วิธีใช้แฟลชไดร์ฟลงระบบปฏิบัติการวินโดวส์

เมื่อพูดถึงการใช้งานแฟลชไดร์ฟ แน่นอนว่าโดยทั่วไปแล้วเราย่อมนึกถึงการใช้งานสำหรับเป็นอุปกรณ์ในการจัดเก็บ บันทึกไฟลดิจิทัลต่างๆ รวมถึงการโอนย้าย คัดลอกไฟล์จากอุปกรณ์นึงไม่ยังอุปกรณ์นึง ซึ่งถือเป็นประโยชน์ใช้สอยหลักที่ทำให้เกิดการพัฒนาแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ขึ้นมาอยู่แล้ว...

เมื่อพูดถึงการใช้งานแฟลชไดร์ฟ แน่นอนว่าโดยทั่วไปแล้วเราย่อมนึกถึงการใช้งานสำหรับเป็นอุปกรณ์ในการจัดเก็บ บันทึกไฟลดิจิทัลต่างๆ รวมถึงการโอนย้าย คัดลอกไฟล์จากอุปกรณ์นึงไม่ยังอุปกรณ์นึง ซึ่งถือเป็นประโยชน์ใช้สอยหลักที่ทำให้เกิดการพัฒนาแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ขึ้นมาอยู่แล้ว แต่ทว่าด้วยความที่พอร์ตการเชื่อมต่ออย่าง USB-A ซึ่งเป็นพอร์ตพื้นฐานที่ติดมากับแฟลชไดร์ฟแทบทุกรุ่นนั้นเป็นพอร์ตมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์บุคคล และแล็ปท็อปตลอดหลายปีที่ผ่านมา จึงทำให้ USB FlashDrive มีประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ ตามมาด้วย อาทิเช่น ใช้เป็นอุปกรณ์ในการดาวน์โหลด ติดตั้งเกม หรือโปรแกรมต่างๆ ลงบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์บุคคล หรือแล็ปท็อปเครื่องต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าในปัจจุบันมีแฟลชไดร์ฟหลายรูปทรง เช่นแฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟการ์ด หรือแฟลชไดร์ฟทวิสเตอร์ ประโยชน์เหล่านี้ถือว่าช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้มากทีเดียว เพราะสามารถพกพาแฟลชไดร์ฟ แก็ดเจ็ตขนาดกะทัดรัดสำหรับนำไปลงเกม หรือโปรแกรมต่างๆ ได้โดยไม่ต้องพกพาแผ่น CD หรือ DVD ต้นฉบับของตัวโปรแกรมนั้นๆ รวมถึงไม่ต้องลงทุนจ่ายเงินซื้อซอฟท์แวร์นั้นๆ เพิ่มสำหรับโปรแกรมที่สามารถแชร์การใช้งานร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามนอกจากการดาวน์โหลดเกม โปรแกรมต่างๆ มาเซฟไว้และติดตั้งลงอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว แฟลชไดร์ฟก็ยังมีอีกหนึ่งประโยชน์สำคัญที่หลายคนอาจจะเคยใช้งาน และอีกหลายคนก็อาจจะยังไม่เคยใช้งาน และอาจไม่ทราบวิธีใช้มาก่อนด้วย ซึ่งก็คือการใช้เป็นตัวบูท หรือติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ลงบนอุปกรณ์ต่างๆ นั่นเอง ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำวิธีใช้งานพื้นฐานสำหรับใช้แฟลชไดร์ฟบูทวินโดวส์ให้กับคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปของเรากัน
ทำการดาวน์โหลดไฟล์วินโดวส์มาเก็บไว้ในแฟลชไดร์ฟ หากย้อนกลับไปช่วง 5-6 ปีก่อน วิธีการติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่เราคุ้นเคยกันจะเป็นลักษณะของการซื้อแผ่น DVD ของทางไมโครซอฟท์มาทำการติดตั้ง โดยใส่แผ่นลงไปใน DVD Drive ของอุปกรณ์นั้นๆ แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแล็ปท็อปเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ที่มักจะดีไซน์ออกมาให้บางเบา มักตัดฟังก์ชั่น DVD Drive ออกไป ทำให้การบูท หรือติดตั้งโปรแกรมใดๆ ต้องอาศัยการบูทผ่าน USB Drive แทน เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ทางไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนมาให้บริการในระบบการดาวน์โหลดไฟล์ผ่านเว็บไซต์ รวมถึงการจำหน่ายโปรแกรมติดตั้งที่มาพร้อม USB FlashDrive แทนแผ่น DVD ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องมีสำหรับการลงระบบปฏิบัติการวินโดวส์ใหม่ก็คือแฟลชไดร์ฟ ที่มีไฟล์วินโดวส์เวอร์ชั่นที่เราต้องการลงให้อุปกรณ์ของเรานั่นเอง ซึ่งหากเป็นแฟลชไดร์ฟที่มาพร้อมไฟล์วินโดวส์จากทางไมโครซอฟท์เองก็แทบจะไม่ต้องเตรียมอะไรเพิ่มเติมเลย เพราะไฟล์ในตัวแฟลชไดร์ฟนั้นมาพร้อมสำหรับการบูทติดตั้งอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่เราต้องการใช้แฟลชไดร์ฟเก็บข้อมูลทั่วไปที่เรามีอยู่ เราก็ต้องไปทำการดาวน์โหลดไฟล์วินโดวส์จากเว็บไซต์มาไว้ให้ครบถ้วนซะก่อน
สร้างไฟล์ติดตั้ง หลังจากที่ได้ไฟล์วินโดวส์มาครบไว้ในแฟลชไดร์ฟครบถ้วนแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนสำคัญ ซึ่งก็คือทำให้ตัว USB FlashDrive สามารถบูทเข้าระบบปฏิบัติการเพื่อทำการติดตั้งได้ เพราะแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟทั่วไปที่เราใช้งานกันไม่สามารถบูทเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งด้วยตัวเองได้ ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้ว หากผู้ใช้งานพอจะมีพื้นฐานในการใช้งานเครื่องมือสำหรับสร้างไฟล์ติดตั้งก็อาจจะเลือกใช้เครื่องมืออย่า Rufus Portable โดยเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ของ Rufus เพื่อสร้างตัวบูทขึ้นมาเองได้ แต่สำหรับคนที่ไม่สันทัดในการใช้เครื่องมือติดตั้งเหล่านี้อาจเลือกใช้บริการร้านซ่อมอุปกรณ์ไอที หรือช่างไอทีทั่วไปให้ทำการสร้างตัวบูทวินโดวส์ใน FlashDrive ที่เราทำการเซฟไฟล์วินโดวส์นั้นไว้แทน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเสียค่าบริการเพียงเล็กน้อย เมื่อได้แฟลชไดร์ฟที่มีตัวบูทพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เพียงแค่ทำการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปที่เราต้องการติดตั้งวินโดวส์ เปิดเครื่องและกดปุ่มใดๆ บนคีย์บอร์ด(ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของอุปกรณ์) เพื่อบูทเข้าสู่ BIOS เมื่อปรากฎหน้าแสดงเมนูใน Bios แล้วก็ทำการเลือกเลือกเมนูให้อุปกรณ์บูทจาก USB Drive เท่านี้ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งวินโดวส์ปกติเช่นเดียวกับการติดตั้งโดยแผ่น DVD แล้ว

แฟลชไดร์ฟจากวัสดุรีไซเคิล อันตรายหรือไม่

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีการปรับเปลี่ยนลักษณะ และรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาในด้านของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ สิ่ง หนึ่ง ที่เราพบการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม น่าจะเป็นเรื่องของการจับจ่ายเลือกซื้อสินค้า...

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีการปรับเปลี่ยนลักษณะ และรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาในด้านของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ สิ่ง หนึ่ง ที่เราพบการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม น่าจะเป็นเรื่องของการจับจ่ายเลือกซื้อสินค้า โดยไม่ว่าจะเป็นบรรดาร้านสะดวกซื้อใดก็ตาม ต่างออกมารณรงค์ให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่ งดการใช้ถุงพลาสติก หรืออย่างน้อยก็เป็นการลดการใช้เพื่อซื้อสินค้า และเปลี่ยนเป็นการใช้ถุงผ้าหรือถุงกระดาษแทน นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนในหลายด้าน ทั้งนี้ รวมถึงการดัดแปลง และใช้วัสดุรีไซเคิล ในการผลิตสิ่งของต่างๆ ที่เราจะกล่าวกันก็คือในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นสำคัญ อย่างอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงเคสมือถือ หรือภาชนะเครื่องใช้ข้าวของมากมาย

หากเราจะกล่าวถึงแฟลชไดร์ฟ ในปัจจุบันมีการออกแบบมาให้มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน รวมถึงการใช้วัสดุในการทำก็แตกต่างกันไปด้วย มีทั้งแบบที่เป็นแฟลชไดร์ฟโลหะซึ่งใช้กันทั่วไป แบบที่เป็นแฟลชไดร์ฟยางให้สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก หรือแบบที่มีหลายฟังก์ชัน อย่างเช่นการทำมาในรูปแบบของแฟลชไดร์ฟการ์ด หรือแฟลชไดร์ฟปากกา ทั้งนี้เนื่องจากเพื่อให้ตอบรับกับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน เพิ่มความหลากหลายและตัวเลือกให้ผู้บริโภค

วัสดุ หนึ่ง ที่อยากจะนำมาคุยกันในวันนี้ ก็คือการใช้วัสดุรีไซเคิลในการทำแฟลชไดร์ฟ การนำวัสดุรีไซเคิลเหล่านี้มาทำ อาจต้องพิจารณาถึงหลักหลายปัจจัยด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเกิดความกังวล ว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดใดก็ตาม ควรใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานหรือไม่ มีคุณภาพมากกว่าและทนความร้อนได้ดี หรือบางส่วนอาจคิดว่า การใช้วัสดุรีไซเคิลในการทำแฟลชไดร์ฟ จะไปเป็นการลดคุณภาพและลดอายุการใช้งานหรือไม่ และมันอันตรายหรือไม่ วันนี้เราจะมาคุยกัน

ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแฟลชไดร์ฟ ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลกันก่อน ในความเป็นจริงนั้น วัสดุรีไซเคิลที่นำมาใช้ เป็นเพียงแค่วัสดุภายนอกของตัวอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ของเราเพียงเท่านั้น ซึ่งตัววัสดุภายนอกนี้ทำการปกป้องไม่ให้แผ่นชิป หรือส่วนหัวของตัวอุปกรณ์ของเราเกิดความเสียหายเพียงเท่านั้น ดังนั้นในจุดนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุที่มีการทนความร้อนสูง เนื่องจากตัวแฟลชไดร์ฟ ไม่ได้เกิดความร้อนในขณะที่ใช้งาน

นอกจากนี้วัสดุรีไซเคิลเอง ไม่ใช่วัสดุที่ไม่มีคุณภาพแต่อย่างใด เป็นเพียงแค่วัสดุที่เกิดจากการแปรรูปสิ่งของเหลือใช้ และนำกลับมาโดยผ่านกระบวนการอีกที ทั้งการหลอมเหลว การแปรรูปเพื่อเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ก็ยังคงมีประสิทธิภาพในการใช้งานเช่นเดิม วัสดุรีไซเคิลที่นำมาใช้อาจจะเป็นพวกไม้ กระดาษ แก้ว พลาสติก โลหะ หรืออาจเป็นวัสดุอื่น เหล่านี้ยังคงเป็นวัสดุที่แข็งแรงและเปลี่ยนไปด้วยคุณภาพ เพียงแต่แปรรูปหลักให้ต่างไปจากเดิมเท่านั้นเอง

อุปกรณ์ภายในก็ยังเหมือนเดิม

ในส่วนของอุปกรณ์ภายใน หรือบริเวณส่วนหัวยูเอสบีของแฟลชไดร์ฟ ยังคงเป็นวัสดุเดิม เราไม่สามารถที่จะใช้วัสดุใดก็ตาม ในการทดแทนตรงนี้ได้ เพราะสิ่งนี้ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ถึงแม้ว่าวัสดุภายนอกของตัวอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ จะเปลี่ยนไปเป็นวัสดุรีไซเคิล หรือแม้แต่จะเปลี่ยนเป็นวัสดุใดก็ตาม เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกังวล เนื่องจากการใช้งาน คุณภาพ รวมถึงประสิทธิภาพก็ยังคงเป็นแบบเดิม

นี่เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ และถือเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนในอีกแง่ หนึ่ง ถึงจะเป็นการลดภาวะโลกร้อนในทางอ้อม แต่อย่างน้อยมันก็ช่วยได้บ้าง อีกอย่างการใช้วัสดุรีไซเคิล ในปัจจุบันก็มีการออกแบบให้มีความสวยงามและน่าใช้งานมาก

แฟลชไดร์ฟยังจำเป็นอยู่ไหม? ในยุคที่มี SSD แบบพกพา

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพานั้นถือเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่อยู่คู่กับแวดวงไอทีมาตลอดนับตั้งแต่มีการเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ในหมู่ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และบุคคลทั่วไป เพื่อตอบสนองกิจกรรมโอนถ่าย เคลื่อนย้าย คัดลอกไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่างๆ ของผู้ใช้งาน...

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพานั้นถือเป็นแก็ดเจ็ตชิ้นนึงที่อยู่คู่กับแวดวงไอทีมาตลอดนับตั้งแต่มีการเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ในหมู่ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และบุคคลทั่วไป เพื่อตอบสนองกิจกรรมโอนถ่าย เคลื่อนย้าย คัดลอกไฟล์ข้อมูลดิจิทัลต่างๆ ของผู้ใช้งาน โดยที่นวัตกรรมและเทคนิคการผลิตแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพานั้นก็ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่กับการพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูล และปริมาณ หรือขนาดข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาขนาดกะทัดรัดที่มีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทั้งความเร็วในการเขียน อ่านข้อมูลที่สูงขึ้นตามเวอร์ชั่นของพอร์ตเชื่อมต่อ USB-A และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เริ่มต้นด้วยความจุเพียงหลักเมกะไบต์ จนมาถึงระดับเทราไบต์ในปัจจุบัน รวมไปถึงรูปร่างและวัสดุมีทั้งแบบแฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟไม้ และแฟลชไดร์ฟยาง อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากแฟลชไดร์ฟแล้ว ปัจจุบันยังมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพาอีกแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาและดูเหมือนว่ากำลังจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งก็คือ External SSD (External Solid State Drive) การมาของ SSD แบบพกพาทำให้หลายคนมองว่าอาจเป็นการเข้ามาแทนที่แก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟ ที่ดูจะมีประสิทธิภาพการใช้งานต่ำกว่า หลายคนที่กำลังมองหาแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลชิ้นใหม่มาใช้งานอยู่ จึงอาจรู้สึกชั่งใจว่าควรเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟที่คุ้นเคย หรือควรตัดสินใจซื้อ External SSD ที่น่าจะรองรับการใช้งานในระยะยาวได้ดีกว่า ในบทความนี้จึงได้นำเอาข้อมูลของแก็ดเจ็ตทั้งสองตัวมาแนะนำให้ได้ทราบกันว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร และการมาของ SSD จะเป็นการมาแทนที่แฟลชไดร์ฟอย่างที่หลายคนคาดไว้หรือไม่

แฟลชไดร์ฟ กับ SSD มีจุดประสงค์ในการพัฒนาต่างกัน แม้ว่าผู้ใช้งานหลายคนจะมองว่า External SSD มีประสิทธิภาพในการใช้งานเป็นแก็ดเจ็ตบันทึกข้อมูลแบบพกพาสูงกว่าแฟลชไดร์ฟ หรือทรัมไดร์ฟ แต่ที่จริงแล้วจุดประสงค์ในการพัฒนาของ SSD นั้นคือการใช้เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลร่วมกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ หรือพูดกันง่ายๆ ก็คือ SSD ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนที่ HHD หรือฮาร์ดดิสก์นั่นเอง ทั้งนี้ HHD ถือว่ามีข้อจำกัดเรื่องของความเร็วในการอ่าน เขียนข้อมููลเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน เนื่องจากต้องอาศัยแรงหมุนของมอเตอร์ขับเคลื่อนการทำงาน จึงได้มีการพัฒนา SSD ซึ่งสามารถอ่าน เขียนข้อมูลโดยอาศัยแผงวงจร และคำสั่งที่อยู่บนชิปแทน ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ บนคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น ขณะที่แฟลชไดร์ฟเป็นแก็ดเจ็ตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อุปกรณ์จัดเก็บ โอนย้ายข้อมูลแบบพกพาโดยตรงอยู่แล้ว จึงมาพร้อมกับดีไซน์ และขนาดของแผงชิปที่กะทัดรัด

External SSD ยังมีข้อจำกัดเรื่องของราคา และขนาด แม้ว่าโดยนวัตกรรมที่ใช้ในการผลิต SSD และแฟลชไดร์ฟจะเป็นไทป์เดียวกัน หรืออาศัยคำสั่งการทำงานที่อยู่บนแผงชิป ซึ่งช่วยให้อ่าน เขียนข้อมูลได้รวดเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์เหมือนกัน จนทำให้ผู้ใช้งานหลายคนมองว่าการลงทุนซื้อ External SSD มาใช้งานแทนน่าจะคุ้มกว่า แต่อย่างที่ทราบกันตามกล่าวข้างต้นแล้วว่าสเกลการพัฒนาของแก็ดเจ็ตทั้งสองตัวแตกต่างกันชัดเจน SSD ถูกพัฒนาขึ้นมาให้รองรับการใช้งานอ่าน เขียนข้อมูลร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อป แต่ก็สามารถปรับใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายนอกได้ แต่แฟลชไดร์ฟนั้นถูกพัฒนามาเพื่อใช้เป็นเพียงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก หรือจัดเก็บข้อมูลแบบพกพาเท่านั้น ดังนั้น External SSD ย่อมตามมาด้วยข้อจำกัดเรื่องของขนาด น้ำหนัก และราคาที่สูงกว่านั่นเอง หรือกล่าวสรุปได้ว่าแฟลชไดร์ฟยังคงเป็นแก็ดเจ็ตที่มีประโยชน์และเหมาะสำหรับการใช้งานจัดเก็บข้อมูลพกพา โอนย้าย คัดลอกไฟล์ข้อมูลต่างๆ ขณะที่ External SSD แม้จะมีประสิทธิภาพการอ่าน เขียนข้อมูลที่รวดเร็วกว่า แต่ก็ตามมาด้วยข้อจำกัด และความเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สะดวกในการพกพา ความเสี่ยงที่ข้อมูลจะเสียหายในปริมาณที่มากกว่าจากขนาดพื้นที่จัดเก็บที่ใหญ่กว่า งบในการซ่อมแซม หรือซื้อตัวใหม่ที่สูงกว่า เป็นต้น

ผลงาน ผลิตแฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ welcome to vv

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













แฟลชไดร์ฟกับคลาวด์ งานไหน เลือกใช้อะไรดี

ในการทำธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีนมาขายต่อนั้นถือว่ามีปัญหาและข้อจำกัดมากมายที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้า นักขายต้องรับมือเช่นเดียวกับโมเดลธุรกิจอื่นๆ ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่ดูจะเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้หลายคนถอดใจจากโมเดลธุรกิจนี้ไปก็คือ...

หากเราจะนึกถึงเครื่องมือที่เราใช้ในการบันทึกข้อมูล ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน แน่นอนว่าหลายคนก็น่าจะนึกถึงอุปกรณ์ อย่างพวกฮาร์ดดิสก์แบบพกพาอะไรแบบนั้นเป็นต้น ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่เราใช้งานกันในแวดวงอิเล็กทรอนิกส์กันมานานเป็นสิบปีแล้ว ข้อดีของอุปกรณ์เหล่านี้ ก็คือความสะดวกสบาย รวดเร็ว และการหยิบมาใช้งานได้ในทันที

แต่อุปกรณ์เหล่านี้ก็มีข้อจำกัดบางประการอยู่ ที่เห็นได้อย่างโดดเด่นและเด่นชัดที่สุด คือการพกพา ที่ไม่สะดวกสบายเท่า ดังนั้นหลายคน จึงมักมองย้อนกลับไปที่อุปกรณ์ที่เราเคยหยิบมาใช้งานในอดีต นั่นคืออุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ซึ่งสามารถที่จะใช้งานในการบันทึกข้อมูล จัดเก็บข้อมูล และถ่ายโอนข้อมูลได้เหมือนกัน ถึงจะค่อนข้างช้ากว่า แต่ถึงอย่างนั้นก็สามารถพกพาได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งกว่า

และหากเราจะกล่าวถึงอุปกรณ์ หรือที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ในยุคปัจจุบันเราก็คงไม่กล่าวถึงระบบออนไลน์ อย่างการใช้คลาวด์ในการบันทึกข้อมูลไม่ได้ ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน แล้วแบบนี้มันดีกว่าการใช้แฟลชไดร์ฟ อย่างไร เราจะเลือกใช้งานอะไรดี ระหว่างการใช้แฟลชไดร์ฟ หรือเราจะใช้ระบบคลาวด์ดี วันนี้เรามาคุยกัน

พื้นฐานการทำงาน

โดยปกติพื้นฐานการทำงานของอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ คือการเก็บข้อมูล บันทึกข้อมูล หรือการถ่ายโอนข้อมูลผ่านอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ เป็นอุปกรณ์ที่เราสามารถเก็บ และพกพาไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบายมากกว่า แต่ในทางกลับกัน หากเราใช้ระบบคลาวด์ มันจะเป็นการฝากไฟล์ หรือนำข้อมูลเหล่านี้เก็บไว้ในระบบออนไลน์ ซึ่งเราอาจจะไม่ต้องพกพาอุปกรณ์อะไรไปไหนมาไหน

ความปลอดภัย

ในเรื่องของความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลนั้น หากเป็นความปลอดภัยของอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ เรียกได้ว่าแทบจะเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว เนื่องจากเราได้นำข้อมูลของเรา ใส่ไว้ในอุปกรณ์บางอย่าง ไม่ได้นำมาอัพโหลดลงบนอินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงค่อนข้างไว้ใจได้ในเรื่องของความปลอดภัย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ จะมีการนำข้อมูล เก็บไว้ในระบบคลาวด์หรือระบบอินเทอร์เน็ต มีการแชร์ข้อมูลและแบ่งปันข้อมูลกันอย่างเป็นธรรมดา แต่ในเรื่องนี้ ก็ยังมีความเสี่ยงในการถูกขโมยข้อมูลเหล่านี้อยู่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าระบบคลาวด์ จะเป็นอะไรที่ไม่ดีหรือมีความเสี่ยงสูง ทางผู้ให้บริการก็ได้มีการป้องกัน และมีมาตรการรองรับการแฮ็กข้อมูลเหล่านี้ด้วย

การพกพา

ส่วนในเรื่องของการพกพา หากเป็นอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ เนื่องจากว่ามีขนาดเล็ก และมีให้เลือกใช้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นแฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟปากกา เล็กกว่าฮาร์ดดิสก์แบบพกพา ดังนั้นเราจึงสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบายมากกว่า จะนำมาห้อยไว้กับพวงกุญแจ พกใส่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋ากางเกงไว้ หรือจะนำมาใส่ไว้ที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ หรือให้คอมพิวเตอร์ที่เรานำไปใช้มีอินเตอร์เน็ต ในทางกลับกันหากเป็นระบบคลาวด์ จริงอยู่ที่เราไม่จำเป็นต้องพกพาอุปกรณ์ไปที่ไหนเลย แต่เราจำเป็นที่จะต้องมีอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้สามารถใช้งานไฟล์เอกสารหรือไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นได้ ดังนั้นเราก็เลือกได้ตามถนัด แต่สิ่งที่อาจจะต้องระวังหากเป็นอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ดังนั้นจึงอาจมีความเสี่ยง ในการชำรุดและสูญหายได้

การนำมาใช้งาน และงานที่เหมาะสม

แน่นอนว่าอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ นอกจากจะใช้ในการเก็บข้อมูลได้แล้ว เรายังใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ในการถ่ายโอนข้อมูล สำรองข้อมูล โดยข้อมูลที่นำมาใส่ลงในแฟลชไดร์ฟ อาจจะเป็นข้อมูลชั่วคราว ที่จำเป็นจะต้องมีการโอนย้าย และใช้ในการทำงานตลอด ส่วนตัวมองว่าไม่ค่อยเหมาะกับการเก็บข้อมูลถาวรเท่าไหร่นัก แตกต่างจากระบบคลาวด์ ที่เราสามารถที่จะแบ็คอัพไฟล์ หรือสำรองข้อมูลลงไปได้

แบรนด์แฟลชไดร์ฟน่าซื้อ น่าใช้ในปี 2023

เมื่อพูดถึงการใช้งานแก็ดเจ็ตไอทีใดๆ ก็แน่นอนว่าหนึ่งในปัญหาพื้นฐานที่ผู้ใช้งานหลายคนเผชิญกันก็คือการเลือกซื้อเลือกหาว่า ควรจะเลือกซื้อแบบไหนดี? ยี่ห้อไหนดี? เพราะแก็ดเจ็ตไอทีถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทที่พบปัญหาจุกจิกได้บ่อย ค่อนข้างมีความอ่อนไหวเรื่องของคุณภาพการผลิต...

เมื่อพูดถึงการใช้งานแก็ดเจ็ตไอทีใดๆ ก็แน่นอนว่าหนึ่งในปัญหาพื้นฐานที่ผู้ใช้งานหลายคนเผชิญกันก็คือการเลือกซื้อเลือกหาว่า ควรจะเลือกซื้อแบบไหนดี? ยี่ห้อไหนดี? เพราะแก็ดเจ็ตไอทีถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทที่พบปัญหาจุกจิกได้บ่อย ค่อนข้างมีความอ่อนไหวเรื่องของคุณภาพการผลิต คุณภาพของวัสดุที่ใช้ เช่นเดียวกับแฟลชไดร์ฟ แก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพายอดฮิตก็นับเป็นหนึ่งในไอเทมที่หลายคนมักมีคำถามในการเลือกซื้อเลือกหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสถานการณ์ในตลาดจำหน่ายสินค้าแก็ดเจ็ตในปัจจุบันที่มีแฟลชไดร์ฟจากหลากหลายแบรนด์ ทั้งแบรนด์หน้าเก่า และน้องใหม่วางขายให้เราเลือกซื้อเลือกใช้มากมาย ก็ยิ่งทำให้การคัดกรองสินค้าที่ไว้วางใจในคุณภาพได้สักชิ้นเป็นเรื่องที่ยากขึ้นไปอีก ในบทความนี้จึงได้คัดเอาแบรนด์แฟลชไดร์ฟที่เชื่อมั่นเรื่องคุณภาพได้ในระดับนึง รวมถึงตัวอย่างรุ่นที่น่าสนใจหาซื้อมาใช้งานในปัจจุบันมาแนะนำให้หลายคนได้ทราบและใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟอันใหม่กัน
Kingston แบรนด์แรกที่เลือกมาแนะนำกันต้องบอกว่าเป็นหนึ่งแบรนด์ที่ผู้ใช้งานหลายคนคงจะพอคุ้นชื่อกันดี เพราะถือเป็นแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟรุ่นบุกเบิกที่ผลิตสินค้าชิ้นนี้มาวางจำหน่ายตั้งแต่สมัยที่ความจุเริ่มต้นเป็นหลัก Mb(เมกะไบต์) เท่านั้นเอง ข้อดีของแบรนด์ Kingston ก็คือการผลิตสินค้าในระดับคุณภาพที่น่าพอใจมาวางจำหน่ายในราคาย่อมเยา จึงเป็นหนึ่งในแบรนด์แฟลชไดร์ฟยอดฮิตที่หลายคนเลือกใช้ในช่วงยุคเริ่มต้นของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้เมื่อช่วงสิบปีก่อน และแม้ว่าปัจจุบันชื่อแบรนด์คิงส์ตันจะไม่ได้ป๊อปปูลาร์เหมือนในยุคเริ่มต้น แต่ในแง่ของคุณภาพก็ถือว่ายังสามารถไว้วางใจในแบรนด์ได้ โดยรุ่นสินค้าที่น่าสนใจเลือกซื้อเลือกหามาใช้ของ Kingston ในปัจจุบันก็มีอย่าง Kingston Data Traveler G4 แฟลชไดร์ฟดีไซน์เรียบ วัสดุพลาสติกสีขาวขอบเขียว ที่มาพร้อม USB-A เวอร์ชั่น 3.1 ความจุ 128 Gb รองรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อปทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และแมค
Sandisk แบรนด์ที่ต้องยกให้เป็นตัวเลือกแรกของผู้ใช้งานในปัจจุบัน เป็นผู้นำในตลาดแฟลชไดร์ฟบ้านเราก็แน่นอนว่าเป็น Sandisk แบรนด์ผู้ผลิตที่มีรุ่นสินค้าให้ลูกค้าเลือกซื้อเลือกหามาใช้งานหลากหลายรุ่น หลากหลายสเปค และมีระบบซัพพอร์ทการใช้งานที่ดี มีซอฟท์แวร์ทางการของแบรนด์สำหรับรองรับการอ่านเขียนข้อมูลบนอุปกรณ์เจเนอเรชั่นใหม่ๆ อย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ซึ่งปัจจุบันมีเพียงไม่กี่แบรนด์ที่พัฒนาระบบส่วนนี้อย่างจริงจัง จึงถือเป็นแบรนด์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่ต้องการนำแฟลชไดร์ฟไปใช้งานกับหลากหลายอุปกรณ์ หลายระบบปฏิบัติการมากที่สุดในเวลานี้
HP เมื่อพูดถึงชื่อแบรนด์เอชพีแน่นอนว่าหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยในฐานะแบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีอย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป รวมถึงอุปกรณ์เสริมอย่างปริ้นเตอร์ ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา HP มีสินค้าในไลน์ดังกล่าวออกมาวางจำหน่ายหลากหลายรุ่น และได้รับกระแสตอบรับจากกลุ่มผู้ใช้งานเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามแม้ว่าแฟลชไดร์ฟดูจะเป็นแก็ดเจ็ตขนาดเล็กเกินกว่าที่แบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีเองจะลงมาทำตลาดแข่งกับแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตเจ้าต่างๆ แต่ทางเอชพีเองก็ได้ออกผลิตภัณฑ์ของตัวเองมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับลูกค้าเช่นกัน โดยแฟลชไดร์ฟของเอชพีที่เราสามารถหาซื้อได้ในปัจจุบันก็จะมีอย่าง HP Flash Drive ในรุ่น 64 Gb ที่มาพร้อมดีไซน์น่ารัก ขนาดเล็กกะทัดรัด วัสดุพลาสติกสีฟ้าสดใส ตัดกับสีขาว เรียกได้ว่าเป็นดีไซน์ที่ถูกใจวัยรุ่นวัยเรียน แต่อาจมีข้อเสียนิดนึงตรงที่มาพร้อมกับ USB-A เวอร์ชั่น 2.0 เท่านั้น แน่นอนว่าย่อมมีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลต่ำกว่าเวอร์ชั่น 3.0 – 3.2 และปัจจุบันแฟลชไดร์ฟก็ยังเป็นแก็ดเจ็ตที่ได้รับความนิยมและมีรูปแบบให้เลือกเยอะ เช่น แฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟยาง แฟลชไดร์ฟไม้ หรือจะเป็นแฟลชไดร์ฟการ์ด ที่พกพาสะดวกเหมือนพกบัตรเครดิตทั่วไป

แฟลชไดร์ฟมีอายุการใช้งานนานแค่ไหน ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่?

อย่างที่ทราบกันดีว่าแฟลชไดร์ฟถือเป็นแก็ดเจ็ตไอทีชิ้นนึงที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมการทำงานของใครหลายคนมาตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับพกพา โอนย้ายข้อมูลยอดนิยมอันดับหนึ่งเลยก็ว่าได้ เนื่องจากดีไซน์ของตัวแก็ดเจ็ตมีความกะทัดรัด พกพาสะดวก...

อย่างที่ทราบกันดีว่าแฟลชไดร์ฟถือเป็นแก็ดเจ็ตไอทีชิ้นนึงที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมการทำงานของใครหลายคนมาตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับพกพา โอนย้ายข้อมูลยอดนิยมอันดับหนึ่งเลยก็ว่าได้ เนื่องจากดีไซน์ของตัวแก็ดเจ็ตมีความกะทัดรัด พกพาสะดวก เช่น แฟลชไดร์ฟทวิสเตอร์ แฟลชไดร์ฟปากกา หรือแฟลชไดร์ฟโลโหะรูปทรงน่ารัก และมีวิธีใช้งานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ทว่าขณะเดียวกันการใช้งานแฟลชไดร์ฟก็มักตามมาด้วยปัญหาจุกจิกหลายอย่างเช่น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือปัญหาแฟลชไดร์ฟชำรุด หรือเสียจนไม่สามารถใช้งานต่อไป เปิดไฟล์ข้อมูลใดๆ ที่บันทึกไว้ไม่ได้ ซึ่งหากเป็นกรณีปัญหาที่เกิดกับซอฟท์แวร์ หรือชุดคำสั่งที่คอยรันการทำงานของตัวไดร์ฟอยู่ก็อาจจะมีแนวทางแก้ปัญหาหลากหลายที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เช่น การสแกนไวรัส การตั้งค่านามสกุลไดร์ฟใหม่ เป็นต้น แต่บ่อยครั้งปัญหาก็เกิดขึ้นที่ตัวฮาร์ดแวร์ หรืออาการเสียของชิปที่อยู่ในตัวแฟลชไดร์ฟ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานไม่สามารถซ่อมแซมเองได้ และต้องเลือกแก้ปัญหาด้วยการซื้ออันใหม่มาใช้งานแทน
ทั้งนี้ปัญหาอาการเสียที่ตัวฮาร์ดแวร์สามารถเกิดขึ้นได้ แม้ว่าเราจะไม่ได้มีการใช้งานที่ผิดวิธี เพราะในทุกครั้งที่เราใช้งานตัวชิปจะมีการเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ ทีละนิด ในบทความนี้จึงจะมาอธิบายให้ได้ทราบกันถึงอายุการใช้งานของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ว่าโดยทั่วไปแล้วแฟลชไดร์ฟแต่ละรุ่น แต่ละแบรนด์น่าจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่เท่าไหร่ และเราควรเปลี่ยนอันใหม่เมื่อไหร่
อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งการเขียน ลบข้อมูล ลักษณะการทำงานของแฟลชไดร์ฟในการจัดเก็บ บันทึกข้อมูล จะเป็นการเขียนข้อมูลลงบนไดร์ฟซ้ำๆ ตัวอย่างเช่น หากเราบันทึกไฟล์ใดๆ ลงไป 1 ไฟล์ ก็เท่ากับการเขียน 1 ครั้ง และเมื่อเราทำการลบไฟล์ดังกล่าวทิ้งไป และบันทึกไฟล์ใหม่ลงไปแทนที่ก็เท่ากับมีการเขียนใหม่อีก 1 ครั้งทับตำแหน่งเดิม เท่ากับมีการเขียนรวมแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งจากการทดสอบการใช้งานเขียนข้อมูลลงซ้ำๆ ของแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตหลายๆ แบรนด์พบว่า แฟลชไดร์ฟสามารถใช้งานเขียนข้อมูลซ้ำๆได้มากกว่า 10,000 ครั้งขึ้นไปจนถึงหลักแสนครั้ง จึงจะทำให้ฮาร์ดแวร์เสื่อมสภาพจนเขียนซ้ำต่อไม่ได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ง่ายๆ ว่าแฟลชไดร์ฟควรจะมีอายุขั้นต่ำในการใช้งานอยู่ที่จำนวนครั้งการเขียน 10,000 ครั้งขึ้นไป แต่จำนวนการเขียนดังกล่าวนั้นจะตีเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้งานของแต่ละคน ซึ่งบางคนก็อาจเขียนครบหนึ่งหมื่นครั้งในระยะเวลาหนึ่งปี หรือบางคนอาจครบหนึ่งหมื่นครั้งในระยะเวลาสามปี เราจึงเห็นได้ว่าแฟลชไดร์ฟของผู้ใช้งานแต่ละคนเกิดอาการเสีย ชำรุดที่ฮาร์ดแวร์ในระยะเวลาที่แตกต่างกันไป บางคนอาจเสียตั้งแต่ใช้งานได้ไม่ถึงหนึ่งปี บางคนเสียหลังจากใช้งานไปได้ห้าปี เป็นต้น

ควรเปลี่ยนแฟลชไดร์ฟเมื่อไหร่ อย่างที่ทราบกันตามกล่าวข้างต้นว่าอายุการใช้งานของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการเขียนลบข้อมูล นอกจากนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับคุณภาพวัสดุ และคุณภาพการผลิตของแต่ละแบรนด์อีกด้วย(วัสดุคุณภาพดี และกระบวนการผลิตคุณภาพสูง ย่อมทำให้แฟลชไดร์ฟตัวนั้นๆ สามารถเขียนข้อมูลในจำนวนครั้งที่มากกว่า) ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่เราจะคำนวณระยะเวลาว่าควรจะเปลี่ยนอันใหม่เมื่อไหร่ อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ป้องกันข้อมูลสูญหาย เราอาจอ้างอิงการใช้งานจากระยะเวลาการรับประกันของแต่ละแบรนด์ แต่ละยี่ห้อ ตัวอย่างเช่น บางแบรนด์รับประกัน 1 ปี บางแบรนด์รับประกัน 3 ปี ซึ่งหากครบระยะเวลาเหล่านี้ เมื่อเราใช้งานแฟลชไดร์ฟตัวนั้นๆ ในการจัดเก็บ โอนย้ายข้อมูลแต่ละครั้งก็ควรต้องทำการแบล็คอัพ หรือสำรองข้อมูลไว้ในอุปกรณ์อื่นด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ฮาร์ดแวร์แฟลชไดร์ฟอาจชำรุด เสียหายและทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่บันทึกไว้ได้

ข้อดี และข้อจำกัดของแฟลชไดร์ฟที่มีความจุมากๆ

สำหรับใครที่ใช้อุปกรณ์ไอทีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ อุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในรูปแบบของฮาร์ดดิสก์ หรือรูปแบบของ SSD หรืออุปกรณ์พกพาอย่างฮาร์ดดิสก์พกพา หรืออาจจะเป็นแฟลชไดร์ฟ...

สำหรับใครที่ใช้อุปกรณ์ไอทีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ อุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในรูปแบบของฮาร์ดดิสก์ หรือรูปแบบของ SSD หรืออุปกรณ์พกพาอย่างฮาร์ดดิสก์พกพา หรืออาจจะเป็นแฟลชไดร์ฟ ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟยาง หรือจะเป็นแฟลชไดร์ฟโลหะ หลายคนก็น่าจะคุ้นเคยกับหน่วยความจุของอุปกรณ์เหล่านี้ ที่อาจจะมีหน่วยเป็น Mb, Gb ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หากเป็นในกรณีของแฟลชไดร์ฟ การที่อุปกรณ์ของเรามีหน่วยความจุอยู่ในระดับ Gb ก็น่าจะเป็นอะไรที่เพียงพอแล้ว สำหรับการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นไฟล์เอกสารต่างๆ ด้วยเหตุนี้เราจึงมักเห็นอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ที่วางขายอยู่ในท้องตลาดมีระดับความจุอยู่ที่ 4 Gb, 8 Gb ไปจนถึงระดับ 100 Gb เหล่านี้ก็เป็นระดับความจุที่มากพอ ที่หลายคนน่าจะพึงพอใจแล้ว

แต่แล้วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นมากมาย มีระดับความจุที่เพิ่มมากขึ้นเป็นระดับ Tb ซึ่งเป็นอะไรที่สูงเอามากๆ แน่นอนว่าอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ก็ได้มีการพัฒนาให้มีความจุอยู่ในระดับนั้นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นความจุที่มาก และนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายหลากหลายเลยทีเดียว ดังนั้นในวันนี้ เราจะมาคุยกันเรื่องของข้อดี และข้อจำกัด ของการเลือกอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ที่มีความจุที่อยู่ในระดับสูงถึงขนาดนี้ เผื่อว่าใครจะนำมาเป็นตัวเลือกประกอบการตัดสินใจ ในการซื้ออุปกรณ์เก็บข้อมูลพกพา ว่าคุ้มค่าและคุ้มราคากับที่คุณจะต้องจ่ายหรือไม่ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

ราคาที่สูงยิ่งขึ้น

เรื่องของราคา น่าจะเป็นปัจจัยอันดับแรก ที่หลายคนน่าจะนึกถึง หากนึกถึงอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ที่มีความจุอยู่ในระดับที่สูงมากถึงขนาดนี้ ราคาก็ย่อมที่จะแพงตามไปด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้สูงมากเมื่อเทียบกับอุปกรณ์เก็บข้อมูลพกพาอื่นๆ แต่ก็ยังถือว่าราคาสูงอยู่ดี หากเทียบกับอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ที่ลักษณะการใช้งานจำเป็นที่จะต้องพกพาไปไหนมาไหนอยู่ตลอด อย่างที่บอกไปแล้วว่า โดยปกติแล้วอุปกรณ์ชนิดนี้ ผู้คนมักจะใช้ในระดับความจุที่ไม่ได้มากมายเท่าไหร่นัก ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูล หรือใส่ข้อมูลที่มากถึงขนาดนั้น แต่หากใครต้องการที่จะเก็บ ใส่ข้อมูล หรือแม้แต่ทำการสำรองข้อมูลเหล่านี้ ก็อาจจะเลือกที่ความจุอยู่ในระดับสูง แต่อาจจะไม่ได้มากเท่า Tb ก็ได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นการใช้ที่อยู่ในระดับความจุ 128 Gb, 256 Gb หรืออยู่ที่ขนาด 500 Gb แบบนี้ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเหมือนกัน

จัดเก็บไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ และความละเอียดได้สูงมากกว่า

สิ่งนี้ถือเป็นข้อดี คือการจัดเก็บไฟล์ที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่ และมีความละเอียดที่สูงมากกว่าได้ ยกตัวอย่างเช่นไฟล์งานที่จะต้องตัดต่อเป็นวิดีโอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสไตล์กราฟิก ที่อาจจะต้องตัดต่อคลิปหรือวิดีโออยู่ตลอดเวลา และไม่อยากที่จะพกพาอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์พกพาที่มีขนาดใหญ่กว่า แฟลชไดร์ฟ ก็ยังถือเป็นทางเลือกที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ก่อนหน้านี้อุปกรณ์ชนิดนี้อาจจะเป็นทางเลือกที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก แต่อย่างว่า ที่มีการพัฒนาระดับความจุให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงสามารถที่จะครอบคลุมงานในส่วนนี้ได้มากยิ่งขึ้นด้วย

ความเสี่ยงต่อการเสียหายในไฟล์

อีกข้อที่เราควรจะให้ความสนใจ คือเนื่องจากอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ถึงจะสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นอย่างดี มีความสะดวกและรวดเร็วมากกว่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลอย่างฮาร์ดดิสก์พกพา แต่ด้วยลักษณะการใช้งาน ที่อาจจะต้องถอดเข้าถอดออกเครื่องคอมพิวเตอร์หลากหลายแตกต่างกันออกไปอยู่มากมาย แน่นอนว่าการเสียหายหรือการพัง ก็อาจจะง่ายกว่าด้วย และเมื่อมันเกิดความเสียหายขึ้น ไฟล์เอกสารหรือไฟล์งานของเรา ก็อาจเกิดความเสียหายตามไปด้วยได้ง่ายมากกว่า อย่างน้อยก็เมื่อเทียบกับอุปกรณ์อื่น

แฟลชไดร์ฟ อุปกรณ์ชิ้นเล็ก ที่เรื่องราวไม่เล็ก

แฟลชไดร์ฟ ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกชิ้นหนึ่ง ที่ถึงจะมีผู้ที่หยิบมาใช้งานมันไม่มากเท่าแต่ก่อนแล้ว แต่ก็ยังถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการทำงาน เนื่องจากอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ มีประโยชน์ในการใช้งาน นำมาใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ...

แฟลชไดร์ฟ ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกชิ้นหนึ่ง ที่ถึงจะมีผู้ที่หยิบมาใช้งานมันไม่มากเท่าแต่ก่อนแล้ว แต่ก็ยังถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการทำงาน เนื่องจากอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ มีประโยชน์ในการใช้งาน นำมาใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการนำมาเก็บข้อมูลต่างๆ ส่งต่อข้อมูล สำรองข้อมูล ถ่ายโอนข้อมูล และทำได้อีกมากมายหลากหลายอย่างด้วยกัน ในแง่ของความสะดวกสบายอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ค่อนข้างที่จะทำออกมาได้ดี และน่าหามาพกพาเป็นอย่างมาก มีรูปแบบสวยงาม เช่น แฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟไม้ หรือแฟลชไดร์ฟยางพิมพ์ลวดลาย

ในวันนี้เอง เราจะพาคุณ ไปสำรวจถึงอุปกรณ์ชิ้นเล็กอย่างแฟลชไดร์ฟ กับเรื่องราวมากมาย ที่คุณอาจจะไม่รู้มาก่อน เพื่อที่คุณจะได้รู้ว่า อุปกรณ์ชิ้นเล็กที่เราพกพากันอยู่ทุกวันนี้ มีเรื่องราวที่ไม่เล็ก และมีความน่าสนใจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

พัฒนาการของแฟลชไดร์ฟ

แฟลชไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนามาจากแผ่นเก็บบันทึกข้อมูล หรือที่เราเรียกกันอย่างติดปากว่า Floppy Disk เพียงแต่มีการออกแบบ ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างง่ายดาย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ด้วยการทำให้มีขนาดเล็กลง มีความกะทัดรัดและสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบาย ถูกออกแบบมาให้สามารถเก็บรักษาได้ง่าย เรียกว่ามีขนาดเล็กกว่าแบบเดิมมากเลยทีเดียว ซึ่งสิ่งนี้ก็ถือเป็นประโยชน์สำคัญของแฟลชไดร์ฟ

เหตุใดอุปกรณ์ชิ้นนี้จึงมีชื่อเรียกรายชื่อ

นี่ก็เป็นคำถามที่หลายคนอาจจะสงสัยกันมาอยู่บ้าง ว่าเหตุใดบางคนจึงเรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้ว่าแฟลชไดร์ฟ และบางคนอาจเรียกด้วยชื่ออื่นอีกมากมาย อย่างบางคนอาจเรียกว่าทรัมป์ไดร์ฟ ชื่อนี้ นับเป็นชื่อทางการค้า และเป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์ชิ้นนี้ชนิดแรก ถูกพัฒนาโดย CDR และ Floppy Disk หรือบางคนอาจจะเรียกว่าแฮนดี้ไดร์ฟ นี่ก็เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ค่อนข้างได้รับความนิยมเหมือนกัน โดยปกติแล้วแฮนดี้ไดร์ฟ จะนำมาใช้งานกับไฟล์ที่เป็น Mp3 และมักจะมีช่องเสียบหูฟังมาให้ด้วย

แต่ถึงอย่างนั้นแล้ว ชื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือชื่อที่เราเรียกกันนั่นก็คือแฟลชไดร์ฟ เนื่องจากเป็นชื่อเรียกที่เรียกตามหน่วยความจำแบบ flash คือการเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ชิ้นนี้ ในตอนแรกที่ถูกออกแบบและวางจำหน่าย ค่อนข้างที่จะได้รับความนิยมที่สูงเอามากๆ ดังนั้นคนจึงเรียกชื่อนี้ติดปากมาจนถึงปัจจุบัน

ปัญหาที่เรามักพบในระหว่างการใช้งาน

แน่นอนว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ ก็อาจเกิดปัญหามากมายที่เราจะสามารถพบได้ ยกตัวอย่างเช่นอาจติดไวรัส ที่อาจเกิดจากการนำไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์สาธารณะ และไม่ได้มีการตรวจสอบอุปกรณ์หรือทำการสแกนไวรัสอย่างสม่ำเสมอ หรืออยู่ดีๆก็เกิดใช้งานไม่ได้ดื้อๆ ใจอย่างนั้น ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจจะเกิดจากการไม่รองรับพอร์ตยูเอสบี หรืออาจเป็นเพราะการเสียบอุปกรณ์ไม่แน่น หรือรายละเอียดเล็กๆเหล่านี้ อีกปัญหาที่เรามักพบได้บ่อย คือเกิดความเสียหาย อาจจะเกิดจากการใช้งานผิดวิธี เช่นมีการถอดออกแบบกะทันหันบ่อยจนเกินไป

ราคาแพงดีกว่าราคาถูกจริงหรือไม่

อันที่จริงเราจะกล่าวแบบนั้นก็ดูจะไม่ยุติธรรมเท่าไหร่นัก ถ้าจะทำให้ถูกจริง เราอาจจะต้องดูในรายละเอียดปลีกย่อย ที่มีความเจาะจงมากยิ่งขึ้น มากกว่าการดูในเรื่องของราคา ทั้งเรื่องของวัสดุที่นำมาใช้งาน ความจุที่มีอยู่ ซึ่งหากว่าอุปกรณ์ของเรามีความจุมาก อาจจะมีราคาสูงมากตามไปด้วย รวมถึงอาจมีปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย ดังนั้นราคาจึงไม่ใช่ตัวชี้วัดที่เหมาะสมเท่าไหร่นัก

เหตุใดเราต้องเลือกแบบที่มีประสิทธิภาพไปเลย

แน่นอนว่าหากเราได้ของที่ไม่มีประสิทธิภาพมาใช้งาน ไม่นานใช้งานก็จะพัง และเราอาจจะต้องซื้อใหม่ นอกจากต้องเสียเงินเพิ่มแล้ว ข้อมูลแสนสำคัญของเราที่อยู่ข้างในอาจเกิดความเสียหายและใช้งานไม่ได้