไรก็ตามแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมกับพอร์ตเจนเนอเรชั่นใหม่ดังกล่าวก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการฟอร์แมตตัวไดร์ฟก่อนการใช้งาน กล่าวคือแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมพอร์ต USB-C หรือ Lightning บางตัวอาจไม่พร้อมสำหรับเสียบใช้งานกับสมาร์ทโฟนได้ทันที โดยต้องทำการต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อป และทำการฟอร์แมตเพื่อให้ตัวไดร์ฟรองรับการอ่านสกุลไฟล์ที่อยู่บนสมาร์ทโฟนซะก่อน, ข้อจำกัดด้านการเสียบใช้งานข้ามอุปกรณ์ โอนถ่ายข้อมูลข้ามอุปกรณ์ อย่างที่ทราบกันว่าสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปแต่ละแบรนด์ แต่ละรุ่นอาจมาพร้อมกับพอร์ตการเชื่อมต่อที่ต่างกันออกไป การได้ไดร์ฟที่มากับพอร์ตแบบ USB-C หรือ Lightning จึงไม่ได้ช่วยให้การใช้งานข้ามอุปกรณ์สะดวกขึ้นแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้เองทำให้แบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ดบางแบรนด์เริ่มมีการพัฒนาแฟลชไดร์ฟ แบบ Dual Drive หรือก็คือไดร์ฟที่มาพร้อมกับพอร์ตสำหรับเสียบเชื่อมต่อสองแบบในตัวเดียวขึ้นมาวางจำหน่าย ซึ่งในบทความนี้ก็ได้นำเอาข้อดี และข้อควรรู้ต่างๆ ของแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาแบบ Dual Drive นี้มาแนะนำให้ได้ทราบกัน

การใช้งานข้ามอุปกรณ์ที่สะดวก ข้อดีอย่างแรกที่เห็นได้ชัดเจนของแฟลชไดร์ฟ Dual Drive ก็คือการใช้งานข้ามอุปกรณ์ได้อย่างสะดวกลื่นไหลนั่นเอง โดยตัวแก็ดเจ็ตจะมาพร้อมกับ พอร์ต USB-C และ USB-A หรือ พอร์ต Lightning และ USB-A ในบางรุ่น ทำให้เราสามารถสลับเสียบใช้งานกับอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อป โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ต่อพ่วงเสริมใดๆ

มีราคาสูง และบางยี่ห้อ บางรุ่นอาจยังต้องทำการการฟอร์แมตไดร์ฟให้รองรับการอ่านสกุลไฟล์บนสมาร์ทก่อนการใช้งาน พูดถึงข้อดีกันไปแล้ว มาที่ข้อจำกัดของแฟลชไดร์ฟ Dual Drive กันบ้าง ซึ่งข้อจำกัดที่ชัดเจนอย่างแรกก็คือราคาจำหน่ายที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับแฟลชไดร์ฟแบบพอร์ตเดี่ยว โดยราคาเริ่มต้นในรุ่นความจุ  32GB อยู่ที่หลักพันบาทเลยทีเดียว(แฟลชไดร์ฟพอร์ตเดี่ยวในระดับความจุที่เท่ากันอาจซื้อได้ในราคาร้อยกว่าบาทเท่านั้น)  ขณะที่รุ่นความจุสูง เช่น 1 TB มีราคาสูงถึงราว 3,000 – 4,000 บาท แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ในอนาคตหากแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตต่างๆ มีการแข่งขันกันพัฒนา Flash Drive แบบ Dual Drive มาวางจำหน่ายกันมากขึ้นก็มีแนวโน้มที่ราคาจะลดลงจากนี้พอสมควร และอีกข้อจำกัดก็คือการฟอร์แมตให้ตัวไดร์ฟรองรับการอ่านสกุลไฟล์บนสมาร์ทโฟน ซึ่งบางแบรนด์ บางรุ่นอาจจำเป็นต้องทำการฟอร์แมตให้ได้ System Type ที่ตรงกันก่อน  แต่บางแบรนด์ บางรุ่นก็อาจมาพร้อมแอปพลิเคชั่นหลักของแบรนด์ที่พัฒนาขึ้นรองรับการใช้งานร่วมกับแก็ดเจ็ตของแบรนด์ตนเอง เพียงแค่ดาวน์โหลดมาติดตั้งบนสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ก็สามารถเสียบใช้งานแฟลชไดร์ฟเข้ากับอุปกรณ์นั้นๆ ได้ทันที ตัวอย่างเช่นแบรนด์ SanDisk ที่มีการพัฒนาแอปฯ Sandisk Memory Zone ขึ้นรองรับการใช้งานคู่กับแฟลชไดร์ฟของ SanDisk ซึ่งช่วยในการค้นหา อ่านไฟล์ได้บนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และจัดแบ่งหมวดหมู่ไฟล์รูปภาพ เพลง วิดีโอ หรือเอกสารอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งหากเราเลือกใช้แฟลชไดร์ฟของแบรนด์ที่มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นหลักมาให้ใช้ควบคู่กันนี้ก็จะช่วยป้องกันปัญหาจุกจิกที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ปัญหาโอนถ่ายไฟล์ไม่ได้ ปัญหาอ่านไฟล์ไม่ได้ ได้ในระดับนึง

ข้อดีของแฟลชไดร์ฟ USB-C

 เมื่อพูดถึงพอร์ตการเชื่อมต่อของแก็ดเจ็ต หรืออุปกรณ์ไอทีต่างๆ หลายคนที่เคยผ่านประสบการณ์ใช้งานในชีวิตประจำวันกันมาบ้างก็น่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าพอร์ตการเชื่อมต่อที่เราคุ้นเคยกันมาเป็นเวลานานหลายปีก็คือพอร์ต USB หรือในชื่อเต็ม USB Type A...

เมื่อพูดถึงพอร์ตการเชื่อมต่อของแก็ดเจ็ต หรืออุปกรณ์ไอทีต่างๆ หลายคนที่เคยผ่านประสบการณ์ใช้งานในชีวิตประจำวันกันมาบ้างก็น่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าพอร์ตการเชื่อมต่อที่เราคุ้นเคยกันมาเป็นเวลานานหลายปีก็คือพอร์ต USB หรือในชื่อเต็ม USB Type A ซึ่งถือเป็นพอร์ตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้เป็นพอร์ตมาตรฐานสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ รวมถึงพัฒนาให้เป็นช่องทางการรับส่งไฟ(ชาร์จพลังงานแบตเตอรี่) ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยที่มีการพัฒนาพอร์ตลูกอย่าง USB Type B ขึ้นมาสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างโทรศัพท์ หรือสมาร์ทโฟนรุ่นแรกๆ เพื่อใช้งานควบคู่กัน ทั้งนี้พอร์ต USB-A นับเป็นพอร์ตมาตรฐานที่ติดมากับอุปกรณ์ไอทีโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแล็ปท็อป คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแก็ดเจ็ตบันทึกและรับส่งข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟมานานกว่ายี่สิบปีแล้ว กระทั่งช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีได้มีการพัฒนาพอร์ตแบบใหม่ขึ้นมาในชื่อ USB Type C เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ขนาดเล็กให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น โดยเข้ามาแทนที่พอร์ต USB-B ก่อนที่จะมีการต่อยอดใช้งานไปถึงการที่นำพอร์ต USB-C มาใส่ไว้กับอุปกรณ์ขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อยอย่างแล็ปท็อป หรือโน๊ตบุ๊ค สำหรับใช้งานเป็นพอร์ตชาร์จไฟ และรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่นเดียวกันกับบรรดาผู้ผลิตแก็ดเจ็ต หรืออุปกรณ์เสริมขนาดเล็กต่างๆ ก็ได้มีการต่อยอดการใช้งานพอร์ต USB-C ไปใช้กับแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟ ลำโพงพกพา ลำโพงบลูทูธ เป็นต้น ในบทความนี้จึงได้เลือกที่จะกล่าวถึงแก็ดเจ็ตที่มีผู้ใหญ่งานเยอะและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของหลายคนอย่างแฟลชไดร์ฟว่ามีข้อดีอย่างไรเมื่อเริ่มมีการนำเอาพอร์ตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่อย่าง USB-C มาใส่ทดแทนพอร์ต USB-A เดิมที่เราคุ้นเคยกันมานานกว่ายี่สิบปี

เป็นทางเลือกการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น ข้อดีอย่างแรกเลยของการที่นำเอาพอร์ตแบบ USB-C มาใช้ในแฟลชไดร์ฟทดแทนพอร์ต USB-A ก็คือการเพิ่มทางเลือกที่สะดวกให้ผู้ใช้งาน เพราะแม้ว่าพอร์ต USB-A สำหรับแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟจะถือว่าสะดวกต่อการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อย่างแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะอยู่แล้ว แต่อุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ก็มักจะมาพร้อมกับพอร์ต USB-C ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อปเองก็ตาม พอร์ต USB-C จึงถือว่าเข้ามาช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และสะดวกสบายในการปรับใช้งานแฟลชไดร์ฟร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้นโดยเฉพาะกับอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างสมาร์ทโฟน ซึ่งเรามักเข้าใจกันว่าเป็นข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟได้ แต่เมื่อมี USB-C เข้ามาก็ทำให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ไม่ต่างจากอุปกรณ์ขนาดใหญ่อื่นๆ แม้ว่าในช่วงแรกๆ อาจจำเป็นต้องอาศัยตัวช่วยในการใช้งานด้วยการลงแอปพลิเคชั่นเสริมด้วยก็ตาม

เสียบใช้งานได้สะดวกกว่า ความแตกต่างระหว่างพอร์ต USB-C และพอร์ต USB เจนก่อนๆ ที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับประสิทธิภาพ หรือความเร็วในการรับส่งข้อมูล ก็คือการออกแบบของหัวเชื่อมต่อ USB-C ที่สามารถเสียบแบบกลับด้านใดก็ได้ ขณะที่หัวของ USB เจนก่อนจะเสียบเข้าได้ด้านเดียวถึงจะลงล็อคได้ แม้ว่ารายละเอียดดังกล่าวนี้ดูจะเป็นเพียงจุดเล็กๆ แต่สำหรับคนที่เคยผ่านประสบการณ์เสียบชาร์จโทรศัพท์ด้วยสาย USB-B ในที่มืด หรือเวลากลางคืนขณะไม่เปิดไฟจะทราบว่าค่อนข้างเป็นปัญหาที่ทำให้รู้สึกไม่สะดวกสบายในการใช้งานอยู่เหมือนกัน เช่นเดียวกับแฟลชไดร์ฟ USB-A ซึ่งทำให้เราต้องหมุนกลับด้านขณะเสียบใช้งานอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นความสะดวกในการเสียบใช้งานด้านใดก็ได้จึงถือเป็นข้อดีอีกอย่างของแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟ USB-C สายชาร์จ USB-C รวมถึงแก็ดเจ็ตอื่นๆ ที่มาพร้อมกับพอร์ต Type C นี้

และในปัจจุบันแฟลชไดร์ฟก็ยังมีรูปทรงที่หลากหลาย รวมไปถึงวัสดุที่นำมาทำแฟลชไดร์ฟอีกด้วย เช่น แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟยาง วัสดุเหล่านี้ก็จะนำมาออกแบบให้รูปทรงที่น่าใช้งาน และพกพาง่าย เช่น แฟลชไดร์ฟการ์ด แฟลชไดร์ฟปากกา หรือจะเป็นแฟลชไดร์ฟริสแบนด์