การตรวจสอบไวรัสเบื้องต้น สำหรับอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ

แฟลชไดร์ฟนั้น นับว่าเป็นอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา ที่สามารถเก็บข้อมูลให้กับผู้ใช้งานได้แทบจะทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ วีดีโอ ไฟล์เสียง หรือรูปแบบอื่นอีกมากมาย ที่ทั้งอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งาน อีกทั้งในปัจจุบันยังค่อนข้างมีความปลอดภัยสูงด้วย...

แฟลชไดร์ฟนั้น นับว่าเป็นอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา ที่สามารถเก็บข้อมูลให้กับผู้ใช้งานได้แทบจะทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ วีดีโอ ไฟล์เสียง หรือรูปแบบอื่นอีกมากมาย ที่ทั้งอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งาน อย่างเช่น  METAL USB อีกทั้งในปัจจุบันยังค่อนข้างมีความปลอดภัยสูงด้วย ถึงแม้ทุกวันนี้จะมีการใช้ระบบคราว แต่อุปกรณ์นี้ก็ยังกลายเป็นอุปกรณ์ยอดนิยมในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่อง หรืออุปกรณ์อื่นด้วยเหมือนกัน การใช้งานมันค่อนข้างมีความสะดวกรวดเร็วและง่ายดาย

นอกจากนี้ประโยชน์ที่เห็นได้อย่างเด่นชัด คือเรายังสามารถพกพาแฟลชไดร์ฟไปไหนมาไหนได้ทุกที่ แล้วมันยังถูกทำออกมาด้วยกันมากมายหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบที่เป็นปากกา PEN USB หรือรูปแบบที่เป็นการ์ด CARD USB วัสดุที่ใช้ในการทำปัจจุบันก็นับว่ามีความแข็งแรงทนทาน และบางรูปแบบยังสูญหายได้ยาก ยกตัวอย่างเช่นแบบที่เป็นพวงกุญแจ หรือแบบที่เป็นการ์ดที่เราสามารถนำใส่กระเป๋าสตางค์ของเราได้เป็นต้น

แต่ปัญหาหนึ่งที่นับว่าเป็นปัญหาที่มาคู่กับการใช้งานอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ นั่นก็คือปัญหาการติดไวรัส ที่หากมันเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเป็นแบบเบาก็อาจก่อกวนหรือสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานได้ แต่ถ้าหากเป็นแบบที่มาก อาจจะมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูลหรือเอกสารที่อยู่ข้างในได้เลยทีเดียว ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีการตรวจสอบ และคุ้มครองข้อมูลของเราให้ปลอดภัยจากไวรัสเหล่านี้ แต่ในการใช้งานอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟของเรา เราจะสามารถตรวจสอบ หรือกำจัดไวรัสเหล่านั้นได้อย่างไร

การใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัส

อย่างแรกที่เราอยากจะแนะนำ สามารถทำได้ง่ายและเป็นวิธีการที่สากลที่สุด คือการใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัส ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาด โปรแกรมเหล่านี้จะตรวจสอบไฟล์ทั้งหมดในแฟลชไดร์ฟของเรา เพื่อทำการค้นหาไวรัสหรือภัยคุกคามอื่นๆ ที่อาจมีอยู่ในไฟล์หรือโฟลเดอร์งานของเรา

ใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่เชื่อถือได้

สำคัญเลยสำหรับผู้ที่ใช้งานโปรแกรมแอนตี้ไวรัสเหล่านี้ คือเราจำเป็นต้องใช้โปรแกรมที่มีความน่าเชื่อถือ วิธีการที่จะทำให้เข้าสู่โปรแกรมอย่างปลอดภัยที่สุด ข้อแนะนำคือเราควรเข้าสู่ระบบปฏิบัติการด้วยบัญชีผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เป็นผู้ดูแลระบบ จากนั้นเราจะทำการเสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ของเรา ต่อมาเราจะเปิดโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่ติดตั้งไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงทำการสแกนแฟลชไดร์ฟ หรือหากใครไม่มั่นใจและอยากให้ปลอดภัยมากขึ้น อาจจะลองทำการสแกนทั้งระบบก็ได้เหมือนกัน เหล่านี้จะตรวจสอบไวรัสและภัยคุกคามอื่นๆ

จากนั้นผู้ใช้เพียงแค่ทำการรอ ระบบนี้อาจใช้เวลาสักระยะ ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนไฟล์ที่อยู่ข้างในของเรา หลังจากที่โปรแกรมสแกนไวรัสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งหมดจะถูกแสดงบนหน้าจอของเรา หากโปรแกรมแอนตี้ไวรัสพบไฟล์ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นไวรัสที่อยู่ในแฟลชไดร์ฟของเรา มันจะทำการกำจัดทิ้ง หรือเราอาจตั้งค่าให้ทำการกำจัดทิ้งด้วยตนเองก็ได้เหมือนกัน

ข้อแนะนำเล็กน้อย

มีข้อแนะนำบางอย่างในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ยกตัวอย่างเช่น เราอย่าลืมที่จะอัพเดทระบบปฏิบัติการของเราให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ อัพเดทโปรแกรมแอนตี้ไวรัสให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากบางจุดอาจจะมีช่องโหว่หรือข้อบกพร่อง การอัพเดทจะเป็นการแก้ไขช่องโหว่และปรับปรุงความปลอดภัยอยู่เสมอ

อย่าโหลดไฟล์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

ไฟล์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือนั้น ทางที่ดีเราไม่ควรที่จะโหลดเข้ามาไว้ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แฟลชไดร์ฟของเราเป็นอันขาด เนื่องจากไฟล์เหล่านี้เสี่ยงต่อการเป็นไวรัส และอาจทำให้แพร่คุกคามได้ในอนาคต แต่หากเราจำเป็นต้องดาวน์โหลดมาใช้งานจริงๆ อาจจะทำการสแกนไฟล์นั้นก่อนที่เราจะเปิดดูก็ได้เหมือนกัน

เปรียบเทียบอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลฮาร์ดดิสก์, SSD และแฟลชไดร์ฟ มีประโยชน์การใช้งาน และข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร ?

เทคโนโลยีจัดเก็บไฟล์ข้อมูลถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาควบคู่กับการใช้งานอุปกรณ์ไอทีอย่างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือโน๊ตบุ๊คที่หลายคนคุ้นเคยกันดี...

เทคโนโลยีจัดเก็บไฟล์ข้อมูลถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาควบคู่กับการใช้งานอุปกรณ์ไอทีอย่างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือโน๊ตบุ๊คที่หลายคนคุ้นเคยกันดี เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือความบันเทิงเลยก็ว่าได้ โดยเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลที่ถูกพัฒนา นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นมาตรฐานแรกที่รับรู้โดยทั่วกันก็คือ HardDisk(ฮาร์ดดิสก์) โดยเป็นอุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกไฟล์ข้อมูลต่างๆ โดยอาศัยจานหมุนแม่เหล็กในการขับเคลื่อนการทำงาน ก่อนที่ต่อมาจะได้มีการพัฒนาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบดิจิทัล โดยเป็นลักษณะของการใส่คำสั่งไว้บนแผงวงจรและบันทึกข้อมูลลงบนชิปขนาดเล็ก ซึ่งก็คือแฟลชไดร์ฟ มีหลากหลายแบบมากเช่น  WOODEN USB CASSIC USB เพื่อใช้งานเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาที่สะดวกต่อการโอนย้ายไฟล์ข้อมูลต่างๆ ระหว่างเครื่องพิวเตอร์มากกว่า และล่าสุดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มีอุปกรณ์อย่าง SSD โผล่มาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบันทึก จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็ถูกเลือกใช้แทนที่ฮาร์ดดิสก์ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อปหลายรุ่นจากหลายแบรนด์ดัง อีกทั้งผู้ใช้งานหลายคนก็ยังเลือกใช้งานเป็นไดร์ฟจัดเก็บข้อมูลภายนอกแทนที่แฟลชไดร์ฟ หรือ External HardDisk อีกด้วย ซึ่งด้วยประโยชน์ใช้งานของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบต่างๆที่ดูจะมีความทับซ้อนกันอยู่พอสมควรนี้เอง จึงทำให้ผู้ใช้งานหลายคนยังคงสับสนว่าที่จริงแล้วประโยชน์ใช้งาน และข้อดีข้อเสียของ HardDisk, SSD และแฟลชไดร์ฟนั้นแตกต่างกันอย่างไร ในบทความจึงจะมาอธิบายเปรียบเทียบให้ได้ทราบกัน
HardDisk ใช้เทคโนโลยีจานหมุนแม่เหล็ก ขณะที่แฟลชไดร์ฟ และ SSD ใช้เทคโนโลยีการทำงานแบบดิจิทัล กล่าวคือมีแผงวงจรและแผ่นชิปสำหรับบันทึกไฟล์ข้อมูล ข้อเปรียบเทียบแรกที่ต้องบอกว่าเป็นความเหมือนกันของ แฟลชไดร์ฟ และ SSD ก็คือตัวเทคโนโลยีที่ใช้นั่นเอง ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าฮาร์ดดิสก์นั้นใช้ระบบขับเคลื่อนการทำงานด้วยสนามแม่เหล็ก ขณะที่แฟลชไดร์ฟ และ SSD มีการบันทึกคำสั่งการทำงานแบบดิจิทัลบนแผงวงจร ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานจึงชัดเจนว่า แฟลชไดร์ฟ และ SSD มีความเร็วในการเรียกอ่านไฟล์ และบันทึกไฟล์มากกว่าฮาร์ดดิสก์นั่นเอง โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์หลายรุ่นจากหลายแบรนด์มีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลระดับ 500 Mbps ขณะที่ฮาร์ดดิสก์นั้นเพดานความเร็วจะถูกจำกัดอยู่ที่ประมาณ 200 Mbps
แฟลชไดร์ฟใช้เป็นไดร์ฟภายนอกได้เท่านั้น มาที่ความเหมือนกันของ HardDisk และ SSD กันบ้าง หลังจากที่ในข้อแรกเราได้เปรียบเทียบความเหมือนกันของแฟลชไดร์ฟ และ SSD ให้ได้ทราบกันไปแล้ว โดยความเหมือนกันของฮาร์ดดิสก์ และ SSD ก็คือประโยชน์การใช้งานที่ยืดหยุ่นกว่านั่นเอง ฮาร์ดดิสก์ และ SSD สามารถใช้เป็นไดร์ฟจัดเก็บข้อมูลได้ทั้งแบบภายใน และภายนอก กล่าวคือฮาร์ดดิสก์ และ SSD สามารถจัดวางบนเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อปได้นั่นเอง ขณะที่แฟลชไดร์ฟสามารถใช้งานเป็นไดร์ฟภายนอก หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านพอร์ต USB แบบชั่วคราวได้เท่านั้น
ความปลอดภัยในการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล มาปิดท้ายกันที่อีกหนึ่งข้อเปรียบเทียบสำคัญที่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งานอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลใดๆ ของหลายคนกันพอสมควร ซึ่งก็คือเรื่องของความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลนั่นเอง โดยในส่วนนี้สามารถเปรียบเทียบกันให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่าอุปกรณ์ที่มีการใช้คำสั่งการทำงานแบบดิจิทัล ข้อมูลถูกเขียนลงบนชิปเช่นแฟลชไดร์ฟ, SSD นั้น หากมีการลบ หรือเกิด ERROR ขึ้นกับระบบในระหว่างการใช้งาน การกู้คืนไฟล์ต่างๆ จะทำได้ยากกว่าการกู้คืนข้อมูลที่อยู่บนจานหมุนแม่เหล็กอย่างฮาร์ดดิสก์นั่นเอง เรียกได้ว่าหากต้องการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลสำคัญในปริมาณมากๆ เป็นระยะเวลานานหลายปี ฮาร์ดดิสก์ถือเป็นอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์มากที่สุดหากอยากซื้อเป็นของขวัญให้ใครสักคนเราขอแนะนำแบบ GIFT SET

วิธีตรวจเช็คสเปคแฟลชไดร์ฟ ให้ได้แบบที่ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานมากที่สุด

ในการเลือกซื้ออุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป สมาร์ทโฟน แน่นอนว่าหลายคนทราบดีอยู่แล้วว่าสิ่งสำคัญก็คือการตรวจเช็คสเปค หรือคุณสมบัติของอุปกรณ์นั้น ๆ ว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการใช้งานของเราหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การเช็คพื้นที่จัดเก็บข้อมูล(Rom) ว่ามีขนาดเท่าไหร่...

ในการเลือกซื้ออุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป สมาร์ทโฟน แน่นอนว่าหลายคนทราบดีอยู่แล้วว่าสิ่งสำคัญก็คือการตรวจเช็คสเปค หรือคุณสมบัติของอุปกรณ์นั้น ๆ ว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการใช้งานของเราหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การเช็คพื้นที่จัดเก็บข้อมูล(Rom) ว่ามีขนาดเท่าไหร่ ชนิดของชิป CPU หรือความเร็วของชิป ขนาดของหน่วยความจำแบบสุ่ม(Ram) เป็นต้น ซึ่งสเปคเหล่านี้จะสามารถบอกได้ว่าอุปกรณ์นั้นๆ ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของเราหรือไม่ เพียงพอต่อการจัดเก็บข้อมูล หรือมีความเร็วในการทำงานพอที่จะรองรับการใช้งานโปรแกรม และแอพพลิเคชั่นที่เราต้องการใช้งานหรือไม่ เรียกได้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ทราบกันดีและใช้เป็นหนึ่งในเกณฑ์ตัดสินใจเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนกันอยู่แล้ว แต่ทว่าเมื่อพูดถึงแก็ดเจ็ต หรืออุปกรณ์เสริมที่ใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ไอทีดังกล่าว ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ ไม่ว่าจะเป็นแฟลชไดร์ฟรูปแบบไหน เช่น แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟปากกา ผู้ใช้งานหลายคนกลับมองข้ามเรื่องการตรวจเช็คสเปคต่าง ๆ ของตัวแก็ดเจ็ตไป โดยมักตัดสินใจเลือกจากขนาดความจุ หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟก็มีคุณสมบัติพื้นฐานหลายส่วนที่ทางแบรนด์ผู้ผลิตเลือกใส่เข้ามาแตกต่างกันและส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของเราโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแก็ดเจ็ตเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ ที่รองรับการใช้งานได้กับหลากหลายอุปกรณ์ ก็ย่อมมีรายละเอียดสเปคให้เราต้องตรวจเช็คมากขึ้นตามไปด้วย ในบทความนี้จึงจะมาแนะนำวิธีตรวจเช็คสเปคแก็ดเจ็ตอย่างแฟลชไดร์ฟว่ามีจุดไหน ส่วนไหนบ้างนอกเหนือจากขนาดความจุที่เราต้องตรวจดูเพิ่มเติม เพื่อจะทราบได้ว่าแฟลชไดร์ฟตัวนั้น ๆ ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของเราหรือไม่
เวอร์ชั่นของพอร์ต USB แฟลชไดร์ฟเป็นแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลที่อาศัยการเชื่อมต่อ รับส่งข้อมูลผ่านพอร์ต USB ดังนั้นหนึ่งในสเปคส่วนที่เราต้องตรวจเช็คก็คือเวอร์ชั่นของพอร์ต USB ที่ทางผู้ผลิตใส่มาในแฟลชไดร์ฟรุ่นนั้น ๆ นั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งเป็นเวอร์ชั่นใหม่มากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลก็ย่อมมีมากตามไปด้วย โดยเวอร์ชั่นล่าสุดของพอร์ต USB ก็คือเวอร์ชั่น 3.2 ดังนั้นหากจะให้แนะนำสเปคส่วนนี้ก็คงต้องบอกว่า จะให้ดีก็ควรเลือกแฟลชไดร์ฟรุ่นที่มาพร้อม USB 3.2 เลยนั่นเอง
Type ของ USB สเปคส่วนต่อมาที่ต้องตรวจเช็คให้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการนำแฟลชไดร์ฟไปใช้งานกับหลายอุปกรณ์ก็คือในส่วนของ Type หรือลักษณะของพอร์ตเชื่อมต่อนั่นเอง เพราะปัจจุบันแบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตเจ้าต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาพอร์ตการเชื่อมต่อให้รองรับพอร์ตเจเนเรชั่นใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์พกพาอย่างแท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนเช่นกัน พูดกันง่าย ๆ ก็คือแฟลชไดร์ฟที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีแค่พอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB-A แล้วนั่นเอง แต่ยังมีพอร์ตแบบ USB Type C, Lightning อีกด้วย ผู้ใช้งานจึงต้องเลือกให้ถูกต้อง แมตช์กับอุปกรณ์ที่ต้องการนำไปเชื่อมต่อ ตัวอย่างเช่น หากต้องการนำไปเสียบใช้งานร่วมกับไอโฟน หรือไอแพดเจนฯเดิม ๆ ก็ควรเลือกแฟลชไดร์ฟที่มีพอร์ต Lightning มาให้ด้วย
ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล อย่างที่ทราบกันดีว่าแฟลชไดร์ฟเป็นแก็ดเจ็ตที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล โอนย้ายไฟล์ต่าง ๆ ระหว่างอุปกรณ์ ดังนั้นสเปคส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อประสบการณ์ใช้งานของเราโดยตรงจึงเป็นความเร็วในการรับส่งข้อมูลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันสเปคส่วนนี้แบรนด์ผู้ผลิตแฟลชไดร์ฟหลายแบรนด์ก็ระบุเป็นตัวเลขมาให้เราชัดเจน โดยมีตั้งแต่ 50 Mbps(Megabit Per Second) ไปจนถึงหลัก 1000 Mbps ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขส่วนนี้ยิ่งเยอะก็ยิ่งดี โดยหมายถึงปริมาณข้อมูลที่สามารถส่งได้ต่อหนึ่งวินาทีนั่นเอง

ตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟของคุณ

แฟลชไดร์ฟ (Flash Drive) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูลให้กับผู้ใช้งานในรูปแบบของไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ซึ่งเป็นที่นิยมในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย...

แฟลชไดร์ฟ (Flash Drive) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูลให้กับผู้ใช้งานในรูปแบบของไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ซึ่งเป็นที่นิยมในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย นอกจากนี้แฟลชไดร์ฟยังง่ายต่อการพกพาติดตัวไปได้ทุกที่ เช่น แฟลชไดร์ฟปากกา แฟลชไดร์ฟการ์ด และมีความทนทาน เช่น แฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟหนัง จะชำรุดยากมีความทนทานแข็งแรง และยังยากต่อการสูญเสียข้อมูลเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อเก็บข้อมูลอื่น ๆ แบบเก่า เช่น ฮาร์ดดิสก์หรือแผ่น DVD

ในยุคที่เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญมากเช่นนี้ การตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟเป็นเรื่องสำคัญที่ควรให้ความสนใจ เนื่องจากไวรัสสามารถแพร่กระจายและทำความเสียหายข้อมูลของคุณได้ ดังนั้นเราจึงต้องรู้วิธีตรวจสอบและคุ้มครองข้อมูลของเราให้ปลอดภัยจากไวรัสที่อาจอยู่ในแฟลชไดร์ฟ บทความนี้จะเป็นเคล็ดลับในการตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟของคุณ

การตรวจสอบว่าแฟลชไดร์ฟของคุณมีไวรัสหรือไม่สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัส (Antivirus) ที่มีให้ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาด โปรแกรมแอนตี้ไวรัสจะสแกนและตรวจสอบไฟล์ทั้งหมดในแฟลชไดร์ฟของคุณเพื่อค้นหาไวรัสหรือภัยคุกคามอื่น ๆ ที่อาจมีอยู่ในไฟล์ นี่คือขั้นตอนที่คุณสามารถทำเพื่อตรวจสอบแฟลชไดร์ฟของคุณว่ามีไวรัสหรือไม่

โหลดโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่สามารถเชื่อถือได้
เข้าสู่ระบบปฏิบัติการของคุณด้วยบัญชีผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เป็นผู้ดูแลระบบ
เสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
เปิดโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่คุณได้ติดตั้งไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
เลือกตัวเลือก “สแกนทั้งระบบ” หรือ “สแกนแฟลชไดร์ฟ” หรือคล้ายกันจากเมนูหรือแท็บที่ให้
เริ่มต้นกระบวนการสแกน โปรแกรมแอนตี้ไวรัสจะเริ่มสแกนแฟลชไดร์ฟของคุณเพื่อตรวจสอบไวรัสหรือภัยคุกคามอื่น ๆ
รอให้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสสแกนไฟล์ในแฟลชไดร์ฟของคุณ กระบวนการนี้อาจใช้เวลาสักระยะ ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนไฟล์
หลังจากที่โปรแกรมแอนตี้ไวรัสสแกนแฟลชไดร์ฟเสร็จสิ้น ตรวจสอบผลลัพธ์ที่แสดงบนหน้าจอ
หากโปรแกรมแอนตี้ไวรัสพบไฟล์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสในแฟลชไดร์ฟ คุณควรทำการกำจัดไฟล์เหล่านั้น โปรแกรมแอนตี้ไวรัสจะมีตัวเลือกให้ลบไฟล์ที่เสี่ยงหรือจัดเก็บในที่ที่กำหนดไว้
เมื่อคุณลบไฟล์ที่เสี่ยงจากแฟลชไดร์ฟแล้ว คุณควรสแกนอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีไฟล์ที่ติดเชื้ออยู่ในแฟลชไดร์ฟของคุณ
เปิดใช้งานการตรวจสอบอัตโนมัติ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสบางตัวมีตัวเลือกให้เปิดใช้งานการตรวจสอบอัตโนมัติ ทำให้ระบบปฏิบัติการตรวจพบไวรัสเมื่อคุณเสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับคอมพิวเตอร์
อย่าลืมอัปเดตระบบปฏิบัติการของคุณเป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ เนื่องจากมีการแก้ไขช่องโหว่และปรับปรุงความปลอดภัยอยู่เสมอ
อย่าเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโดยการดาวน์โหลดหรือรับไฟล์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ควรทำการสแกนไฟล์ก่อนเปิดทุกครั้ง

การตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของเรา โดยการตรวจสอบนี้ช่วยป้องกันไม่ให้ไฟล์ที่เสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ มีการแพร่กระจายไวรัสหรือภัยคุกคามไปยังระบบอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาความสมบูรณ์ของข้อมูลในแฟลชไดร์ฟและเพิ่มความน่าเชื่อถือในการแชร์ข้อมูลกับผู้อื่นด้วย ดังนั้น การตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟเป็นกระบวนการที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาความปลอดภัยและความพร้อมของข้อมูลของเรา
ถ้าคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบไวรัสในแฟลชไดร์ฟ คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแหล่งที่มีความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยข้อมูลและโปรแกรมแอนตี้ไวรัส นอกจากนี้ คุณยังสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคหรือช่างคอมพิวเตอร์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมในการตรวจสอบแฟลชไดร์ฟของคุณได้อีกด้วย

ผลงาน ผลิตแฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ APSIPA ASC

...

ผลงาน แฟลชไดร์ฟ สกรีนโลโก้ usb-perfect

โรงงานผลิตแฟลชไดร์ฟ พร้อมสกรีนโลโก้ฟรี! ขั้นต่ำน้อย มีโรงงานในไทย มีโกดังสต็อคในไทย พร้อมผลิต

  • สั่งทำเพื่อเป็นของแจก ของสมนาคุณ ของพรีเมี่ยม หรือของขวัญในโอกาสต่าง ๆ
  • สามารถสั่งทำเป็นชื่อ ข้อความ โลโก้ ลวดลาย ได้ตามต้องการ

สนใจสินค้า โทร. 02-4081377 หรือ ไลน์ @premiumperfect

ผลงานแฟลชไดร์ฟอื่น ๆ













OTG คืออะไร? จำเป็นต่อการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C อย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟได้พัฒนามาถึงจุดที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์พกพาอย่างโทรศัพท์ หรือแท็บเล็ตได้โดยตรงแล้ว ทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์มากขึ้น จากเดิมที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา...

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ ทุกรูปแบบและวัสดุ เช่น แฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟยาง หรือแฟลชไดร์ฟไม้ ได้พัฒนามาถึงจุดที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์พกพาอย่างโทรศัพท์ หรือแท็บเล็ตได้โดยตรงแล้ว ทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์มากขึ้น จากเดิมที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การถ่ายโอนข้อมูลแบบออฟไลน์ต้องอาศัยตัวกลางเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่อย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือแล็ปท็อป กล่าวคือหากต้องการถ่ายโอนข้อมูลจากโทรศัพท์เครื่องนึงไปยังโทรศัพท์อีกเครื่องนึง ก็จะต้องทำการคัดลอก หรือย้ายข้อมูลจากโทรศัพท์เครื่องแรกลงบนคอมพิวเตอร์ซะก่อน จากนั้นจึงค่อยนำโทรศัพท์เครื่องที่สองมาทำการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อคัดลอกข้อมูลนั้นๆ ลงไปอีกที ขณะที่การถ่ายโอนโดยสัญญาณไร้สาย เช่น Bluetooth ก็ยังคงมีข้อจำกัดเรื่องของระยะเวลาในการรับส่งที่อาจไม่เหมาะสำหรับการถ่ายโอนไฟล์ขนาดใหญ่ หรือถ่ายโอนครั้งละมากๆ ทั้งนี้แก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้โดยตรงจะมาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อ USB-C ซึ่งเป็นพอร์ตมาตรฐานของอุปกรณ์เจเนอเรชั่นใหม่ๆ แทนพอร์ต USB-A หรือในบางรุ่น บางแบรนด์ก็อาจมาพร้อมพอร์ตเชื่อมต่อสองหัว คือด้านนึงเป็นพอร์ตมาตรฐานดั้งเดิม usb-a และอีกด้านนึงเป็น usb-c อย่างไรก็ตามแม้ว่าพอร์ตมาตรฐานใหม่อย่าง USB-C นั้นดูจะช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกในการใช้งานแฟลชไดร์ฟเพื่อโอนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ขนาดเล็กมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีผู้ใช้งานจำนวนมากที่ยังลังเลในการตัดสินใจเลือกซื้อเลือกหาแฟลชไดร์ฟ Type-C มาใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลองค้นหาข้อมูล หรือสอบถามผู้ขายแล้วมักจะได้เจอคำแนะนำว่าให้ตรวจสอบก่อนว่าโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ของเรานั้นรองรับ OTG หรือไม่ ในบทความนี้จึงจะมาอธิบายให้ได้ทราบกันว่า OTG คืออะไร และมีความจำเป็น หรือสำคัญต่อการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Typ-C อย่างไร
OTG ย่อมาจาก USB On to Go หมายถึงระบบรองรับการเชื่อมต่อกับไดร์ฟ หรืออุปกรณ์ภายนอกผ่านพอร์ต USB ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วพอร์ต USB บนอุปกรณ์มาตรฐานอย่างคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อปนั้นจะรองรับ OTG อยู่แล้ว เพราะผู้ใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับไดร์ฟภายนอก หรือแก็ดเจ็ตเสริมต่างๆ เช่น เม้าส์ คีย์บอร์ด ลำโพง เป็นปกติอยู่แล้ว แต่สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างสมาร์ทโฟนในยุคเริ่มต้นนั้น แบรนด์ผู้ผลิตมักจะไม่ใส่ฟังก์ชั่น OTG นี้เข้ามา เพราะผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่มีความต้องการเชื่อมต่อโทรศัพท์กับไดร์ฟ หรืออุปกรณ์เสริมภายนอกใดๆ ทว่าปัจจุบันสเกลการใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตขยายใหญ่ขึ้นกว่าช่วงหลายปีก่อนมาก ผู้ใช้งานมีความต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับไดร์ฟภายนอก และอุปกรณ์เสริมต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แบรนด์ผู้ผลิตเจ้าต่างๆ ใส่ฟังก์ชั่น OTG เข้ามาในอุปกรณ์เจนฯ ใหม่ของตัวเองในหลายๆ รุ่น กล่าวสรุปง่ายๆ ได้ว่า โดยประโยชน์พื้นฐานแล้ว พอร์ต USB ที่ติดมากับสมาร์ทโฟนจะใช้สำหรับการชาร์จไฟ หรือแบตเตอรี่เท่านั้น แต่ฟังก์ชั่น OTG ที่เพิ่มเข้าจะช่วยให้พอร์ตดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อกับไดร์ฟ หรืออุปกรณ์ภายนอก เช่น แฟลชไดร์ฟได้ด้วยนั่นเอง
จะตรวจเช็คอย่างไรว่าสมาร์ทโฟนของเรารองรับ OTG หรือไม่? โดยทั่วไปแล้วหากเป็นอุปกรณ์เจนฯใหม่ๆ ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2021 ในรุ่นระดับกลางขึ้นไปของแบรนด์เจ้าดังต่างๆ มักจะใส่ฟังก์ชั่น OTG เข้ามาด้วยอยู่แล้ว ซึ่งเท่ากับว่าโดยส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์รุ่นใหม่รองรับการใช้งานเชื่อมต่อกับแฟลชไดร์ฟ Type-C ได้นั่นเอง อย่างไรก็ตามวิธีตรวจเช็คที่ง่ายที่สุดก็คือการสอบถามทางกับทางผู้ขาย หรือซัพพอร์ทของแบรนด์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตเจ้านั้นๆ โดยตรงว่าอุปกรณ์รุ่นนั้นๆรองรับ OTG หรือไม่ แต่ทั้งนั้นทั้งนี้นอกเหนือจากฟังก์ชั่น OTG แล้ว การเริ่มต้นใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C ร่วมกับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตก็ยังมีข้อควรรู้ที่สำคัญอีกอย่างนึง ซึ่งก็คือการฟอร์แมตแฟลชไดร์ฟก่อนการใช้งานนั่นเอง โดยเราจะต้องทำการฟอร์แมตให้เป็นนามสกุลที่ระบบ Android หรือ IOS รองรับ ซึ่งก็คือ exFAT หรือ NTFS จึงจะสามารถเขียน อ่านข้อมูลในไดร์ฟนั้นๆ บนสมาร์ทโฟนได้

ข้อควรระวังในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C ร่วมกับสมาร์ทโฟน

ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ หลายคนน่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าพอร์ตการเชื่อมต่อมาตรฐานของตัวแก็ดเจ็ตก็คือพอร์ต USB Type A ซึ่งถือเป็นพอร์ตที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อย่างแล็ปท็อป หรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ...

ในการใช้งานแก็ดเจ็ตจัดเก็บข้อมูลพกพาอย่างแฟลชไดร์ฟ หลายคนน่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าพอร์ตการเชื่อมต่อมาตรฐานของตัวแก็ดเจ็ตก็คือพอร์ต USB Type A ซึ่งถือเป็นพอร์ตที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อย่างแล็ปท็อป หรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เนื่องจากเป็นพอร์ตเชื่อมต่อพื้นฐานที่แบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีทุกแบรนด์ใส่มากับผลิตภัณฑ์ของตนเองเช่นกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าปัจจุบันพอร์ต USB-A จะยังคงเป็นพอร์ตมาตรฐานที่ติดมากับตัวอุปกรณ์ดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันก็มีพอร์ตอย่าง USB-C ซึ่งเป็นพอร์ตเจเนอเรชั่นใหม่ที่ถูกมาใส่มากับอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อป และกำลังได้รับความนิยมในการประยุกต์ใช้งานรับส่ง แชร์ไฟล์ข้อมูลต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนั่นก็ทำให้แบรนด์ผู้ผลิตแก็ดเจ็ตเจ้าต่างๆ มีการพัฒนาแฟลชไดร์ฟ Type-C ตามมาเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่มาพร้อมพอร์ต USB-C โดยเฉพาะอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตนั้นสะดวกมากขึ้น ทั้งนี้แม้ว่าการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตนั้นจะมีหลักการเดียวกันกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ หรือแล็ปท็อป แต่ในความเป็นจริงก็ถือว่ายังมีข้อควรระวังที่ผู้ใช้งานหลายคนมองข้ามไปอยู่หลายประการเหมือนกัน ในบทความนี้จึงได้นำเอาข้อควรระวังต่างๆ ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ Type-C กับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตมาแนะนำให้ได้ทราบกัน
ไม่นำแฟลชไดร์ฟที่มีข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ไม่รู้จักมาเสียบเชื่อมต่อ ปัญหาพื้นฐานอย่างนึงที่พบได้บ่อยในการใช้งานอุปกรณ์ไอทีในช่วงยุคเริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป หรือกระทั่งแฟลชไดร์ฟเองก็ตามก็คือ ไวรัส หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่ติดมาจากการดาวน์โหลดข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นอาจรบกวนประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ หรืออาจถึงขั้นทำให้ตัวแก็ดเจ็ตแฟลชไดร์ฟเสียหาย ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกเลย ทว่าปัจจุบันที่ระบบความปลอดภัยของอุปกรณ์มีการพัฒนาขึ้นจากเดิม เมื่อเราทำการเสียบแฟลชไดร์ฟเข้ากับอุปกรณ์อย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือโน๊ตบุ๊ค ระบบก็มักจะมีการเด้งแจ้งเตือนให้เราทำการสแกนไวรัสของไดร์ฟที่เชื่อมต่อเข้ามาใหม่ให้เรียบร้อยก่อนการใช้งาน หรือหากพบไฟล์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายก็อาจจะมีแจ้งเตือนคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเรียกดูไฟล์ดังกล่าว ซึ่งถือว่าช่วยให้การใช้งานแก็ดเจ็ตชิ้นนี้มีความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น แต่ทว่าอย่างที่ทราบกันดีว่าระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตนั้นแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้แม้ว่าเมื่อมองที่ความปลอดภัยในการใช้งานทั่วไป สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตดูจะมีความปลอดภัยจากไวรัส และโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ มากกว่า แต่นั่นก็เป็นเพราะอัตราการดาวน์โหลดข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ไม่รู้จัก หรือไม่น่าเชื่อถือนั้นอยู่ในระดับต่ำ(โดยส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นต่างๆ จากพื้นที่ให้บริการหลักของระบบอย่าง Play Store หรือ App Store) ดังนั้นในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกอย่างแฟลชไดร์ฟ สิ่งสำคัญที่ต้องระวังก็คือการไม่นำแฟลชไดร์ฟที่บรรจุข้อมูลที่เราไม่ทราบแหล่งที่มาเสียบเชื่อมต่อเข้าไป เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับไฟล์ไวรัส หรือแอปพลิเคชั่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่จะเข้ามารบกวนการทำงานของสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตของเรา
หลีกเลี่ยงการใช้งานเก็บไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ โดยไม่มีการสำรองข้อมูลไว้ที่แหล่งอื่น อย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของแฟลชไดร์ฟรุ่นใหม่ๆ มีการพัฒนาขยายใหญ่ขึ้นกว่าช่วงหลายปีก่อนมาก โดยบางรุ่นมีความจุสูงถึงระดับ TB(เทราไบต์) และนั่นก็ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนเข้าใจผิดว่าเราสามารถใช้งานแฟลชไดร์ฟเป็นแหล่งสำรองข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสำคัญๆ หรือข้อมูลขนาดใหญ่ได้ แต่ความจริงก็คือสถาปัตยกรรมของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้นั้นไม่เหมาะสำหรับใช้งานเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหลัก เนื่องจากประสิทธิภาพการใช้งานจะเสื่อมไปตามจำนวนรอบการเขียน อ่านข้อมูล ซึ่งหมายความว่าตัวแก็ดเจ็ตอาจเสียหายจนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในวันใดหนึ่ง ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการดึงข้อมูลใดๆ จากสมาร์ทโฟนมาเก็บไว้บนตัวแฟลชไดร์ฟ โดยไม่ได้มีการสำรองข้อมูลไว้ในแหล่งอื่นเพิ่มเติม ปัจจุบันแฟลชไดร์ฟมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบและวัสดุ เช่น แฟลชไดร์ฟไม้ แฟลชไดร์ฟโลหะ หรือที่ดูทันสมัยและพกพาง่ายคือ แฟลชไดร์ฟปากกา ที่ถูกใช้เป็นจำนวนมาก หรือทำเป็นของทีระลึกในโอกาสต่างๆ

รูปแบบ ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้งานแฟลชไดร์ฟในยุคปัจจุบัน

แฟลชไดร์ฟเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและน่าสนใจในปัจจุบัน เนื่องจากมีรูปแบบและประโยชน์ที่หลากหลาย สำหรับบทความนี้ เราจะมาพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบ...

แฟลชไดร์ฟเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและน่าสนใจในปัจจุบัน เนื่องจากมีรูปแบบและประโยชน์ที่หลากหลาย สำหรับบทความนี้ เราจะมาพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบ ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้งานแฟลชไดร์ฟในยุคปัจจุบัน

รูปแบบของแฟลชไดร์ฟในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานหลายแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของการใช้งานต่างๆ USB Flash Drive แฟลชไดร์ฟรูปแบบ USB เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน มีขนาดเล็กกระทัดรัดและใช้งานง่าย เช่น แฟลชไดร์ฟการ์ด แฟลชไดร์ฟปาก หรือจะเป็นแฟลชไดร์ฟคลาสสิคที่ถูกใช้งานเป็นจำนวนมาก สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีพอร์ต USB ได้อย่างสะดวก รวมถึงมีความจุที่หลากหลายตั้งแต่ไม่กี่เมกะไบต์ถึงหลายเทราไบต์
Wireless Flash Drive แฟลชไดร์ฟรูปแบบไร้สายก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่ต่างกัน ซึ่งสามารถเชื่อมต่อผ่านทาง Wi-Fi หรือเทคโนโลยีไร้สายอื่นๆ เพื่อส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและง่ายต่อการใช้งาน
Lightning Flash Drive รูปแบบแฟลชไดร์ฟที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานอุปกรณ์ iOS เช่น iPhone, iPad และ iPod มีพอร์ต Lightning เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อและถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ Apple ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

แฟลชไดร์ฟมีประโยชน์หลักๆเลยคือ ความสะดวกและพกพาง่าย แฟลชไดร์ฟมีขนาดเล็กกระทัดรัดทำให้สะดวกต่อการพกพาและใช้งาน คุณสามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวหรือไฟล์ที่สำคัญไว้ในแฟลชไดร์ฟและพกพาไปได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ที่บ้าน หรือเมื่อต้องการแชร์ข้อมูลกับผู้อื่น
การถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็ว แฟลชไดร์ฟสามารถถ่ายโอนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการใช้สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ เช่น แผ่น DVD หรือฮาร์ดดิสก์ภายนอก คุณสามารถส่งหรือรับข้อมูลขนาดใหญ่ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้สะดวกและประหยัดเวลาของคุณ
ความปลอดภัยของข้อมูล แฟลชไดร์ฟที่มีการเข้ารหัสข้อมูลหรือระบบความปลอดภัยสามารถช่วยให้ข้อมูลของคุณปลอดภัยจากการถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณสามารถเพิ่มรหัสผ่านหรือระบบการเข้ารหัสเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและความลับของข้อมูลที่เก็บในแฟลชไดร์ฟของคุณ
การสำรองข้อมูล แฟลชไดร์ฟเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการสำรองข้อมูล คุณสามารถสำรองข้อมูลที่สำคัญออกจากอุปกรณ์

เมื่อใช้แฟลชไดร์ฟเพื่อการจัดเก็บและถ่ายโอนข้อมูล นอกจากประโยชน์ที่มีมากมายแล้ว ยังควรมีความระมัดระวังในการใช้งานด้วย ความสูญเสียข้อมูล แฟลชไดร์ฟเป็นอุปกรณ์ที่เสถียรและทนทาน แต่อย่างไรก็ตามยังมีโอกาสที่ข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟอาจสูญหายหรือเสียหายได้ อาจเกิดจากการถูกลบโดยไม่ได้ตั้งใจ การสูญเสียหรือเสียหายเมื่อแฟลชไดร์ฟถูกทำลาย หรือปัญหาทางฮาร์ดแวร์ ในกรณีนี้ควรสำรองข้อมูลบนอุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันความสูญเสียข้อมูลที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น
ความปลอดภัยของข้อมูล หากแฟลชไดร์ฟหายไปหรือถูกขโมย ข้อมูลที่อยู่ในนั้นอาจถูกเปิดเผยแก่บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต สำหรับข้อมูลที่มีความลับหรือสำคัญ ควรพิจารณาการใช้งานระบบความปลอดภัยเสมอ เช่น เข้ารหัสข้อมูลหรือใช้รหัสผ่านเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต
การติดเชื้อไวรัส แฟลชไดร์ฟอาจเป็นที่ติดเชื้อไวรัสหากถูกเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ติดเชื้อ ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลบนแฟลชไดร์ฟเสียหายได้

นอกจากประโยชน์และข้อควรระวัง การเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟก็มีความสำคัญอย่างมากที่ควรคำนึงถึงดังนี้
ความจุ เลือกแฟลชไดร์ฟที่มีความจุเพียงพอตามความต้องการของคุณ ความจุของแฟลชไดร์ฟมีหลากหลายตั้งแต่ไม่กี่เมกะไบต์ถึงหลายเทราไบต์ ควรพิจารณาว่าคุณต้องการใช้งานในระดับไหน เช่น ใช้เก็บเอกสารเพียงพอหรือต้องการจัดเก็บไฟล์มากมาย
ความเร็วการถ่ายโอนข้อมูล ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของแฟลชไดร์ฟสามารถแตกต่างกันได้ และขึ้นอยู่กับมาตรฐาน USB ที่ใช้ ความเร็วสูงสุดของ USB 3.0 สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วกว่า USB 2.0 ดังนั้นถ้าคุณต้องการการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็ว ควรเลือกแฟลชไดร์ฟที่ความเร็ว USB 3.0 หรือสูงกว่านั้น
คุณภาพและความทนทาน ควรเลือกแฟลชไดร์ฟที่มีคุณภาพและทนทาน เนื่องจากคุณอาจใช้งานแฟลชไดร์ฟอย่างส่วนตัวหรือธุรกิจเป็นเวลานาน ดังนั้นเลือกแฟลชไดร์ฟที่มีการออกแบบที่ทนทานต่อการใช้งานประจำและต้านทานต่อการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การทนต่อการกระทบ การทนต่อน้ำหรือฝุ่น
ราคา ในตลาดมีแฟลชไดร์ฟที่มีราคาและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ควรตรวจสอบราคาและฟังก์ชันของแฟลชไดร์ฟที่คุณต้องการเพื่อให้ได้รับคุณภาพและประโยชน์ที่เหมาะสมในราคาที่เหมาะสมกับงบประมาณของคุณ

ดังนั้น การเลือกซื้อแฟลชไดร์ฟควรคำนึงถึงความจุ, ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล, ความปลอดภัย, คุณภาพและความทนทาน, ราคา และความต้องการของคุณเอง โดยเลือกแฟลชไดร์ฟที่ตอบสนองต่อความต้องการและการใช้งานของคุณ

แฟลชไดร์ฟ USB 3.0 คืออะไร ใหม่กว่า เร็วกว่าหรือไม่

แฟลชไดร์ฟ นับว่าเป็นอุปกรณ์เคียงคู่ออฟฟิศ หรือสำหรับหลายคนเปรียบเสมือนอุปกรณ์ที่จำเป็นที่จะต้องพกพาไปไหนมาไหนตลอดเวลาด้วยซ้ำ...

แฟลชไดร์ฟ นับว่าเป็นอุปกรณ์เคียงคู่ออฟฟิศ หรือสำหรับหลายคนเปรียบเสมือนอุปกรณ์ที่จำเป็นที่จะต้องพกพาไปไหนมาไหนตลอดเวลาด้วยซ้ำ เนื่องจากสิ่งนี้ค่อนข้างที่จะมีประโยชน์ในด้านของการทำงานสามารถที่จะทำให้เราทำการรับและส่งข้อมูลไปได้มากมายหลากหลายสามารถที่จะนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้มากมายหลากหลายเครื่อง และในปัจจุบันนี้เอง มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้กับอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ พัฒนาให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากยิ่งขึ้น แบบหนึ่งที่เราน่าจะเคยเห็นกันมาบ้าง นั่นก็คืออุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ ที่อยู่ในรูปแบบของ USB 3.0 มีหลายรูปแบบ เช่น แฟลชไดร์ฟโลหะ แฟลชไดร์ฟไม้ หรือแฟลชไดร์ฟยาง

หลายคนที่ใช้งานอุปกรณ์แฟลชไดร์ฟ น่าจะเกิดคำถามกันมาบ้างว่า แฟลชไดร์ฟที่เราเรียกกันว่าแบบ USB 3.0 สิ่งนี้คืออะไร แล้วทำไมเราต้องเรียกว่า 3.0 มันมีความเหมือนหรือแตกต่างจากแบบยูเอสบีที่เราใช้งานกันทุกวันนี้หรือไม่ เเล้วเแฟลชไดร์ฟ ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันทุกวันนี้ เป็นแบบ 3.0 หรือเป็นแบบ 2.0 สอง แบบนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ถ้านำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ของเราสามารถที่จะใช้งานได้หรือไม่ และความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะเร็วหรือช้าขึ้นอย่างไร

ทำความเข้าใจ พอร์ต USB 3.0

พอร์ต USB 3.0 คือมาตรฐานในการรับส่งข้อมูล ที่เรียกได้ว่าถูกพัฒนาขึ้นมาจากแบบดั้งเดิม แต่ก็ยังคงสามารถที่จะใช้งานได้ปกติ เหมือนกับแฟลชไดร์ฟ ที่เป็นในรูปแบบ USB 2.0 แต่จุดสังเกตที่เปลี่ยนไปของเวอร์ชั่นใหม่นี้ก็คือ บริเวณพอร์ตหรือบริเวณหัวเสียบ ที่จะมีลักษณะเป็นสีฟ้า และบริเวณหัวต่อจะมีสัญลักษณ์เป็น SS เพื่อสามารถที่จะให้ผู้ใช้งานเข้าใจและแยกออกได้ว่า แฟลชไดร์ฟที่ผู้ใช้งานใช้งานอยู่นี้ อยู่ในรูปแบบของ USB 2.0 ที่เป็นในรูปแบบเดิม หรือเป็นในรูปแบบใหม่ที่เป็น USB 3.0 นั่นเอง

ประสิทธิภาพที่สูงยิ่งขึ้น

โดยปกติทั่วไปแล้ว USB 3.0 ปิ่นเทคโนโลยีที่ถูกผลิตมาทีหลัง USB 2.0 ด้วยเหตุนี้ จึงมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่สูงกว่าอย่างแน่นอน โดยมีการคำนวณมาเป็นตัวเลขว่า USB 3.0 มีประสิทธิภาพ และความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากถึง 5 Gbps ซึ่งเทคโนโลยีแบบเดิม USB 2.0 มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพียงแค่ 480 Mbps เพียงเท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นความเร็วที่มากกว่าเดิมถึง 10 เท่าตัวเลยทีเดียว

และที่กล่าวมานี้ เป็นข้อมูลที่ใช้ในเชิงทฤษฎีสามารถนำมาอ้างอิง และนำมาเปรียบเทียบได้ในระดับนึง ในความเป็นจริงแล้ว มีปัจจัยอีกมากมายหลากหลายที่มีส่วนสำคัญ ที่ทำให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลแตกต่างกันออกไปในแต่ละเครื่อง และแต่ละอุปกรณ์สำหรับการใช้งาน

สามารถใช้งานร่วมกันได้หรือไม่

คำถามต่อมาก็คือ แล้วแบบนี้ ที่เป็นแบบ USB 3.0 สามารถใช้ร่วมกับพอร์ตแบบเดิม หรือก็คือแบบ USB 2.0 ได้หรือไม่ คำตอบคือมันสามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ แต่หากเรานำเอา USB 2.0 มาเสียบกับพอร์ต USB 3.0 ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะถูกปรับให้อยู่ในรูปแบบของ USB 2.0 โดยอัตโนมัติ และหากนำแบบที่เป็น USB 3.0ไปเสียบกับ USB 2.0 ความเร็วในการรับส่งข้อมูลก็จะถูกปรับให้อยู่ในรูปแบบของ USB 2.0 เช่นเดียวกัน การใช้งาน USB 3.0 ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เราจำเป็นที่จะต้องเสียบใช้งานกับพอร์ตแบบเดียวกันถึงจะสามารถรับและส่งข้อมูลได้และมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการใช้งาน

ซึ่งในปัจจุบันนี้ USB 3.0 นับว่าเป็นที่แพร่หลาย และใช้งานกันอย่างมากบนอุปกรณ์มากมาย ซึ่งแทบจะเป็นธรรมดากันแล้ว กลับกัน แบบที่เป็นรูปแบบเดิมหรือก็คือ USB 2.0 หายากมากขึ้น และไม่ค่อยเป็นที่นิยมเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นหากใครอยากนำมาจัดทำเป็นของพรีเมี่ยม ก็เลือกเอาที่สะดวก อาจจะเรื่องที่ความยากง่ายในการหาก็ได้